--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน !!?

โดย ดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด

เนื่องจากทรัพยากรบนโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัด การผลิตอาหารเพื่อใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าสูงสุดจึงมีความสำคัญต่อการ ผลิตอาหารให้มีเพียงพอต่อทุกส่วน หากมีการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากระบวนการจัดการที่ใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รูปแบบความร่วมมือที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารเพิ่มมากขึ้น มีได้หลาย

รูปแบบ โดยขอเสนอบางรูปแบบเพื่อรองรับกับประชากรโลกของโลกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ที่คาดว่าจะเป็น 9 พันล้านคนในเร็ววันนี้ ได้แก่ 3Ps (Public Private Partnership) โดยมี 2P ที่มีบทบาทแตกต่างกัน คือภาคเอกชน (Private) ที่เป็นผู้ผลิตและผู้ค้า และภาครัฐ (Public) ซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลกฎระเบียบ เพื่อชี้ให้เห็นว่าภาคเอกชนที่เผชิญกับการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องหาเครื่องมือมาช่วยทำให้การผลิตและการตลาดให้มีความคล่องตัว

จากความคล่องตัวดังกล่าวจะส่งผลให้ผลิตอาหารได้ดีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารที่มากขึ้น โดยในที่นี้มีเครื่องมือ 2 ชนิด ได้แก่ ระบบเทคโนโลยี/นวัตกรรม และการจัดการที่บริหารแบบตลอดห่วงโซ่การผลิตและการตลาด โดยเครื่องมือทั้ง 2 รูปแบบนี้มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหารมากขึ้นได้ เพราะเครื่องมือทั้งสองจะทำให้ระบบการผลิตใช้วัตถุดิบในปริมาณที่



เท่าเดิม หรือน้อยลง แต่ได้รับผลผลิตที่มากขึ้น โดยปัจจัยทั้งเทคโนโลยี/นวัตกรรม และการจัดการที่บริหารแบบตลอดห่วงโซ่การผลิตและการตลาดล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ "องค์ความรู้"

องค์ความรู้ดังกล่าวเกิดจากกระบวนการการพัฒนาองค์ความรู้ของภาคเอกชน ที่ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่ภาครัฐเป็นผู้กำหนดและดูแลกฎระเบียบ ดังนั้น หากสร้างความร่วมมือกันในภาครัฐและภาคเอกชนจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้นตามรูปแบบ 3Ps

นอกจากนี้ ในสังคมจะมีผู้ผลิตหลายขนาด หากผู้ผลิตขนาดใหญ่ร่วมมือกับผู้ผลิตขนาดเล็ก และถ่ายทอด "องค์ความรู้" ซึ่งกันและกัน ในห่วงโซ่การผลิตอาหารที่ซับซ้อน และยาวหลายขั้นตอน จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นอีกรูปแบบที่เรียกว่า 4Ps ((Public Private (P-Big) (P-SMEs) Partnership))

ในทำนองเดียวกัน หากในชุมชนอาเซียน ซึ่งแต่ละประเทศมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน มาแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่แตกต่างกันเหล่านั้น จะทำให้สังคมในอาเซียนได้ประโยชน์ร่วมกันมากยิ่งขึ้น เกิดองค์ความรู้เพิ่มพูนขึ้น และความมั่นคงทางอาหารก็จะเพิ่มขึ้น

แบบสุดท้าย คือรูปแบบ 5Ps เนื่องจากสังคมยังคงมีกลุ่มคนที่ยากจน ประชากรที่อยู่ห่างไกลและขาดโอกาส แต่ยังคงต้องการความมั่นคงทางอาหารอยู่ ดังนั้น Principle of Social หรือ P ที่ 5 นั้นจะหมายถึงใครก็ได้ที่เกี่ยวข้องกันในสังคม สามารถช่วยเหลือร่วมมือกันได้ เช่น สถาบันการศึกษา ซึ่งได้รับการลงทุนจากรัฐทำให้มีบุคลากร เทคโนโลยี และองค์ความรู้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวิจัย ผู้นำชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือแม้แต่ภาคเอกชนที่ต้องการจะทำ Social Enterprise หรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมาร่วมกัน

สร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน จะก่อให้เกิดสังคมที่มีความสุขได้อย่างยั่งยืน

หากจะถามว่า 3Ps กับความมั่นคงทางอาหารเกี่ยวโยงกันอย่างไร คงอยู่ที่ปัจจัย 2 ตัวที่มีบทบาททำให้ความมั่นคงทางอาหารมีเพิ่มขึ้น
1.จากการจัดการซัพพลายเชนทั้งห่วงโซ่การผลิตและการตลาด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปัญหาขาดแคลนสินค้าอาหารในช่วงภาวะน้ำท่วม ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากผู้บริโภคเกิดการตื่นตระหนกจากเหตุการณ์น้ำท่วม ดังนั้น หากมีการใช้องค์ความรู้เรื่องการตลาดตามทฤษฎีการลดความตื่นตระหนกของผู้บริโภค (Consumers panic theory) และระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดี (Supply chain management) เช่น นำไข่ไก่จากพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ

เข้ามายังส่วนกลางให้เพียงพอต่อการบริโภคให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการจัดจำหน่ายอื่นที่เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนั้น ก็จะทำให้ปัญหารุนแรงน้อยลงได้

อย่างไรก็ตาม ระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดีจะก่อให้เกิดอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากสามารถควบคุมความปลอดภัยตลอดทั้งกระบวนการผลิต รวมถึงสามารถสืบย้อนกลับได้ง่าย อีกทั้งยังก่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น ส่งผลให้ระบบการผลิตอาหารของโลกดีขึ้น ถึงแม้กระบวนการผลิต

ต่าง ๆ ก็สร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้นเหมือนกัน แต่หากมีระบบการจัดการที่ดีตลอดทั้งห่วงโซ่ ย่อมทำให้ได้อาหารที่มากขึ้น ปลอดภัยกว่า รวมถึงยังให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า ส่งผลให้สังคมโดยรวมเกิดความพึงพอใจสูงสุด

2.ความมั่นคงทางอาหารกับเทคโนโลยี/นวัตกรรม เป็นอีกองค์ความรู้หนึ่งในการทำให้เกิดความมั่นคงที่มากขึ้น เนื่องจากความมั่นคงทางอาหาร สามารถทำให้เกิดความมั่นคงที่มากขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเท่าเดิม เพียงแค่นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีทำให้ผลิตอาหารเพียงพอ ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อมีระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดีร่วมกับการใช้เทคโนโลยีแล้วจะทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารที่มากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรของโลกเท่าเดิม

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะทำให้สามารถผลิตอาหารได้มากขึ้น มีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น แต่การนำเทคโนโลยี หรือระบบการจัดการซัพพลายเชนที่มีศักยภาพ หรือความรู้ชุมชนมาประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนสูง ทั้งนี้ กลุ่มองค์กรที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหารมักเป็นชุมชนที่ยากจนอยู่แล้ว ประเด็นที่น่าสนใจคือแนวทางที่จะให้ชุมชนเหล่านั้นเข้าถึงเทคโนโลยีและระบบการจัดการซัพพลายเชนที่มีศักยภาพ หรือองค์ความรู้เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน

อาเซียนกับการเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร

ในปี 2558 สมาชิกกลุ่มอาเซียนจะมีการรวมตัวกันเป็นประชาเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ซึ่งนับเป็นโอกาสดีของไทย เนื่องจากสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ นับว่าเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมในฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร และก่อให้เกิดการแบ่งงานทำ รวมถึงเป็นการสร้างตลาดในภูมิภาคให้มีการขยายตัวมากขึ้น เช่น ในอดีต สมาชิกอาเซียน เช่น พม่า และกัมพูชามีการเลี้ยงไก่ในปริมาณที่
น้อยมาก แต่หลังจากมีการลงทุนในประเทศดังกล่าวมากขึ้น

เป็นผลมาจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ปริมาณการผลิตและตลาดเนื้อไก่ในอาเซียนมีการขยายตัวมากขึ้น ประชาชนโดยส่วนใหญ่ของอาเซียนเริ่มเข้าถึงและมีโอกาสได้บริโภคโปรตีนจากไก่ เนื้อมากขึ้นภายใต้การเลี้ยงที่มีความปลอดภัยจากการใช้เทคโนโลยีที่ดี

นอกจากอาเซียนจะเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารแล้ว อาเซียนยังเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ของโลก โดยมีประชากรเกือบ 600 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของประชากรโลกทั้งหมด อีกทั้งเมื่อพิจารณาในแง่ของกำลังซื้อของกลุ่มอาเซียนเปรียบเทียบกับกำลังซื้อรวมทั้งโลก พบว่าอาเซียนมีกำลังซื้อในระดับปานกลาง หรือประมาณ 2,198 เหรียญต่อคนต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปยังอาเซียนของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

บทบาทของภาคเอกชนยังมีความร่วมมือกันในภาคเอกชนกันอีก ได้แก่ ภาคเอกชนขนาดเล็ก-กลางและขนาดใหญ่กับความร่วมมือเกษตรกรในบทบาทของ Contract farming/Outsourcing รวมทั้งภาคเอกชนขนาดเล็ก SMEs กับความร่วมมือกับภาคเอกชนขนาดใหญ่ ในการเชื่อมโยงซัพพลายเชนให้ครบวงจรทั้งการผลิตและการตลาด ตลอดจนการสร้างความพอใจให้ผู้บริโภคมากขึ้น

SMEs นับว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจ SMEs นับเป็นผู้ประกอบการประมาณร้อยละ 90 ของผู้ประกอบการทั้งหมดของไทย ดังนั้น ถ้าภาครัฐมีนโยบายสนับสนุน SMEs จะนับเป็นการสนับสนุนในภาพรวมด้วย

เนื่องจากวงจรของการผลิตอาหารจะมีห่วงโซ่การผลิตที่ยาวมาก และมักพบว่าในหลายห่วงโซ่ กลุ่มเกษตรกรรายย่อย หรือ SMEs มีบทบาทที่ทำให้วงจรของการผลิตอาหารครบวงจร เช่น หากไม่มีผู้ผลิต ผู้ขนส่งสินค้า ร้านค้าจัดจำหน่าย หรือห่วงโซ่ย่อย

ที่มีบทบาทเหล่านี้ อาจไม่ก่อให้เกิดกระบวนการผลิตอาหาร หรืออาหารมีความมั่นคงน้อยลง เพราะการผลิตไม่มีศักยภาพ

รูปแบบการผลิตและการตลาด ตามแนวคิดดังกล่าว ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นคงทางอาหารที่มากขึ้น แต่ยังเป็นการกระจายรายได้แก้ปัญหาความยากจน เพราะไม่ว่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่หรือเล็กต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน ในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น