แย่ดีที่สุด
โอฬาร สุขเกษมการค้าส่งออกของไทยแย่อย่างต่อเนื่อง แถมตัวเลขรายงานการส่งออกผิดไป เพราะไปรายงานตัวเลขสูงเกินจริง ส่งออกพิกัดศุลกากร84733090000 ส่งออกจริง 12,803 ดอลลาร์สหรัฐฯ
แต่ออกตัวเลขส่งออกว่า มีมูลค่าประมาณ 1,289 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเศษ ต้องมาปรับตัวเลขในภายหลัง และตัวเลขนี้เป็นต้นทางของการคำนวณอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของไทยด้วย
ดูเหมือนว่านี่จะเป็นครั้งแรกที่กระทรวงพาณิชย์แจ้งตัวเลขผิดไป ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ก็ว่า ตัวเลขมาจากกรมศุลกากร กรมศุลกากรก็บอกว่า แจ้งไปแล้วว่ามีความคลาดเคลื่อน และแจ้งให้แก้ไข แต่กระทรวงพาณิชย์นำไปออกข่าวก่อน
ความเชื่อของเราเกี่ยวกับการส่งออกก็คือ ตลาดโลกหดตัวทำให้กระทบการส่งออกของไทย หรือเราได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 หรือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรวดเดียวเป็น 300 บาท/วัน และวันนี้ก็เชื่อว่า เพราะค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งฟังๆ ดูสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่กระทบต่อการส่งออกของไทย เพียงแต่ว่าเราลืมไปหรือเปล่าว่า แท้จริงแล้วการส่งออกของเราลดลงในขณะที่คู่แข่งของเราแย่งตลาดไทยไปได้ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องให้นักวิเคราะห์ไปดูตัวเลขการเติบโตด้านการส่งออกของประเทศต่างๆ มาดูกัน ดูแล้วก็จะพอสรุปได้ว่า เราจะแก้ไขกันอย่างไร
ทุกวันนี้เท่าที่มีข้อมูลข่าวสารออกมาก็ชี้ให้เห็นว่า สินค้าบางรายการเราขายแข่งเขาไม่ได้ เพราะต้นทุนเราสูงกว่า อาทิ การส่งออกข้าวของไทย ราคาต้นทุนไทยตกประมาณ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เนื่องจากรัฐบาลรับจำนำข้าวในอัตราที่สูงมากๆ แต่ราคาซื้อขายในตลาดโลกไล่กันมาที่ระดับ 420 – 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ทำให้ปี 2555 ไทยขาดทุนจากการค้าข้าวไปแล้วกว่า 100,000 ล้านบาท ความจริงแล้วสินค้าอื่นๆ ของไทยอาจจะตกในชะตากรรมเดียวกันกับข้าวก็ได้
ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศไทยลดลง และรัฐบาลยังไร้หนทางที่จะแก้ไข ซึ่งจากข้อมูลหลายต่อหลายสำนัก ต่างแสดงความห่วงใยเรื่องการส่งออกของไทย
เศรษฐกิจไทยเคยขับเคลื่อนด้วยหัวจักรในการส่งออก แต่เกือบ 2 ปีมานี้ ไทยต้องพึ่งพาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และพึ่งพาด้านการบริโภคในประเทศ ซึ่งการพึ่งพาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น พึ่งไม่ได้มาก เพราะสัดส่วนจากการท่องเที่ยวเทียบกับจีดีพีของประเทศ มีเพียงไม่เกิน 4% ของจีดีพีเท่านั้น ส่วนใหญ่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
ทุกวันนี้ รัฐตั้งมั่นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว รัฐกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ย และการประกาศครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ได้ลดอัตราดอกเบี้ยชี้นำจาก 2.75 % เหลือ 2.50% ซึ่งน้อยกว่าที่กระทรวงการคลังอยากจะเห็น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 1.3 – 3.5% (ขึ้นอยู่กับระยะเงินฝากและขึ้นอยู่กับธนาคารแห่งใด) เมื่อเอาไปเทียบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้คาดว่าอยู่ที่ระดับ 2.5 – 2.8% ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ของแต่ละสำนัก จะพบว่า เงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับเดียวกันแล้ว
การที่อัตราดอกเบี้ยกับอัตราเงินเฟ้อเท่ากัน ก็หมายถึงว่า มีเงินไปก็ไม่มีประโยชน์ และวันข้างหน้าอัตราดอกเบี้ยอาจติดลบเทียบกับเงินเฟ้อ เงินจึงถูกใช้จ่ายไปเป็นค่าเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ใช้จ่ายซื้อคอนโดมิเนียม ที่ดิน บ้านเดี่ยว หรืออะไรก็ได้ ที่คิดว่าซื้อเก็บไว้แ ล้วอาจก่อมูลค่าเพิ่มได้
สงสัยเราจะเดินตามรอยประเทศญี่ปุ่นเสียแล้ว !
ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////
โอฬาร สุขเกษมการค้าส่งออกของไทยแย่อย่างต่อเนื่อง แถมตัวเลขรายงานการส่งออกผิดไป เพราะไปรายงานตัวเลขสูงเกินจริง ส่งออกพิกัดศุลกากร84733090000 ส่งออกจริง 12,803 ดอลลาร์สหรัฐฯ
แต่ออกตัวเลขส่งออกว่า มีมูลค่าประมาณ 1,289 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเศษ ต้องมาปรับตัวเลขในภายหลัง และตัวเลขนี้เป็นต้นทางของการคำนวณอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของไทยด้วย
ดูเหมือนว่านี่จะเป็นครั้งแรกที่กระทรวงพาณิชย์แจ้งตัวเลขผิดไป ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ก็ว่า ตัวเลขมาจากกรมศุลกากร กรมศุลกากรก็บอกว่า แจ้งไปแล้วว่ามีความคลาดเคลื่อน และแจ้งให้แก้ไข แต่กระทรวงพาณิชย์นำไปออกข่าวก่อน
ความเชื่อของเราเกี่ยวกับการส่งออกก็คือ ตลาดโลกหดตัวทำให้กระทบการส่งออกของไทย หรือเราได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 หรือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรวดเดียวเป็น 300 บาท/วัน และวันนี้ก็เชื่อว่า เพราะค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งฟังๆ ดูสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่กระทบต่อการส่งออกของไทย เพียงแต่ว่าเราลืมไปหรือเปล่าว่า แท้จริงแล้วการส่งออกของเราลดลงในขณะที่คู่แข่งของเราแย่งตลาดไทยไปได้ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องให้นักวิเคราะห์ไปดูตัวเลขการเติบโตด้านการส่งออกของประเทศต่างๆ มาดูกัน ดูแล้วก็จะพอสรุปได้ว่า เราจะแก้ไขกันอย่างไร
ทุกวันนี้เท่าที่มีข้อมูลข่าวสารออกมาก็ชี้ให้เห็นว่า สินค้าบางรายการเราขายแข่งเขาไม่ได้ เพราะต้นทุนเราสูงกว่า อาทิ การส่งออกข้าวของไทย ราคาต้นทุนไทยตกประมาณ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เนื่องจากรัฐบาลรับจำนำข้าวในอัตราที่สูงมากๆ แต่ราคาซื้อขายในตลาดโลกไล่กันมาที่ระดับ 420 – 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ทำให้ปี 2555 ไทยขาดทุนจากการค้าข้าวไปแล้วกว่า 100,000 ล้านบาท ความจริงแล้วสินค้าอื่นๆ ของไทยอาจจะตกในชะตากรรมเดียวกันกับข้าวก็ได้
ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศไทยลดลง และรัฐบาลยังไร้หนทางที่จะแก้ไข ซึ่งจากข้อมูลหลายต่อหลายสำนัก ต่างแสดงความห่วงใยเรื่องการส่งออกของไทย
เศรษฐกิจไทยเคยขับเคลื่อนด้วยหัวจักรในการส่งออก แต่เกือบ 2 ปีมานี้ ไทยต้องพึ่งพาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และพึ่งพาด้านการบริโภคในประเทศ ซึ่งการพึ่งพาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น พึ่งไม่ได้มาก เพราะสัดส่วนจากการท่องเที่ยวเทียบกับจีดีพีของประเทศ มีเพียงไม่เกิน 4% ของจีดีพีเท่านั้น ส่วนใหญ่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
ทุกวันนี้ รัฐตั้งมั่นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว รัฐกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ย และการประกาศครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ได้ลดอัตราดอกเบี้ยชี้นำจาก 2.75 % เหลือ 2.50% ซึ่งน้อยกว่าที่กระทรวงการคลังอยากจะเห็น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 1.3 – 3.5% (ขึ้นอยู่กับระยะเงินฝากและขึ้นอยู่กับธนาคารแห่งใด) เมื่อเอาไปเทียบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้คาดว่าอยู่ที่ระดับ 2.5 – 2.8% ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ของแต่ละสำนัก จะพบว่า เงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับเดียวกันแล้ว
การที่อัตราดอกเบี้ยกับอัตราเงินเฟ้อเท่ากัน ก็หมายถึงว่า มีเงินไปก็ไม่มีประโยชน์ และวันข้างหน้าอัตราดอกเบี้ยอาจติดลบเทียบกับเงินเฟ้อ เงินจึงถูกใช้จ่ายไปเป็นค่าเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ใช้จ่ายซื้อคอนโดมิเนียม ที่ดิน บ้านเดี่ยว หรืออะไรก็ได้ ที่คิดว่าซื้อเก็บไว้แ ล้วอาจก่อมูลค่าเพิ่มได้
สงสัยเราจะเดินตามรอยประเทศญี่ปุ่นเสียแล้ว !
ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น