เป็น เวลากว่า 1 ปี 8 เดือน ที่ "ถวิล เปลี่ยนสี" ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ตำแหน่ง "เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ" (สมช.) กลับคืนมา หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสั่งโยกเข้ากรุสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 เพื่อเปิดทางให้คนที่รัฐบาล "ไว้ใจ" มาคุมหน้าที่งานด้าน "ข่าวกรอง" แทน
แต่พลันที่ศาลปกครองกลางมีคำ สั่งเพิกถอนคำสั่งโยกย้ายดังกล่าว "ถวิล" ก็ลุกจากกรุขึ้นมาทวงความชอบธรรมที่สูญเสียไป ด้วยการขอกลับไปนั่งเก้าอี้เลขาฯ สมช.ตามเดิม และปฏิเสธที่จะไม่ขอไปนั่งไลน์ปลัดกระทรวง แม้จะเป็นตำแหน่งระดับ 11 เท่ากันก็ตาม
หากปฏิบัติการทวงคืนเก้าอี้ของ "ถวิล" มิใช่ของง่าย เพราะ "ถวิล" ถูกมองว่าเป็นข้าราชการต่างขั้วอำนาจ เป็นเด็กของ "พรรคประชาธิปัตย์" หากให้ "ถวิล" มานั่งเลขาฯ สมช. อาจกลายเป็น "หอกข้างแคร่" คอยทิ่มแทงรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เพราะที่ผ่านมา "ถวิล" เคยเดินขึ้นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ปากคำกรณี "ชายชุดดำ" ว่าเป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของคน 91 ศพ ในเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมปี 2553 ทั้งที่ฝ่ายคนเสื้อแดงและคนในพรรคเพื่อไทยต่างออกมาถามว่า "ใครคือชายชุดดำ"
สำคัญกว่านั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้คืนตำแหน่งของ "ถวิล" นั่นคือ "พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร" เลขาฯสมช.คนปัจจุบัน ที่ถูกมองว่าเป็นสายตรงของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ผู้มีบารมีตัวจริงในพรรคเพื่อไทย
ดังนั้น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุด ย่อมเลือกหนทาง "ยื้อ" จนถึง "ฎีกา" ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน ตามกฎหมายที่เปิดช่องเอาไว้
"พิชิต ชื่นบาน" ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะฝ่ายกฎหมายพรรค และยังเป็นทีมกฎหมายส่วนตัวของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ออกมาย้ำความคิดของรัฐบาลว่า "พล.ท.ภราดร" เลขาฯ สมช.คนปัจจุบัน ทำหน้าที่แข็งขันกว่า "ถวิล" ในเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นรัฐบาลควรยื่นอุทธรณ์
"ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง แล้ว พบว่าไม่มีการระบุว่าการโยกย้ายเป็นเรื่องกลั่นแกล้ง เพียงแต่มีการรีบเร่ง ซึ่งข้อเท็จจริงคือรัฐบาลต้องการปรับเปลี่ยนเพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ขณะนั้น โดยฝ่ายบริหารคิดว่าจะต้องเอาคนที่เหมาะสมเข้ามาดูแลสถานการณ์แทน ซึ่งเลือกไปที่ พล.ท.ภราดร"
อย่าง ไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลหวังเล่นเกมยื้อคืนเก้าอี้เลขาฯ สมช. โดยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด แล้วรอจนกว่าศาลจะตัดสิน เพื่อให้ "ถวิล" เกษียณอายุราชการไปก่อน
เหมือนครั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เล่นเกมยื้อคืนตำแหน่งให้กับ "พีรพล ไตรทศาวิทย์" อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ถูกเด้งเข้ากรุไปนั่งตบยุงในตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ กว่าศาลปกครองจะตัดสิน "พีรพล" ก็อำลาราชการไปแล้ว
แต่ครั้งนี้การ เดินเกมยื้อของ "ยิ่งลักษณ์" อาจยากกว่ายุค "อภิสิทธิ์" เพราะ "กล้านรงค์ จันทิก" กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้ช่องให้ "ถวิล" สามารถแจ้งข้อกล่าวหา "ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ต่อ "ยิ่งลักษณ์" ได้ทันที หากนายกฯไม่ยอมคืนเก้าอี้เลขาฯ สมช.
จึงต้องจับตาดูว่ามหากาพย์ เก้าอี้เลขา สมช.จะลงเอยอย่างไร เพราะย้อนไปกว่า 1 ปี 8 เดือนที่ "ถวิล" ต้องพ้นจากเก้าอี้ เนื่องจากฝ่ายการเมืองต้องการ "ขยับ" เก้าอี้ "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ซึ่งขณะนั้นเป็นของ "พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" เพื่อเปิดทางให้ "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" พี่ชาย "คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร์" อดีตภรรยาของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ได้ขึ้นเป็น ผบ.ตร.แทนที่ "พล.ต.อ.วิเชียร"
รัฐบาล ยิ่งลักษณ์จึงต้องหมุนวงรอบการโยกย้าย โดยให้ "ถวิล" ลุกออกจากเก้าอี้เลขาฯ สมช. เพื่อเปิดช่องให้ "พล.ต.อ.วิเชียร" ได้ย้ายจาก ผบ.ตร.มานั่งเลขาฯ สมช.
ก่อนจะเด้ง "ถวิล" เข้ากรุสำนักนายกฯ
และพลันที่ ตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมว่างลงในปีต่อมา ครม.ยิ่งลักษณ์ก็ย้าย "พล.ต.อ.วิเชียร" มานั่งในตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม แล้วจึงหยิบชื่อ "พล.ท.ภราดร" ขึ้นมาจากกรุในตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ขึ้นมาเป็นเลขาฯสมช. อันมีผลเมื่อ 1 ตุลาคม 2555
ท่ามกลางแรงการเมืองที่ผันผวน ปัญหาไฟใต้ยังไม่มีท่าทีเบาบางลง แม้รัฐบาลจะเปิดเวทีพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โดยมีหน่วยงาน สมช.เป็นตัวจักรสำคัญ มี "พล.ท.ภราดร" เป็นหัวหอก
การที่ศาลปกครอง กลางเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกฯที่โยกย้าย "ถวิล" พ้นจากตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายน 2554 อันมีผลให้ "ถวิล" กลับเข้าสู้เก้าอี้เลขาฯ สมช.
อันเป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการเปลี่ยนม้ากลางศึกอาจมีผลต่อการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ มีผลต่อการวางหมากทางการเมืองของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย
นี่เป็นที่มาของมหากาพย์การช่วงชิงเก้าอี้เลขาฯ สมช. ที่กินเวลาการต่อสู้ยาวนานเกือบ 2 ปี
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------------------------
แต่พลันที่ศาลปกครองกลางมีคำ สั่งเพิกถอนคำสั่งโยกย้ายดังกล่าว "ถวิล" ก็ลุกจากกรุขึ้นมาทวงความชอบธรรมที่สูญเสียไป ด้วยการขอกลับไปนั่งเก้าอี้เลขาฯ สมช.ตามเดิม และปฏิเสธที่จะไม่ขอไปนั่งไลน์ปลัดกระทรวง แม้จะเป็นตำแหน่งระดับ 11 เท่ากันก็ตาม
หากปฏิบัติการทวงคืนเก้าอี้ของ "ถวิล" มิใช่ของง่าย เพราะ "ถวิล" ถูกมองว่าเป็นข้าราชการต่างขั้วอำนาจ เป็นเด็กของ "พรรคประชาธิปัตย์" หากให้ "ถวิล" มานั่งเลขาฯ สมช. อาจกลายเป็น "หอกข้างแคร่" คอยทิ่มแทงรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เพราะที่ผ่านมา "ถวิล" เคยเดินขึ้นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ปากคำกรณี "ชายชุดดำ" ว่าเป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของคน 91 ศพ ในเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมปี 2553 ทั้งที่ฝ่ายคนเสื้อแดงและคนในพรรคเพื่อไทยต่างออกมาถามว่า "ใครคือชายชุดดำ"
สำคัญกว่านั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้คืนตำแหน่งของ "ถวิล" นั่นคือ "พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร" เลขาฯสมช.คนปัจจุบัน ที่ถูกมองว่าเป็นสายตรงของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ผู้มีบารมีตัวจริงในพรรคเพื่อไทย
ดังนั้น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุด ย่อมเลือกหนทาง "ยื้อ" จนถึง "ฎีกา" ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน ตามกฎหมายที่เปิดช่องเอาไว้
"พิชิต ชื่นบาน" ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะฝ่ายกฎหมายพรรค และยังเป็นทีมกฎหมายส่วนตัวของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ออกมาย้ำความคิดของรัฐบาลว่า "พล.ท.ภราดร" เลขาฯ สมช.คนปัจจุบัน ทำหน้าที่แข็งขันกว่า "ถวิล" ในเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นรัฐบาลควรยื่นอุทธรณ์
"ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง แล้ว พบว่าไม่มีการระบุว่าการโยกย้ายเป็นเรื่องกลั่นแกล้ง เพียงแต่มีการรีบเร่ง ซึ่งข้อเท็จจริงคือรัฐบาลต้องการปรับเปลี่ยนเพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ขณะนั้น โดยฝ่ายบริหารคิดว่าจะต้องเอาคนที่เหมาะสมเข้ามาดูแลสถานการณ์แทน ซึ่งเลือกไปที่ พล.ท.ภราดร"
อย่าง ไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลหวังเล่นเกมยื้อคืนเก้าอี้เลขาฯ สมช. โดยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด แล้วรอจนกว่าศาลจะตัดสิน เพื่อให้ "ถวิล" เกษียณอายุราชการไปก่อน
เหมือนครั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เล่นเกมยื้อคืนตำแหน่งให้กับ "พีรพล ไตรทศาวิทย์" อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ถูกเด้งเข้ากรุไปนั่งตบยุงในตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ กว่าศาลปกครองจะตัดสิน "พีรพล" ก็อำลาราชการไปแล้ว
แต่ครั้งนี้การ เดินเกมยื้อของ "ยิ่งลักษณ์" อาจยากกว่ายุค "อภิสิทธิ์" เพราะ "กล้านรงค์ จันทิก" กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้ช่องให้ "ถวิล" สามารถแจ้งข้อกล่าวหา "ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ต่อ "ยิ่งลักษณ์" ได้ทันที หากนายกฯไม่ยอมคืนเก้าอี้เลขาฯ สมช.
จึงต้องจับตาดูว่ามหากาพย์ เก้าอี้เลขา สมช.จะลงเอยอย่างไร เพราะย้อนไปกว่า 1 ปี 8 เดือนที่ "ถวิล" ต้องพ้นจากเก้าอี้ เนื่องจากฝ่ายการเมืองต้องการ "ขยับ" เก้าอี้ "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ซึ่งขณะนั้นเป็นของ "พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" เพื่อเปิดทางให้ "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" พี่ชาย "คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร์" อดีตภรรยาของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ได้ขึ้นเป็น ผบ.ตร.แทนที่ "พล.ต.อ.วิเชียร"
รัฐบาล ยิ่งลักษณ์จึงต้องหมุนวงรอบการโยกย้าย โดยให้ "ถวิล" ลุกออกจากเก้าอี้เลขาฯ สมช. เพื่อเปิดช่องให้ "พล.ต.อ.วิเชียร" ได้ย้ายจาก ผบ.ตร.มานั่งเลขาฯ สมช.
ก่อนจะเด้ง "ถวิล" เข้ากรุสำนักนายกฯ
และพลันที่ ตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมว่างลงในปีต่อมา ครม.ยิ่งลักษณ์ก็ย้าย "พล.ต.อ.วิเชียร" มานั่งในตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม แล้วจึงหยิบชื่อ "พล.ท.ภราดร" ขึ้นมาจากกรุในตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ขึ้นมาเป็นเลขาฯสมช. อันมีผลเมื่อ 1 ตุลาคม 2555
ท่ามกลางแรงการเมืองที่ผันผวน ปัญหาไฟใต้ยังไม่มีท่าทีเบาบางลง แม้รัฐบาลจะเปิดเวทีพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โดยมีหน่วยงาน สมช.เป็นตัวจักรสำคัญ มี "พล.ท.ภราดร" เป็นหัวหอก
การที่ศาลปกครอง กลางเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกฯที่โยกย้าย "ถวิล" พ้นจากตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายน 2554 อันมีผลให้ "ถวิล" กลับเข้าสู้เก้าอี้เลขาฯ สมช.
อันเป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการเปลี่ยนม้ากลางศึกอาจมีผลต่อการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ มีผลต่อการวางหมากทางการเมืองของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย
นี่เป็นที่มาของมหากาพย์การช่วงชิงเก้าอี้เลขาฯ สมช. ที่กินเวลาการต่อสู้ยาวนานเกือบ 2 ปี
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น