เขตแดนธรรมชาติทางเศรษฐกิจ หรือ NET ที่ว่านี้ สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว อย่างน้อยก็มีรูปแบบทำกันอยู่ในประเทศสมาชิกของอาเซียน ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมความเติบโต" (Growth Triangles) สี่รูปแบบที่เชื่อมโยงประเทศสมาชิกอาเซียน ห้าประเทศที่ตั้งอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ด้วยกัน สามเหลี่ยมความเติบโตที่ว่านี้ คือ
1) สามเหลี่ยมความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ (The Indonesia-Malaysia-Singapore Growth Triangle) ใช้อักษรย่อว่า IMS-GT หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งใช้แทนว่า SIJORI
เขตความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-สิงคโปร์นี้ เป็นข้อตกลงทางการเมืองของสามประเทศที่ทำ กันอย่างเป็นทางการในระดับรัฐบาล ที่เรียกอีกชื่อย่อหนึ่งว่า SIJORI นั้น ก็เพราะจะเห็นว่าเขตเศรษฐกิจที่ว่านี้ คือสิงคโปร์นั้น เชื่อมอยู่ยาวนานมาตลอดกับเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของรัฐยะโฮร์ของมาเลเซีย และกับหมู่เกาะรีเยา ของอินโดนีเซีย
สิงคโปร์มีเงินทุน มีเทคโนโลยี และมีทักษะในการประกอบการ ส่วนหมู่เกาะยะโฮร์นั้นก็มีที่ดิน มีแรงงาน มีน้ำ โดยเฉพาะที่เกาะบาดัน สิงคโปร์ เป็นศูนย์ของเศรษฐกิจในเขตดินแดนด้านในของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทางแถบนี้ ซึ่งไม่ได้เชื่อมกับเขตเศรษฐกิจขอบนอก จึงทำให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเศรษฐกิจที่ครอบงำเศรษฐกิจในเขตภูมิศาสตร์แถบนี้โดยปริยาย
แม้ว่า รูปแบบเศรษฐกิจของ IMS-GT จะถูกจำกัดด้วยกรอบทางภูมิศาสตร์ (คือมีเพียงรัฐยะโฮ รีเยา กับ สิงคโปร์ เท่านั้น) แต่การเมืองของท้องถิ่นก็เรียกร้องต้องการ ให้ขยายตัวให้มากขึ้นไปอีก ในบันทึกความเข้าใจแต่เดิมที่ทำกันในปี ค.ศ.1994 (2537) นั้น ก็รวมเอาสุมาตราตะวันตกเข้ามาด้วย ทำให้ IMS-GT มีรูปแบบทางการเมืองขึ้นมา
ในปี ค.ศ.1996 (2539) มาเลเซีย มาละกา เนกรีเซม บีลัน และรัฐปะหัง ก็ถูกรวมเข้ามาในเขตนี้อีก และอีกหนึ่ง ปีต่อมา คือในปี ค.ศ.1997 (2540) (ขอให้สังเกตด้วยว่า เป็นปีเดียวกันกับที่เกิดเหตุวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นจากประเทศ ไทย) รัฐต่างๆ ในอินโดนีเซียมีถึง 5 แห่งด้วยกัน ที่จะเข้ามาร่วมด้วย คือ จัมบี เบงกูรู สุมาตราใต้ ลัมปุง และ กาลิมัน ตันตะวันตก
รูปแบบความเชื่อมโยงที่ว่านี้ว่าโดยทางเศรษฐกิจแล้ว IMS-GT ก็ยังคงเป็น SIJORI ในรูปแบบที่เป็นกรอบการ เมืองเท่านั้นเอง คือไม่เพียงแต่ยอมรับว่า เขตแดนเหล่านี้หลอมรวมข้ามเขตแดนไปอยู่กับศูนย์กลางอย่างสิงคโปร์ แต่ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับสิงคโปร์ ก็เป็นเพียงเกิด การร่วมกันทางเศรษฐกิจเท่านั้น เชื่อมรวมประเทศเข้าด้วยกัน โดยที่ในทางการเมืองแล้ว ไม่ได้ลงรอยอะไรกันนักเลย
2) สามเหลี่ยมความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (The Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle ใช้ชื่อย่อว่า IMT-GT)
เขตความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย นี้ ดูจะเป็นเขตที่จัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมชาติของพลังทางเศรษฐกิจเท่าไรนัก ไม่ทราบว่าเป็นแนวความคิดที่ผิดหรือเปล่า กับความเชื่อที่ว่า ถ้าหากการเมืองนำหน้าแล้ว การลงทุนและการพัฒนาจะเกิด ตามมา ข้อที่จะเห็นว่าต่างกัน IMS-GT ก็คือ IMT-GT นี้ ไม่มีตัวช่วยหนุน ไม่มีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเงินและการ คมนาคมขนส่ง เช่นใน IMS-GT นั่นเอง
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่า ในทางภูมิศาสตร์ของ IMT-GT นี้เอง ให้ประโยชน์กับจังหวัดสองจังหวัดของอินโดนีเซีย คือสุมาตราเหนือ กับ อาเจะห์ และให้ประโยชน์กับอีกสี่จังหวัด ด้านเหนือของมาเลเซีย คือ เคดาห์ ปีนัง บาร์กู และ ปะลิส ส่วน 5 จังหวัดของประเทศไทย คือ นราธิวาส ปัตตานี สตูล ยะลา สงขลา ก็จะได้ประโยชน์จากเขตสามเหลี่ยมความเติบโต IMT-GT ที่ว่านี้
ทางฝ่ายมาเลเซียเปิดทางให้เกิดสามเหลี่ยมทางเศรษฐกิจด้านเหนือขึ้น เพื่อที่จะได้ถ่วงดุลด้านการพัฒนาที่สิงคโปร์ ครอบงำอยู่ใน "สามเหลี่ยมด้านใต้" ซึ่งขยายรวมเอาอีกสิบจังหวัดบนเกาะสุมาตราเข้ามาด้วย รวมสิบสี่จังหวัดในประเทศไทย กับอีกแปดรัฐในมาเลเซีย
โครงการนี้เริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1993 (2536) ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นไม่ปรากฏว่าทั้งไทยและอินโดนีเซีย ให้ความสนใจในแง่การเมืองมากนัก จึงไม่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยดึงดูดความสนใจให้เกิด การลงทุนของภาคเอกชนแต่อย่างใด และแม้แต่ธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ก็ไม่ได้แสดงความกระตือรือร้น แต่อย่างใด มากไปกว่าชาติที่ช่วยอยู่ในโครงการนี้
ความไม่ก้าวหน้าของโครงการนี้ ยังเกิดจากผลกกระทบ ทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ และการเงินเมื่อปี ค.ศ. 1997 (2540) ที่เรียกว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" อีกด้วย ทั้งยังเกิดสงครามในอินโดนีเซีย ในกรณีของอาเจะห์ ซึ่ง กระจายอยู่ทั่วเขตเศรษฐกิจในเขตรวมเหลี่ยมความเติบโตนี้อีกด้วย มีความขัดแย้งที่ตกลงกันไม่ได้หลายเรื่อง เช่นการลักลอบการเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างผิดกฎหมาย หรือเหตุก่อการร้ายในสามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่ง ล้วนเป็นเหตุชะงักงันความเติบโตทางเศรษฐกิจทางแถบนี้
สภาพเหล่านี้เองที่พลอยทำให้ IMT-GT ทำท่าจะพังพาบลง โครงการนี้ดูแล้วก็ยังขาดกรรมการทำงานที่จะนำไปดำเนินการ และขาดยุทธศาสตร์ที่สอดประสานกัน ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการแข่งขันกัน แทนที่จะมีการเกื้อหนุนต่อกัน เช่น โครงการหลายโครงการที่แข่งขันกันระหว่างมาเลเซียกับไทย เช่น โครงการที่สองประเทศแข่งกันวาง ท่อน้ำมันเชื่อมระหว่างทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย เป็นต้น
โครงการของมาเลเซียนั้น กระทบกับโครงการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศไทย (Southern Seaboard Development Project) ซึ่งประเทศไทยต้องการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านปิโตรเคมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดหนึ่งที่ทางประเทศไทย ให้ความสนใจดำเนินการมากกว่าจะทุ่มเทไปทาง IMT-GT
ได้มีการประชุมนอกรอบ เพื่อฟื้นฟูโครงการนี้ เมื่อ มีการประชุมสุดยอดของประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยตกลงที่จะฟื้นฟูโครงการขึ้นมาใหม่ และหาจุดเน้นในการพัฒนากันใหม่ คือมีการประชุมสุดยอดในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 (2550) รัฐบาลที่เข้าร่วมโครงการนี้ มีมติรับแผนปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ที่เรียกว่า (ADB Report On Action Plan for 2007-2011)
ถ้าดูอย่างนี้ ก็จะเห็นว่า แผนดำเนินงานที่ว่านี้ จนล่วงเลยมาถึงขณะนี้แล้ว น่าจะได้มีการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของ Action Plan ที่ว่านี้ออกมา แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะตามไปดูที่ไหนเพราะก็เห็นเงียบๆ กันอยู่ และดูเหมือนจะพยายามไม่เอ่ยเอื้อนถึงกันเลย เผลอๆ จะไม่มีผลปฏิบัติการอะไรเป็นมรรคผลอะไรมากนักก็ได้ เหมือนๆ กับรัฐบาลปัจจุบันของไทย ภายใต้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่รู้เกือบสองปีแล้ว ยังไม่สามารถ ทำรายงานการบริหารงานรัฐบาลเสนอสภาเลย เอ้า! ตอนหน้ามาคุยต่อก็แล้วกัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
1) สามเหลี่ยมความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ (The Indonesia-Malaysia-Singapore Growth Triangle) ใช้อักษรย่อว่า IMS-GT หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งใช้แทนว่า SIJORI
เขตความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-สิงคโปร์นี้ เป็นข้อตกลงทางการเมืองของสามประเทศที่ทำ กันอย่างเป็นทางการในระดับรัฐบาล ที่เรียกอีกชื่อย่อหนึ่งว่า SIJORI นั้น ก็เพราะจะเห็นว่าเขตเศรษฐกิจที่ว่านี้ คือสิงคโปร์นั้น เชื่อมอยู่ยาวนานมาตลอดกับเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของรัฐยะโฮร์ของมาเลเซีย และกับหมู่เกาะรีเยา ของอินโดนีเซีย
สิงคโปร์มีเงินทุน มีเทคโนโลยี และมีทักษะในการประกอบการ ส่วนหมู่เกาะยะโฮร์นั้นก็มีที่ดิน มีแรงงาน มีน้ำ โดยเฉพาะที่เกาะบาดัน สิงคโปร์ เป็นศูนย์ของเศรษฐกิจในเขตดินแดนด้านในของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทางแถบนี้ ซึ่งไม่ได้เชื่อมกับเขตเศรษฐกิจขอบนอก จึงทำให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเศรษฐกิจที่ครอบงำเศรษฐกิจในเขตภูมิศาสตร์แถบนี้โดยปริยาย
แม้ว่า รูปแบบเศรษฐกิจของ IMS-GT จะถูกจำกัดด้วยกรอบทางภูมิศาสตร์ (คือมีเพียงรัฐยะโฮ รีเยา กับ สิงคโปร์ เท่านั้น) แต่การเมืองของท้องถิ่นก็เรียกร้องต้องการ ให้ขยายตัวให้มากขึ้นไปอีก ในบันทึกความเข้าใจแต่เดิมที่ทำกันในปี ค.ศ.1994 (2537) นั้น ก็รวมเอาสุมาตราตะวันตกเข้ามาด้วย ทำให้ IMS-GT มีรูปแบบทางการเมืองขึ้นมา
ในปี ค.ศ.1996 (2539) มาเลเซีย มาละกา เนกรีเซม บีลัน และรัฐปะหัง ก็ถูกรวมเข้ามาในเขตนี้อีก และอีกหนึ่ง ปีต่อมา คือในปี ค.ศ.1997 (2540) (ขอให้สังเกตด้วยว่า เป็นปีเดียวกันกับที่เกิดเหตุวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นจากประเทศ ไทย) รัฐต่างๆ ในอินโดนีเซียมีถึง 5 แห่งด้วยกัน ที่จะเข้ามาร่วมด้วย คือ จัมบี เบงกูรู สุมาตราใต้ ลัมปุง และ กาลิมัน ตันตะวันตก
รูปแบบความเชื่อมโยงที่ว่านี้ว่าโดยทางเศรษฐกิจแล้ว IMS-GT ก็ยังคงเป็น SIJORI ในรูปแบบที่เป็นกรอบการ เมืองเท่านั้นเอง คือไม่เพียงแต่ยอมรับว่า เขตแดนเหล่านี้หลอมรวมข้ามเขตแดนไปอยู่กับศูนย์กลางอย่างสิงคโปร์ แต่ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับสิงคโปร์ ก็เป็นเพียงเกิด การร่วมกันทางเศรษฐกิจเท่านั้น เชื่อมรวมประเทศเข้าด้วยกัน โดยที่ในทางการเมืองแล้ว ไม่ได้ลงรอยอะไรกันนักเลย
2) สามเหลี่ยมความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (The Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle ใช้ชื่อย่อว่า IMT-GT)
เขตความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย นี้ ดูจะเป็นเขตที่จัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมชาติของพลังทางเศรษฐกิจเท่าไรนัก ไม่ทราบว่าเป็นแนวความคิดที่ผิดหรือเปล่า กับความเชื่อที่ว่า ถ้าหากการเมืองนำหน้าแล้ว การลงทุนและการพัฒนาจะเกิด ตามมา ข้อที่จะเห็นว่าต่างกัน IMS-GT ก็คือ IMT-GT นี้ ไม่มีตัวช่วยหนุน ไม่มีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเงินและการ คมนาคมขนส่ง เช่นใน IMS-GT นั่นเอง
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่า ในทางภูมิศาสตร์ของ IMT-GT นี้เอง ให้ประโยชน์กับจังหวัดสองจังหวัดของอินโดนีเซีย คือสุมาตราเหนือ กับ อาเจะห์ และให้ประโยชน์กับอีกสี่จังหวัด ด้านเหนือของมาเลเซีย คือ เคดาห์ ปีนัง บาร์กู และ ปะลิส ส่วน 5 จังหวัดของประเทศไทย คือ นราธิวาส ปัตตานี สตูล ยะลา สงขลา ก็จะได้ประโยชน์จากเขตสามเหลี่ยมความเติบโต IMT-GT ที่ว่านี้
ทางฝ่ายมาเลเซียเปิดทางให้เกิดสามเหลี่ยมทางเศรษฐกิจด้านเหนือขึ้น เพื่อที่จะได้ถ่วงดุลด้านการพัฒนาที่สิงคโปร์ ครอบงำอยู่ใน "สามเหลี่ยมด้านใต้" ซึ่งขยายรวมเอาอีกสิบจังหวัดบนเกาะสุมาตราเข้ามาด้วย รวมสิบสี่จังหวัดในประเทศไทย กับอีกแปดรัฐในมาเลเซีย
โครงการนี้เริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1993 (2536) ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นไม่ปรากฏว่าทั้งไทยและอินโดนีเซีย ให้ความสนใจในแง่การเมืองมากนัก จึงไม่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยดึงดูดความสนใจให้เกิด การลงทุนของภาคเอกชนแต่อย่างใด และแม้แต่ธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ก็ไม่ได้แสดงความกระตือรือร้น แต่อย่างใด มากไปกว่าชาติที่ช่วยอยู่ในโครงการนี้
ความไม่ก้าวหน้าของโครงการนี้ ยังเกิดจากผลกกระทบ ทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ และการเงินเมื่อปี ค.ศ. 1997 (2540) ที่เรียกว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" อีกด้วย ทั้งยังเกิดสงครามในอินโดนีเซีย ในกรณีของอาเจะห์ ซึ่ง กระจายอยู่ทั่วเขตเศรษฐกิจในเขตรวมเหลี่ยมความเติบโตนี้อีกด้วย มีความขัดแย้งที่ตกลงกันไม่ได้หลายเรื่อง เช่นการลักลอบการเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างผิดกฎหมาย หรือเหตุก่อการร้ายในสามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่ง ล้วนเป็นเหตุชะงักงันความเติบโตทางเศรษฐกิจทางแถบนี้
สภาพเหล่านี้เองที่พลอยทำให้ IMT-GT ทำท่าจะพังพาบลง โครงการนี้ดูแล้วก็ยังขาดกรรมการทำงานที่จะนำไปดำเนินการ และขาดยุทธศาสตร์ที่สอดประสานกัน ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการแข่งขันกัน แทนที่จะมีการเกื้อหนุนต่อกัน เช่น โครงการหลายโครงการที่แข่งขันกันระหว่างมาเลเซียกับไทย เช่น โครงการที่สองประเทศแข่งกันวาง ท่อน้ำมันเชื่อมระหว่างทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย เป็นต้น
โครงการของมาเลเซียนั้น กระทบกับโครงการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศไทย (Southern Seaboard Development Project) ซึ่งประเทศไทยต้องการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านปิโตรเคมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดหนึ่งที่ทางประเทศไทย ให้ความสนใจดำเนินการมากกว่าจะทุ่มเทไปทาง IMT-GT
ได้มีการประชุมนอกรอบ เพื่อฟื้นฟูโครงการนี้ เมื่อ มีการประชุมสุดยอดของประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยตกลงที่จะฟื้นฟูโครงการขึ้นมาใหม่ และหาจุดเน้นในการพัฒนากันใหม่ คือมีการประชุมสุดยอดในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 (2550) รัฐบาลที่เข้าร่วมโครงการนี้ มีมติรับแผนปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ที่เรียกว่า (ADB Report On Action Plan for 2007-2011)
ถ้าดูอย่างนี้ ก็จะเห็นว่า แผนดำเนินงานที่ว่านี้ จนล่วงเลยมาถึงขณะนี้แล้ว น่าจะได้มีการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของ Action Plan ที่ว่านี้ออกมา แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะตามไปดูที่ไหนเพราะก็เห็นเงียบๆ กันอยู่ และดูเหมือนจะพยายามไม่เอ่ยเอื้อนถึงกันเลย เผลอๆ จะไม่มีผลปฏิบัติการอะไรเป็นมรรคผลอะไรมากนักก็ได้ เหมือนๆ กับรัฐบาลปัจจุบันของไทย ภายใต้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่รู้เกือบสองปีแล้ว ยังไม่สามารถ ทำรายงานการบริหารงานรัฐบาลเสนอสภาเลย เอ้า! ตอนหน้ามาคุยต่อก็แล้วกัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น