--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชำแหละทุน ต่างประเทศ ไทย-เวียดนาม-พม่า !!?

หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ท่าม กลางความสับสนทางการเมือง และกระแสการย้ายฐานธุรกิจไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทำไมยอดการขอรับส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยจึงโตเอา..โตเอา

ในปีที่ผ่านมามีนักลงทุนจากต่างประเทศขนเงินมาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในบ้านเรา 1,479,000 ล้านบาท สูงสุดเป็น ประวัติการณ์ ในขณะที่ 4 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการลงทุนโตกว่าปีที่ผ่านมา 20%

แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังเป็นฐานการ ลงทุนที่ดีที่สุดในอาเซียน?

หากวิเคราะห์จากสภาพความเป็นจริง การจะกล่าวว่าประเทศไทยยังน่าสนใจ ลงทุนสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนก็ไม่น่าจะผิด เพราะบรรยากาศการลงทุนใน 2 ประเทศคู่แข่งสำคัญอย่าเมียนมาร์กับเวียดนาม ไม่โสภาสถาพรเท่าที่ควร

เมียนมาร์เนื้อหอมอย่างมากเมื่อมีข่าว ว่ากำลังเดินหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย แต่จนถึงวันนี้อนาคตทวายยังไม่มีความชัดเจน การก่อสร้างยังไม่มีความคืบหน้า โดยรัฐบาลอ้างว่าชนกลุ่มน้อยไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ ต่อรองขอค่าเวนคืนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่กลับให้ข้อมูลผ่าน สื่อมวลชนว่า สาเหตุที่พวกเขาไม่ยอมออกจากพื้นที่ไม่ใช่เพราะต้องการค่าเวนคืนเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลไม่ยอมจ่ายค่าเวนคืนตามข้อตกลง พูดง่ายๆ คือให้ออกไปตัวเปล่า

เช่นเดียวกับระบบสาธารณูปโภคในเมียนมาร์ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก ต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเข้าที่ ส่วนข่าวว่าสถานที่พัก เช่น โรงแรม รีสอร์ต ถูกจองเต็มเหยียดในราคาสุดเว่อร์ ก็เป็นเพราะการเดินทางเข้าไปสำรวจลู่ทาง การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยยังไม่มีการ ลงทุนแต่อย่างใด

หันกลับไปดูเวียดนาม กำลังเผชิญกับ ฟองสบู่แตก เช่นเดียวกับประเทศไทยเคยเจอเมื่อปี 2540 นั่นก็คืออสังหาริมทรัพย์ผุดเป็นดอกเห็ด แต่ขายไม่ได้ ทำให้เจ้าของ โครงการที่กู้เงินจากธนาคารไม่มีเงินไปจ่าย คืนธนาคาร จึงอาจทำให้บางธนาคารที่ปล่อย สินเชื่อให้กับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ต้อง ถูกปิดหรือควบรวมกับสถาบันการเงินอื่น

ในขณะที่โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่กลายเป็นโครงการขายฝัน ที่รัฐบาลเวียดนามรับปากว่าจะดำเนินการก่อสร้าง แต่เอาเข้าจริงไม่มีอะไรคืบหน้า แม้ กระทั่งแผนการสร้างสนามบินนานาชาติใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่เตรียมการเมื่อเกือบสิบปีก่อน กำหนดเสร็จปี 2558 ก็ยังไม่มีการลงเสาเข็มแต่อย่างใด ไม่ต้องพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่รัฐบาลหมายมั่นปั้นมืออยากทำให้สำเร็จ

รวมถึงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่ทั้งเวียดนามและพม่าต่างก๊อบปี้กฎหมายของไทยไปใช้ และไม่การันตีว่าจะเปลี่ยน แปลงเมื่อไหร่ นั่นทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจว่า หากเข้าไปลงทุนแล้วจะเกิดการสะดุดหรือไม่

บวก ลบ คูณ หารแล้ว ไทยจึงยังอยู่ ในฐานะได้เปรียบกว่าเมียนมาร์และเวียดนาม รวมถึงลาวกับกัมพูชาก็ยังต้องใช้เวลา อีกพักใหญ่กว่าจะก้าวขึ้นทาบชั้น สิ่งเดียวที่ CLMV มีดีกว่าไทยคือแรงงานราคาถูก ซึ่งก็เหมาะกับธุรกิจที่ไม่ต้องการทักษะ แต่ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเป็นเออีซี หาก CLMV ไม่ปรับราคาค่าจ้างขั้นต่ำ โอกาสที่แรงงาน จะไหลบ่าเข้าประเทศไทยก็มีมาก ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ปรับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ต่างด้าว ให้มีสิทธิ์เทียบเท่ากับแรงงานไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ การลาคลอด ลาป่วยหรือแม้กระทั่งลาพักร้อน

จึงไม่น่าแปลกใจที่การโรดโชว์ 5 ประเทศของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าไทยได้กว่า 100,000 ล้านบาท หลังกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็ก-ใหญ่ มั่นใจลงทุนในไทยเพิ่ม บริษัทญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฝรั่งเศส และเยอรมนี ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 22 โครงการ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน แม่พิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ พลังงานทดแทน เป็นต้น ขณะเดียวกันยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมากที่อยู่ระหว่าง เตรียมการยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในอนาคต

ประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจมาก ที่สุดก็คือ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนโดยตรงจากรัฐบาลถึงความคืบหน้า แสดงความพร้อมของการเป็นศูนย์กลางทางด้านการเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนในการเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อกระจายสินค้าในภูมิภาค

เช่นเดียวกับไนเจล โนลส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของบริษัทดีแอลเอ ไปเปอร์ (Global co-CEOof DLA Piper) ที่เข้ามาเปิดดำเนินธุรกิจให้บริการด้านกฎหมายแบบครบวงจรในประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพการเติบโตภายในประเทศค่อนข้างสูงแม้ว่าจะมีวิกฤติทางการ เมือง หรือภัยพิบัติบ้างก็ตาม เศรษฐกิจประเทศไทยกำลังเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง ที่นี่คือศูนย์กลางของการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น