--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อดีต รมต.คลัง ย้ำตัวเลขขาดทุนข้าว ติงกั๊กข้อมูล ยิ่งหมดเครดิต !!?

 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ( ครม.ปู 1) ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัวที่ใช้ชื่อ username ว่า Thirachai Phuvanatnaranubala ให้ความเห็นต่อตัวเลขการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ยังไม่ยอมเปิดเผยตัวเลขออกมา ในขณะที่ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ออกมาเปิดเผยตุวเลขการขาดทุนโครงการว่าขาดทุนราว 2.6 แสนล้านบาท โดยระบุว่า ครม.อนุมัติงบประมาณโครงการนี้ตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศจนถึงปัจจุบันรวมแล้ว 3 ครั้ง จำนวน 6 แสนล้านบาท

อดีต รมว.คลัง ระบุว่า ถ้ารับจำนำ 15,000 บาทต่อตัน ขณะที่ราคาตลาดโลก 10,000 บาทต่อตัน ก็มีโอกาสจะขาดทุน เฉพาะจากส่วนต่างราคา เป็นสัดส่วน 1 ใน 3 วงเงิน 6 แสนล้าน ก็มีโอกาสขาดทุน 2 แสนล้านเข้าไปแล้ว และยังจะมีขาดทุนอีก จากค่าบริหาร ข้าวเสื่อมสภาพ ข้าวหาย ฯลฯ

เมื่อรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูล นักวิเคราะห์ทั่วไปเขาจะประเมินเองอย่างนี้ เขาจึงจะมองในทางร้ายไว้ก่อน แต่หากรัฐบาลจะบอกว่าขาดทุนน้อยกว่านี้ รัฐบาลก็ต้องชี้แจงโดยให้ตัวเลขทั้งหมดอย่างโปร่งใส ถ้าจะกั๊กตัวเลข โดยอ้างว่ายังประเมินขาดทุนไม่ได้ เพราะยังขายออกไปไม่หมด หรือจะให้ตัวเลขแบบบางส่วน เช่น เปิดเฉพาะปีที่หนึ่ง แต่ปิดตัวเลขปีที่สอง นักวิเคราะห์เขาก็จะไม่เชื่อถือ การให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน จะยิ่งตอกย้ำให้เขาใช้ตัวเลขที่เลวร้ายที่สุด

ข้อความที่นายธีระชัยโพสต์ลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว

การจำนำข้าว มีมติ ครม. อนุมัติใช้เงินทั้งสองปีจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

ปี 54/55 269,160 ลบ
ปี 55/56 ครั้งที่ 1 240,000 ลบ
ปี 55/56 ครั้งที่ 2 105,000 ลบ

รวมวงเงินทั้งสองปีกว่า 6 แสนล้านบาท

คิดแบบง่ายๆ ถ้ารับจำนำ 15,000 บาทต่อตัน ขณะที่ราคาตลาดโลก 10,000 บาทต่อตัน ก็มีโอกาสจะขาดทุน เฉพาะจากส่วนต่างราคา เป็นสัดส่วน 1 ใน 3 อยู่แล้วครับ

วงเงิน 6 แสนล้าน ก็มีโอกาสขาดทุน 2 แสนล้านเข้าไปแล้ว และยังจะมีขาดทุนอีก จากค่าบริหาร ข้าวเสื่อมสภาพ ข้าวหาย ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้ปิดบังไม่ได้ ถ้าจะขาดทุนน้อยกว่านี้ รัฐบาลจะต้องแสดงอภินิหาร ขายข้าวให้ได้ราคาสูงกว่าตลาดโลก ซึ่งคงเป็นไปได้ยาก ใครเขาจะมาช่วยซื้อข้าวของเรา แพงกว่าที่เขาจะซื้อจากคู่แข่ง

เมื่อรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูล นักวิเคราะห์ทั่วไปเขาจะประเมินเองอย่างนี้ เขาจึงจะมองในทางร้ายไว้ก่อน

แต่หากรัฐบาลจะบอกว่าขาดทุนน้อยกว่านี้ รัฐบาลก็ต้องชี้แจงโดยให้ตัวเลขทั้งหมดอย่างโปร่งใส

ถ้าจะกั๊กตัวเลข โดยอ้างว่ายังประเมินขาดทุนไม่ได้ เพราะยังขายออกไปไม่หมด หรือจะให้ตัวเลขแบบบางส่วน เช่น เปิดเฉพาะปีที่หนึ่ง แต่ปิดตัวเลขปีที่สอง นักวิเคราะห์เขาก็จะไม่เชื่อถือ

การให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน จะยิ่งตอกย้ำให้เขาใช้ตัวเลขที่เลวร้ายที่สุด ที่เขาประเมินของเขาเองครับ

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
///////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น