วิเคราะห์เศรษฐกิจ : นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2556 คาดการณ์ว่าคงเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 4 – 5 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ทำนายไว้ ทั้งนี้ เพราะปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยยังคงจำกัดอยู่ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งออก ด้านการลงทุนของภาคเอกชน และด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ และเชื่อว่าในอีก 1–2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยก็จะยังไม่เติบโตรุดหน้าเกินไปกว่านี้
การมองอนาคตประเทศไทยควรมองไปข้างหน้าและปรับกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวเดินและเติบโตต่อไปบนเวทีโลกได้อย่างเต็มที่ สำหรับปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง (Change) ประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องสร้างใหม่หมด (Reconstruction) เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากการบริหารโลกต่อจากนี้ไปจะอยู่ในระบอบใหม่ที่เรียกว่า "ข้อตกลง" ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับข้อตกลงทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ข้อตกลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลก และขับเคลื่อนให้โลกเป็นหนึ่งเดียวภายใต้มาตรฐานและกฎหมายเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “1 มาตรฐาน 1 กฎหมาย = 1 โลก” เป็นการก้าวเดินสู่ระบบ “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy)
การค้าในระบบเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้ 1. ภาษีนำเข้าสินค้าลดลง 2.พื้นที่ตลาดกว้างขึ้น 3.การแข่งขันรุนแรงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ 4.การเคลื่อนย้ายทุนเพิ่มขึ้น 5.การเดินทางเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ภายใต้เศรษฐกิจใหม่ที่ว่านี้ นักธุรกิจจะต้องปรับตัวและเปลี่ยนวิธีคิด เนื่องจากปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจที่เคยเรียงลำดับความสำคัญจาก 1.การเมือง (Politics) 2.เศรษฐกิจ (Economics) 3.สังคม (General Public) และ 4.สิ่งแวดล้อม (Environment) จะต้องเปลี่ยนใหม่เป็น 1.สิ่งแวดล้อม (Environment) 2.สังคม (General Public) 3.เศรษฐกิจ (Economics) 4. การเมือง (Politics)
ธุรกิจหลักที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้ระบบเศรษฐกิจใหม่ จะมีด้วยกัน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.เกษตรและอาหาร ทั้งนี้ เพราะประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน มีสินค้าเกษตรที่เป็นได้ทั้งอาหารและพลังงาน และต่อไปอนาคตอาหารจะถูกออกแบบให้เป็นยาด้วยเทคโนโลยีชั้นดี 2.การท่องเที่ยว ประเทศไทยมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์โดยสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการมากที่สุดคือ ในเรื่องของความปลอดภัย 3.การบริการด้านสุขภาพ แพทย์ และพยาบาลเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นสูงในอนาคต ที่กระทรวงสาธารณสุขต้องสร้าง เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ
ข้อตกลงต่างๆ นี้ถึงแม้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารโลกที่กำหนดให้แต่ละประเทศเดินตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ใช่เครื่องสกัดกั้นการเติบโต ต้องยอมรับว่าในระบบระบบเศรษฐกิจใหม่โลกจะขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือนี้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญโดยผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการ 2.นักการเมือง 3.ข้าราชการ และ 4.NGO จะต้องร่วมกันระดมสมองวางแผนประเทศไทยให้เดินหน้าเพื่อเอาชนะข้อตกลงต่างๆ เหล่านี้ให้ได้
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////
การมองอนาคตประเทศไทยควรมองไปข้างหน้าและปรับกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวเดินและเติบโตต่อไปบนเวทีโลกได้อย่างเต็มที่ สำหรับปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง (Change) ประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องสร้างใหม่หมด (Reconstruction) เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากการบริหารโลกต่อจากนี้ไปจะอยู่ในระบอบใหม่ที่เรียกว่า "ข้อตกลง" ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับข้อตกลงทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ข้อตกลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลก และขับเคลื่อนให้โลกเป็นหนึ่งเดียวภายใต้มาตรฐานและกฎหมายเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “1 มาตรฐาน 1 กฎหมาย = 1 โลก” เป็นการก้าวเดินสู่ระบบ “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy)
การค้าในระบบเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้ 1. ภาษีนำเข้าสินค้าลดลง 2.พื้นที่ตลาดกว้างขึ้น 3.การแข่งขันรุนแรงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ 4.การเคลื่อนย้ายทุนเพิ่มขึ้น 5.การเดินทางเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ภายใต้เศรษฐกิจใหม่ที่ว่านี้ นักธุรกิจจะต้องปรับตัวและเปลี่ยนวิธีคิด เนื่องจากปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจที่เคยเรียงลำดับความสำคัญจาก 1.การเมือง (Politics) 2.เศรษฐกิจ (Economics) 3.สังคม (General Public) และ 4.สิ่งแวดล้อม (Environment) จะต้องเปลี่ยนใหม่เป็น 1.สิ่งแวดล้อม (Environment) 2.สังคม (General Public) 3.เศรษฐกิจ (Economics) 4. การเมือง (Politics)
ธุรกิจหลักที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้ระบบเศรษฐกิจใหม่ จะมีด้วยกัน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.เกษตรและอาหาร ทั้งนี้ เพราะประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน มีสินค้าเกษตรที่เป็นได้ทั้งอาหารและพลังงาน และต่อไปอนาคตอาหารจะถูกออกแบบให้เป็นยาด้วยเทคโนโลยีชั้นดี 2.การท่องเที่ยว ประเทศไทยมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์โดยสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการมากที่สุดคือ ในเรื่องของความปลอดภัย 3.การบริการด้านสุขภาพ แพทย์ และพยาบาลเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นสูงในอนาคต ที่กระทรวงสาธารณสุขต้องสร้าง เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ
ข้อตกลงต่างๆ นี้ถึงแม้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารโลกที่กำหนดให้แต่ละประเทศเดินตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ใช่เครื่องสกัดกั้นการเติบโต ต้องยอมรับว่าในระบบระบบเศรษฐกิจใหม่โลกจะขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือนี้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญโดยผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการ 2.นักการเมือง 3.ข้าราชการ และ 4.NGO จะต้องร่วมกันระดมสมองวางแผนประเทศไทยให้เดินหน้าเพื่อเอาชนะข้อตกลงต่างๆ เหล่านี้ให้ได้
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น