คอลัมน์ คิดนอกรอบ
ประเทศที่กำลังส่องแสงเจิดจรัสเตะตานักลงทุนจากทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ "อินเดีย" เป็นอีกประเทศที่อยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว และเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากจีน และญี่ปุ่น แต่นับเป็นอันดับ 10 ของโลก
ปัจจัยสำคัญที่สร้างโอกาสให้แก่อินเดีย ประการแรก คือการเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนกว่า 1,200 ล้านคน ประการที่สอง คือเป็นประเทศที่ยังอุดมด้วยทรัพยากร และมีพื้นที่มาก ประการที่สาม คืออัตราการเติบโตของรายได้ประชากรในอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้หลายปีที่ผ่านมา สภาพเมืองในชนบทจะล้าหลัง มีความเจริญน้อยมาก แต่ทุกวันนี้ทุกอย่างกลับเปลี่ยนแปลงไป และด้วยเหตุผลอีกนานัปการ ทำให้อินเดียหรือดินแดนภารตะแห่งนี้กลายเป็นประเทศที่ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวผู้พิสมัยการผจญภัยจากทั่วทุกสารทิศจะชมชอบเดินทางไปท่องเที่ยว และแสวงหาความหมายของชีวิตเท่านั้น
สำหรับนักลงทุนทั่วโลกต่างหมายตามองดินแดนแห่งนี้อย่างมีความหวัง เนื่องเพราะเป็นแหล่งธุรกิจสำคัญที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล
"อินเดีย" วันนี้จึงมีทั้ง "โอกาส" และ "ข้อจำกัด" อยู่ที่ว่าใครจะสามารถพิเคราะห์มองเห็นความเป็นไป และแปรเปลี่ยนให้เป็น "ความจริง" ได้
แม้ลู่ทางการลงทุนในอินเดียดูสดใสเปิดกว้าง แต่ใช่ว่าจะไร้ซึ่งปัญหาอุปสรรคเสียทีเดียว เพราะอินเดียยังมีข้อจำกัดอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากการที่เศรษฐกิจอินเดียมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ดังนั้น ปัจจัยภายนอกจึงส่งผลกระทบต่ออินเดียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา วิกฤตด้านราคาอาหาร และเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น สร้างแรงกดดันต่อสภาวะเงินเฟ้อในอินเดีย ที่กลายเป็นปัญหาทางสังคมและการเมือง ที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขต่อไป รวมถึงยังมีปัญหาและอุปสรรคอื่น ๆ อีกมาก
ทั้งนี้ อุปสรรคปัญหาที่ถ่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่น ๆ 2.การขาดแคลนพลังงาน 3.ความล่าช้าในการผ่อนคลายกฎระเบียบการค้าการลงทุน 4.อัตราเงินเฟ้อ ปี 2553 สูงถึงร้อยละ 12 ก่อนจะลดลงบ้างในปีถัดมา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องเผชิญอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง "พลังงาน" ธุรกิจที่ต้องใช้พลังงานอาจต้องมีแผนการรองรับด้วยการมีเครื่องสำรองไฟไว้ เพราะปัจจุบันอินเดียมีไฟฟ้าไม่พอใช้ ในบางพื้นที่ถูกตัดไฟถึงเดือนละ 15 วัน แผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในอินเดียไม่สามารถเดินหน้าก่อสร้างต่อไปได้ เนื่องจากถูกชาวบ้านออกมาประท้วง
อีกประเด็นหนึ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน คือปัญหาการถือครองที่ดินซึ่งมีความซับซ้อนมาก แม้กระทั่งปัญหาแรงงานภายใต้ผู้คนที่มีความหลากหลาย ในหลักศรัทธาความเชื่อและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องภาษา อินเดียมีภาษาฮินดีเป็นภาษาทางการ แต่ในความเป็นจริง รัฐในอินเดีย ซึ่งมี 27 รัฐนั้น มีภาษาพูด และนับถือศาสนาที่
แตกต่างกัน และในด้านสภาพสังคมนั้นก็เป็นประเทศที่มีทั้ง "วรรณะ" และ "ชนชั้น" ซึ่งในแต่ละวรรณะและชนชั้นนั้นก็มีการแบ่งแยกระดับแตกต่างกันอีก พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไป
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องพิจารณาก่อนเข้าไปลงทุน
ในส่วนของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เริ่มเข้าไปศึกษาลู่ทางการลงทุนในอินเดียตั้งแต่ปี 2533 หรือกว่ายี่สิบปีมาแล้ว โดยในปี 2535 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอินเดียให้ก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารกุ้งที่เมืองเชนไน (Chennai) จนถึงปัจจุบันอินเดียเป็นหนึ่งในฐานการลงทุนสำคัญของเครือเจริญโภคภัณฑ์
เส้นทางสู่แดนภารตะของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เริ่มต้นจากการศึกษาหาข้อมูล โดยมีข้อมูลจากทางราชการของอินเดีย และจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินใจควบคู่ไปกับการเข้าไปสำรวจพื้นที่ สำรวจตลาด รวมถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอินเดีย มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อไป แม้ว่าความเร็วของการเติบโตจะชะลอตัวลงบ้าง แต่รัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญต่อการสานต่อนโยบาย และให้ความสำคัญต่อ 3 ประเด็น คือการสนับสนุนรายได้เกษตรกร การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการลดแรงกระตุ้นสภาวะเงินเฟ้อ
ภายใต้ "วิกฤตย่อมมีโอกาส" ภายใต้ ความสับสนอลหม่านย่อมถูกขจัดได้ด้วย
"ข้อมูล" ที่ถูกต้องแน่ชัด เพียงแต่นักลงทุนจะ "เปิดใจ" และพร้อมเรียนรู้ศึกษาปัจจัยรอบด้านเกี่ยวกับอินเดีย เพื่อ
ปรับแนวทางการลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ ได้อย่างไร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////
ประเทศที่กำลังส่องแสงเจิดจรัสเตะตานักลงทุนจากทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ "อินเดีย" เป็นอีกประเทศที่อยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว และเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากจีน และญี่ปุ่น แต่นับเป็นอันดับ 10 ของโลก
ปัจจัยสำคัญที่สร้างโอกาสให้แก่อินเดีย ประการแรก คือการเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนกว่า 1,200 ล้านคน ประการที่สอง คือเป็นประเทศที่ยังอุดมด้วยทรัพยากร และมีพื้นที่มาก ประการที่สาม คืออัตราการเติบโตของรายได้ประชากรในอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้หลายปีที่ผ่านมา สภาพเมืองในชนบทจะล้าหลัง มีความเจริญน้อยมาก แต่ทุกวันนี้ทุกอย่างกลับเปลี่ยนแปลงไป และด้วยเหตุผลอีกนานัปการ ทำให้อินเดียหรือดินแดนภารตะแห่งนี้กลายเป็นประเทศที่ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวผู้พิสมัยการผจญภัยจากทั่วทุกสารทิศจะชมชอบเดินทางไปท่องเที่ยว และแสวงหาความหมายของชีวิตเท่านั้น
สำหรับนักลงทุนทั่วโลกต่างหมายตามองดินแดนแห่งนี้อย่างมีความหวัง เนื่องเพราะเป็นแหล่งธุรกิจสำคัญที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล
"อินเดีย" วันนี้จึงมีทั้ง "โอกาส" และ "ข้อจำกัด" อยู่ที่ว่าใครจะสามารถพิเคราะห์มองเห็นความเป็นไป และแปรเปลี่ยนให้เป็น "ความจริง" ได้
แม้ลู่ทางการลงทุนในอินเดียดูสดใสเปิดกว้าง แต่ใช่ว่าจะไร้ซึ่งปัญหาอุปสรรคเสียทีเดียว เพราะอินเดียยังมีข้อจำกัดอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากการที่เศรษฐกิจอินเดียมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ดังนั้น ปัจจัยภายนอกจึงส่งผลกระทบต่ออินเดียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา วิกฤตด้านราคาอาหาร และเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น สร้างแรงกดดันต่อสภาวะเงินเฟ้อในอินเดีย ที่กลายเป็นปัญหาทางสังคมและการเมือง ที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขต่อไป รวมถึงยังมีปัญหาและอุปสรรคอื่น ๆ อีกมาก
ทั้งนี้ อุปสรรคปัญหาที่ถ่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่น ๆ 2.การขาดแคลนพลังงาน 3.ความล่าช้าในการผ่อนคลายกฎระเบียบการค้าการลงทุน 4.อัตราเงินเฟ้อ ปี 2553 สูงถึงร้อยละ 12 ก่อนจะลดลงบ้างในปีถัดมา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องเผชิญอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง "พลังงาน" ธุรกิจที่ต้องใช้พลังงานอาจต้องมีแผนการรองรับด้วยการมีเครื่องสำรองไฟไว้ เพราะปัจจุบันอินเดียมีไฟฟ้าไม่พอใช้ ในบางพื้นที่ถูกตัดไฟถึงเดือนละ 15 วัน แผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในอินเดียไม่สามารถเดินหน้าก่อสร้างต่อไปได้ เนื่องจากถูกชาวบ้านออกมาประท้วง
อีกประเด็นหนึ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน คือปัญหาการถือครองที่ดินซึ่งมีความซับซ้อนมาก แม้กระทั่งปัญหาแรงงานภายใต้ผู้คนที่มีความหลากหลาย ในหลักศรัทธาความเชื่อและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องภาษา อินเดียมีภาษาฮินดีเป็นภาษาทางการ แต่ในความเป็นจริง รัฐในอินเดีย ซึ่งมี 27 รัฐนั้น มีภาษาพูด และนับถือศาสนาที่
แตกต่างกัน และในด้านสภาพสังคมนั้นก็เป็นประเทศที่มีทั้ง "วรรณะ" และ "ชนชั้น" ซึ่งในแต่ละวรรณะและชนชั้นนั้นก็มีการแบ่งแยกระดับแตกต่างกันอีก พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไป
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องพิจารณาก่อนเข้าไปลงทุน
ในส่วนของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เริ่มเข้าไปศึกษาลู่ทางการลงทุนในอินเดียตั้งแต่ปี 2533 หรือกว่ายี่สิบปีมาแล้ว โดยในปี 2535 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอินเดียให้ก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารกุ้งที่เมืองเชนไน (Chennai) จนถึงปัจจุบันอินเดียเป็นหนึ่งในฐานการลงทุนสำคัญของเครือเจริญโภคภัณฑ์
เส้นทางสู่แดนภารตะของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เริ่มต้นจากการศึกษาหาข้อมูล โดยมีข้อมูลจากทางราชการของอินเดีย และจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินใจควบคู่ไปกับการเข้าไปสำรวจพื้นที่ สำรวจตลาด รวมถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอินเดีย มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อไป แม้ว่าความเร็วของการเติบโตจะชะลอตัวลงบ้าง แต่รัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญต่อการสานต่อนโยบาย และให้ความสำคัญต่อ 3 ประเด็น คือการสนับสนุนรายได้เกษตรกร การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการลดแรงกระตุ้นสภาวะเงินเฟ้อ
ภายใต้ "วิกฤตย่อมมีโอกาส" ภายใต้ ความสับสนอลหม่านย่อมถูกขจัดได้ด้วย
"ข้อมูล" ที่ถูกต้องแน่ชัด เพียงแต่นักลงทุนจะ "เปิดใจ" และพร้อมเรียนรู้ศึกษาปัจจัยรอบด้านเกี่ยวกับอินเดีย เพื่อ
ปรับแนวทางการลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ ได้อย่างไร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น