วันนี้สังคมไทยกำลังถกเถียงเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าจากถ่านหินในจังหวัดกระบี่ ว่า ควรสร้าง หรือ ไม่ควรสร้าง โดยในส่วนของภาครัฐต้องการนำร่องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม หลังจากพบว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศปริ่มๆ จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของคนทั้งชาติ พร้อมกันนี้พื้นที่ภาคใต้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ไฟฟ้าไม่เพียงพอมาระยะหนึ่งแล้ว โดยปัจจุบันไปดึงไฟฟ้าจากภาคอื่นมาใช้แทน
การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศนั้นดูเหมือนจะเป็นทางเลือกสำคัญในเวลานี้ โดยภาครัฐพุ่งเป้าหมายไปที่การซื้อไฟฟ้าพลังน้ำเป็นอันดับแรก เนื่องจากราคาถูกและไม่ก่อมลพิษทางอากาศและลดกระแสต่อต้านลงได้มาก โดยปัจจุบันไทยซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว มากเป็นอันดับ 1 ประมาณ 2,104 เมกะวัตต์ และในอนาคตอีก 20 ปี ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยจะก้าวถึง 70,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันใช้อยู่ 26,121 เมกะวัตต์ ดังนั้น ไฟฟ้าปริมาณมากดังกล่าวจะต้องพึ่งพิงจาก สปป.ลาว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก สปป.ลาว ยังมีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเหลืออีกกว่า 13,384 เมกะวัตต์ ที่ไทยสามารถพึ่งพาได้
สำหรับ สปป.ลาว มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ทั้งสิ้นกว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ โดยดำเนินการผลิตไฟฟ้าแล้วกว่า 3,000 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการศึกษาอีก 2,500 เมกะวัตต์ และยังมีศักยภาพเหลือรอพัฒนาขึ้นมาได้อีกกว่า 13,000 เมกะวัตต์ ซึ่งผลิตจากแม่น้ำ 8 สาย ได้แก่ น้ำทา น้ำอู น้ำงึม น้ำเงี๊ยบ น้ำเทิน เซดอง เซกอง และแม่น้ำโขง โดยปัจจุบันโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้พัฒนาโครงการ นับได้ว่าเป็นโครงการการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่มีปริมาณสูงสุด 1,075 เมกะวัตต์ รองลงมาได้แก่ น้ำงึม 2 โดยคนไทยเป็นผู้พัฒนาโครงการ มีกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์
ดังนั้น แม้โรงไฟฟ้าพลังน้ำจะอยู่ใน สปป.ลาว แต่ก็มีบริษัทคนไทยที่เข้าไปพัฒนาโครงการขึ้นมาเช่นกัน โดยเฉพาะโครงการสำคัญอย่างโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ซึ่งบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ซีเคพี เป็นผู้พัฒนาโครงการขึ้นมา โดยซีเคพี เป็นบริษัทลงทุนด้านพลังงาน และเป็นที่รู้จักกันดีในนามของบริษัทลูกของ ช.การช่าง
นางสุภามาส ตรีวิศเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีเค พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า ซีเคพี มุ่งเน้นที่จะขยายธุรกิจการผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศไทย และภูมิภาคนี้ที่จะขยายตัวเพิ่มอีกมาก โดยในปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว เป็นอันดับ 2 มีกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์ รองจากเขื่อนน้ำเทิน 2 ของฝรั่งเศสที่มีกำลังการผลิต 1,075 เมกะวัตต์ ซึ่งหากเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง สร้างเสร็จในปี 2562 จะทำให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 1,285 เมกะวัตต์ ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว มีกำลังการผลิตรวม 1,900 เมกะวัตต์
โดยเขื่อนไซยะบุรีนี้ มีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 30% ได้รับสัมปทานการผลิตไฟฟ้าจาก สปป.ลาว 29 ปี มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 1,220 เมกะวัตต์ และ สปป.ลาวอีก 60 เมกะวัตต์ โดยได้เริ่มก่อสร้างในเดือน มี.ค.2555 ขณะนี้มีความคืบหน้าในการก่อสร้างประมาณ 13-14% ตรงตามแผนที่วางไว้
ส่วนโครงการในอนาคต มีโครงการสร้างเขื่อนน้ำบาก ซึ่งแม่น้ำบากเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ ที่อยู่ท้ายเขื่อนน้ำงึม 2 มีมูลค่าการลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำลังการผลิตทั้งหมด 160 เมกะวัตต์ จะขายให้กับรัฐบาล สปป.ลาว หรือประมาณ 730 ล้านหน่วย สร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ ปีละกว่า 1 พันล้านบาท คาดว่าภายในปี 2556นี้ จะเจรจาสัญญาสัมปทาน สัญญาซื้อขายไฟฟ้า และจ้างผู้รับเหมาได้เสร็จภายในปี 2556 นี้ และจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557
นอกจากธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากน้ำแล้ว บริษัทฯ ยังมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการบางเขนชัย กำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์ โครงการนครราชสีมาโซลาร์ 6 เมกะวัตต์ และโครงการเชียงรายโซลาร์ 8 เมกะวัตต์ รวมทั้งยังมีโครงการโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอร์เรชั่น (BIC) โดยโครงการ BIC1 มีกำลังผลิตไฟฟ้า 117.5 มกะวัตต์ ขายไอน้ำ 19.6 ตันต่อชั่วโมง และ BIC2 มีกำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ ขายไอน้ำ 20 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2017
สำหรับธุรกิจของบริษัทฯ มีความมั่นคงสูง เพราะประเทศไทย และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศไทยคาดว่าในอีก 40 ปีข้างหน้า ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.6 หมื่นเมกะวัตต์ เป็นกว่า 8 หมื่นเมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว โดยจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.4 พันเมกะวัตต์ และถ้ารวมกับโรงไฟฟ้าเก่าที่ต้องปลดออกจากระบบ ก็จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มอีกกว่าปีละ 2 พันเมกะวัตต์ ดังนั้น ไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือถ่านหิน ซึ่งจะก่อสร้างแต่ละโรงก็เป็นเรื่องยาก ทางออกที่ดีทางหนึ่งก็คือการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งบริษัทฯ ก็มีความพร้อมสูงมากในธุรกิจนี้
ส่วนกรณีกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าใน สปป.ลาวนั้น เห็นว่ามีความแตกต่างจากไทยมาก หรือเรียกได้ว่าคนใน สปป.ลาวแทบจะไม่มีการต่อต้านเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการเมืองใน สปป.ลาวมีความมั่นคงสูง มีพรรคการเมืองบริหารเพียงพรรคเดียว จึงสามารถควบคุมประชาชนได้ง่ายกว่า และการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละครั้งผู้พัฒนาโครงการจะเดินทางไปพบกับชาวบ้านโดยมีตัวแทนของภาครัฐไปด้วยทุกครั้ง และที่สำคัญจะมีจดหมายจากทางการแจ้งให้ประชาชนทราบว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าและเป็นโรงไฟฟ้าของรัฐบาล สปป.ลาว ดังนั้น ประชาชนจะไม่มีการต่อต้านแต่อย่างใด ดังนั้น ความรู้สึกและความเห็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ สปป.ลาว กับคนไทยจึงแตกต่างกันมาก ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้
การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านนับเป็นทางเลือกหนึ่งของไทย ที่จะเสริมสร้างปริมาณไฟฟ้าป้อนให้คนไทยใช้อย่างเพียงพอ และเป็นโรงไฟฟ้าที่สร้างปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หากถามว่าทำไมไม่สร้างในไทยแทน คำตอบที่ได้คือ ไทยไม่มีพื้นที่น้ำขนาดใหญ่สร้างได้อีกแล้ว โดยปัจจุบันสร้างตามลุ่มแม่น้ำ 6 แห่งแล้ว เช่น เจ้าพระยา ชี-มูล แม่กลอง เพชรบุรี ตาปี และปัตตานี กำลังการผลิต 3,483 เมกะวัตต์ จึงต้องหันไปพึ่งพาต่างประเทศ แต่ต้องยอมรับว่า การพึ่งพาโรงไฟฟ้าจากต่างประเทศจะทำให้ไทยไม่มีเสถียรภาพด้านไฟฟ้าในระยะยาว หากมีปัญหาทะเลาะกับประเทศผู้ผลิตไฟฟ้า
ดังนั้น คงถึงเวลาที่คนไทยต้องร่วมกันหาทางออกให้กับไฟฟ้าไทยในปัจจุบัน ด้วยหลักเหตุและผลที่แท้จริง ซึ่งทั้งภาครัฐและประชาชนต้องเปิดใจรับฟังเหตุผลของกันและกัน เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และเพื่ออนาคตลูกหลานไทยได้มีไฟฟ้าใช้ต่อไปอย่างยั่งยืน.
ที่มา.ไทยโพสต์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศนั้นดูเหมือนจะเป็นทางเลือกสำคัญในเวลานี้ โดยภาครัฐพุ่งเป้าหมายไปที่การซื้อไฟฟ้าพลังน้ำเป็นอันดับแรก เนื่องจากราคาถูกและไม่ก่อมลพิษทางอากาศและลดกระแสต่อต้านลงได้มาก โดยปัจจุบันไทยซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว มากเป็นอันดับ 1 ประมาณ 2,104 เมกะวัตต์ และในอนาคตอีก 20 ปี ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยจะก้าวถึง 70,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันใช้อยู่ 26,121 เมกะวัตต์ ดังนั้น ไฟฟ้าปริมาณมากดังกล่าวจะต้องพึ่งพิงจาก สปป.ลาว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก สปป.ลาว ยังมีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเหลืออีกกว่า 13,384 เมกะวัตต์ ที่ไทยสามารถพึ่งพาได้
สำหรับ สปป.ลาว มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ทั้งสิ้นกว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ โดยดำเนินการผลิตไฟฟ้าแล้วกว่า 3,000 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการศึกษาอีก 2,500 เมกะวัตต์ และยังมีศักยภาพเหลือรอพัฒนาขึ้นมาได้อีกกว่า 13,000 เมกะวัตต์ ซึ่งผลิตจากแม่น้ำ 8 สาย ได้แก่ น้ำทา น้ำอู น้ำงึม น้ำเงี๊ยบ น้ำเทิน เซดอง เซกอง และแม่น้ำโขง โดยปัจจุบันโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้พัฒนาโครงการ นับได้ว่าเป็นโครงการการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่มีปริมาณสูงสุด 1,075 เมกะวัตต์ รองลงมาได้แก่ น้ำงึม 2 โดยคนไทยเป็นผู้พัฒนาโครงการ มีกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์
ดังนั้น แม้โรงไฟฟ้าพลังน้ำจะอยู่ใน สปป.ลาว แต่ก็มีบริษัทคนไทยที่เข้าไปพัฒนาโครงการขึ้นมาเช่นกัน โดยเฉพาะโครงการสำคัญอย่างโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ซึ่งบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ซีเคพี เป็นผู้พัฒนาโครงการขึ้นมา โดยซีเคพี เป็นบริษัทลงทุนด้านพลังงาน และเป็นที่รู้จักกันดีในนามของบริษัทลูกของ ช.การช่าง
นางสุภามาส ตรีวิศเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีเค พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า ซีเคพี มุ่งเน้นที่จะขยายธุรกิจการผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศไทย และภูมิภาคนี้ที่จะขยายตัวเพิ่มอีกมาก โดยในปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว เป็นอันดับ 2 มีกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์ รองจากเขื่อนน้ำเทิน 2 ของฝรั่งเศสที่มีกำลังการผลิต 1,075 เมกะวัตต์ ซึ่งหากเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง สร้างเสร็จในปี 2562 จะทำให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 1,285 เมกะวัตต์ ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว มีกำลังการผลิตรวม 1,900 เมกะวัตต์
โดยเขื่อนไซยะบุรีนี้ มีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 30% ได้รับสัมปทานการผลิตไฟฟ้าจาก สปป.ลาว 29 ปี มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 1,220 เมกะวัตต์ และ สปป.ลาวอีก 60 เมกะวัตต์ โดยได้เริ่มก่อสร้างในเดือน มี.ค.2555 ขณะนี้มีความคืบหน้าในการก่อสร้างประมาณ 13-14% ตรงตามแผนที่วางไว้
ส่วนโครงการในอนาคต มีโครงการสร้างเขื่อนน้ำบาก ซึ่งแม่น้ำบากเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ ที่อยู่ท้ายเขื่อนน้ำงึม 2 มีมูลค่าการลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำลังการผลิตทั้งหมด 160 เมกะวัตต์ จะขายให้กับรัฐบาล สปป.ลาว หรือประมาณ 730 ล้านหน่วย สร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ ปีละกว่า 1 พันล้านบาท คาดว่าภายในปี 2556นี้ จะเจรจาสัญญาสัมปทาน สัญญาซื้อขายไฟฟ้า และจ้างผู้รับเหมาได้เสร็จภายในปี 2556 นี้ และจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557
นอกจากธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากน้ำแล้ว บริษัทฯ ยังมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการบางเขนชัย กำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์ โครงการนครราชสีมาโซลาร์ 6 เมกะวัตต์ และโครงการเชียงรายโซลาร์ 8 เมกะวัตต์ รวมทั้งยังมีโครงการโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอร์เรชั่น (BIC) โดยโครงการ BIC1 มีกำลังผลิตไฟฟ้า 117.5 มกะวัตต์ ขายไอน้ำ 19.6 ตันต่อชั่วโมง และ BIC2 มีกำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ ขายไอน้ำ 20 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2017
สำหรับธุรกิจของบริษัทฯ มีความมั่นคงสูง เพราะประเทศไทย และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศไทยคาดว่าในอีก 40 ปีข้างหน้า ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.6 หมื่นเมกะวัตต์ เป็นกว่า 8 หมื่นเมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว โดยจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.4 พันเมกะวัตต์ และถ้ารวมกับโรงไฟฟ้าเก่าที่ต้องปลดออกจากระบบ ก็จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มอีกกว่าปีละ 2 พันเมกะวัตต์ ดังนั้น ไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือถ่านหิน ซึ่งจะก่อสร้างแต่ละโรงก็เป็นเรื่องยาก ทางออกที่ดีทางหนึ่งก็คือการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งบริษัทฯ ก็มีความพร้อมสูงมากในธุรกิจนี้
ส่วนกรณีกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าใน สปป.ลาวนั้น เห็นว่ามีความแตกต่างจากไทยมาก หรือเรียกได้ว่าคนใน สปป.ลาวแทบจะไม่มีการต่อต้านเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการเมืองใน สปป.ลาวมีความมั่นคงสูง มีพรรคการเมืองบริหารเพียงพรรคเดียว จึงสามารถควบคุมประชาชนได้ง่ายกว่า และการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละครั้งผู้พัฒนาโครงการจะเดินทางไปพบกับชาวบ้านโดยมีตัวแทนของภาครัฐไปด้วยทุกครั้ง และที่สำคัญจะมีจดหมายจากทางการแจ้งให้ประชาชนทราบว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าและเป็นโรงไฟฟ้าของรัฐบาล สปป.ลาว ดังนั้น ประชาชนจะไม่มีการต่อต้านแต่อย่างใด ดังนั้น ความรู้สึกและความเห็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ สปป.ลาว กับคนไทยจึงแตกต่างกันมาก ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้
การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านนับเป็นทางเลือกหนึ่งของไทย ที่จะเสริมสร้างปริมาณไฟฟ้าป้อนให้คนไทยใช้อย่างเพียงพอ และเป็นโรงไฟฟ้าที่สร้างปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หากถามว่าทำไมไม่สร้างในไทยแทน คำตอบที่ได้คือ ไทยไม่มีพื้นที่น้ำขนาดใหญ่สร้างได้อีกแล้ว โดยปัจจุบันสร้างตามลุ่มแม่น้ำ 6 แห่งแล้ว เช่น เจ้าพระยา ชี-มูล แม่กลอง เพชรบุรี ตาปี และปัตตานี กำลังการผลิต 3,483 เมกะวัตต์ จึงต้องหันไปพึ่งพาต่างประเทศ แต่ต้องยอมรับว่า การพึ่งพาโรงไฟฟ้าจากต่างประเทศจะทำให้ไทยไม่มีเสถียรภาพด้านไฟฟ้าในระยะยาว หากมีปัญหาทะเลาะกับประเทศผู้ผลิตไฟฟ้า
ดังนั้น คงถึงเวลาที่คนไทยต้องร่วมกันหาทางออกให้กับไฟฟ้าไทยในปัจจุบัน ด้วยหลักเหตุและผลที่แท้จริง ซึ่งทั้งภาครัฐและประชาชนต้องเปิดใจรับฟังเหตุผลของกันและกัน เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และเพื่ออนาคตลูกหลานไทยได้มีไฟฟ้าใช้ต่อไปอย่างยั่งยืน.
ที่มา.ไทยโพสต์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น