กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในเว็บ pantip.com หลังจากมีผู้นำภาพร้านบะหมี่ชื่อดังแห่งหนึ่งที่มีสาขาอยู่หลายจุดทั่ว กทม. โดยร้านดังกล่าวได้นำโต๊ะ-เก้าอี้ตั้งออกมาด้านนอกจนกีดขวางทางเท้า รวมถึงภาพที่ทางร้านใช้รถของทางราชการในการขนข้าวของ จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม เนื่องจากประชาชนที่สัญจรไปมา ต้องลงไปยืนหรือเดินกันบนถนน ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายจากรถยนต์ที่แล่นไปมา
และจากปัญหาที่เริ่มโดยร้านขนาดใหญ่ดังกล่าว หลายความเห็นได้พาดพิงไปถึงบรรดาหาบเร่แผงลอยขนาดเล็กทั่วๆไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเห็นว่า กทม. ควรเอาจริงเอาจังในการกวาดล้างร้านค้าดังกล่าวทุกชนิด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นร้านขนาดใด ตั้ง ณ จุดไหนก็ย่อมกีดขวางทางเท้าทั้งสิ้น รวมถึงทำให้ภาพของ กทม. ไม่สวยงาม ดูสกปรกไร้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย กับอีกส่วนหนึ่งที่เห็นต่างออกไป เพราะมองว่าหาบเร่แผงลอยคือชีวิตของคนรายได้น้อย และต้องใช้ชิวิตที่เร่งรีบในเมืองหลวง รวมถึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองไทย ถึงขนาดที่สื่อต่างประเทศบอกว่าต้องมาลิ้มลองให้ได้สักครั้งในชีวิต
วันนี้สกู๊ปหน้า 5 ลงพื้นที่สำรวจบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จุดหนึ่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีหาบเร่แผงลอยมากที่สุดของเมืองกรุง ที่นี่เราพบกับ บังเลาะห์ คุณลุงวัย 50 ปีเศษ ยึดอาชีพขายลูกชิ้น-ไส้กรอกไก่และเนื้อในพื้นที่ดังกล่าวมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ยอมรับว่าแม้จะขายเป็นประจำ แต่รายได้ก็ถือว่าปานกลาง ทั้งนี้เข้าใจหัวอกผู้ใช้ทางเท้า แต่ก็อยากให้ผู้ใช้ทางเท้าเห็นใจพวกเขาบ้าง เนื่องจากใหญ่เป็นคนในพื้นที่ และขายมานานมากแล้ว
“ไม่ขายวันจันทร์วันเดียวเราพอรับได้ แต่ถ้าให้หยุดไปเลยคงรับไม่ไหว ลูกเด็กเล็กแดงมี เราต้องทำมาหากิน ถ้าให้หยุดไปเลยเราคงประท้วงกันบ้าง คราวนี้แม่ค้าประท้วงบ้างล่ะ อยากบอกให้พวกเขาเห็นใจกันหน่อย เข้าใจกันหน่อย” บังเลาะห์ กล่าวถึงกระแสข่าวที่อาจจะมีผู้ไปเรียกร้องให้ กทม. ยกเลิกหาบเร่แผงลอย พร้อมทั้งเสริมว่าปกติแล้วลูกค้าที่นี่มีทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยชาวต่างชาติก็จะมีทั้งชาติมุสลิมและฝรั่งตะวันตก
ถัดจากบังเลาะห์ เราพบกับ ป้าศรีจันทร์ หญิงชราวัย 80 อดีตแม่ค้าที่ขายขนมจีบ-ซาลาเปามาตั้งแต่ย่านดังกล่าวยังเป็นเขตนอกเมือง เมื่อคุณป้ารู้ว่าเราลงพื้นที่ เธอได้เล่าถึงชีวิตอันยากลำบากของพ่อค้าแม่ค้า ที่ล้วนแต่เป็นคนในพื้นที่ให้เราฟังทันที โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งเงินทุนนอกระบบ
“ฉันอยู่มา 70 ปี ตั้งแต่ 10 ขวบ นี่ตอนนี้ 80 แล้ว ตอนนั้นขายซาลาเปา-ขนมจีบ ขายตรงนี้แหละ วันละ 400-500 ก็หมดไปกับค่าใช้จ่าย รวมทั้งค่าเทอมลูก 5 คน ตอนนี้เลิกแล้วเพราะไม่มีกำลัง พูดถึงเรื่องหนี้ ดีนะว่าเขายังไม่ทำอะไรเรา ร้อยละ 20 ก็ผลัดๆ เขาไป เขาก็เครียด เชื่อไหม? เอามาไม่ถึงหมื่น แต่สุดท้ายกลายเป็นสามหมื่น
ถามว่าหาบเร่แผงลอยกำไรเท่าไร มันเทียบไม่ได้กับร้านใหญ่ๆ เราเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน วันๆ นึงกินไม่เหลือนะ หนี้ร้อยละ 20 อีก ขอความกรุณาให้เราได้ขายบ้าง เราจะได้มีกิน จะหยุดสักวันหนึ่งก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าหยุดทุกวันคงแย่เหมือนกัน คงอดตาย” ป้าศรีจันทร์ กล่าว
ขณะที่ ป้ามะ แม่ค้าวัย 50 ปี เป็นอีกผู้หนึ่งที่ยืนยันว่าผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนในพื้นที่ อย่างตัวป้ามะเอง ขายข้าวแกงในรถเข็นมาตั้งแต่อายุ 17 ปี ซึ่งที่ผ่านมา ชาวหาบเร่แผงลอยในย่านนี้มีการพูดคุยกับทางราชการตลอดเรื่องการจัดระเบียบพื้นที่ ดังจะเห็นว่าร้านแถบนี้จะอยู่ชิดขอบถนน หันหน้าเข้าหาอาคาร ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ให้คนเดินมากกว่าที่จะวางด้านหน้าอาคารแล้วหันหน้าออกไปยังถนน ทั้งนี้อยากให้ประชาชนแยกแยะด้วยระหว่างร้านขนาดใหญ่กับหาบเร่แผงลอย เพราะทั้งสองแบบมีธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน
“มันไม่เกะกะหรอก เราทำกันชิดแบบสุดๆ ยืนลำบากหน่อยก็ไม่เป็นไร คือให้คนเดินสะดวก ก็แทบจะตกถนนเลยเพราะเว้นตรงกลางไว้ให้คนเดิน อย่างที่ไปประชุมมา เขาให้อยู่บนฟุตบาทด้านเดียว ก็คือด้านถนนไม่ใช่ด้านหน้าร้านค้า เพราะถ้าด้านหน้าร้านค้า มันจะลามไปใหญ่ ก็เลยให้หันหลังให้ถนน หันหน้าเข้าฟุตบาท
ถามว่าแถวนี้มีร้านที่ต่อออกมาไหม? แถวนี้ไม่มี เขาจะอยู่ในร้านของเขา อยากให้พิจารณา เราก็แค่คนหาเช้ากินค่ำ อย่าไปเหมารวม ร้านที่เขาทำแบบนั้นได้ เขาคงมีกำลังมากกว่าเรา เราไม่มีปัญญาทำแบบนั้น ก็หนีไปวันๆ จะไปทำร้านแบบนั้นก็ไม่มีปัญญาไปเช่า มาปรับเราก็ยอมให้ปรับ บางทีก็ต้องขอต้องต่อรอง”
ป้ามะ กล่าว พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หาบเร่แผงลอยไม่มีทางหมดไปจากประเทศไทย เพราะเป็นหัวใจโดยเฉพาะของคนพื้นที่ ต่อให้ห้ามขายก็ยังจะต้องขายต่อไป แม้จะต้องเสี่ยงกับการถูกดำเนินคดีก็ตาม แต่ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้า-แม่ค้ากับเจ้าหน้าที่เทศกิจค่อนข้างดี โดยก่อนจะมีระเบียบใดๆ ออกมา จะมีการหารือทำข้อตกลง หรือว่ากล่าวตักเตือน ขอความร่วมมือกันก่อนเสมอ
ถัดจากมุมของผู้ขาย เรามาฟังความเห็นในมุมของผู้ซื้อกันบ้าง พนักงานขับรถส่งสินค้ารายหนึ่งที่ใช้ชีวิตในเมืองหลวงมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี มองว่าถึงอย่างไรก็ตาม หาบเร่แผงลอยก็ถือเป็นวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ใน กทม. ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1.ราคาถูก เพราะร้านอาหารทั่วไปต้องมีค่าเช่าอาคาร มีค่าพนักงาน กับ 2.สะดวก เนื่องด้วยเป็นร้านอาหารง่ายๆ เช่นของปิ้ง ทอด ย่าง หรืออาหารกล่อง ทำให้เหมาะกับชีวิตเร่งรีบของผู้ที่อาศัยใน กทม. เป็นอย่างดี
“เป็นธรรมดา ในร้านจะมีค่าบริการ ค่าจ้างลูกน้องอะไรพวกนี้ ราคาที่เห็นว่าแตกต่างกันระหว่างในร้านกับแผงข้างนอก ก็ประมาณ 10-20 บาท หรืออาจจะมากกว่าถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์ ก็มีบ้างเหมือนกันที่ขายเท่ากัน แต่ส่วนใหญ่จะแพงกว่า”
เมื่อถามถึงประเด็นความขัดแย้งที่หลายคนเหมารวมกัน ระหว่างร้านอาหารขนาดใหญ่ กับแผงลอยขนาดเล็ก พนักงานขับรถคนดังกล่าว มองว่าหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่พยายามจะแบ่งพื้นที่ให้คนเดินอยู่แล้ว ขณะที่ร้านขนาดใหญ่ เท่าที่สังเกตและพูดคุย พบว่ามีเหตุผล 2 ประการ คือส่วนหนึ่งบางร้านต้องต่อขยายร้านรุกล้ำทางเท้าออกมา เนื่องจากไม่ต้องการให้หาบเร่แผงลอยมาตั้งหน้าร้านของตน
กับอีกส่วนหนึ่ง ร้านอาหารบางแห่งอาจมีลูกค้ามาก พื้นที่ในร้านไม่พอ จึงต้องต่อขยายออกมาด้านนอก โดยไม่ได้คิดว่าจะเป็นที่เดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้ทางเท้า นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังทำให้การจราจรติดขัด เนื่องจากผู้มารับประทานอาหารมักจะขับรถมาจอดบริเวณช่องจราจรด้านซ้ายสุด ซึ่งติดกับร้านดังกล่าว กลายเป็นว่าต้องเสียพื้นที่ถนนให้กับบรรดาลูกค้าร้านอาหารไปโดยปริยาย ดังนั้นจึงฝากถึงกลุ่มที่รู้สึกไม่พอใจร้านค้าเหล่านี้แบบเหมารวม ว่าร้านที่สร้างปัญหามักจะเป็นร้านขนาดใหญ่ มากกว่าหาบเร่แผงลอยขนาดเล็กทั่วๆ ไป
“อยากบอกว่าคิดให้ดีก่อนดีกว่า คุณอย่ามองแต่ตัวเองเป็นหลัก ให้มองชีวิตคนไทยทุกภาคส่วน ทุกระดับชั้นก่อน กลุ่มของคุณอาจจะเป็นคนมีฐานะหน่อย พอมีกำลังซื้อหน่อย คุณต้องเอาตัวเองลงไปเทียบกับคนที่ต่ำกว่า ฐานะหรือกำลังซื้อที่ต่ำกว่า เราต้องมาคุยกันว่าจุดไหนที่ขายได้ แต่จุดที่บอกว่าขายได้ ก็ต้องขายได้จริงๆ มีคนซื้อด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าคุณจัดให้เขาแล้วไม่มีคนซื้อ เพราะเขาจะไปขายใคร จะให้เขาทำอาหารมาทิ้งหรือ? ผมว่ามันมีทางออก แต่ไม่ใช่มาชี้เปรี้ยงเดียวให้ยกเลิก มันทำไม่ได้” พนักงานขับรถผู้พึ่งพาอาหารข้างทางเป็นประจำ ให้ความเห็น
ปิดท้ายด้วยความเห็นของกลุ่มที่ถูกเรียกว่าเป็น “คู่ปรับแม่ค้า” อย่างเจ้าหน้าที่เทศกิจ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รายหนึ่งมองว่า ในความเป็นจริงคงเป็นไปไม่ได้ที่หาบเร่แผงลอยจะหายไปจากเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวมาเป็นเวลานาน ต่อให้ห้ามขายก็คงต้องดิ้นรนหาทางกันต่อไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขอให้หาบเร่แผงลอยอย่าทำผิดกฏหมาย และพยายามจัดพื้นที่ร้านให้เป็นระเบียบ ไม่ล้ำพื้นที่ออกมาจนกีดขวางทางเดินด้วย
ขณะที่ฝากเตือนไปถึงบรรดาร้านค้าต่างๆ ที่ต่อพื้นที่ร้านออกมารุกล้ำทางเท้าจนไม่สามารถสัญจรได้ ว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยที่เจ้าของหรือผู้ดูแลร้านอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะคิดว่าเป็นพื้นที่หน้าอาคารเป็นสิทธิของตน
“จริงๆ ผิดกฎหมายนะครับ เขาให้ตั้งได้เฉพาะแนวชายคา ออกมาแค่นิดเดียวก็ผิดแล้วครับ” เจ้าหน้าที่รายดังกล่าว ฝากทิ้งท้าย ซึ่งการนำสิ่งของต่างๆ มาตั้งบนทางเท้า อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ในมาตรา 39 ที่ห้ามนำสิ่งใดๆ มาติดตั้ง วาง ตาก หรือแขวนในที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงาน โดยมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (บทกำหนดโทษ มาตรา 54)
เรื่องของหาบเร่แผงลอย มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าถือกำเนิดมาจากการอพยพของประชากรจากทั่วสารทิศเข้าสู่ กทม. และอีกหลายเมืองใหญ่เพื่อแสวงหาโอกาสด้านรายได้ แม้จะต้องเผชิญค่าครองชีพที่สูงก็ตาม โดยอ้างอิงจาก สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC Poll) ที่เคยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 ส.ค.-30 ก.ย. 2554 ในพื้นที่เมืองใหญ่ 12 จังหวัด คือ กทม. ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา
พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76 ระบุว่ามีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน โดยรายได้เฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 11,300 บาทต่อเดือน เมื่อดูที่รายจ่าย พบว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9,197.99 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่หมดไปกับค่าอาหารและค่าเดินทาง นอกจากนี้ยังชี้ว่า กลุ่มที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยในเมืองใหญ่ และมีเงินออมเป็นรูปธรรม คือผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,001 บาทต่อเดือนขึ้นไป เพราะเมื่อนำรายได้หักลบกับรายจ่ายแล้ว ยังเหลือเงินอีกราวครึ่งหนึ่งของรายได้
จึงไม่ต้องแปลกใจว่า เหตุใดจึงยังมีคนอีกมากมาย เลือกที่จะบริโภคอาหารข้างทางเหล่านี้ แม้จะมีคำเตือนเรื่องความสะอาด ตลอดจนขัดต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมืองก็ตาม เราจึงอาจกล่าวได้ว่า หาบเร่แผงลอย หรืออาหารข้างทาง เป็นดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้อย่างชัดเจนอย่างหนึ่ง เพราะถ้าพื้นที่อื่นๆ มีรายได้ที่ไม่ต่างจาก กทม. มากนัก คลื่นมนุษย์จำนวนมหาศาล คงไม่ต้องเข้ามาแย่งกันกิน แย่งกันใช้พื้นที่เล็กๆ แห่งนี้
คำถามคือ..เหตุใดเราจึงไม่สามารถกระจายความเจริญ โดยเฉพาะรายได้ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้เสียที เพราะวันนี้เรายังได้ชื่อว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งที่ผ่านมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
และจากปัญหาที่เริ่มโดยร้านขนาดใหญ่ดังกล่าว หลายความเห็นได้พาดพิงไปถึงบรรดาหาบเร่แผงลอยขนาดเล็กทั่วๆไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเห็นว่า กทม. ควรเอาจริงเอาจังในการกวาดล้างร้านค้าดังกล่าวทุกชนิด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นร้านขนาดใด ตั้ง ณ จุดไหนก็ย่อมกีดขวางทางเท้าทั้งสิ้น รวมถึงทำให้ภาพของ กทม. ไม่สวยงาม ดูสกปรกไร้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย กับอีกส่วนหนึ่งที่เห็นต่างออกไป เพราะมองว่าหาบเร่แผงลอยคือชีวิตของคนรายได้น้อย และต้องใช้ชิวิตที่เร่งรีบในเมืองหลวง รวมถึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองไทย ถึงขนาดที่สื่อต่างประเทศบอกว่าต้องมาลิ้มลองให้ได้สักครั้งในชีวิต
วันนี้สกู๊ปหน้า 5 ลงพื้นที่สำรวจบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จุดหนึ่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีหาบเร่แผงลอยมากที่สุดของเมืองกรุง ที่นี่เราพบกับ บังเลาะห์ คุณลุงวัย 50 ปีเศษ ยึดอาชีพขายลูกชิ้น-ไส้กรอกไก่และเนื้อในพื้นที่ดังกล่าวมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ยอมรับว่าแม้จะขายเป็นประจำ แต่รายได้ก็ถือว่าปานกลาง ทั้งนี้เข้าใจหัวอกผู้ใช้ทางเท้า แต่ก็อยากให้ผู้ใช้ทางเท้าเห็นใจพวกเขาบ้าง เนื่องจากใหญ่เป็นคนในพื้นที่ และขายมานานมากแล้ว
“ไม่ขายวันจันทร์วันเดียวเราพอรับได้ แต่ถ้าให้หยุดไปเลยคงรับไม่ไหว ลูกเด็กเล็กแดงมี เราต้องทำมาหากิน ถ้าให้หยุดไปเลยเราคงประท้วงกันบ้าง คราวนี้แม่ค้าประท้วงบ้างล่ะ อยากบอกให้พวกเขาเห็นใจกันหน่อย เข้าใจกันหน่อย” บังเลาะห์ กล่าวถึงกระแสข่าวที่อาจจะมีผู้ไปเรียกร้องให้ กทม. ยกเลิกหาบเร่แผงลอย พร้อมทั้งเสริมว่าปกติแล้วลูกค้าที่นี่มีทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยชาวต่างชาติก็จะมีทั้งชาติมุสลิมและฝรั่งตะวันตก
ถัดจากบังเลาะห์ เราพบกับ ป้าศรีจันทร์ หญิงชราวัย 80 อดีตแม่ค้าที่ขายขนมจีบ-ซาลาเปามาตั้งแต่ย่านดังกล่าวยังเป็นเขตนอกเมือง เมื่อคุณป้ารู้ว่าเราลงพื้นที่ เธอได้เล่าถึงชีวิตอันยากลำบากของพ่อค้าแม่ค้า ที่ล้วนแต่เป็นคนในพื้นที่ให้เราฟังทันที โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งเงินทุนนอกระบบ
“ฉันอยู่มา 70 ปี ตั้งแต่ 10 ขวบ นี่ตอนนี้ 80 แล้ว ตอนนั้นขายซาลาเปา-ขนมจีบ ขายตรงนี้แหละ วันละ 400-500 ก็หมดไปกับค่าใช้จ่าย รวมทั้งค่าเทอมลูก 5 คน ตอนนี้เลิกแล้วเพราะไม่มีกำลัง พูดถึงเรื่องหนี้ ดีนะว่าเขายังไม่ทำอะไรเรา ร้อยละ 20 ก็ผลัดๆ เขาไป เขาก็เครียด เชื่อไหม? เอามาไม่ถึงหมื่น แต่สุดท้ายกลายเป็นสามหมื่น
ถามว่าหาบเร่แผงลอยกำไรเท่าไร มันเทียบไม่ได้กับร้านใหญ่ๆ เราเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน วันๆ นึงกินไม่เหลือนะ หนี้ร้อยละ 20 อีก ขอความกรุณาให้เราได้ขายบ้าง เราจะได้มีกิน จะหยุดสักวันหนึ่งก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าหยุดทุกวันคงแย่เหมือนกัน คงอดตาย” ป้าศรีจันทร์ กล่าว
ขณะที่ ป้ามะ แม่ค้าวัย 50 ปี เป็นอีกผู้หนึ่งที่ยืนยันว่าผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนในพื้นที่ อย่างตัวป้ามะเอง ขายข้าวแกงในรถเข็นมาตั้งแต่อายุ 17 ปี ซึ่งที่ผ่านมา ชาวหาบเร่แผงลอยในย่านนี้มีการพูดคุยกับทางราชการตลอดเรื่องการจัดระเบียบพื้นที่ ดังจะเห็นว่าร้านแถบนี้จะอยู่ชิดขอบถนน หันหน้าเข้าหาอาคาร ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ให้คนเดินมากกว่าที่จะวางด้านหน้าอาคารแล้วหันหน้าออกไปยังถนน ทั้งนี้อยากให้ประชาชนแยกแยะด้วยระหว่างร้านขนาดใหญ่กับหาบเร่แผงลอย เพราะทั้งสองแบบมีธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน
“มันไม่เกะกะหรอก เราทำกันชิดแบบสุดๆ ยืนลำบากหน่อยก็ไม่เป็นไร คือให้คนเดินสะดวก ก็แทบจะตกถนนเลยเพราะเว้นตรงกลางไว้ให้คนเดิน อย่างที่ไปประชุมมา เขาให้อยู่บนฟุตบาทด้านเดียว ก็คือด้านถนนไม่ใช่ด้านหน้าร้านค้า เพราะถ้าด้านหน้าร้านค้า มันจะลามไปใหญ่ ก็เลยให้หันหลังให้ถนน หันหน้าเข้าฟุตบาท
ถามว่าแถวนี้มีร้านที่ต่อออกมาไหม? แถวนี้ไม่มี เขาจะอยู่ในร้านของเขา อยากให้พิจารณา เราก็แค่คนหาเช้ากินค่ำ อย่าไปเหมารวม ร้านที่เขาทำแบบนั้นได้ เขาคงมีกำลังมากกว่าเรา เราไม่มีปัญญาทำแบบนั้น ก็หนีไปวันๆ จะไปทำร้านแบบนั้นก็ไม่มีปัญญาไปเช่า มาปรับเราก็ยอมให้ปรับ บางทีก็ต้องขอต้องต่อรอง”
ป้ามะ กล่าว พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หาบเร่แผงลอยไม่มีทางหมดไปจากประเทศไทย เพราะเป็นหัวใจโดยเฉพาะของคนพื้นที่ ต่อให้ห้ามขายก็ยังจะต้องขายต่อไป แม้จะต้องเสี่ยงกับการถูกดำเนินคดีก็ตาม แต่ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้า-แม่ค้ากับเจ้าหน้าที่เทศกิจค่อนข้างดี โดยก่อนจะมีระเบียบใดๆ ออกมา จะมีการหารือทำข้อตกลง หรือว่ากล่าวตักเตือน ขอความร่วมมือกันก่อนเสมอ
ถัดจากมุมของผู้ขาย เรามาฟังความเห็นในมุมของผู้ซื้อกันบ้าง พนักงานขับรถส่งสินค้ารายหนึ่งที่ใช้ชีวิตในเมืองหลวงมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี มองว่าถึงอย่างไรก็ตาม หาบเร่แผงลอยก็ถือเป็นวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ใน กทม. ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1.ราคาถูก เพราะร้านอาหารทั่วไปต้องมีค่าเช่าอาคาร มีค่าพนักงาน กับ 2.สะดวก เนื่องด้วยเป็นร้านอาหารง่ายๆ เช่นของปิ้ง ทอด ย่าง หรืออาหารกล่อง ทำให้เหมาะกับชีวิตเร่งรีบของผู้ที่อาศัยใน กทม. เป็นอย่างดี
“เป็นธรรมดา ในร้านจะมีค่าบริการ ค่าจ้างลูกน้องอะไรพวกนี้ ราคาที่เห็นว่าแตกต่างกันระหว่างในร้านกับแผงข้างนอก ก็ประมาณ 10-20 บาท หรืออาจจะมากกว่าถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์ ก็มีบ้างเหมือนกันที่ขายเท่ากัน แต่ส่วนใหญ่จะแพงกว่า”
เมื่อถามถึงประเด็นความขัดแย้งที่หลายคนเหมารวมกัน ระหว่างร้านอาหารขนาดใหญ่ กับแผงลอยขนาดเล็ก พนักงานขับรถคนดังกล่าว มองว่าหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่พยายามจะแบ่งพื้นที่ให้คนเดินอยู่แล้ว ขณะที่ร้านขนาดใหญ่ เท่าที่สังเกตและพูดคุย พบว่ามีเหตุผล 2 ประการ คือส่วนหนึ่งบางร้านต้องต่อขยายร้านรุกล้ำทางเท้าออกมา เนื่องจากไม่ต้องการให้หาบเร่แผงลอยมาตั้งหน้าร้านของตน
กับอีกส่วนหนึ่ง ร้านอาหารบางแห่งอาจมีลูกค้ามาก พื้นที่ในร้านไม่พอ จึงต้องต่อขยายออกมาด้านนอก โดยไม่ได้คิดว่าจะเป็นที่เดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้ทางเท้า นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังทำให้การจราจรติดขัด เนื่องจากผู้มารับประทานอาหารมักจะขับรถมาจอดบริเวณช่องจราจรด้านซ้ายสุด ซึ่งติดกับร้านดังกล่าว กลายเป็นว่าต้องเสียพื้นที่ถนนให้กับบรรดาลูกค้าร้านอาหารไปโดยปริยาย ดังนั้นจึงฝากถึงกลุ่มที่รู้สึกไม่พอใจร้านค้าเหล่านี้แบบเหมารวม ว่าร้านที่สร้างปัญหามักจะเป็นร้านขนาดใหญ่ มากกว่าหาบเร่แผงลอยขนาดเล็กทั่วๆ ไป
“อยากบอกว่าคิดให้ดีก่อนดีกว่า คุณอย่ามองแต่ตัวเองเป็นหลัก ให้มองชีวิตคนไทยทุกภาคส่วน ทุกระดับชั้นก่อน กลุ่มของคุณอาจจะเป็นคนมีฐานะหน่อย พอมีกำลังซื้อหน่อย คุณต้องเอาตัวเองลงไปเทียบกับคนที่ต่ำกว่า ฐานะหรือกำลังซื้อที่ต่ำกว่า เราต้องมาคุยกันว่าจุดไหนที่ขายได้ แต่จุดที่บอกว่าขายได้ ก็ต้องขายได้จริงๆ มีคนซื้อด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าคุณจัดให้เขาแล้วไม่มีคนซื้อ เพราะเขาจะไปขายใคร จะให้เขาทำอาหารมาทิ้งหรือ? ผมว่ามันมีทางออก แต่ไม่ใช่มาชี้เปรี้ยงเดียวให้ยกเลิก มันทำไม่ได้” พนักงานขับรถผู้พึ่งพาอาหารข้างทางเป็นประจำ ให้ความเห็น
ปิดท้ายด้วยความเห็นของกลุ่มที่ถูกเรียกว่าเป็น “คู่ปรับแม่ค้า” อย่างเจ้าหน้าที่เทศกิจ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รายหนึ่งมองว่า ในความเป็นจริงคงเป็นไปไม่ได้ที่หาบเร่แผงลอยจะหายไปจากเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวมาเป็นเวลานาน ต่อให้ห้ามขายก็คงต้องดิ้นรนหาทางกันต่อไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขอให้หาบเร่แผงลอยอย่าทำผิดกฏหมาย และพยายามจัดพื้นที่ร้านให้เป็นระเบียบ ไม่ล้ำพื้นที่ออกมาจนกีดขวางทางเดินด้วย
ขณะที่ฝากเตือนไปถึงบรรดาร้านค้าต่างๆ ที่ต่อพื้นที่ร้านออกมารุกล้ำทางเท้าจนไม่สามารถสัญจรได้ ว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยที่เจ้าของหรือผู้ดูแลร้านอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะคิดว่าเป็นพื้นที่หน้าอาคารเป็นสิทธิของตน
“จริงๆ ผิดกฎหมายนะครับ เขาให้ตั้งได้เฉพาะแนวชายคา ออกมาแค่นิดเดียวก็ผิดแล้วครับ” เจ้าหน้าที่รายดังกล่าว ฝากทิ้งท้าย ซึ่งการนำสิ่งของต่างๆ มาตั้งบนทางเท้า อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ในมาตรา 39 ที่ห้ามนำสิ่งใดๆ มาติดตั้ง วาง ตาก หรือแขวนในที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงาน โดยมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (บทกำหนดโทษ มาตรา 54)
เรื่องของหาบเร่แผงลอย มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าถือกำเนิดมาจากการอพยพของประชากรจากทั่วสารทิศเข้าสู่ กทม. และอีกหลายเมืองใหญ่เพื่อแสวงหาโอกาสด้านรายได้ แม้จะต้องเผชิญค่าครองชีพที่สูงก็ตาม โดยอ้างอิงจาก สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC Poll) ที่เคยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 ส.ค.-30 ก.ย. 2554 ในพื้นที่เมืองใหญ่ 12 จังหวัด คือ กทม. ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา
พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76 ระบุว่ามีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน โดยรายได้เฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 11,300 บาทต่อเดือน เมื่อดูที่รายจ่าย พบว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9,197.99 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่หมดไปกับค่าอาหารและค่าเดินทาง นอกจากนี้ยังชี้ว่า กลุ่มที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยในเมืองใหญ่ และมีเงินออมเป็นรูปธรรม คือผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,001 บาทต่อเดือนขึ้นไป เพราะเมื่อนำรายได้หักลบกับรายจ่ายแล้ว ยังเหลือเงินอีกราวครึ่งหนึ่งของรายได้
จึงไม่ต้องแปลกใจว่า เหตุใดจึงยังมีคนอีกมากมาย เลือกที่จะบริโภคอาหารข้างทางเหล่านี้ แม้จะมีคำเตือนเรื่องความสะอาด ตลอดจนขัดต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมืองก็ตาม เราจึงอาจกล่าวได้ว่า หาบเร่แผงลอย หรืออาหารข้างทาง เป็นดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้อย่างชัดเจนอย่างหนึ่ง เพราะถ้าพื้นที่อื่นๆ มีรายได้ที่ไม่ต่างจาก กทม. มากนัก คลื่นมนุษย์จำนวนมหาศาล คงไม่ต้องเข้ามาแย่งกันกิน แย่งกันใช้พื้นที่เล็กๆ แห่งนี้
คำถามคือ..เหตุใดเราจึงไม่สามารถกระจายความเจริญ โดยเฉพาะรายได้ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้เสียที เพราะวันนี้เรายังได้ชื่อว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งที่ผ่านมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น