--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ วิพากษ์สงครามประชาธิปไตย 81 ปี !!?

ถนน สายประชาธิปไตย เวียนมาบรรจบครบรอบ 81 ปี ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังแบ่งฝัก-แบ่งฝ่ายมีการตั้งคำถาม และวิเคราะห์ความขัดแย้งนี้ ไม่เพียงเกิดการปะทะกันระหว่างรัฐบาล ชนชั้นกลาง กับชนชั้นล่าง แต่ยังกระทบไปถึงโครงสร้างอำนาจระดับชนชั้นสูง จนถึงระดับบน

"ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้อนประวัติศาสตร์สงครามประชาธิปไตย ตลอด 81 ปีที่ผ่านมากับ "ประชาชาติธุรกิจ" เพื่อยกให้เห็นภาพการต่อสู้ทุกโครงสร้างอำนาจ

นับจากบรรทัดนี้ "ดร.ชาญวิทย์" เชื่อว่า กลุ่มอำนาจเก่าพยายามปรับตัวเพื่อล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

- ประชาธิปไตยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองกับปัจจุบันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

มี การชักเย่อกันอยู่ มีทั้งดันและดึงในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คิดว่าในอดีตคล้ายกับมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ มีคณะราษฎรซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสู้กับคณะเจ้า ซึ่งต้องพูดว่าคณะเจ้าปรับตัวไม่ทันสถานการณ์ จึงทำให้เกิดการยึดอำนาจขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

ถ้าเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน มันมีชักเย่อทั้งดันและดึง กลุ่มอำนาจใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว และกลุ่มอำนาจใหม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะที่กลุ่มอำนาจเก่า บารมีเก่า ก็ยังอยู่และดึงดันกันอยู่ เพราะฉะนั้น การเมืองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มันเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 และนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 และพรรคการเมืองใหญ่ ๆ เหลืออยู่ 2 พรรค คือพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคของกลุ่มคุณทักษิณ (ชินวัตร) ซึ่งผมมองว่าเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ บารมีใหม่ ก็ต่อสู้กันอย่างนี้

ขณะ เดียวกัน กลุ่มอำนาจเก่า บารมีเก่าก็ยังอยู่ ที่เราเรียกว่าฝ่ายทหาร ซึ่งอยู่ในการเมืองมาเป็นเวลานานและพยายามรักษาอำนาจและอิทธิพลของตัวเอง อาจไม่ค่อยมีบทบาทนำแล้ว ซึ่งบทบาทนำกลายเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งฝ่ายอำนาจเก่ามีลักษณะเป็นอนุรักษนิยมสูงมาก ๆ และสิ่งที่สำคัญคืออ้างและอิงสถาบันกษัตริย์

- กลุ่มอำนาจเก่าเบื้องหน้าอาจเป็น กลุ่มพันธมิตรฯ แต่เบื้องหลังคือกลุ่มไหน

ตอน นี้การเมืองมันกระจัดกระจายมาก มีความแตกแยกกันเองสูงมาก มีการจัดกลุ่มกันใหม่ มันกำลังอยู่ในบรรยากาศคล้าย ๆ กับจลาจลในระดับหนึ่ง มีความไม่แน่นอนสูงมาก ๆ

- หรือกลุ่มอำนาจเก่าพยายามปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อสู้กับกลุ่มอำนาจใหม่

กลุ่ม อำนาจเก่า บารมีเก่า อาจปรับตัวไม่ทัน คล้าย ๆ กับระบอบราชาธิปไตยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 ปรับตัวไม่ทัน คิดว่าตอนนี้กลุ่มอำนาจเก่า บารมีเก่า ก็อาจปรับตัวไม่ทัน อ่านจากกรณีที่ไม่รับรู้และไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมาย อาญามาตรา 112 อันนี้เป็นกรณีที่เห็นชัดว่าไม่ตระหนักพอที่จะปฏิรูป เปลี่ยนแปลง ทำให้กฎหมายมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ถ้า ไม่ตระหนักถึงผลเสียของกฎหมายมาตรา 112 ก็แปลว่า ไม่ยอมรับว่าเมืองไทยมีปัญหาที่จะต้องปฏิรูป ก็อาจเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 ที่บอกว่า ยังไม่ให้มีประชาธิปไตย แล้วให้ไปทดลองดุสิตธานี แล้วมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ที่บอกว่าจะมีรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีในที่สุด จึงเกิดการยึดอำนาจวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ขึ้นมา และคิดว่าประชาธิปไตยหลัง
2475 กับปัจจุบัน ความเหมือนก็อาจจะตรงนี้

- ไม่สามารถใช้เงื่อนไขทหาร และสถาบัน มาเล่นงานอำนาจใหม่ได้เช่นในอดีต

คิด ว่าใช้ทหารปฏิวัติยากมาก เพราะการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ถือว่าเป็นความล้มเหลวของการยึดอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ยึดแล้วทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราอาจคาดการณ์ได้คือการใช้ตุลาการภิวัตน์ แต่คิดว่าจะทำให้สถาบันตุลาการเสียเครดิตอย่างมาก ๆ ซึ่งตอนนี้ก็เสียแล้ว แต่จะเสียมากกว่านี้

- หลัง 2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตยไทยพัฒนาขึ้นบ้างหรือไม่

จะ ว่าพัฒนาก็พัฒนา เพราะการเมืองไม่เคยหยุดนิ่งใน 80 กว่าปีที่ผ่านมา ถ้ามองอีกด้านหนึ่ง ความตื่นตัวในแง่ประชาธิปไตยมันมีอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนระดับล่าง ผมคิดว่าคนระดับบนกลายเป็นล้าหลังเลย

เรา เห็นชัดมากว่าคนชาวกรุง คนที่มีการศึกษาสูง กลับกลายเป็นคนที่ขัดขวางประชาธิปไตยมากกว่าคนระดับล่าง คือไม่สามารถยอมรับหลักการของประชาธิปไตยได้ ไม่สามารถยอมรับว่าคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ตรงนี้สำคัญมาก จึงมีการต่อรองว่า มี ส.ว.สรรหาอยู่ ต้องมีสิทธิพิเศษ ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย

- ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยถูกบิดเบือนไปหรือไม่ จึงทำให้กลุ่มชนชั้นนำ ชนชั้นกลางเข้าใจผิด

ผม เชื่อว่า elite (ชนชั้นนำ) ไทยไปยุโรป ไปอเมริกา ก็จะชื่นชมกับสังคมที่มันพัฒนา เจริญ แต่ elite ไทยคงรับไม่ได้ ถ้าเผื่อเอาหลักการอย่างที่มีในยุโรป อเมริกา มาใช้กับบ้านเรา เขาก็จะบอกว่าเมืองไทยยังไม่พร้อม แต่มองจริง ๆ แล้วมันเป็นด้านกลับ คือถ้าเป็นประชาธิปไตย เขาอยู่จะไม่ได้ มันเป็นการขัดผลประโยชน์ของเขา เขาจึงรับไม่ได้กับสิ่งที่เรียกว่า one man one vote - one woman one vote

- แสดงว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ยอมกันไม่ได้

ประชาธิปไตย เป็นเรื่องนามธรรมเยอะ มันต้องเอามาตีว่าเมื่อออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว มันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เลือกตั้งทั้งหมดอย่างในรัฐธรรมนูญ 2540 หรือไม่ elite hiso อภิสิทธิ์ชนก็ไม่เอา มันถึงมาเอารัฐธรรมนูญ 2550 เพราะรัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้เขาหมดความหมายไปเยอะ แล้วยังมาตีความว่าการแก้รัฐธรรมนูญผิดรัฐธรรมนูญอีก ผมคิดว่ามันเป็นการรักษาอำนาจของ elite hiso อย่างหน้าด้านที่สุด

- แต่เขามีข้ออ้างคือประชาธิปไตยต้องแบบไทย ๆ เท่านั้นจึงเหมาะสม

ไทย ๆ คือเขาต้องได้ประโยขน์ ถ้าเสียประโยชน์เขาไม่เอา เขาก็ต้องอธิบายอย่างนี้ว่าไม่เหมาะสม สมัยรัชกาลที่ 5-6-7 ก็บอกว่าไม่เหมาะสม ถึงมีการยึดอำนาจ พอมารัชกาลที่ 9 บอกไม่เหมาะสมอีก มันก็คงต้องปะทะกัน มันคงหนีไม่พ้น

- ต้องปะทะกันรุนแรงขนาดไหน

ก็ ไม่รู้นะ เราคุยกันเรื่องนี้มาเยอะ ว่าจะเกี้ยเซียะกันไหม ในด้านหนึ่งก็อาจจะเกี้ยเซียะ เพราะว่าถ้าปะทะกันก็พังกันทั้งหมดโดยเฉพาะข้างบน มันอาจจะต้องเกี้ยเซียะ แต่ผมก็ไม่แน่ใจนะตอนนี้ เมื่อมาถึงจุดนี้มันก็ลูกผีลูกคน 50 : 50 อาจผ่านไปโดยไม่นองเลือดมากไปกว่านี้ แต่ก็อาจจะมีสิทธิ์มากไปกว่านี้ก็ได้ ถึงจุดแตกหักก็ได้

- จุดแตกหักต้องเป็นอย่างไร และเมื่อไหร่

มัน ก็คงรุนแรงไปเรื่อย ๆ นะ ตอนนี้มันก็รุนแรงทีเดียว จะว่าไปแล้วถ้ายังไม่มีการผ่อน ไม่มีความพยายามปรองดองกัน มันก็แรงขึ้น ๆ มันก็ถึงจุดแตกหัก

- รัฐบาลที่เป็นกลุ่มอำนาจใหม่ กับกลุ่มอำนาจเก่าเวลานี้เกี๊ยเซียะกันไหม

มัน น่าจะเกี้ยเซียะ แต่มันยังไม่เกี้ยเซียะ ผมว่าสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่อำนาจเก่าพยายามทำให้ได้ คือล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ได้ เหมือนอย่างล้มรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์

- 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่เกี้ยเซียะอำนาจเก่าเลย

ผมว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ปอดแหกไป (หัวเราะ) ประจบประแจงมากเกินไป

- การประจบประแจงก็ทำให้เขาอยู่ในอำนาจต่อ ไม่โดนล้ม

แต่ก็โดนรุกหนักใช่ไหม เหมือนกับมีอำนาจแต่ยังไม่กล้าใช้อำนาจเท่าที่ควร น่าจะใช้อำนาจมากกว่านี้

- ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้อำนาจมากกว่านี้ ฝ่ายอำนาจเก่าก็จะรุกหนักเพื่อให้รัฐบาลล้มไป

ผม คิดว่ารัฐบาลคงปอดว่าถ้ารุกหนักเขาอาจพัง เพราะฉะนั้นอาจจะไม่กล้ารุก หลายอย่างที่สัญญาไว้กับประชาชนในการเลือกตั้งก็ยังไม่ไปไหน ที่น่าสนใจจะครบ 2 ปีของรัฐบาลแล้ว ฉะนั้นตอนนี้อาจเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญว่ารัฐบาลจะเล่นอย่างไร ผมคิดว่าฝ่ายค้านคือพรรคประชาธิปัตย์คงไม่สามารถล้มรัฐบาลในเกมรัฐสภาได้ มันต้องใช้กำลังทหาร หรือเอาความปั่น ป่วนทางการเมืองมาเป็นตัวทำให้เกิดการล้มรัฐบาล แต่ถ้ารัฐบาลประคองตัวเองให้เรื่องใหญ่ ๆ ผ่านไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจำนำข้าว เรื่องเงินกู้โครงสร้างพื้นฐาน เงินกู้ป้องกันอุทกภัย การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจไปรอด

- ถ้าทหารใช้ไม่ได้ ตุลาการภิวัตน์ก็เสียเครดิตไปหมด แล้วจะใช้อะไรล้มรัฐบาล

มันยังไม่ถึงกับเสียเครดิตหมด ผมคิดว่าหนทางสุดท้ายของฝ่ายอำนาจเก่า บารมีเก่า อยู่ที่การใช้ตุลาการ แต่จะกล้าใช้ไหม...อันนี้ต้องเดา

- ถ้ารัฐบาลเพลี่ยงพล้ำเรื่องข้าว การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้ฝ่ายอำนาจเก่าใช้

ช่องนี้พลิกเกมกลับมาขย่มรัฐบาลมันก็ขย่มไปเรื่อย ๆ แต่จุดที่มันจะคลิกอยู่ตรงไหน คงขย่มไปเรื่อย อันนี้เป็นเรื่องปกติมาก แต่ รัฐบาลก็เสียศูนย์เยอะนะเรื่องจำนำข้าว แต่จะบานปลายไปจนถึงล้มรัฐบาลหรือไม่ ยังไม่แน่ใจ แต่รัฐบาลเสียศูนย์แน่ ๆ อยู่ในเกมถอย แต่จะถอยแล้วพัง กับถอยแล้วยังมีคนเห็นใจอยู่ ยังไม่กล้าพูด

- หน้ากากขาวที่ออกมาชุมนุมตอนนี้ สามารถล้มรัฐบาลได้ไหม

ไม่รู้นะ ผมว่าไม่น่าจะเวิร์ก ลักษณะของมันเป็นกิจกรรมของคนชั้นกลางในเมือง อาจจะหามวลชนยาก เพราะมันไม่มีผู้นำ

การ ล้มคุณทักษิณ ล้มคุณสมัคร คุณสมชาย มันมีผู้นำ มีคุณสนธิ (ลิ้มทองกุล) มีคุณจำลอง (ศรีเมือง) แต่ตอนนี้ผู้นำมันไม่มี ถ้าดูผู้นำอย่าง พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร คุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ คุณแก้วสรร อติโพธิ มันก็นำไม่ได้ มันไม่มีบารมีแบบคุณสนธิ คุณจำลอง ถ้าหน้ากากขาวชุมนุมโดยไม่มีแกนนำ จะล้มรัฐบาลได้ยาก ยากมาก (เน้นเสียง)

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น