โดย ไสว บุญมา
คอลัมน์ ระดมสมอง
ในช่วงเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้รับการยกย่องว่าพัฒนาได้รวดเร็วที่สุดในโลก เศรษฐกิจขยายตัวในอัตรากว่าร้อยละ 10 ต่อปีติดต่อกันเป็นเวลานาน ถนนหนทางถูกสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ตึกรามขนาดใหญ่เปลี่ยนสภาพบ้านเมืองให้ดูทันสมัยไม่ต่างกับในประเทศที่ก้าว หน้ามาก่อน
ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มก้าวเข้าสู่สภาพกินดีอยู่ดีและมี เศรษฐีเกิดขึ้นรายวัน ข่าวเรื่องชาวจีนไปกว้านซื้อสินค้าราคาแพงในตลาดโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเหล้าองุ่นราคาขวดละหลายแสนบาท รถยนต์ราคาคันละหลายสิบล้านบาท หรือเพชรนิลจินดาที่แทบไม่ต้องถามราคากัน
ฉะนั้นมันจึงดูจะขัดความ รู้สึกอยู่บ้าง เมื่อนิตยสาร Bloomberg Businessweek ประจำวันที่ 6-12 พฤษภาคมที่ผ่านมา พาดหัวบทความหนึ่งว่า "ชาวจีนเครียดพากันไปอยู่ในป่าเขา" แล้วให้เหตุผลสั้น ๆ ก่อนที่จะเสนอรายละเอียดว่า เพราะ "อากาศเลว อาหารเลว จราจรเลว สิ่งเหล่านี้ไม่มีในมณฑลยูนนาน"
เหตุผลสั้น ๆ นั้นน่าจะกระจ่างพอสำหรับผู้ที่ติดตามความเป็นไปในจีนหลาย ๆ ด้าน สื่อรายงานไม่ขาด เรื่องอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เรื่องอาหารขาดมาตรฐานทางคุณค่าและสุขอนามัย เรื่องความแออัดและความติดขัดของการจราจรตามเมืองใหญ่ ๆ เรื่องการแข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการหารายได้ หรือในด้านการบริโภคแบบสุดโต่งเพื่อโอ้อวดสถานะทางสังคม
มณฑลยูนนาน ไม่มีสิ่งเหล่านั้นเพราะอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของการพัฒนา และความก้าวหน้าร่วมสมัย โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ เมืองขนาดยักษ์ เช่น ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ยังไม่เกิด โรงงานขนาดใหญ่ เช่น ในแถบตะวันออกของประเทศ ก็ไม่มี ป่าไม้และภูเขายังไม่ถูกทำลาย สายน้ำลำห้วยยังใสสะอาด และอากาศยังปราศจากหมอกควัน
ชาวจีนผู้มอง เห็นโทษของความก้าวหน้า เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นสำคัญกว่าความทันสมัยของชีวิตในเมืองขนาดใหญ่ในย่าน ตะวันออกของประเทศ พากันอพยพไปตั้งหลักแหล่งในมณฑลยูนนาน แม้มันจะอยู่ห่างจากนครปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้หลายพันกิโลเมตรก็ตาม
บท ความนั้นยกตัวอย่างผู้จัดการโรงงานในย่านนครเซี่ยงไฮ้คนหนึ่ง ซึ่งอายุเพียง 28 ปี และมีรายได้สูง เขาขายสมบัติ เช่น ห้องชุด และรถยนต์ เมื่อ 6 ปีก่อน แล้วอพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่อยู่ในเมืองเล็ก ๆ ทางตะวันตกของมณฑลยูนนาน ชื่อ ลิเจียง ซึ่งอยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้เกือบสามพันกิโลเมตร
เขา เลี้ยงชีพด้วยการทำบ้านพักแรมเล็ก ๆ สำหรับผู้ไปพักผ่อนชั่วคราว เพื่อสูดอากาศอันบริสุทธิ์ และชมทิวทัศน์อันงดงามของลิเจียง ซึ่งอยู่ ณ ตีนเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 5.6 กิโลเมตร
ย้อนไป 15 ปี แทบไม่มีใครจากภายนอกเข้าไปตั้งหลักแหล่งในลิเจียง แต่ ณ วันนี้ ร้อยละ 95 ของประชากรราว 2 หมื่นคนของเมืองนี้เป็นผู้ที่ลี้ภัยความก้าวหน้ามาจากส่วนต่าง ๆ ของจีน ลิเจียง เป็นหนึ่งในหลายเมืองของมณฑลยูนนานที่กำลังเป็นที่นิยมของชาวจีนที่มีความ คิดเช่นเดียวกับผู้จัดการโรงงานดังกล่าว
สำหรับผู้ติดตามวิวัฒนาการด้านการพัฒนามาเป็นเวลานาน ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในจีนนั้นมิใช่ของใหม่ เนื่องจากมันเกิดขึ้นในหลายส่วนของโลกที่พัฒนาก้าวหน้ามาก่อนจีน แต่เรื่องราวของพวกเขามักไม่เป็นข่าว เนื่องจากจีนพัฒนารวดเร็วกว่าพวกเขามาก พร้อมกับมีผู้คนมากกว่าพวกเขานับสิบนับร้อยเท่าด้วย
ผลพวงทางด้าน ลบของการพัฒนาที่เกิดขึ้นในจีน จึงมองเห็นได้อย่างเด่นชัดในช่วงเวลาอันสั้น และชาวจีนที่ลี้ภัยจากผลพวงนั้นก็เกิดขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็วด้วย ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์ต่อนักพัฒนาและชนชั้นผู้มีการศึกษาสูง ของโลก แต่นโยบายของทุกประเทศยังมุ่งไปที่การพัฒนาให้ก้าวหน้าดังที่ทำกันมานับ ศตวรรษ
แทนที่จะหยุดคิดสักนิดหนึ่ง ว่าการพัฒนาที่ทำกันมานั้นมีผลจริง ๆ อย่างไร
คงด้วยเหตุนี้ เมื่อมีผู้ถามท่านทะไล ลามะ ว่า "อะไรที่มนุษยชาติทำให้ท่านแปลกใจที่สุด" ท่านตอบว่า "มนุษย์ยอมเสียสุขภาพเพื่อหาเงิน แล้วก็ยอมเสียเงินเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ"
กระบวน การและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมานั้น อาจมองได้ว่าอยู่ในลักษณะของสามเหลี่ยม นั่นคือย้อนไปในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า และการพัฒนายังไม่ก่อให้เกิดรายได้ถึงขนาดที่ใช้บริโภคกันแบบสุดโต่ง อย่างกว้างขวาง
สังคมต่าง ๆ ตั้งอยู่ ณ จุด A หลังเกิดเทคโนโลยีใหม่ ทุกสังคมตะเกียกตะกายเพื่อจะไปยังจุด B ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เอื้อให้คนส่วนใหญ่สามารถบริโภคได้แบบสุด โต่ง แต่การตะเกียกตะกายนั้น ทำลายทั้งสุขภาพของบุคคลและความสมดุลของโลกจากความเครียด จากการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จากความแออัด และจากการบริโภคแบบสุดโต่ง
กระบวนการนี้มีผู้มองเห็นว่าไม่คุ้มค่า พวกเขาจึงพากันกลับไปใช้ชีวิตจำพวกที่ไม่ต้องมีสิ่งต่าง ๆ ดังที่จุด B มีอยู่ หรืออาจเรียกว่าพวกเขาพยายามกลับไปสู่สามัญก็น่าจะได้
แต่ เนื่องจากพวกเขาเข้าใจอะไรต่อมิอะไรมากกว่าผู้คนในสมัยที่ยังไม่เริ่มกระบวน การพัฒนาจาก A ไปยัง B พวกเขาจึงเคลื่อนไปอยู่ ณ จุด C ซึ่งไม่มีการบริโภคแบบสุดโต่ง อันเป็นปัจจัยหลักของการทำลายสุขภาพของตัวเอง และทำลายความสมดุลของโลก
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ อาจพูดได้ว่ามีผู้คนไม่เกินร้อยละ 0.01 ที่ตระหนักในกระบวนการดังกล่าว และพยายามดำเนินชีวิตแบบที่อยู่ ณ จุด C ส่วนที่เหลือร้อยละ 99.9 ไม่ใส่ใจ จึงยังตะเกียกตะกายหาเงิน แม้การหานั้นจะทำลายสุขภาพ ทำให้ต้องใช้เงินที่หามาได้ทำลายทรัพยกรโลกต่อไปเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ
ในขณะเดียวกัน การหารายได้นั้นก็ทำลายทรัพยากรโลก ส่งผลให้ต้องใช้ทรัพยากรของโลกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของโลกอีกทอดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้
จึงอาจสรุปได้ว่า การพัฒนาที่ผ่านมา มิได้วางอยู่บนฐานของปัญญา มันจึงกำลังพาโลกไปสู่ความล่มสลายก่อนเวลาอันควร นอกเสียจากว่า คนส่วนใหญ่จะพากันกลับไปสู่สามัญในเร็ววันขึ้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
------------------------------------------------------
คอลัมน์ ระดมสมอง
ในช่วงเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้รับการยกย่องว่าพัฒนาได้รวดเร็วที่สุดในโลก เศรษฐกิจขยายตัวในอัตรากว่าร้อยละ 10 ต่อปีติดต่อกันเป็นเวลานาน ถนนหนทางถูกสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ตึกรามขนาดใหญ่เปลี่ยนสภาพบ้านเมืองให้ดูทันสมัยไม่ต่างกับในประเทศที่ก้าว หน้ามาก่อน
ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มก้าวเข้าสู่สภาพกินดีอยู่ดีและมี เศรษฐีเกิดขึ้นรายวัน ข่าวเรื่องชาวจีนไปกว้านซื้อสินค้าราคาแพงในตลาดโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเหล้าองุ่นราคาขวดละหลายแสนบาท รถยนต์ราคาคันละหลายสิบล้านบาท หรือเพชรนิลจินดาที่แทบไม่ต้องถามราคากัน
ฉะนั้นมันจึงดูจะขัดความ รู้สึกอยู่บ้าง เมื่อนิตยสาร Bloomberg Businessweek ประจำวันที่ 6-12 พฤษภาคมที่ผ่านมา พาดหัวบทความหนึ่งว่า "ชาวจีนเครียดพากันไปอยู่ในป่าเขา" แล้วให้เหตุผลสั้น ๆ ก่อนที่จะเสนอรายละเอียดว่า เพราะ "อากาศเลว อาหารเลว จราจรเลว สิ่งเหล่านี้ไม่มีในมณฑลยูนนาน"
เหตุผลสั้น ๆ นั้นน่าจะกระจ่างพอสำหรับผู้ที่ติดตามความเป็นไปในจีนหลาย ๆ ด้าน สื่อรายงานไม่ขาด เรื่องอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เรื่องอาหารขาดมาตรฐานทางคุณค่าและสุขอนามัย เรื่องความแออัดและความติดขัดของการจราจรตามเมืองใหญ่ ๆ เรื่องการแข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการหารายได้ หรือในด้านการบริโภคแบบสุดโต่งเพื่อโอ้อวดสถานะทางสังคม
มณฑลยูนนาน ไม่มีสิ่งเหล่านั้นเพราะอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของการพัฒนา และความก้าวหน้าร่วมสมัย โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ เมืองขนาดยักษ์ เช่น ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ยังไม่เกิด โรงงานขนาดใหญ่ เช่น ในแถบตะวันออกของประเทศ ก็ไม่มี ป่าไม้และภูเขายังไม่ถูกทำลาย สายน้ำลำห้วยยังใสสะอาด และอากาศยังปราศจากหมอกควัน
ชาวจีนผู้มอง เห็นโทษของความก้าวหน้า เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นสำคัญกว่าความทันสมัยของชีวิตในเมืองขนาดใหญ่ในย่าน ตะวันออกของประเทศ พากันอพยพไปตั้งหลักแหล่งในมณฑลยูนนาน แม้มันจะอยู่ห่างจากนครปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้หลายพันกิโลเมตรก็ตาม
บท ความนั้นยกตัวอย่างผู้จัดการโรงงานในย่านนครเซี่ยงไฮ้คนหนึ่ง ซึ่งอายุเพียง 28 ปี และมีรายได้สูง เขาขายสมบัติ เช่น ห้องชุด และรถยนต์ เมื่อ 6 ปีก่อน แล้วอพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่อยู่ในเมืองเล็ก ๆ ทางตะวันตกของมณฑลยูนนาน ชื่อ ลิเจียง ซึ่งอยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้เกือบสามพันกิโลเมตร
เขา เลี้ยงชีพด้วยการทำบ้านพักแรมเล็ก ๆ สำหรับผู้ไปพักผ่อนชั่วคราว เพื่อสูดอากาศอันบริสุทธิ์ และชมทิวทัศน์อันงดงามของลิเจียง ซึ่งอยู่ ณ ตีนเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 5.6 กิโลเมตร
ย้อนไป 15 ปี แทบไม่มีใครจากภายนอกเข้าไปตั้งหลักแหล่งในลิเจียง แต่ ณ วันนี้ ร้อยละ 95 ของประชากรราว 2 หมื่นคนของเมืองนี้เป็นผู้ที่ลี้ภัยความก้าวหน้ามาจากส่วนต่าง ๆ ของจีน ลิเจียง เป็นหนึ่งในหลายเมืองของมณฑลยูนนานที่กำลังเป็นที่นิยมของชาวจีนที่มีความ คิดเช่นเดียวกับผู้จัดการโรงงานดังกล่าว
สำหรับผู้ติดตามวิวัฒนาการด้านการพัฒนามาเป็นเวลานาน ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในจีนนั้นมิใช่ของใหม่ เนื่องจากมันเกิดขึ้นในหลายส่วนของโลกที่พัฒนาก้าวหน้ามาก่อนจีน แต่เรื่องราวของพวกเขามักไม่เป็นข่าว เนื่องจากจีนพัฒนารวดเร็วกว่าพวกเขามาก พร้อมกับมีผู้คนมากกว่าพวกเขานับสิบนับร้อยเท่าด้วย
ผลพวงทางด้าน ลบของการพัฒนาที่เกิดขึ้นในจีน จึงมองเห็นได้อย่างเด่นชัดในช่วงเวลาอันสั้น และชาวจีนที่ลี้ภัยจากผลพวงนั้นก็เกิดขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็วด้วย ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์ต่อนักพัฒนาและชนชั้นผู้มีการศึกษาสูง ของโลก แต่นโยบายของทุกประเทศยังมุ่งไปที่การพัฒนาให้ก้าวหน้าดังที่ทำกันมานับ ศตวรรษ
แทนที่จะหยุดคิดสักนิดหนึ่ง ว่าการพัฒนาที่ทำกันมานั้นมีผลจริง ๆ อย่างไร
คงด้วยเหตุนี้ เมื่อมีผู้ถามท่านทะไล ลามะ ว่า "อะไรที่มนุษยชาติทำให้ท่านแปลกใจที่สุด" ท่านตอบว่า "มนุษย์ยอมเสียสุขภาพเพื่อหาเงิน แล้วก็ยอมเสียเงินเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ"
กระบวน การและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมานั้น อาจมองได้ว่าอยู่ในลักษณะของสามเหลี่ยม นั่นคือย้อนไปในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า และการพัฒนายังไม่ก่อให้เกิดรายได้ถึงขนาดที่ใช้บริโภคกันแบบสุดโต่ง อย่างกว้างขวาง
สังคมต่าง ๆ ตั้งอยู่ ณ จุด A หลังเกิดเทคโนโลยีใหม่ ทุกสังคมตะเกียกตะกายเพื่อจะไปยังจุด B ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เอื้อให้คนส่วนใหญ่สามารถบริโภคได้แบบสุด โต่ง แต่การตะเกียกตะกายนั้น ทำลายทั้งสุขภาพของบุคคลและความสมดุลของโลกจากความเครียด จากการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จากความแออัด และจากการบริโภคแบบสุดโต่ง
กระบวนการนี้มีผู้มองเห็นว่าไม่คุ้มค่า พวกเขาจึงพากันกลับไปใช้ชีวิตจำพวกที่ไม่ต้องมีสิ่งต่าง ๆ ดังที่จุด B มีอยู่ หรืออาจเรียกว่าพวกเขาพยายามกลับไปสู่สามัญก็น่าจะได้
แต่ เนื่องจากพวกเขาเข้าใจอะไรต่อมิอะไรมากกว่าผู้คนในสมัยที่ยังไม่เริ่มกระบวน การพัฒนาจาก A ไปยัง B พวกเขาจึงเคลื่อนไปอยู่ ณ จุด C ซึ่งไม่มีการบริโภคแบบสุดโต่ง อันเป็นปัจจัยหลักของการทำลายสุขภาพของตัวเอง และทำลายความสมดุลของโลก
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ อาจพูดได้ว่ามีผู้คนไม่เกินร้อยละ 0.01 ที่ตระหนักในกระบวนการดังกล่าว และพยายามดำเนินชีวิตแบบที่อยู่ ณ จุด C ส่วนที่เหลือร้อยละ 99.9 ไม่ใส่ใจ จึงยังตะเกียกตะกายหาเงิน แม้การหานั้นจะทำลายสุขภาพ ทำให้ต้องใช้เงินที่หามาได้ทำลายทรัพยกรโลกต่อไปเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ
ในขณะเดียวกัน การหารายได้นั้นก็ทำลายทรัพยากรโลก ส่งผลให้ต้องใช้ทรัพยากรของโลกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของโลกอีกทอดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้
จึงอาจสรุปได้ว่า การพัฒนาที่ผ่านมา มิได้วางอยู่บนฐานของปัญญา มันจึงกำลังพาโลกไปสู่ความล่มสลายก่อนเวลาอันควร นอกเสียจากว่า คนส่วนใหญ่จะพากันกลับไปสู่สามัญในเร็ววันขึ้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น