--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ส่องกล้อง มองค่าแรงกัมพูชา !!?

โดย ฌกฤช เศวตนันท์

กัมพูชา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ราชอาณาจักรกัมพูชา" (The Kingdom of Cambodia) หรือชื่อที่คนไทยมักจะเรียกกันติดปากว่าเขมร กัมพูชานั้นเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยทั้งทางทิศ ตะวันตกและทิศเหนือ มีเมืองหลวงชื่อกรุงพนมเปญ มีประชากรเฉลี่ย 14.8 ล้านคน กัมพูชาเข้าร่วมกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) เป็นลำดับสุดท้ายในปี พ.ศ. 2542 ในการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในระยะเวลาอันใกล้จะถึงนี้นั้น ในคอลัมน์ฉบับนี้จะขอนำผู้อ่านไปทำความรู้จักแง่มุมต่าง ๆ ของประเทศกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อนจุดแข็งของประเทศ รวมทั้งโอกาสและช่องทางการทำธุรกิจกับกัมพูชาสำหรับนักลงทุนชาวไทย

หลัง จากที่ประเทศกัมพูชาถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2496 ประเทศนี้เผชิญกับสงครามกลางเมืองโดยมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝั่งรัฐบาล และฝ่ายสังคมนิยม หลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ สงครามการเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสังคมนิยมซ้ายจัดหรือเขมรแดง จากนั้นกัมพูชาได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์

กล่าวคืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาค

สิ่ง ทอเกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้า และการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่าง ประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชาเป็นที่ เชื่อกันว่าเมื่อมีการสำรวจและขุดเจาะภายในปี พ.ศ. 2556 นี้ จะพบน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของชาวกัมพูชาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

นอก จากการลงทุนของต่างชาติแล้ว การท่องเที่ยวก็ยังเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้กัมพูชาอย่างมาก เนื่องจากกัมพูชาถือเป็นเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากที่สุดประเทศ หนึ่งในทวีปเอเชีย ในทุก ๆ วันจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปชื่นชมความงามของอารยธรรมขอมโบราณและความงามทาง ประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลือในสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ

นครวัด นครธม และปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชาจำนวนมาก

สาเหตุ หนึ่งที่ทำให้กัมพูชามีการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้นก็เนื่องจากอัตราค่า จ้างแรงงานที่ต่ำที่สุดในประเทศอาเซียน คิดแล้วตกอยู่ที่ 61 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,830 บาทต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้ได้รับความนิยมจากนักลงทุนชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นนักลงทุนชาวต่างชาติยังได้รับการสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาลกัมพูชา ผ่านมาตรการต่าง ๆ

ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้โดยเสรีไม่ มีข้อจำกัด นักลงทุนสามารถกำหนดราคาสินค้าเพื่อส่งออกได้ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจในกัมพูชาได้ 100% และสามารถซื้อทรัพย์สินทุกประเภทได้ยกเว้นที่ดิน แต่ทว่าชาวต่างชาติก็ยังมีสิทธิเช่าที่ดินทำกินระยะยาวถึง 99 ปี หลังจากนั้นสามารถต่อสัญญาได้ และในกรณีที่แรงงานภายในประเทศนั้นไม่พอ นักลงทุนสามารถนำแรงงานต่างชาติเข้ามาเพิ่มได้ โดยรัฐบาลได้ออกกฎหมายรองรับการอนุญาตแรงงานต่างชาติอีกด้วย

นอกจาก นั้นการทำธุรกรรมต่าง ๆ สามารถใช้เงินดอลลาร์สหรัฐแทนเงินเรียลของกัมพูชาได้โดยสะดวก เพราะนั้นแล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่กว่า 60% ของธุรกิจทั้งหมดในกัมพูชาจะเป็นของคนต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม กัมพูชาเองนั้นยังมีสาธารณูปโภคพื้นฐานในระดับที่ต่ำ การพัฒนาในเรื่องนี้ยังต่ำ รัฐบาลก่อสร้างได้น้อย และแม้แรงงานจะมีราคาถูกตามที่ได้เสนอไปในข้างต้น แต่ทว่าแรงงานที่ทักษะนั้นกลับมีค่อนข้างน้อย รัฐบาลกัมพูชาจึงพยายามสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติให้เข้าประกอบกิจการใน ประเทศเพื่ออาศัยเงินลงทุนเป็นรายได้เข้าประเทศ กับเพื่อไปจัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และพัฒนาจำนวนแรงงานที่มีทักษะต่อไป

จุด อ่อนอีกประการของกัมพูชาคือการที่มีภูมิประเทศเพาะปลูกทำการเกษตรได้น้อย แต่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9% ทุกปี ทำให้ต้องนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคต่าง ๆ จากต่างประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก

แม้รัฐบาลกัมพูชาจะสนับสนุนการ ลงทุนจากต่างชาติ แต่ยังคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่นักธุรกิจจากไทยจะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา เพราะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชานั้นในปัจจุบันไม่ค่อยจะราบ รื่นนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีพิพาทเรื่องแย่งชิงพื้นที่ทับซ้อนในเขาพระวิหาร ซึ่งล่าสุดได้มีการฟ้องร้องต่อศาลโลก

และในปัจจุบันยังรอฟังคำวินิจ ชี้ขาดอยู่ จึงมีผู้เกรงว่าความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในประเด็นดังกล่าวอาจบั่น ทอนโอกาสขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศในอนาคตได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลทั้งสองประเทศตกลงกันระงับข้อพิพาทดังกล่าวได้ก็จะเป็น ประโยชน์ต่อไทยหลายประการ

อนึ่งไทยสามารถที่จะส่งออกสินค้าเกษตร อุปโภค ซึ่งไทยผลิตได้มากไปยังกัมพูชา ซึ่งการขนส่งทำได้ง่ายกว่าชาติอื่น เพราะพรมแดนติดกันและคนกัมพูชายังนิยมสินค้าจากไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การเข้าไปลงทุนในกัมพูชาที่มีค่าแรงงานถูกน่าจะคุ้มค่าต่อนักลงทุนไทย ในส่วนของการท่องเที่ยวนั้นไทยและกัมพูชา

มีโอกาสที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันโดยอาศัยพื้นที่ทับซ้อนให้เป็นประโยชน์ จะสามารถดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โอกาสของนักลงทุนไทยในกัมพูชายังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองของทั้งสองประเทศเป็นหลัก

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น