ในอนาคตความต้องการพลังงานจะพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ว่ากันว่าภายใน 15 ปีข้างหน้าความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 3 เท่าตัว หรือ 300%
การแสวงหาพลังงานทางเลือกใหม่ๆ จึงเป็นความหวังของมนุษยชาติ และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว คือหนึ่งในประเทศความหวัง เนื่อง จากมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ในขณะที่ความต้องการพลังงานในประเทศค่อนข้างน้อย เพราะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศลาวจึงเป็นการผลิตเพื่อป้อนให้กับประเทศเพื่อน บ้านเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทย การเข้าไปตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟในลาวจึงเกิดขึ้น ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม น้ำงึม 1 และน้ำงึม 2 คือที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำเป็นพลังงาน หรือโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
สำรวจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเขื่อนน้ำงึม 2 ของ บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด หรือ SEAN ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาว ปัจจุบันการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 615 เมกะวัตต์ ทำ สัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี
ที่น่าสนใจคือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้สร้างเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน สร้างความพอใจ ให้กับรัฐบาลลาวอย่างมาก ถึงขนาดเซ็นสัญญาให้สัมปทานเพิ่มอีก 2 โครงการคือโรงไฟฟ้าน้ำบาก ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 และโรงไฟฟ้าไชยะบุรี แขวงไชยะบุรี ทั้งสองแห่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
สาเหตุที่กลุ่ม SEAN สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้เสร็จก่อนกำหนด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทนี้เปรียบเสมือนบริษัทในเครือ ช.การช่าง บริษัทรับเหมารายใหญ่ของ ไทย เพราะบริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ช.การช่าง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAN
CKP ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เข้าไปถือหุ้นในบริษัท พลังงานต่างๆ ซึ่ง SEAN เป็นหนึ่งในบริษัทที่ CKP เข้าไปถือหุ้นใหญ่จำนวน 56% และ SEAN ถือหุ้นในโรงไฟฟ้า น้ำงึม 2 จำนวน 75% อีก 25% ถือ โดยรัฐบาลลาว เท่ากับว่าโรงไฟฟ้า น้ำงึม 2 อยู่ภายใต้ การบริหารจัด การของ SEAN หรืออยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ CKP ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั่นเอง
โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 จะสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานให้กับไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต หลายคนอาจไม่รู้ว่า ในช่วงที่ประเทศ พม่าปิดซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติ ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระไฟฟ้าให้กับไทยช่วงระหว่างวันที่ 5-14 เมษายน ก็ได้กระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำงึม 2 ช่วยกู้วิกฤติ
นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 แล้ว รัฐบาลลาวซึ่งตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ได้เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงอีก 11 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการปากแบ่ง กำลังการผลิต 1,230 เมกะวัตต์ 2.โครงการหลวง พระบาง กำลังการผลิต 1,410 เมกะวัตต์ 3.โครงการไชยะบุรี กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ 4.โครงการปากลาย กำลังการผลิต 1,320 เมกะวัตต์ 5.โครงการสานาคาม กำลัง การผลิต 570 เมกะวัตต์ 6.โครงการปากชม กำลังการผลิต 1,079 เมกะวัตต์ 7.โครงการ บ้านกุ่ม กำลังการผลิต 2,000 เมกะวัตต์ 8.โครงการลาดเสือ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ 9.โครงการดอนสะหง กำลังการผลิต 360 เมกะวัตต์ 10.โครงการสะตึงเตร็ง กำลังการผลิต 980 เมกะวัตต์ 11.โครงการซัมบอร์ กำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมด 11,494 เมกะวัตต์
ทั้ง 11 โครงการเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า จากน้ำหรือไฮโดรเพาเวอร์ โดยการผันน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาปั่นกระแสไฟ ปัจจุบันมี 1 โครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คือ โครงการไชยะบุรี โดยกลุ่ม SEAN นั่น เอง ส่วนโครงการที่เหลืออีก 10 โครงการ รัฐบาลลาวจะพิจารณาให้สัมปทานก็ต่อเมื่อ โครงการไชยะบุรีสร้างแล้วเสร็จ หากการพัฒนาโครงการทั้ง 11 แห่งเดินหน้าได้ตาม แผน จะทำให้สปป.ลาวกลายเป็นแบตเตอรี่ แห่งเอเชียอย่างสมบูรณ์แบบ
หันกลับมามองบริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAN ก็กำลังระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่ง ดร.สุภามาศ ตรีวิศว-เวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKP กล่าวว่า ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชน (IPO) จำนวน 20 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 5 บาทภายในเดือนนี้
"ธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวที่แน่นอนกับ กฟผ. และ กฟภ. ส่งผลให้มีรายได้แน่นอนและสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทมีการเติบโตในอนาคตที่ดี"
ไม่ใช่เฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำเท่านั้น แต่ CKP ยังทำธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในเมือง ไทยอีก 5 แห่ง นับเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจ ผลิตไฟฟ้าของอาเซียน
เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของอาเซียนอย่างแท้จริง!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////
การแสวงหาพลังงานทางเลือกใหม่ๆ จึงเป็นความหวังของมนุษยชาติ และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว คือหนึ่งในประเทศความหวัง เนื่อง จากมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ในขณะที่ความต้องการพลังงานในประเทศค่อนข้างน้อย เพราะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศลาวจึงเป็นการผลิตเพื่อป้อนให้กับประเทศเพื่อน บ้านเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทย การเข้าไปตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟในลาวจึงเกิดขึ้น ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม น้ำงึม 1 และน้ำงึม 2 คือที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำเป็นพลังงาน หรือโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
สำรวจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเขื่อนน้ำงึม 2 ของ บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด หรือ SEAN ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาว ปัจจุบันการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 615 เมกะวัตต์ ทำ สัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี
ที่น่าสนใจคือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้สร้างเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน สร้างความพอใจ ให้กับรัฐบาลลาวอย่างมาก ถึงขนาดเซ็นสัญญาให้สัมปทานเพิ่มอีก 2 โครงการคือโรงไฟฟ้าน้ำบาก ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 และโรงไฟฟ้าไชยะบุรี แขวงไชยะบุรี ทั้งสองแห่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
สาเหตุที่กลุ่ม SEAN สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้เสร็จก่อนกำหนด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทนี้เปรียบเสมือนบริษัทในเครือ ช.การช่าง บริษัทรับเหมารายใหญ่ของ ไทย เพราะบริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ช.การช่าง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAN
CKP ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เข้าไปถือหุ้นในบริษัท พลังงานต่างๆ ซึ่ง SEAN เป็นหนึ่งในบริษัทที่ CKP เข้าไปถือหุ้นใหญ่จำนวน 56% และ SEAN ถือหุ้นในโรงไฟฟ้า น้ำงึม 2 จำนวน 75% อีก 25% ถือ โดยรัฐบาลลาว เท่ากับว่าโรงไฟฟ้า น้ำงึม 2 อยู่ภายใต้ การบริหารจัด การของ SEAN หรืออยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ CKP ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั่นเอง
โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 จะสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานให้กับไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต หลายคนอาจไม่รู้ว่า ในช่วงที่ประเทศ พม่าปิดซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติ ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระไฟฟ้าให้กับไทยช่วงระหว่างวันที่ 5-14 เมษายน ก็ได้กระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำงึม 2 ช่วยกู้วิกฤติ
นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 แล้ว รัฐบาลลาวซึ่งตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ได้เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงอีก 11 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการปากแบ่ง กำลังการผลิต 1,230 เมกะวัตต์ 2.โครงการหลวง พระบาง กำลังการผลิต 1,410 เมกะวัตต์ 3.โครงการไชยะบุรี กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ 4.โครงการปากลาย กำลังการผลิต 1,320 เมกะวัตต์ 5.โครงการสานาคาม กำลัง การผลิต 570 เมกะวัตต์ 6.โครงการปากชม กำลังการผลิต 1,079 เมกะวัตต์ 7.โครงการ บ้านกุ่ม กำลังการผลิต 2,000 เมกะวัตต์ 8.โครงการลาดเสือ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ 9.โครงการดอนสะหง กำลังการผลิต 360 เมกะวัตต์ 10.โครงการสะตึงเตร็ง กำลังการผลิต 980 เมกะวัตต์ 11.โครงการซัมบอร์ กำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมด 11,494 เมกะวัตต์
ทั้ง 11 โครงการเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า จากน้ำหรือไฮโดรเพาเวอร์ โดยการผันน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาปั่นกระแสไฟ ปัจจุบันมี 1 โครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คือ โครงการไชยะบุรี โดยกลุ่ม SEAN นั่น เอง ส่วนโครงการที่เหลืออีก 10 โครงการ รัฐบาลลาวจะพิจารณาให้สัมปทานก็ต่อเมื่อ โครงการไชยะบุรีสร้างแล้วเสร็จ หากการพัฒนาโครงการทั้ง 11 แห่งเดินหน้าได้ตาม แผน จะทำให้สปป.ลาวกลายเป็นแบตเตอรี่ แห่งเอเชียอย่างสมบูรณ์แบบ
หันกลับมามองบริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAN ก็กำลังระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่ง ดร.สุภามาศ ตรีวิศว-เวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKP กล่าวว่า ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชน (IPO) จำนวน 20 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 5 บาทภายในเดือนนี้
"ธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวที่แน่นอนกับ กฟผ. และ กฟภ. ส่งผลให้มีรายได้แน่นอนและสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทมีการเติบโตในอนาคตที่ดี"
ไม่ใช่เฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำเท่านั้น แต่ CKP ยังทำธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในเมือง ไทยอีก 5 แห่ง นับเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจ ผลิตไฟฟ้าของอาเซียน
เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของอาเซียนอย่างแท้จริง!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น