หวั่นเมกะโปรเจ็กต์รัฐ ดับฝันเป้าจีดีพี 5 % ก.คลังลุ้นตัวโก่ง มาตรการคลัง-การเงินอุ้มครึ่งหลัง เหตุปัจจัยเสี่ยง- เครื่องยนต์เศรษฐกิจดับ เร่งเบิกจ่าย - ดันกลุ่มธุรกิจSME เพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 40% สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ เพิ่ม 4 แสนล้าน "โต้ง" รับเศรษฐกิจโลกผันผวน ฉุดบริโภคในประเทศลงเร็ว สั่งธปท.คุมเงินบาทให้เสถียร สศค.-หอการค้าไทย - ธปท. -แบงก์ จ่อหั่นจีดีพี ภาคธุรกิจชี้เหตุ "ประชานิยมรัฐ"หมดฤทธิ์กระตุ้นเศรษฐกิจ ตอกย้ำเม็ดเงินไปไม่ถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
เครื่องยนต์ศก.หนืด
ล่วงมาครึ่งปีแรก หลายสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจทยอยปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจไทย(จีดีพี) หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.หรือสภาพัฒน์)ได้ปรับลดจีดีพีปีนี้มาที่ 4.2-5.2 % หลังไตรมาสแรกจีดีพีหดตัว 2.2% ( เทียบต่อไตรมาส)หรือมีอัตราการเติบโตที่ 5.3% และปลายเดือนนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ,หอการค้าไทย ก็จะทบทวนปรับเป้าจีดีพีลง จากที่คาดไว้ที่ 5.3 % และ 5% ตามลำดับ
เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จ่อปรับเป้าจีดีพีในเดือนกรกฎาคม จากตัวเลขที่ 5.1% เนื่องจากความกังวลในประเด็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนในช่วงที่เหลือของปีและปัจจัยเสี่ยง (ตารางประกอบ : เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยช่วง 4 เดือน ส่อแววชะลอ ) โดยเฉพาะมูลค่าภาคส่งออกที่คิดเป็นสัดส่วน 70% ของจีดีพี หลังจาก 4 เดือนแรกโตเฉลี่ยเพียง 4.5 % ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าไทยต่างชะลอตัว
ล่าสุดธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ได้ปรับประมาณการจีดีพีโลกปีนี้มาอยู่ที่ 2.2 % ลดจากตัวเลขเดิมเมื่อต้นปีที่ 2.4% และคาดเศรษฐกิจอาเซียนจะโตที่ 5.7% และปี 2557 ที่ 5.9 % ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2556-2557 เวิลด์แบงก์คาดโตในอัตราเท่ากันที่ 5.5 % โดยเป็นการปรับประมาณการตามหลัง องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี ที่ได้ปรับลดเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงมาที่ 3.1% จากระดับ 3.4% และปี 2557 จาก 4.2% มาเป็น 4.0%
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยอมรับว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเวลานี้ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาท และที่เป็นห่วงคือการบริโภคของประชาชนจะลดลง จึงจำเป็นต้องทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในเรื่องสถานการณ์เรื่องค่าเงินบาท ต้องการให้ทางธปท. ใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่แล้วบริหารจัดการเงินบาทให้มีเสถียรภาพ
ขณะที่การบริหารเศรษฐกิจประเทศ รัฐบาลตั้งเป้าหมายใน 3 ด้านคือ 1.ขยายตัวเศรษฐกิจหรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 2.รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ และ 3. การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ทั้ง 3 ประเด็นนี้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
เดือนที่แล้วทุกคนยังเป็นห่วงว่า อสังหาริมทรัพย์ไทยจะเป็นฟองสบู่ แต่ตอนนี้ห่วงเรื่องการบริโภคของประชาชนลดลง เศรษฐกิจไทยจึงต้องเข้มแข็งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโลกที่รวดเร็ว"
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% ได้นั้นยังต้องลุ้น และจำเป็นต้องใช้เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการการคลังและการเงินควบคู่ โดยด้านมาตรการคลัง เรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2557 ( เริ่ม 1 ต.ค. 56-30 ก.ย. 57) ได้สร้างความคล่องตัวและเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกู้ ในโครงการบริหารจัดการน้ำให้ทันกำหนดเวลา คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะใช้เม็ดเงินได้ทันทีประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท พร้อมผลักดันพ.ร.บ. กู้เงินในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะใช้เงินได้จริงปี 2557
ขณะนี้กำลังให้กรมบัญชีกลาง เข้าไปปัดฝุ่นลดภาระรายจ่ายในรายการงบประมาณประจำ ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งงบผูกพัน 5 ปี, รายจ่ายประจำ เบี้ยบำเหน็จบำนาญ และการแก้ไขกฎหมาย กบข. เพื่อเพิ่มงบลงทุนให้เพิ่มขึ้น " นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงสาเหตุที่การเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐว่า จุดใหญ่ที่เป็นอุปสรรคคือ 1.การส่งออกที่ไม่เป็นตามเป้าหมาย และ2.ราคาของสินค้าเกษตรที่ไม่สูงอย่างที่คาดการณ์
"ตอนที่หารือเมื่อต้นปี สิ่งที่เราไม่ได้คิดไว้ก็คือเรื่องของเงินบาทเกิดแข็งค่า ทำให้ตัวเลขการส่งออกลดลงมากกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามที่เข้ามาขับเคลื่อนทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ก็คือภาคท่องเที่ยวที่ดีเกินคาด"
ทั้งนี้ภาครัฐคาดหวังว่า เมื่อมีการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าเงินบาทไปได้แล้วระดับหนึ่ง ตัวเลขการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลงจะไม่ลดต่ำกว่าที่คาด รวมถึงการลงทุนภาครัฐที่จะพยายามจะสรุปตัวเลขแท้จริงให้ชัดเจนว่าในส่วนของ 2 ล้านล้านบาท และ 3.5 แสนล้านบาทนั้น จะสามารถอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบได้เท่าใด "
ปลัดกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึงความคืบหน้า มาตรการตามกรอบเสถียรภาพเศรษฐกิจ 22 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่มาตรการทางด้านการเงินซึ่งมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบ และมาตรการทางด้านการคลังที่จะมีความรับผิดชอบอยู่ 7-8 ข้อ เช่น การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ การบริหารหนี้สาธารณะ เป็นต้น โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการดำเนินการที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เพียงแต่นำมาจัดให้อยู่ในภาพรวมให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้มาตรการคลัง ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาเอสเอ็มอีให้มีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มมากขึ้นจาก 37% เป็น 40% ซึ่งการเพิ่มขึ้น 3% ต่อจีดีพี ก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3-4 แสนล้านบาท โดยถือว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตของเอสเอ็มอี
โครงการรัฐ ดับฝันจีดีพี 5%.
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. กล่าวว่า ปลายเดือนนี้ สศค. จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย จากเดิมคาดไว้ที่ 5.3% หลังไตรมาสแรกชะลอลง โดยเฉพาะกำลังซื้อและการบริโภคในประเทศที่แผ่วลงหลังหมดโครงการรถคันแรก ประกอบกับผลกระทบค่าเงินบาทแข็งก่อนหน้านี้ ทำให้ส่งออกขยายตัวเพียง 3.9% และการลงทุนภาครัฐยังล่าช้า ทำให้มีความเป็นห่วงเศรษฐกิจไตรมาส 2 ชะลอตัวต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังต้องรอความชัดเจนของแผนการเงินกู้บริหารจัดการน้ำ ที่ต้องรอดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ ว่าจะส่งผลต่อการปรับจีดีพีหรือไม่
แรงกระตุ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จะมาจากไหนยังเป็นโจทย์ต่อไป แต่กลไกสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง หนีไม่พ้นรัฐบาลต้องอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนภาครัฐ ต้องเร่งเบิกจ่ายได้เร็ว เพราะจะเป็นตัวช่วยภาคลงทุนภาคเอกชน และกระตุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ให้สามารถขยายตัวตามเป้าหมายที่ 5 %ได้ทัน เพราะปกติช่วงไตรมาส 4 การขยายตัวเศรษฐกิจจะแผ่วอยู่แล้ว "
สศค. ยังประเมินอีกว่า แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายครึ่งปีหลังยังลงได้อีก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีปัจจัยเสี่ยง และเศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณการชะลอตัว โดยไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อ
ห่วงQ3 ไร้ตัวช่วย-มาตรการเดี้ยง
สอดคล้องกับนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี มีสัญญาณชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะไตรมาส 3 น่าห่วง เนื่องจากไม่มีเครื่องมือภาครัฐที่พอจะกระตุ้นเศรษฐกิจในอัตราเร่งได้ ดังนั้นจึงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะเติบโตได้เพียง 3-4% ทำให้ทั้งปีธนาคารประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับต่ำกว่า 5% หรือ 4-4.5%
ความหวังเดียวของประเทศไทยระยะถัดไปมีเพียงการลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่ ตามพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และพ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เท่านั้น แต่ในปีนี้คงไม่มีเม็ดเงินลงสู่ระบบไม่มากนัก โดยการบริหารจัดการน้ำยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ส่วนพ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ก็ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภา และจะเห็นการเบิกจ่ายจริงน่าจะในปี 2557 เป็นต้นไป
ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ อาจมีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออาร์/พีลงอีกครั้งในระดับ 0.25% ต่อปี หลังการประชุมถัดจากปลายเดือนกรกฎาคม ( กนง.ประชุมครั้งหน้า 25 ก.ค.) หรือรัฐอาจต้องออกมาตรการเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ แต่เป็นที่กังขาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันหนี้สินภาคครัวเรือนก็เร่งตัวขึ้นค่อนข้างมาก
ธปท.จับตาหนี้ครัวเรือน
ทั้งนี้รายงานจากธปท. ระบุผลการประชุมร่วมระหว่างกนง. และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 ว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันถึงภาพรวมระบบเศรษฐกิจการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว แม้จะชะลอตัวลงในไตรมาส 1/56 จากอุปสงค์ในประเทศ
พร้อมจับตาแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายซึ่งยังผันผวนและอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินจากผลของการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของประเทศเศรษฐกิจหลัก และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนเงินทุนไหลเข้า
รายงานที่ประชุมระบุต่อว่า ภาคสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวต่อเนื่องจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อเอสเอ็มอีเป็นหลัก แต่เนื่องจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและเร่งขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะหากสภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนลดลง ก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ จ่อปรับเป้าเศรษฐกิจไทยลงเช่นกัน อาทิ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังว่ายังมีปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกมาจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ครึ่งปีหลังองค์ประกอบสำคัญจะมาจากการลงทุนภาครัฐ
โดยล่าสุดงานโครงการบริหารจัดการน้ำทั้ง 9 โมดูล มูลค่ารวม 3.5 แสนล้านบาท ได้ผู้รับเหมาทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย ITD-Power China, K-Water, Summit SUT และ LOXLEY นั้น โดย ITD-Power China ได้เข้ามายื่นขอวงเงินกับทางธนาคาร ซึ่งหากเป็นไปตามกรอบเวลาก็เชื่อว่าอย่างเร็วจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/2556
เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง การขับเคลื่อนจะมาจากนโยบายการลงทุนภาครัฐ แต่ที่ผ่านมาการเบิกจ่ายงบของรัฐบาลยังมีไม่มากนัก แบงก์กรุงเทพจึงได้ปรับจีดีพีใหม่ปีนี้ กรอบล่างที่ 4% และคาดจะไม่ถึง 5% ส่งผลให้สินเชื่อธนาคารขยายตัวอยู่ที่ 6% ซึ่งยังอยู่ในแผนธุรกิจที่แบงก์วางไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว"
สอดคล้องกับนางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าธนาคารอยู่ระหว่างการประเมินเพื่อปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ จากที่คาดไว้ที่ 5% ส่งออกโต 7.1% โดยนำปัจจัยทั้งในและต่างประเทศเข้ามาร่วมพิจารณา
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย และ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในครึ่งปีหลังว่า ยังยากที่จะคาดเดาว่าจะเติบโตในอัตราเท่าไร เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่โดดเด่น ขณะที่เศรษฐกิจต่างประเทศ ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็ยังไม่ดีขึ้น การส่งออกของเราก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
แม้ราคาสินค้าเกษตรเช่น ยางพาราจะขยับราคาดีขึ้น แต่ปาล์ม และสินค้าเกษตรอื่นๆ ก็ยังราคาตก ส่วนค่าแรงที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาท ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ก็ส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกตื่นตัว แต่หลังจากนั้นก็นิ่งมาตลอด และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลต่อไปในครึ่งปีหลังด้วย" (อ่านต่อ "ค้าปลีก"วัดดวง"ครึ่งหลัง หน้า 17 )
ขณะที่บรรดาผู้ประกอบให้ความเห็นถึงสาเหตุที่โครงการประชานิยมรัฐ ไม่มีประสิทธิภาพแรงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ โดยนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การที่นโยบายประชานิยมไม่มีผลชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แสดงว่านโยบายยังไปไม่ถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือไปถึงแต่ก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้กำลังซื้อของประชาชนขยายตัวไม่ได้ตามเป้าหมาย
ตัวอย่าง เช่นโครงการรับจำนำข้าวเปลือกราคาสูงแม้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งต้นทุนปัจจัยการผลิตของเกษตรกร ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายากำจัดศัตรูพืช ค่าเช่านา ค่าจ้างแรงงาน และอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เป้าหมายที่รัฐที่เคยประกาศว่าโครงการรับจำนำข้าวจะทำให้เศรษฐกิจหมุน 5-6 รอบจึงไม่เกิดขึ้น รวมถึงการเกิดทุจริตในโครงการ ทำให้เม็ดเงินไปไม่ถึงมือเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โครงการรับจำนำข้าวที่ใช้เม็ดเงินมหาศาลแต่ได้ผลน้อย จึงเปรียบเสมือน "ขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน"
ประกอบกับภาคธุรกิจได้รับผลกระทบค่าเงินบาท ค่าจ้าง 300 บาทรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ดังนั้นการส่งออกของไทยปีนี้มองว่าจะขยายตัวไม่ถึง 7-7.5% ตามที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายไว้ ดีสุดคงไม่เกิน 5% และประเมินว่าจีดีพีปีนี้น่าขยายตัวต่ำกว่า 5%
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางโครงการกลับทำให้ประชาชนกำลังซื้อลดลง เช่นโครงการรถคันแรกที่ประชาชนแห่กันไปจับจองเพื่อรักษาสิทธิ์ แต่พอได้รถมาแล้วต้องผ่อนค่างวด มีค่าใช้จ่าย ทำให้มีเงินเหลือในแต่ละเดือนเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยอย่างอื่นลดลง ขณะที่การปรับค่าจ้างขึ้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศก็ทำให้สถานประกอบการมีภาระต้นทุนเพิ่ม หลายแห่งต้องปิดกิจการ ส่วนโครงการลงทุนระบบน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และโครงการระบบสาธารณโภคพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาทก็ยังไม่ได้เริ่มอย่างเต็มรูปแบบจึงยังไม่มีผลต่อการขับเคลื่อนจีดีพี
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตฯดีขึ้น นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2556 พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 94.3 เพิ่มขึ้นจาก 92.9 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.4 จากปัจจัยยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เครื่องยนต์ศก.หนืด
ล่วงมาครึ่งปีแรก หลายสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจทยอยปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจไทย(จีดีพี) หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.หรือสภาพัฒน์)ได้ปรับลดจีดีพีปีนี้มาที่ 4.2-5.2 % หลังไตรมาสแรกจีดีพีหดตัว 2.2% ( เทียบต่อไตรมาส)หรือมีอัตราการเติบโตที่ 5.3% และปลายเดือนนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ,หอการค้าไทย ก็จะทบทวนปรับเป้าจีดีพีลง จากที่คาดไว้ที่ 5.3 % และ 5% ตามลำดับ
เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จ่อปรับเป้าจีดีพีในเดือนกรกฎาคม จากตัวเลขที่ 5.1% เนื่องจากความกังวลในประเด็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนในช่วงที่เหลือของปีและปัจจัยเสี่ยง (ตารางประกอบ : เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยช่วง 4 เดือน ส่อแววชะลอ ) โดยเฉพาะมูลค่าภาคส่งออกที่คิดเป็นสัดส่วน 70% ของจีดีพี หลังจาก 4 เดือนแรกโตเฉลี่ยเพียง 4.5 % ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าไทยต่างชะลอตัว
ล่าสุดธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ได้ปรับประมาณการจีดีพีโลกปีนี้มาอยู่ที่ 2.2 % ลดจากตัวเลขเดิมเมื่อต้นปีที่ 2.4% และคาดเศรษฐกิจอาเซียนจะโตที่ 5.7% และปี 2557 ที่ 5.9 % ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2556-2557 เวิลด์แบงก์คาดโตในอัตราเท่ากันที่ 5.5 % โดยเป็นการปรับประมาณการตามหลัง องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี ที่ได้ปรับลดเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงมาที่ 3.1% จากระดับ 3.4% และปี 2557 จาก 4.2% มาเป็น 4.0%
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยอมรับว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเวลานี้ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาท และที่เป็นห่วงคือการบริโภคของประชาชนจะลดลง จึงจำเป็นต้องทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในเรื่องสถานการณ์เรื่องค่าเงินบาท ต้องการให้ทางธปท. ใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่แล้วบริหารจัดการเงินบาทให้มีเสถียรภาพ
ขณะที่การบริหารเศรษฐกิจประเทศ รัฐบาลตั้งเป้าหมายใน 3 ด้านคือ 1.ขยายตัวเศรษฐกิจหรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 2.รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ และ 3. การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ทั้ง 3 ประเด็นนี้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
เดือนที่แล้วทุกคนยังเป็นห่วงว่า อสังหาริมทรัพย์ไทยจะเป็นฟองสบู่ แต่ตอนนี้ห่วงเรื่องการบริโภคของประชาชนลดลง เศรษฐกิจไทยจึงต้องเข้มแข็งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโลกที่รวดเร็ว"
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% ได้นั้นยังต้องลุ้น และจำเป็นต้องใช้เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการการคลังและการเงินควบคู่ โดยด้านมาตรการคลัง เรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2557 ( เริ่ม 1 ต.ค. 56-30 ก.ย. 57) ได้สร้างความคล่องตัวและเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกู้ ในโครงการบริหารจัดการน้ำให้ทันกำหนดเวลา คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะใช้เม็ดเงินได้ทันทีประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท พร้อมผลักดันพ.ร.บ. กู้เงินในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะใช้เงินได้จริงปี 2557
ขณะนี้กำลังให้กรมบัญชีกลาง เข้าไปปัดฝุ่นลดภาระรายจ่ายในรายการงบประมาณประจำ ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งงบผูกพัน 5 ปี, รายจ่ายประจำ เบี้ยบำเหน็จบำนาญ และการแก้ไขกฎหมาย กบข. เพื่อเพิ่มงบลงทุนให้เพิ่มขึ้น " นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงสาเหตุที่การเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐว่า จุดใหญ่ที่เป็นอุปสรรคคือ 1.การส่งออกที่ไม่เป็นตามเป้าหมาย และ2.ราคาของสินค้าเกษตรที่ไม่สูงอย่างที่คาดการณ์
"ตอนที่หารือเมื่อต้นปี สิ่งที่เราไม่ได้คิดไว้ก็คือเรื่องของเงินบาทเกิดแข็งค่า ทำให้ตัวเลขการส่งออกลดลงมากกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามที่เข้ามาขับเคลื่อนทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ก็คือภาคท่องเที่ยวที่ดีเกินคาด"
ทั้งนี้ภาครัฐคาดหวังว่า เมื่อมีการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าเงินบาทไปได้แล้วระดับหนึ่ง ตัวเลขการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลงจะไม่ลดต่ำกว่าที่คาด รวมถึงการลงทุนภาครัฐที่จะพยายามจะสรุปตัวเลขแท้จริงให้ชัดเจนว่าในส่วนของ 2 ล้านล้านบาท และ 3.5 แสนล้านบาทนั้น จะสามารถอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบได้เท่าใด "
ปลัดกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึงความคืบหน้า มาตรการตามกรอบเสถียรภาพเศรษฐกิจ 22 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่มาตรการทางด้านการเงินซึ่งมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบ และมาตรการทางด้านการคลังที่จะมีความรับผิดชอบอยู่ 7-8 ข้อ เช่น การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ การบริหารหนี้สาธารณะ เป็นต้น โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการดำเนินการที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เพียงแต่นำมาจัดให้อยู่ในภาพรวมให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้มาตรการคลัง ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาเอสเอ็มอีให้มีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มมากขึ้นจาก 37% เป็น 40% ซึ่งการเพิ่มขึ้น 3% ต่อจีดีพี ก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3-4 แสนล้านบาท โดยถือว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตของเอสเอ็มอี
โครงการรัฐ ดับฝันจีดีพี 5%.
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. กล่าวว่า ปลายเดือนนี้ สศค. จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย จากเดิมคาดไว้ที่ 5.3% หลังไตรมาสแรกชะลอลง โดยเฉพาะกำลังซื้อและการบริโภคในประเทศที่แผ่วลงหลังหมดโครงการรถคันแรก ประกอบกับผลกระทบค่าเงินบาทแข็งก่อนหน้านี้ ทำให้ส่งออกขยายตัวเพียง 3.9% และการลงทุนภาครัฐยังล่าช้า ทำให้มีความเป็นห่วงเศรษฐกิจไตรมาส 2 ชะลอตัวต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังต้องรอความชัดเจนของแผนการเงินกู้บริหารจัดการน้ำ ที่ต้องรอดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ ว่าจะส่งผลต่อการปรับจีดีพีหรือไม่
แรงกระตุ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จะมาจากไหนยังเป็นโจทย์ต่อไป แต่กลไกสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง หนีไม่พ้นรัฐบาลต้องอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนภาครัฐ ต้องเร่งเบิกจ่ายได้เร็ว เพราะจะเป็นตัวช่วยภาคลงทุนภาคเอกชน และกระตุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ให้สามารถขยายตัวตามเป้าหมายที่ 5 %ได้ทัน เพราะปกติช่วงไตรมาส 4 การขยายตัวเศรษฐกิจจะแผ่วอยู่แล้ว "
สศค. ยังประเมินอีกว่า แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายครึ่งปีหลังยังลงได้อีก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีปัจจัยเสี่ยง และเศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณการชะลอตัว โดยไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อ
ห่วงQ3 ไร้ตัวช่วย-มาตรการเดี้ยง
สอดคล้องกับนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี มีสัญญาณชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะไตรมาส 3 น่าห่วง เนื่องจากไม่มีเครื่องมือภาครัฐที่พอจะกระตุ้นเศรษฐกิจในอัตราเร่งได้ ดังนั้นจึงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะเติบโตได้เพียง 3-4% ทำให้ทั้งปีธนาคารประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับต่ำกว่า 5% หรือ 4-4.5%
ความหวังเดียวของประเทศไทยระยะถัดไปมีเพียงการลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่ ตามพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และพ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เท่านั้น แต่ในปีนี้คงไม่มีเม็ดเงินลงสู่ระบบไม่มากนัก โดยการบริหารจัดการน้ำยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ส่วนพ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ก็ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภา และจะเห็นการเบิกจ่ายจริงน่าจะในปี 2557 เป็นต้นไป
ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ อาจมีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออาร์/พีลงอีกครั้งในระดับ 0.25% ต่อปี หลังการประชุมถัดจากปลายเดือนกรกฎาคม ( กนง.ประชุมครั้งหน้า 25 ก.ค.) หรือรัฐอาจต้องออกมาตรการเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ แต่เป็นที่กังขาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันหนี้สินภาคครัวเรือนก็เร่งตัวขึ้นค่อนข้างมาก
ธปท.จับตาหนี้ครัวเรือน
ทั้งนี้รายงานจากธปท. ระบุผลการประชุมร่วมระหว่างกนง. และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 ว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันถึงภาพรวมระบบเศรษฐกิจการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว แม้จะชะลอตัวลงในไตรมาส 1/56 จากอุปสงค์ในประเทศ
พร้อมจับตาแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายซึ่งยังผันผวนและอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินจากผลของการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของประเทศเศรษฐกิจหลัก และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนเงินทุนไหลเข้า
รายงานที่ประชุมระบุต่อว่า ภาคสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวต่อเนื่องจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อเอสเอ็มอีเป็นหลัก แต่เนื่องจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและเร่งขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะหากสภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนลดลง ก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ จ่อปรับเป้าเศรษฐกิจไทยลงเช่นกัน อาทิ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังว่ายังมีปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกมาจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ครึ่งปีหลังองค์ประกอบสำคัญจะมาจากการลงทุนภาครัฐ
โดยล่าสุดงานโครงการบริหารจัดการน้ำทั้ง 9 โมดูล มูลค่ารวม 3.5 แสนล้านบาท ได้ผู้รับเหมาทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย ITD-Power China, K-Water, Summit SUT และ LOXLEY นั้น โดย ITD-Power China ได้เข้ามายื่นขอวงเงินกับทางธนาคาร ซึ่งหากเป็นไปตามกรอบเวลาก็เชื่อว่าอย่างเร็วจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/2556
เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง การขับเคลื่อนจะมาจากนโยบายการลงทุนภาครัฐ แต่ที่ผ่านมาการเบิกจ่ายงบของรัฐบาลยังมีไม่มากนัก แบงก์กรุงเทพจึงได้ปรับจีดีพีใหม่ปีนี้ กรอบล่างที่ 4% และคาดจะไม่ถึง 5% ส่งผลให้สินเชื่อธนาคารขยายตัวอยู่ที่ 6% ซึ่งยังอยู่ในแผนธุรกิจที่แบงก์วางไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว"
สอดคล้องกับนางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าธนาคารอยู่ระหว่างการประเมินเพื่อปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ จากที่คาดไว้ที่ 5% ส่งออกโต 7.1% โดยนำปัจจัยทั้งในและต่างประเทศเข้ามาร่วมพิจารณา
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย และ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในครึ่งปีหลังว่า ยังยากที่จะคาดเดาว่าจะเติบโตในอัตราเท่าไร เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่โดดเด่น ขณะที่เศรษฐกิจต่างประเทศ ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็ยังไม่ดีขึ้น การส่งออกของเราก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
แม้ราคาสินค้าเกษตรเช่น ยางพาราจะขยับราคาดีขึ้น แต่ปาล์ม และสินค้าเกษตรอื่นๆ ก็ยังราคาตก ส่วนค่าแรงที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาท ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ก็ส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกตื่นตัว แต่หลังจากนั้นก็นิ่งมาตลอด และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลต่อไปในครึ่งปีหลังด้วย" (อ่านต่อ "ค้าปลีก"วัดดวง"ครึ่งหลัง หน้า 17 )
ขณะที่บรรดาผู้ประกอบให้ความเห็นถึงสาเหตุที่โครงการประชานิยมรัฐ ไม่มีประสิทธิภาพแรงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ โดยนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การที่นโยบายประชานิยมไม่มีผลชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แสดงว่านโยบายยังไปไม่ถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือไปถึงแต่ก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้กำลังซื้อของประชาชนขยายตัวไม่ได้ตามเป้าหมาย
ตัวอย่าง เช่นโครงการรับจำนำข้าวเปลือกราคาสูงแม้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งต้นทุนปัจจัยการผลิตของเกษตรกร ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายากำจัดศัตรูพืช ค่าเช่านา ค่าจ้างแรงงาน และอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เป้าหมายที่รัฐที่เคยประกาศว่าโครงการรับจำนำข้าวจะทำให้เศรษฐกิจหมุน 5-6 รอบจึงไม่เกิดขึ้น รวมถึงการเกิดทุจริตในโครงการ ทำให้เม็ดเงินไปไม่ถึงมือเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โครงการรับจำนำข้าวที่ใช้เม็ดเงินมหาศาลแต่ได้ผลน้อย จึงเปรียบเสมือน "ขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน"
ประกอบกับภาคธุรกิจได้รับผลกระทบค่าเงินบาท ค่าจ้าง 300 บาทรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ดังนั้นการส่งออกของไทยปีนี้มองว่าจะขยายตัวไม่ถึง 7-7.5% ตามที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายไว้ ดีสุดคงไม่เกิน 5% และประเมินว่าจีดีพีปีนี้น่าขยายตัวต่ำกว่า 5%
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางโครงการกลับทำให้ประชาชนกำลังซื้อลดลง เช่นโครงการรถคันแรกที่ประชาชนแห่กันไปจับจองเพื่อรักษาสิทธิ์ แต่พอได้รถมาแล้วต้องผ่อนค่างวด มีค่าใช้จ่าย ทำให้มีเงินเหลือในแต่ละเดือนเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยอย่างอื่นลดลง ขณะที่การปรับค่าจ้างขึ้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศก็ทำให้สถานประกอบการมีภาระต้นทุนเพิ่ม หลายแห่งต้องปิดกิจการ ส่วนโครงการลงทุนระบบน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และโครงการระบบสาธารณโภคพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาทก็ยังไม่ได้เริ่มอย่างเต็มรูปแบบจึงยังไม่มีผลต่อการขับเคลื่อนจีดีพี
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตฯดีขึ้น นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2556 พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 94.3 เพิ่มขึ้นจาก 92.9 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.4 จากปัจจัยยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น