คอลัมน์ สามัญสำนึก
เรียกได้ว่าต่อแต่นี้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีเม็ดเงินรองรับการใช้จ่ายและลงทุนร่วม 5 ล้านล้านบาท เพราะนอกจากเงินงบประมาณที่สภาเพิ่งผ่านร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 จำนวน 2.5 ล้านล้านบาท รัฐบาลยังมีเงินกู้จาก พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่อยู่ในมือนักการเมือง ทำให้เกิดความเป็นห่วงในวิธีการใช้เงิน โดยเฉพาะประเด็น "ทุจริตคอร์รัปชั่น" คงจะเป็นเรื่องใหญ่ ที่คงทวีความรุนแรงขึ้นตามเม็ดเงินการลงทุน
แม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการลงทุน หลังจากที่ประเทศไทยห่างหายจากการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์มานาน โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ได้รับการแก้ไข หรือตรวจสอบในระดับเข้มข้น แน่นอนว่าจะทำให้ความคุ้มค่าการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐลดทอนไปตามลำดับ ทั้งความคุ้มค่าต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือผลต่อการยกระดับความสามารถการแข่งขันของประเทศ
นอกจากนี้ "บรรยง พงษ์พานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร หนึ่งในนักธุรกิจที่ประกาศจุดยืนต่อต้านคอร์รัปชั่นระบุว่า นอกจากปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนของรัฐบาล "ล้มเหลว" ก็คือ การตัดสินใจลงทุนบนพื้นฐานข้อมูลที่ผิดพลาด
แต่ประเด็นนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดพลาดในการประเมินข้อมูลของทางการ หรือว่าเป็นความตั้งใจทำข้อมูลให้สวยหรูเพื่อที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุน
เช่นบทเรียนจากโครงการ "แอร์พอร์ตลิงก์" ที่มีการใช้เงินลงทุนไปราว 4 หมื่นล้านบาท โดยประเมินว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 1.6 แสนคนต่อวัน แต่ข้อเท็จจริงมีแค่ 4 หมื่นคนต่อวันเท่านั้น
ผลที่ออกมาคือ การดำเนินโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ประสบปัญหาขาดทุน เฉลี่ยเดือนละเกือบ 2 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าที่ประมาณการก่อการลงทุนมาก
จึงเกิดคำถามต่อว่า ข้อมูลที่รัฐบาลประมาณการผู้ใช้บริการเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนนั้น อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีไฮสปีดเทรนสายกรุงเทพฯ-หนองคายที่รัฐบาลต้องใช้งบฯลงทุนราว 1.79 แสนล้าน โดยประเมินว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยราว 4.1 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่มี
ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลแย้งว่า ณ ปัจจุบันมีผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบินเข้าสู่ 6 จังหวัดภาคอีสานวันละกว่า 3 พันคนเท่านั้น และประชาชนที่เดินทางโดยรถทัวร์เข้าสู่อีสานอีกประมาณ 4-5 หมื่นคนต่อวัน
ขณะที่กระทรวงคมนาคมประเมินว่า จะมีคนนั่งไฮสปีดเทรนไปหนองคายจังหวัดเดียววันละกว่า 4 หมื่นคนน่าจะสูงเกินจริง ? และที่สำคัญอัตราค่าโดยสารไฮสปีดเทรนก็ไม่ได้ต่ำจนที่จะทำให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถเดินทางด้วยไฮสปีดเทรนเป็นว่าเล่นได้ทุกวัน
หากข้อมูลเพื่อการลงทุนของภาครัฐไม่ได้อยู่บนข้อเท็จจริงเช่นนี้ ย่อมส่งผลต่อความคุ้มค่าการลงทุนโครงการของภาครัฐ ที่อาจกลายเป็นเพียงแค่การละเลงงบประมาณโดยที่ไม่มีใครตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ภาครัฐนำมาใช้อ้างอิง "ไม่ถูกต้อง"
แล้วจะมีใครสนใจว่า เม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาลที่อยู่ในมือรัฐบาลนั้น ที่สุดแล้วจะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนได้มากแค่ไหน ตามที่โฆษณาชวนเชื่อไว้
หรือไม่ เพราะวันนี้ทุกฝ่ายขอเพียงแค่ให้รัฐบาลควักเงินออกมาใช้ไม่ว่าจะใช้แบบไหน เพื่อหวังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรติ
นาคิน-ภัทร กล่าวว่า การลงทุนของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าการลงทุนจะดีจะเลวแบบไหน ในระยะสั้นจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทุกคนได้ประโยชน์ในระยะสั้น แต่การลงทุนที่เกิดจากการคอร์รัปชั่นจะทำให้ประเทศอ่อนแอลงเรื่อย ๆ แบบไม่รู้ตัว...
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------------------------------
เรียกได้ว่าต่อแต่นี้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีเม็ดเงินรองรับการใช้จ่ายและลงทุนร่วม 5 ล้านล้านบาท เพราะนอกจากเงินงบประมาณที่สภาเพิ่งผ่านร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 จำนวน 2.5 ล้านล้านบาท รัฐบาลยังมีเงินกู้จาก พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่อยู่ในมือนักการเมือง ทำให้เกิดความเป็นห่วงในวิธีการใช้เงิน โดยเฉพาะประเด็น "ทุจริตคอร์รัปชั่น" คงจะเป็นเรื่องใหญ่ ที่คงทวีความรุนแรงขึ้นตามเม็ดเงินการลงทุน
แม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการลงทุน หลังจากที่ประเทศไทยห่างหายจากการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์มานาน โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ได้รับการแก้ไข หรือตรวจสอบในระดับเข้มข้น แน่นอนว่าจะทำให้ความคุ้มค่าการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐลดทอนไปตามลำดับ ทั้งความคุ้มค่าต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือผลต่อการยกระดับความสามารถการแข่งขันของประเทศ
นอกจากนี้ "บรรยง พงษ์พานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร หนึ่งในนักธุรกิจที่ประกาศจุดยืนต่อต้านคอร์รัปชั่นระบุว่า นอกจากปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนของรัฐบาล "ล้มเหลว" ก็คือ การตัดสินใจลงทุนบนพื้นฐานข้อมูลที่ผิดพลาด
แต่ประเด็นนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดพลาดในการประเมินข้อมูลของทางการ หรือว่าเป็นความตั้งใจทำข้อมูลให้สวยหรูเพื่อที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุน
เช่นบทเรียนจากโครงการ "แอร์พอร์ตลิงก์" ที่มีการใช้เงินลงทุนไปราว 4 หมื่นล้านบาท โดยประเมินว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 1.6 แสนคนต่อวัน แต่ข้อเท็จจริงมีแค่ 4 หมื่นคนต่อวันเท่านั้น
ผลที่ออกมาคือ การดำเนินโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ประสบปัญหาขาดทุน เฉลี่ยเดือนละเกือบ 2 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าที่ประมาณการก่อการลงทุนมาก
จึงเกิดคำถามต่อว่า ข้อมูลที่รัฐบาลประมาณการผู้ใช้บริการเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนนั้น อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีไฮสปีดเทรนสายกรุงเทพฯ-หนองคายที่รัฐบาลต้องใช้งบฯลงทุนราว 1.79 แสนล้าน โดยประเมินว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยราว 4.1 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่มี
ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลแย้งว่า ณ ปัจจุบันมีผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบินเข้าสู่ 6 จังหวัดภาคอีสานวันละกว่า 3 พันคนเท่านั้น และประชาชนที่เดินทางโดยรถทัวร์เข้าสู่อีสานอีกประมาณ 4-5 หมื่นคนต่อวัน
ขณะที่กระทรวงคมนาคมประเมินว่า จะมีคนนั่งไฮสปีดเทรนไปหนองคายจังหวัดเดียววันละกว่า 4 หมื่นคนน่าจะสูงเกินจริง ? และที่สำคัญอัตราค่าโดยสารไฮสปีดเทรนก็ไม่ได้ต่ำจนที่จะทำให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถเดินทางด้วยไฮสปีดเทรนเป็นว่าเล่นได้ทุกวัน
หากข้อมูลเพื่อการลงทุนของภาครัฐไม่ได้อยู่บนข้อเท็จจริงเช่นนี้ ย่อมส่งผลต่อความคุ้มค่าการลงทุนโครงการของภาครัฐ ที่อาจกลายเป็นเพียงแค่การละเลงงบประมาณโดยที่ไม่มีใครตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ภาครัฐนำมาใช้อ้างอิง "ไม่ถูกต้อง"
แล้วจะมีใครสนใจว่า เม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาลที่อยู่ในมือรัฐบาลนั้น ที่สุดแล้วจะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนได้มากแค่ไหน ตามที่โฆษณาชวนเชื่อไว้
หรือไม่ เพราะวันนี้ทุกฝ่ายขอเพียงแค่ให้รัฐบาลควักเงินออกมาใช้ไม่ว่าจะใช้แบบไหน เพื่อหวังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรติ
นาคิน-ภัทร กล่าวว่า การลงทุนของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าการลงทุนจะดีจะเลวแบบไหน ในระยะสั้นจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทุกคนได้ประโยชน์ในระยะสั้น แต่การลงทุนที่เกิดจากการคอร์รัปชั่นจะทำให้ประเทศอ่อนแอลงเรื่อย ๆ แบบไม่รู้ตัว...
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น