ทางออกของความอยู่รอดและความยั่งยืนของโครงการดีๆ อย่างนี้ ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นการบริหารโครงการเชิงกลยุทธ์ เพื่อที่จะให้ประเทศสมาชิกที่ยังไม่พร้อม ไม่ถูกเบียดสิทธิ์จากประเทศนอกภูมิภาค ตามรูปแบบเชิงความคิดที่ดิฉันได้นำเสนอด้านล่าง และเป็นอันเดียวกันกับที่ได้นำเสนอไปในการประชุมที่อินโดนีเซียเมื่อต้นเดือนนี้
กล่าวคือ ผู้บริหารโครงการควรกำหนดกลุ่มอาเซียนตามความพร้อมทางโครงสร้างภายในก่อน เช่น MIT พร้อมก่อนก็ริเริ่มเป็นศูนย์กลาง จากนั้นเรามีกลุ่มที่ขยับตัวเร็วพร้อมรับส่ง คือ CLMV โดยเวียดนามพร้อมลงนามระดับกระทรวงแล้วก็เริ่มต่อได้ในระยะที่สอง สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ (PBS) มีความพร้อมในระดับกระทรวงมาก เพียงแต่ระดับมหาวิทยาลัยยังเชื่อมต่อกันไม่ติดกับคู่สาขา คาดว่าในปีหน้าบรูไนน่าจะเริ่มได้ทันที และตามด้วยอีกสองประเทศภายในปีถัดไป
ส่วนกลุ่มที่เป็นอาเซียนบวก 3 บวก 6 หรือกลุ่มอื่นๆ ที่อาเซียนได้ลงนามร่วมมือเชิงเศรษฐกิจไว้นั้น หากต้องการจะเข้ามาแลกเปลี่ยนนักศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นคงไม่ต้องลงทุนออกเงินจูงใจให้ไป เขาก็นิยมไปกันอยู่แล้ว
เราเหนื่อยยากกันพอสมควรที่จะเบี่ยงเบนความสนใจเยาวชนอาเซียนให้กลับมาอาเซียน หากผู้บริหารโครงการไม่ระวังในการลื่นไหลของอุปสงค์กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจภาคตะวันตก เราจะไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ของวิสัยทัศน์และการลงทุนในการสร้างคนไว้เป็นทุนมนุษย์สำหรับภูมิภาคอาเซียนเราเลย เพราะการลงทุนในการศึกษาเป็นการลงทุนระยะยาวมาก
ยุทธศาสตร์ต้องชัดเจนและต้องได้รับการขานรับอย่างแน่ชัดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐบาล กระทรวงศึกษาแต่ละประเทศ มหาวิทยาลัย ตัวแทนสาขาวิชา และฝ่ายวิเทศน์ฯ ว่าเป้าหมายระยะไกลเราคืออะไร มิฉะนั้นเราจะไปไม่ถึงฝันที่วาดไว้
ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น