การทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนบนเขตลุ่มแม่น้ำโขงนั้น จะต้องเริ่มต้นรู้เรื่องของคณะกรรมการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) เป็นอันดับแรก ซึ่งสร้างเป็นรูปแบบเชิงสถาบันในการวางแผน พัฒนาทุกด้านของเขตบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงนี้ มาตั้งแต่ปีค.ศ.1977 (2520) มาแล้ว
คณะกรรมการแต่เดิมนั้น ประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนามใต้ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงแล้ว จึงนำคณะกรรมการนี้เข้ากระบวนการของโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ ในรูปของคณะกรรมการที่ปรึกษา และการเจรจาทำความตกลงร่วมกัน
กัมพูชา ลาว และไทย ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของลุ่มแม่น้ำโขง (Cooperation for Sustainable Development of the Mekong River Basin) และในปีค.ศ.1995 (2538) จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เพื่อให้เป็นสำนักงานของคณะกรรมการ
ต่อมาในปี ค.ศ.1996 (2539) เมียนมาร์ และจีน ได้เข้ามาร่วมคณะกรรมการในฐานะผู้สังเกตการณ์ จุดมุ่งหมาย ของคณะกรรมการแม่น้ำโขง คือ "เพื่อส่งเสริมและประสานงานในการจัดการ และพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยน้ำ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง" เพื่อประโยชน์ของประเทศที่อยู่รอบอาณา-บริเวณแม่น้ำโขง
เรื่องที่เกี่ยวกับน้ำ และทรัพยากรในน้ำหรือใต้น้ำนี้ จะเห็น ว่าบริเวณร่วมกันในอาเซียนนี้ เป็นทั้งจุดอันเป็นผลประโยชน์ยิ่งของภูมิภาค และกลายเป็นจุดของการแย่งชิงผลประโยชน์อันสำคัญในอาเซียน สองจุดดังกล่าวนี้ คือบริเวณลุ่มน้ำโขงแห่งนี้ กับบริเวณในเขตทะเลจีนใต้ (ซึ่งเคยเขียนถึงมาแล้ว)
เฉพาะในเขตบริเวณแม่น้ำโขงนี้ เห็นได้ง่ายในการแย่งชิงผลประโยชน์ของแม่น้ำโขง ซึ่งประเทศในบริเวณนี้ต่างแย่งชิงการ สร้างเขื่อนเพื่อพลังไฟฟ้าจากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือลาวเป็นสำคัญ จุดนี้เองที่นำไปสู่ความขัดแย้งในบริเวณลุ่มน้ำโขง โดยผลอันเกิด แต่ผลกระทบของโครงการดังกล่าว ต่อวิถีชีวิตริมแม่น้ำโขง
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่าในส่วนขององค์กรภาคประชาชน (NEOS) นั้น ต่างล้วนให้ความสนใจกับเรื่องของสภาพแวดล้อม และการจัดการลุ่มแม่น้ำโขง มีการกล่าวหาว่า คณะกรรมการคณะนี้ ต่างตกอยู่ในสภาพวิกฤติทางนิติธรรม และไม่เห็นว่าจำเป็น จะต้องมีกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงไปทำไม อันเนื่องจากการทำงานที่ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาซึ่งคุกคามแม่น้ำ และประชาชนในอาณาบริเวณนั้น กรณีดังกล่าวเห็นได้จากการสร้างเขื่อนไชยยะ-บุรีของลาว ซึ่งมีการประท้วงมากมาย
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะทำความเข้าใจความพยายามที่จะเชื่อม เศรษฐกิจและการพัฒนาของอาเซียนเข้าด้วยกัน จะเห็นว่ากัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์ และประเทศไทย ได้ทำความตกลงกันในระดับ ย่อย เพื่อขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเพื่อสร้าง ความน่าเชื่อถือในการสร้างความเติบโตในเขตที่กำหนดขึ้นนี้
ที่เห็นผลตามมาจากข้อตกลงนี้ ก็คือการที่ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ได้กลายเป็นองค์กรในการประสานงาน ส่งเสริมการร่วมลงเงินลงทุนพัฒนา ประสานงานร่วมกันกับหน่วยงานให้ความ ช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (Official Development Agency) ทั้งด้านการวางแผนทางยุทธศาสตร์ และความช่วยเหลือทางวิชาการ
จะสรุปย่อๆ ตรงนี้ก่อนว่า จีนซึ่งเป็นคู่ร่วมพัฒนาใหญ่ที่สุด และมีโครงการเชื่อมยูนนานมาถึงภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ คณะกรรมการอนุภูมิภาคในอาณาบริเวณมหานทีแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion = GMS) จึงอนุมัติโครงการร่วมทุน (Cost sharing) สร้างประตูเชื่อมเหนือใต้ขึ้นมา
ประตูเชื่อมเหนือใต้ที่ว่านี้ คือ การสร้างถนนจากยูนนาน ผ่าน ตลอดลาวมารอจ่ออยู่ ที่อำเภอเชียงของที่เชียงราย ข้ามมาต่อเชื่อมที่หัวเมืองห้วยทรายในลาว แล้วโค้งตรงมาที่จังหวัดเชียงราย เข้าสู่ถนนสายหลัก เชื่อมต่อลงไปถึงสิงคโปร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาเซียนด้านใต้ และเชื่อมประเทศสมาชิกของอาเซียนที่ตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะต่างๆ
เพื่อที่จะทำความเข้าใจชัดเจนขึ้น ในการขยายเขตแดนความร่วมมือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เราต้องสนใจโครงการด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงอีกบางโครงการ ที่เป็นกรอบงานของอาเซียนปัจจุบัน และที่จะขยายตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น ความ เข้าใจอนุภูมิภาคการพัฒนาเศรษฐกิจเหล่านี้เองจะช่วยให้เข้าใจภาพของการเตรียมตัว เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้สอดประสานและส่งเสริมไปพร้อมกันอย่างไร
โครงการระดับย่อมที่จะต้องทำความเข้าใจในรายละเอียด เหล่านี้ มีอย่างน้อย 3 โครงการที่ต้องศึกษาทำความรู้จัก และเข้าใจเพิ่มเติม หนึ่ง คือ โครงการที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง" (ACMECS) เพื่อให้คุ้นกับชื่อภาษาอังกฤษ คือ (Ayeyawa dy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy)
อีกโครงการหนึ่ง คือ "โครงการความร่วมมือ กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม" (Cambodia, Laos. Myanmar. Vietnam Cooperation = CLMV) และโครงการสุดท้ายคือ โครงการสามเหลี่ยมพัฒนาระหว่างลาว กัมพูชา เวียดนาม (Cambodia-Laos Vietnam Development Triangle)
จุดน่าสนใจของโครงการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคทั้งหมดนี้ ก็คือการแบ่งอาเซียนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ออกเป็นเขต (Zone) ต่างกันออกไป เช่น เขตบริเวณลุ่มน้ำโขง ซึ่งรวมทุกเขตเข้ามารวมกัน ขณะที่แบ่งเขตของอินโดจีน เช่น กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม ไว้ชัดเจน โดยที่พม่าไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน หากแยกเรียกตัวเองเป็นแผ่นดินทอง เช่นเดียวกับที่ไทย เรียกตัวเองว่า สุวรรณภูมิ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคเหล่านี้ จะมีการดำเนินการในเรื่องการคมนาคม ขนส่ง พลังงาน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย
นี่คือจุดเชื่อมต่อในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะเห็นต่อมาว่าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นมา
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////
คณะกรรมการแต่เดิมนั้น ประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนามใต้ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงแล้ว จึงนำคณะกรรมการนี้เข้ากระบวนการของโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ ในรูปของคณะกรรมการที่ปรึกษา และการเจรจาทำความตกลงร่วมกัน
กัมพูชา ลาว และไทย ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของลุ่มแม่น้ำโขง (Cooperation for Sustainable Development of the Mekong River Basin) และในปีค.ศ.1995 (2538) จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เพื่อให้เป็นสำนักงานของคณะกรรมการ
ต่อมาในปี ค.ศ.1996 (2539) เมียนมาร์ และจีน ได้เข้ามาร่วมคณะกรรมการในฐานะผู้สังเกตการณ์ จุดมุ่งหมาย ของคณะกรรมการแม่น้ำโขง คือ "เพื่อส่งเสริมและประสานงานในการจัดการ และพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยน้ำ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง" เพื่อประโยชน์ของประเทศที่อยู่รอบอาณา-บริเวณแม่น้ำโขง
เรื่องที่เกี่ยวกับน้ำ และทรัพยากรในน้ำหรือใต้น้ำนี้ จะเห็น ว่าบริเวณร่วมกันในอาเซียนนี้ เป็นทั้งจุดอันเป็นผลประโยชน์ยิ่งของภูมิภาค และกลายเป็นจุดของการแย่งชิงผลประโยชน์อันสำคัญในอาเซียน สองจุดดังกล่าวนี้ คือบริเวณลุ่มน้ำโขงแห่งนี้ กับบริเวณในเขตทะเลจีนใต้ (ซึ่งเคยเขียนถึงมาแล้ว)
เฉพาะในเขตบริเวณแม่น้ำโขงนี้ เห็นได้ง่ายในการแย่งชิงผลประโยชน์ของแม่น้ำโขง ซึ่งประเทศในบริเวณนี้ต่างแย่งชิงการ สร้างเขื่อนเพื่อพลังไฟฟ้าจากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือลาวเป็นสำคัญ จุดนี้เองที่นำไปสู่ความขัดแย้งในบริเวณลุ่มน้ำโขง โดยผลอันเกิด แต่ผลกระทบของโครงการดังกล่าว ต่อวิถีชีวิตริมแม่น้ำโขง
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่าในส่วนขององค์กรภาคประชาชน (NEOS) นั้น ต่างล้วนให้ความสนใจกับเรื่องของสภาพแวดล้อม และการจัดการลุ่มแม่น้ำโขง มีการกล่าวหาว่า คณะกรรมการคณะนี้ ต่างตกอยู่ในสภาพวิกฤติทางนิติธรรม และไม่เห็นว่าจำเป็น จะต้องมีกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงไปทำไม อันเนื่องจากการทำงานที่ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาซึ่งคุกคามแม่น้ำ และประชาชนในอาณาบริเวณนั้น กรณีดังกล่าวเห็นได้จากการสร้างเขื่อนไชยยะ-บุรีของลาว ซึ่งมีการประท้วงมากมาย
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะทำความเข้าใจความพยายามที่จะเชื่อม เศรษฐกิจและการพัฒนาของอาเซียนเข้าด้วยกัน จะเห็นว่ากัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์ และประเทศไทย ได้ทำความตกลงกันในระดับ ย่อย เพื่อขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเพื่อสร้าง ความน่าเชื่อถือในการสร้างความเติบโตในเขตที่กำหนดขึ้นนี้
ที่เห็นผลตามมาจากข้อตกลงนี้ ก็คือการที่ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ได้กลายเป็นองค์กรในการประสานงาน ส่งเสริมการร่วมลงเงินลงทุนพัฒนา ประสานงานร่วมกันกับหน่วยงานให้ความ ช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (Official Development Agency) ทั้งด้านการวางแผนทางยุทธศาสตร์ และความช่วยเหลือทางวิชาการ
จะสรุปย่อๆ ตรงนี้ก่อนว่า จีนซึ่งเป็นคู่ร่วมพัฒนาใหญ่ที่สุด และมีโครงการเชื่อมยูนนานมาถึงภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ คณะกรรมการอนุภูมิภาคในอาณาบริเวณมหานทีแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion = GMS) จึงอนุมัติโครงการร่วมทุน (Cost sharing) สร้างประตูเชื่อมเหนือใต้ขึ้นมา
ประตูเชื่อมเหนือใต้ที่ว่านี้ คือ การสร้างถนนจากยูนนาน ผ่าน ตลอดลาวมารอจ่ออยู่ ที่อำเภอเชียงของที่เชียงราย ข้ามมาต่อเชื่อมที่หัวเมืองห้วยทรายในลาว แล้วโค้งตรงมาที่จังหวัดเชียงราย เข้าสู่ถนนสายหลัก เชื่อมต่อลงไปถึงสิงคโปร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาเซียนด้านใต้ และเชื่อมประเทศสมาชิกของอาเซียนที่ตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะต่างๆ
เพื่อที่จะทำความเข้าใจชัดเจนขึ้น ในการขยายเขตแดนความร่วมมือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เราต้องสนใจโครงการด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงอีกบางโครงการ ที่เป็นกรอบงานของอาเซียนปัจจุบัน และที่จะขยายตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น ความ เข้าใจอนุภูมิภาคการพัฒนาเศรษฐกิจเหล่านี้เองจะช่วยให้เข้าใจภาพของการเตรียมตัว เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้สอดประสานและส่งเสริมไปพร้อมกันอย่างไร
โครงการระดับย่อมที่จะต้องทำความเข้าใจในรายละเอียด เหล่านี้ มีอย่างน้อย 3 โครงการที่ต้องศึกษาทำความรู้จัก และเข้าใจเพิ่มเติม หนึ่ง คือ โครงการที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง" (ACMECS) เพื่อให้คุ้นกับชื่อภาษาอังกฤษ คือ (Ayeyawa dy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy)
อีกโครงการหนึ่ง คือ "โครงการความร่วมมือ กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม" (Cambodia, Laos. Myanmar. Vietnam Cooperation = CLMV) และโครงการสุดท้ายคือ โครงการสามเหลี่ยมพัฒนาระหว่างลาว กัมพูชา เวียดนาม (Cambodia-Laos Vietnam Development Triangle)
จุดน่าสนใจของโครงการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคทั้งหมดนี้ ก็คือการแบ่งอาเซียนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ออกเป็นเขต (Zone) ต่างกันออกไป เช่น เขตบริเวณลุ่มน้ำโขง ซึ่งรวมทุกเขตเข้ามารวมกัน ขณะที่แบ่งเขตของอินโดจีน เช่น กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม ไว้ชัดเจน โดยที่พม่าไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน หากแยกเรียกตัวเองเป็นแผ่นดินทอง เช่นเดียวกับที่ไทย เรียกตัวเองว่า สุวรรณภูมิ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคเหล่านี้ จะมีการดำเนินการในเรื่องการคมนาคม ขนส่ง พลังงาน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย
นี่คือจุดเชื่อมต่อในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะเห็นต่อมาว่าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นมา
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น