--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โปรเจกต์ทวาย..ยังไม่นิ่ง !!?

ดังที่ เคยเกริ่น มาแล้วว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า ไม่ได้เป็นความหวังแค่คนพม่า แต่ยังเป็นความหวังของคนทั้งอาเซียน ทุกคนล้วนอยากให้โครงการนี้บรรลุเป้าหมาย

นัยหนึ่งเพื่อตอกย้ำการเปิดเสรีของพม่าอย่างเต็มตัว

นัยหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะใช้ท่าเรือแห่งนี้เป็นแหล่ง ขนถ่ายสินค้า

แต่โครงการนี้ก็เต็มไปด้วยปัญหาอุปสรรคนานัปการ เริ่มตั้งแต่เม็ดเงินลงทุนที่ต้องใช้จำนวนมหาศาล มากกว่า 1.2 แสนล้านบาท เม็ดเงินจำนวนมากมายขนาดนี้ ผู้สร้างต้องเป็นบริษัทระดับโลก จึงไม่แปลกที่รัฐบาลพม่าจะไฟเขียวให้ บริษัท อิตา เลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เข้าไปรับสัมปทาน บริหารพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ภายใต้สัญญาเช่า ที่ดินระยะเวลา 75 ปี คิดค่าสัมปทาน 3 หมื่นล้านบาท

บริษัท อิตาเลียนไทยตั้งบริษัทลูก คือ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทย 3 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการ บริษัท ดังกล่าวถือหุ้นโดยกลุ่มอิตาเลียนไทย 75% อีก 25% ถือโดยกลุ่มบริษัท แม็กซ์ เมียนมาร์ ซึ่งเป็นบริษัทท้องถิ่นพม่า

ทว่า! ในเวลาต่อมากลุ่มบริษัท แม็กซ์ เมียนมาร์ ก็ประกาศถอนตัว เนื่องจากการอพยพคนออกนอกพื้นที่ ไม่เป็นไปตามแผน ชาวบ้านรับเงินแล้วไม่ยอมย้ายออก ต่อรองขอเพิ่มค่า เวนคืนอีก ส่งผลให้เม็ดเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยไร่ละ 5 แสนจ๊าต พุ่งขึ้นไป เกิน 2 ล้านจ๊าตต่อไร่

นั่นยังไม่น่าหนักใจเท่ากับ แม้จะเพิ่มค่าเวนคืนให้ตามที่เรียกร้อง บางครอบครัวก็ยังไม่ยอมย้ายออก

ในที่สุดรัฐบาลไทยต้องโดดเข้า ไปอุ้ม เพื่อให้โครงการนี้เดินหน้าได้ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพลเอกเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เดินทางลงพื้นที่โครงการเพื่อรับทราบความคืบหน้า พร้อมส่งเทียบเชิญรัฐบาล ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนด้วย

กลายเป็นโครงการ 3 ประสาน

ซึ่งเมื่อวันที่ 25 พ.ค.56 ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" ยิงสัญญาณตรงมาจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ตน ได้ถือโอกาสระหว่างการเข้าร่วมประชุม นานาชาติ "The Future of Asia" ครั้งที่ 19 กรุงโตเกียว เชิญชวนให้ญี่ปุ่น มาลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในไทย 2 ล้านล้านบาท พร้อมทั้งเชิญชวนให้ลงทุนต่อยอดในเขตเศรษฐกิจพิเศษท่าเรือน้ำลึกทวาย ภายหลังที่ญี่ปุ่น เคยให้ความร่วมมือลงทุนในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ที่ผ่านมา โดย ได้หารือกับนายชินโซ อาเบะ นายกฯ ของ ญี่ปุ่น ถึงการสานต่อการค้าการลงทุน การ ส่งออกสินค้าในแผนกอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย

หากญี่ปุ่นโอเค ก็จะมีการจดทะเบียน จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ  Special Purpose Vehiclie : SPV) เพื่อบริหารจัดการโครงการร่วมทุน พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนิคมฯทวายในพม่าต่อไป

มองจากมุมดังกล่าวย่อมไม่มีเหตุ ผลที่ญี่ปุ่นจะปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการ ทวายโปรเจกต์ เพราะญี่ปุ่นเป็นนักลง ทุนอันดับ 1 ในประเทศไทย ย่อมได้รับอานิสงส์จากการสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย อย่างแน่นอน

แต่กระแสข่าวจากแหล่งข่าวที่แนบแน่นกับกลุ่มทุนญี่ปุ่นกระซิบว่า ถึงนาทีนี้ญี่ปุ่นยังไม่ตัดสินใจว่าจะ "เยส" หรือ "โน"

เนื่องจากก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้สิทธิ์จากรัฐบาลพม่าให้บริหารท่าเรือน้ำลึกใน พม่าอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากท่าเรือ น้ำลึกทวาย นั่นหมายความว่าญี่ปุ่นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปในการบริหารท่าเรือดังกล่าว จึงอาจเป็น ไปได้ที่ญี่ปุ่นอาจจะไม่ตกลงร่วมบริหาร ท่าเรือน้ำลึกทวาย

ในขณะที่แหล่งข่าวอีกแห่งกลับมองว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นโครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นยากจะปฏิเสธ

เพราะอย่างที่กล่าวแล้วว่า ญี่ปุ่น เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในไทย ส่งสินค้า ไปขายต่างประเทศมากมาย การได้บริหารท่าเรือน้ำลึกย่อมก่อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับสินค้าของญี่ปุ่น

และหากญี่ปุ่นปฏิเสธ! จีนก็พร้อม จะโดดแทนทันที

คิดว่าญี่ปุ่นคงจะไม่กล้า..โน!

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น