โดย: พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์

(ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คะแนนนิยมเริ่มถูกท้าทายจากสารพัดปัญหา)
ไม่น่าเชื่อว่า หลายๆ ประเทศที่มี “สุภาพสตรี” เป็นผู้นำ ต่างเกิดวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาล ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน
เอาใกล้ตัวก่อน อย่างประเทศไทย ที่มี “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา จากชาวนาที่เป็นฐานะเสียงสำคัญของ “พรรคเพื่อไทย” ของเธอเอง จากการประกาศลดราคาจำนำข้าวขาว จากตันละ 1.5 หมื่นบาท เหลือเพียง 1.2 หมื่นบาท
ขณะเดียวกับกลุ่มคนต่อต้านรัฐบาลและพี่ชายของเธอ “พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร” ก็เริ่มกลับมารวมตัวกัน เห็นได้จากการชุมนุมของกลุ่มคนที่เรียกว่า “หน้ากากขาว” ซึ่งทวีจำนวนมากขึ้นทุกที แม้จะยังมีจำนวนไม่มากพอจะสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล
อีกซีกหนึ่งของโลก ประเทศบราซิล ที่ว่ากันว่า ผู้คนหายใจเข้าออกเป็นชายหาด งานคาร์นิวัล และฟุตบอล แต่การแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่าง “ฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่น คัพ” กลับกลายเป็นวาระนัดรวมตัวกันประท้วงการบริหารงานของ “นางดิลม่า รุซเซฟฟ์”ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศ โดยเฉพาะการขึ้นค่าครองชีพด้านต่างๆ เพื่อนำเงินไปลงทุนจัดงานฟุตบอลระดับแกรนด์ในปีหน้าอย่าง “ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ” หรือฟุตบอลโลก โดยมีการประเมินว่า มีชาวแซมบ้าร่วมประท้วงผู้นำของตัวเองกว่า 1 ล้านคนแล้ว
อย่างไรก็ตาม คนที่อาการหนักที่สุดในเวลานี้ และบทความชิ้นนี้จะโฟกัส ก็คือผู้นำหญิงจาก “ประเทศทะเลใต้” ที่อยู่ห่างจากประเทศไทย ราว 9 ชั่วโมงบิน อย่าง “นางสาวจูเลีย กิลลาร์ด” นายกรัฐมนตรีคนแรกออสเตรเลีย เพราะในขณะที่การเมืองออสซี่กำลังคึกคัก เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 ก.ย.นี้
แต่คะแนนนิยมล่าสุดของตัวเธอและพรรคของเธอกลับลดต่ำลงอย่างน่าใจหาย โดยผลการสำรวจล่าสุด ปรากฏว่า “นางสาวกิลลาร์ด-พรรคเลเบอร์” มีคะแนนนิยมตามหลังพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่าง “พรรคลิเบอรัล-พรรคเนชั่นแนล” ที่มีผู้นำชื่อ “นายโทนี่ แอ็บบ็อต” ถึง 14%
สาเหตุที่คะแนนนิยมของ “นายกฯหญิงออสซี่” ลดลงอย่างฮวบฮวบ ด้านหนึ่งมาจากนโยบาย ทั้งการปรับลดงบประมาณกระทรวงสำคัญๆ การไม่ปฏิบัติตามสิ่งได้ที่หาเสียงไว้เกี่ยวกับภาษีคาร์บอนและภาษีเหมืองแร่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้เข้าเมือง
แต่อีกด้านหนึ่งมาจากความขัดแย้งภายในพรรคเลเบอร์เอง ที่คงยังมีเสียงเรียกร้องจากสมาชิกพรรคบางส่วน ให้นำ “นายเควิน รัดด์”อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรค กลับมานำพรรคแทน แม้ว่า "หัวหน้าพรรคคนก่อน" จะถอนตัวจากการลงคะแนนเปลี่ยนตัวผู้นำพรรคเลเบอร์ เมื่อเดือน มี.ค.ปีเดียวกันนี้ จนทำให้ “หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน” ได้นำทัพสู้ศึกเลือกตั้งต่อไป ก็ตาม

(ดิลม่า รุสเซฟฟ์ จะรับมือกับม็อบนับล้านคนได้อย่างไร)
จากการที่ผู้เขียนได้ไปสังเกตการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย เมื่อต้นเดือน มิ.ย.2556 ตามคำเชิญของสถาบันออสเตรเลีย-ไทย ก็ช่วยยืนยันสิ่งที่เคยได้ฟังมาก่อนหน้าว่า “นางสาวกิลลาร์ด” เป็นนักพูดที่มีความสามารถในการเอาตัวรอดชั้นเยี่ยม
เพราะในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงที่ได้นั่งดูการตอบกระทู้ถามสด “ผู้นำหญิงออสซี่” ได้ผุดลุกผุดนั่ง ตอบโต้ข้อกล่าวหาจาก ส.ส.พรรคฝ่ายค้านนับครั้งไม่ถ้วน บางครั้งเธอพูดเสียงดังกล่าว “นี่มันเรื่องตลกชัดๆ” บางครั้งเธอสวนกลับผู้กล่าวหาจนหน้าหงาย เรียกเสียงโห่ฮาลั่นห้องประชุม จนประธานสภาฯ ต้องออกคำสั่งว่า “เงียบบบ!!!” ดังๆ หลายครั้ง
รุ่นพี่นักข่าวไทยที่ทำงานอยู่ในองค์การสื่อออสเตรเลียมานานหลายปี เล่าให้ฟังว่า คนที่นี่รู้ดีอยู่แล้วว่าผู้นำของตัวเองเป็นคน tough (ก้าวแกร่ง) จนบางครั้งท่าทีในสภาฯ บางครั้ง ดูค่อนข้างจะ aggressive (ก้าวร้าว) เพราะเธอเคยเป็นทนายความมาก่อนลงเล่นการเมือง
หากเทียบกับ “นางสาวยิ่งลักษณ์” ที่เป็นนักธุรกิจมาก่อน และใช้เวลาหาเสียงเพียง 49 วัน ก็ได้เป็นนายกฯ กับ “นางสาวกิลลาร์ด” ที่ใช้เวลากว่า 10 ปี ในการไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ จึงไม่แปลกใจที่บุคลิก “ผู้นำหญิง” ทั้ง 2 คนนี้ จะแตกต่างกันมากมายมหาศาล (นายกฯ ไทย มาตอบกระทู้ถามสดในสภาฯ ด้วยตัวเอง ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เพียงแค่ 2 ครั้ง)
แต่ใช่ว่าความเป็น “สตรีเหล็ก” ของนางสาวกิลลาร์ด จะทำให้ชนะการเลือกตั้งได้ ?

(จูเลีย กิลลาร์ด ผู้มีทักษะการพูดในสภาชั้นยอด แต่จะเอาตัวรอดจากการเลือกตั้งทั่วไปได้หรือไม่)
เพราะในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2553 ที่ว่ากันว่าเธอมีคะแนนนิยมดีเยี่ยมไม่น้อย แต่ปรากฏว่า "พรรคเลเบอร์" กับ "พรรคร่วมฝ่ายค้าน" กลับได้จำนวน ส.ส.เท่ากันที่ 72 เก้าอี้ จากทั้งหมด 150 เก้าอี้ ท้ายสุด สตรีที่มีถิ่นกำเนิดในสหราชอาณาจักรรายนี้ต้องไปรวบรวม ส.ส.จากพรรคขนาดเล็กมาจัดตั้ง "รัฐบาลเสียงข้างน้อย" ทำให้เธอได้เป็น “นายกฯหญิงคนแรก” ของประเทศออสเตรเลีย
ขออธิบายสั้นๆ ว่า ถึงระบบการเมืองออสเตรเลีย ฝ่ายนิติบัญญัติจะแบ่งเป็น 2 สภา คือวุฒิสภา ที่มีจำนวน “สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)” ทั้งหมด 76 คน กับสภาผู้แทนราษฎร ที่มีจำนวน “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)” ทั้งหมด 150 คน โดยทั้ง 2 สภาฯ จะมีห้องประชุมแยกของตัวเอง (ต่างกับของไทยที่ใช้ห้องเดียวกัน) หากใครเคยไปอาคารรัฐสภาออสเตรเลียที่กรุงแคนเบอร์ร่า ถ้าจะดูว่าโซนไหนของ ส.ว.หรือ ส.ส. ให้ดูที่พรม เพราะโซนของ ส.ว.จะใช้ “พรมสีแดง” ส่วนโซนของ ส.ส.จะใช้ “พรมสีเขียว” ทั้งในห้องประชุม ห้องทำงาน ทางเดิน และอาณาบริเวณใกล้เคียง
ผู้นำฝ่ายบริหาร อย่างตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี" ของออสเตรเลีย มีที่มาเช่นเดียวกับของไทย คือต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีวาระดำรงตำแหน่งเพียง 3 ปี (น้อยกว่านายกฯไทย ที่มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี)
การเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่จะมีขึ้นในอีก 2 เดือนเศษข้างหน้า จะเป็นบททดสอบครั้งสำคัญของ “นางสาวกิลลาร์ด” เพราะหากพ่ายแพ้ก็เป็นไปได้ที่เส้นทางการเมืองของเธอจะถึง “ตอนอวสาน” เพราะหลายคนในพรรคเลเบอร์ก็ไม่นิยมชมชอบเธอสักเท่าไร
สำหรับ “นางสาวยิ่งลักษณ์” แม้จะมีเวลาอีก 2 ปี กว่าจะถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า จะให้เธอได้"ไปต่อ" หรือไม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คะแนนนิยมของตัวเธอและพรรคเพื่อไทยเริ่มถูกท้าทาย จากภาวะผู้นำที่ขาดความโดดเด่นและถูกตั้งคำถาม จากนโยบายรัฐบาลหลายๆ ที่เริ่มแสดงให้เห็นถึงปัญหา จากปัญหาส่วนตัวของรัฐมนตรีหลายๆ กระทรวงที่ถูกต่อต้าน จากความขัดแย้งที่เริ่มก่อตัวจากความพยายามในการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ฯลฯ
น่าจับตาว่าวิบากกรรมที่เกิดขึ้นกับ “3 ผู้นำหญิง” รอบโลกเวลานี้ จะมีบทสรุปที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร !!!
(ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คะแนนนิยมเริ่มถูกท้าทายจากสารพัดปัญหา)
ไม่น่าเชื่อว่า หลายๆ ประเทศที่มี “สุภาพสตรี” เป็นผู้นำ ต่างเกิดวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาล ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน
เอาใกล้ตัวก่อน อย่างประเทศไทย ที่มี “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา จากชาวนาที่เป็นฐานะเสียงสำคัญของ “พรรคเพื่อไทย” ของเธอเอง จากการประกาศลดราคาจำนำข้าวขาว จากตันละ 1.5 หมื่นบาท เหลือเพียง 1.2 หมื่นบาท
ขณะเดียวกับกลุ่มคนต่อต้านรัฐบาลและพี่ชายของเธอ “พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร” ก็เริ่มกลับมารวมตัวกัน เห็นได้จากการชุมนุมของกลุ่มคนที่เรียกว่า “หน้ากากขาว” ซึ่งทวีจำนวนมากขึ้นทุกที แม้จะยังมีจำนวนไม่มากพอจะสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล
อีกซีกหนึ่งของโลก ประเทศบราซิล ที่ว่ากันว่า ผู้คนหายใจเข้าออกเป็นชายหาด งานคาร์นิวัล และฟุตบอล แต่การแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่าง “ฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่น คัพ” กลับกลายเป็นวาระนัดรวมตัวกันประท้วงการบริหารงานของ “นางดิลม่า รุซเซฟฟ์”ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศ โดยเฉพาะการขึ้นค่าครองชีพด้านต่างๆ เพื่อนำเงินไปลงทุนจัดงานฟุตบอลระดับแกรนด์ในปีหน้าอย่าง “ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ” หรือฟุตบอลโลก โดยมีการประเมินว่า มีชาวแซมบ้าร่วมประท้วงผู้นำของตัวเองกว่า 1 ล้านคนแล้ว
อย่างไรก็ตาม คนที่อาการหนักที่สุดในเวลานี้ และบทความชิ้นนี้จะโฟกัส ก็คือผู้นำหญิงจาก “ประเทศทะเลใต้” ที่อยู่ห่างจากประเทศไทย ราว 9 ชั่วโมงบิน อย่าง “นางสาวจูเลีย กิลลาร์ด” นายกรัฐมนตรีคนแรกออสเตรเลีย เพราะในขณะที่การเมืองออสซี่กำลังคึกคัก เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 ก.ย.นี้
แต่คะแนนนิยมล่าสุดของตัวเธอและพรรคของเธอกลับลดต่ำลงอย่างน่าใจหาย โดยผลการสำรวจล่าสุด ปรากฏว่า “นางสาวกิลลาร์ด-พรรคเลเบอร์” มีคะแนนนิยมตามหลังพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่าง “พรรคลิเบอรัล-พรรคเนชั่นแนล” ที่มีผู้นำชื่อ “นายโทนี่ แอ็บบ็อต” ถึง 14%
สาเหตุที่คะแนนนิยมของ “นายกฯหญิงออสซี่” ลดลงอย่างฮวบฮวบ ด้านหนึ่งมาจากนโยบาย ทั้งการปรับลดงบประมาณกระทรวงสำคัญๆ การไม่ปฏิบัติตามสิ่งได้ที่หาเสียงไว้เกี่ยวกับภาษีคาร์บอนและภาษีเหมืองแร่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้เข้าเมือง
แต่อีกด้านหนึ่งมาจากความขัดแย้งภายในพรรคเลเบอร์เอง ที่คงยังมีเสียงเรียกร้องจากสมาชิกพรรคบางส่วน ให้นำ “นายเควิน รัดด์”อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรค กลับมานำพรรคแทน แม้ว่า "หัวหน้าพรรคคนก่อน" จะถอนตัวจากการลงคะแนนเปลี่ยนตัวผู้นำพรรคเลเบอร์ เมื่อเดือน มี.ค.ปีเดียวกันนี้ จนทำให้ “หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน” ได้นำทัพสู้ศึกเลือกตั้งต่อไป ก็ตาม
(ดิลม่า รุสเซฟฟ์ จะรับมือกับม็อบนับล้านคนได้อย่างไร)
จากการที่ผู้เขียนได้ไปสังเกตการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย เมื่อต้นเดือน มิ.ย.2556 ตามคำเชิญของสถาบันออสเตรเลีย-ไทย ก็ช่วยยืนยันสิ่งที่เคยได้ฟังมาก่อนหน้าว่า “นางสาวกิลลาร์ด” เป็นนักพูดที่มีความสามารถในการเอาตัวรอดชั้นเยี่ยม
เพราะในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงที่ได้นั่งดูการตอบกระทู้ถามสด “ผู้นำหญิงออสซี่” ได้ผุดลุกผุดนั่ง ตอบโต้ข้อกล่าวหาจาก ส.ส.พรรคฝ่ายค้านนับครั้งไม่ถ้วน บางครั้งเธอพูดเสียงดังกล่าว “นี่มันเรื่องตลกชัดๆ” บางครั้งเธอสวนกลับผู้กล่าวหาจนหน้าหงาย เรียกเสียงโห่ฮาลั่นห้องประชุม จนประธานสภาฯ ต้องออกคำสั่งว่า “เงียบบบ!!!” ดังๆ หลายครั้ง
รุ่นพี่นักข่าวไทยที่ทำงานอยู่ในองค์การสื่อออสเตรเลียมานานหลายปี เล่าให้ฟังว่า คนที่นี่รู้ดีอยู่แล้วว่าผู้นำของตัวเองเป็นคน tough (ก้าวแกร่ง) จนบางครั้งท่าทีในสภาฯ บางครั้ง ดูค่อนข้างจะ aggressive (ก้าวร้าว) เพราะเธอเคยเป็นทนายความมาก่อนลงเล่นการเมือง
หากเทียบกับ “นางสาวยิ่งลักษณ์” ที่เป็นนักธุรกิจมาก่อน และใช้เวลาหาเสียงเพียง 49 วัน ก็ได้เป็นนายกฯ กับ “นางสาวกิลลาร์ด” ที่ใช้เวลากว่า 10 ปี ในการไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ จึงไม่แปลกใจที่บุคลิก “ผู้นำหญิง” ทั้ง 2 คนนี้ จะแตกต่างกันมากมายมหาศาล (นายกฯ ไทย มาตอบกระทู้ถามสดในสภาฯ ด้วยตัวเอง ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เพียงแค่ 2 ครั้ง)
แต่ใช่ว่าความเป็น “สตรีเหล็ก” ของนางสาวกิลลาร์ด จะทำให้ชนะการเลือกตั้งได้ ?
(จูเลีย กิลลาร์ด ผู้มีทักษะการพูดในสภาชั้นยอด แต่จะเอาตัวรอดจากการเลือกตั้งทั่วไปได้หรือไม่)
เพราะในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2553 ที่ว่ากันว่าเธอมีคะแนนนิยมดีเยี่ยมไม่น้อย แต่ปรากฏว่า "พรรคเลเบอร์" กับ "พรรคร่วมฝ่ายค้าน" กลับได้จำนวน ส.ส.เท่ากันที่ 72 เก้าอี้ จากทั้งหมด 150 เก้าอี้ ท้ายสุด สตรีที่มีถิ่นกำเนิดในสหราชอาณาจักรรายนี้ต้องไปรวบรวม ส.ส.จากพรรคขนาดเล็กมาจัดตั้ง "รัฐบาลเสียงข้างน้อย" ทำให้เธอได้เป็น “นายกฯหญิงคนแรก” ของประเทศออสเตรเลีย
ขออธิบายสั้นๆ ว่า ถึงระบบการเมืองออสเตรเลีย ฝ่ายนิติบัญญัติจะแบ่งเป็น 2 สภา คือวุฒิสภา ที่มีจำนวน “สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)” ทั้งหมด 76 คน กับสภาผู้แทนราษฎร ที่มีจำนวน “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)” ทั้งหมด 150 คน โดยทั้ง 2 สภาฯ จะมีห้องประชุมแยกของตัวเอง (ต่างกับของไทยที่ใช้ห้องเดียวกัน) หากใครเคยไปอาคารรัฐสภาออสเตรเลียที่กรุงแคนเบอร์ร่า ถ้าจะดูว่าโซนไหนของ ส.ว.หรือ ส.ส. ให้ดูที่พรม เพราะโซนของ ส.ว.จะใช้ “พรมสีแดง” ส่วนโซนของ ส.ส.จะใช้ “พรมสีเขียว” ทั้งในห้องประชุม ห้องทำงาน ทางเดิน และอาณาบริเวณใกล้เคียง
ผู้นำฝ่ายบริหาร อย่างตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี" ของออสเตรเลีย มีที่มาเช่นเดียวกับของไทย คือต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีวาระดำรงตำแหน่งเพียง 3 ปี (น้อยกว่านายกฯไทย ที่มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี)
การเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่จะมีขึ้นในอีก 2 เดือนเศษข้างหน้า จะเป็นบททดสอบครั้งสำคัญของ “นางสาวกิลลาร์ด” เพราะหากพ่ายแพ้ก็เป็นไปได้ที่เส้นทางการเมืองของเธอจะถึง “ตอนอวสาน” เพราะหลายคนในพรรคเลเบอร์ก็ไม่นิยมชมชอบเธอสักเท่าไร
สำหรับ “นางสาวยิ่งลักษณ์” แม้จะมีเวลาอีก 2 ปี กว่าจะถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า จะให้เธอได้"ไปต่อ" หรือไม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คะแนนนิยมของตัวเธอและพรรคเพื่อไทยเริ่มถูกท้าทาย จากภาวะผู้นำที่ขาดความโดดเด่นและถูกตั้งคำถาม จากนโยบายรัฐบาลหลายๆ ที่เริ่มแสดงให้เห็นถึงปัญหา จากปัญหาส่วนตัวของรัฐมนตรีหลายๆ กระทรวงที่ถูกต่อต้าน จากความขัดแย้งที่เริ่มก่อตัวจากความพยายามในการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ฯลฯ
น่าจับตาว่าวิบากกรรมที่เกิดขึ้นกับ “3 ผู้นำหญิง” รอบโลกเวลานี้ จะมีบทสรุปที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร !!!
ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
//////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น