โค้งสุดท้ายช่วงครึ่งปีแรกนี้อาจจบลงไม่สวยงามนัก เพราะบังเอิญตรงกับช่วงที่คลื่นลมทางการเมืองกระเพื่อมหนักขึ้นพอดี โดยเฉพาะม็อบชาวนาที่เคลื่อนไหวคัดค้านการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าว หลังรัฐบาลประกาศลดราคารับจำนำข้าวลงจาก 1.5 หมื่นบาทต่อตัน เหลือ 1.2 หมื่นบาทต่อตัน และจำกัดปริมาณรับจำนำเหลือไม่เกิน 5 แสนบาทต่อครัวเรือน จากเดิมเปิดรับจำนำโดยไม่จำกัดปริมาณ
เท่ากับเพิ่มจำนวนม็อบจากปัจจุบันที่ปักหลักชุมนุมอยู่แล้วหลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่พยายามเคลื่อนไหวกดดันและกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพลังธรรมาธิปไตย และแนวร่วมคนไทย ซึ่งแสดงจุดยืนคัดค้านการตัดสินคดีเขาพระวิหารของศาลโลก กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นต้น รวมทั้งกลุ่มใหม่ที่กำลังมาแรงอย่างกลุ่มหน้ากากขาว ที่รวมพลังกันผ่านเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และต่อต้านระบบทักษิณ
ไม่นับม็อบอุบัติเหตุซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำตามฤดูกาล อาทิ ม็อบยางพารา ปาล์มน้ำมัน เงาะ ลำไย เป็นต้น ที่อาจทยอยยกขบวนมาเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จากนี้ไปรัฐบาลตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด
จึงต้องเตรียมความพร้อมรับมือ ด้วยการวางมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำล่วงหน้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรทั่วประเทศ
ขณะเดียวกัน ก็ต้องเกาะติดข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศที่ยังอ่อนไหวและเต็มไปด้วยปัจจัยลบ บริหารจัดการนโยบายด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจโดยรวม
เท่ากับช่วงเวลาที่เหลือในครึ่งปีหลัง นอกจากต้องเผชิญกับความสุ่มเสี่ยงไม่แน่นอนทั้งในด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคุกรุ่นจะร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหาความแตกแยกขัดแย้งไม่ลงรอยระหว่างกลุ่มที่คิดและมองต่างกันจนกลายเป็นความต่างขั้ว
ในฐานะผู้บริหารประเทศ รัฐบาลมิอาจปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงหน้าที่ความรับผิดชอบในการประคับประคองไม่ให้สถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านการเมืองบานปลายรุนแรงจนยากจะแก้ไข ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้ตกอยู่ในสภาพที่เปราะบางหรือเลวร้าย
ด้วยการบริหารจัดการปัญหาทั้งใหญ่เล็กอย่างมุ่งมั่นจริงจัง ภายใต้หลักการที่ถูกต้องเหมาะสมชอบธรรมและเป็นกลาง โดยไม่เอนเอียงเลือกข้างหรือดำเนินการ
ในลักษณะเหมือนมีสองมาตรฐาน โดยยอมรับความเป็นจริงและความแตกต่าง ยึดหลักประนีประนอมและการเจรจรา ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
และไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคที่มีรอบด้าน ให้สมกับที่มักกล่าวอ้างว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน เป็นของประชาชน และเพื่อประชาชน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เท่ากับเพิ่มจำนวนม็อบจากปัจจุบันที่ปักหลักชุมนุมอยู่แล้วหลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่พยายามเคลื่อนไหวกดดันและกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพลังธรรมาธิปไตย และแนวร่วมคนไทย ซึ่งแสดงจุดยืนคัดค้านการตัดสินคดีเขาพระวิหารของศาลโลก กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นต้น รวมทั้งกลุ่มใหม่ที่กำลังมาแรงอย่างกลุ่มหน้ากากขาว ที่รวมพลังกันผ่านเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และต่อต้านระบบทักษิณ
ไม่นับม็อบอุบัติเหตุซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำตามฤดูกาล อาทิ ม็อบยางพารา ปาล์มน้ำมัน เงาะ ลำไย เป็นต้น ที่อาจทยอยยกขบวนมาเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จากนี้ไปรัฐบาลตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด
จึงต้องเตรียมความพร้อมรับมือ ด้วยการวางมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำล่วงหน้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรทั่วประเทศ
ขณะเดียวกัน ก็ต้องเกาะติดข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศที่ยังอ่อนไหวและเต็มไปด้วยปัจจัยลบ บริหารจัดการนโยบายด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจโดยรวม
เท่ากับช่วงเวลาที่เหลือในครึ่งปีหลัง นอกจากต้องเผชิญกับความสุ่มเสี่ยงไม่แน่นอนทั้งในด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคุกรุ่นจะร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหาความแตกแยกขัดแย้งไม่ลงรอยระหว่างกลุ่มที่คิดและมองต่างกันจนกลายเป็นความต่างขั้ว
ในฐานะผู้บริหารประเทศ รัฐบาลมิอาจปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงหน้าที่ความรับผิดชอบในการประคับประคองไม่ให้สถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านการเมืองบานปลายรุนแรงจนยากจะแก้ไข ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้ตกอยู่ในสภาพที่เปราะบางหรือเลวร้าย
ด้วยการบริหารจัดการปัญหาทั้งใหญ่เล็กอย่างมุ่งมั่นจริงจัง ภายใต้หลักการที่ถูกต้องเหมาะสมชอบธรรมและเป็นกลาง โดยไม่เอนเอียงเลือกข้างหรือดำเนินการ
ในลักษณะเหมือนมีสองมาตรฐาน โดยยอมรับความเป็นจริงและความแตกต่าง ยึดหลักประนีประนอมและการเจรจรา ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
และไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคที่มีรอบด้าน ให้สมกับที่มักกล่าวอ้างว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน เป็นของประชาชน และเพื่อประชาชน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น