--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

7 แสนล้านสู่ 1 ล้านล้าน โอกาสทองค้าชายแดน !!?

ในงานเสวนา "จาก 7 แสนล้านสู่ 1 ล้านล้าน โอกาสทองค้าชายแดน" มุมมองของภาคเอกชนและภาครัฐยังเห็นตรงกันว่า โอกาสการค้าชาย แดนนับวันมีแต่จะรุ่งโรจน์

ขนาดตั้งเป้าว่ามูลค่าการค้าปีนี้น่าจะทะลุ 1.2 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีที่ผ่านมาซึ่งทำได้ประมาณ 7-8 แสนล้านบาท

ในจำนวน 1.2 ล้านล้านบาท ส่วน ใหญ่ไทยเป็นฝ่ายส่งออกมากกว่าการ นำเข้า ทำให้ได้เปรียบดุลการค้า ยกเว้น พม่าซึ่งไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

นิยม ไวยรัชพานิช รองประธาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ กับประเทศเพื่อนบ้าน สะท้อนมุมมองว่า โอกาสที่การค้าไทยกับประเทศเพื่อน บ้านจะเติบโตนั้นมีอีกมาก เพราะทุกวันนี้ยังมีการค้าในระบบใต้ดิน คือค้า ขายกันโดยไม่ผ่านศุลกากรมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี ถ้าเอาตัวเลขเหล่านี้ขึ้นมาบนดินได้ มูลค่าการค้าจะพุ่งสูง ขึ้นอีกมหาศาล

"การขนส่งเป็นหัวใจสำคัญของการค้าชายแดน ถ้าเราสามารถขับรถจากไทยไปลาว-เวียดนาม-พม่า-กัมพูชา-มาเลเซีย ได้แบบม้วนเดียวจบ ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างแดน จะช่วยให้การขนส่งผ่านแดนลื่นไหลดีกว่านี้ ซึ่งจะทำให้ยอดการค้าเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงต้องเร่งเจรจาทวิภาคีกับเพื่อนบ้านในประเด็นนี้ ไม่จำเป็นต้องรอปี 2558"

นายนิยม ยังกล่าวถึงการเปิดจุดผ่านแดนว่า ควรจะเปิดให้มากที่สุดเท่า ที่จะมากได้ เขาใช้คำว่า "เปิดให้พรุน" ได้ยิ่งดี อาจใช้พื้นที่ของเอกชนที่อยู่ตาม ชายแดนเป็นจุดผ่านแดนถาวรก็ได้ เพราะ การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 58 ไม่ได้เป็นเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจ แต่อีก 2 เสาคือความมั่นคงและวัฒนธรรมก็ต้องเป็นเนื้อเดียวกันด้วย เมื่อความมั่นคงบูรณาการร่วมกันได้ การเปิดด่านก็เป็นเรื่องง่าย

"พม่าที่เคยยึกๆ ยักๆ กับระบบการค้าชายแดน วันนี้เขาก็แสดงความ พร้อมเดินหน้าเต็มที่ สินค้า 15 ราย การ ที่เคยห้ามนำเข้าก็นำเข้าได้คือ ผงชูรส น้ำหวาน เครื่องดื่ม ขนมปังกรอบ หมาก ฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เหล้า เบียร์ บุหรี่ ผลิตภัณฑ์ พลาสติก ผลไม้สด หลังจากที่ประกาศ ห้ามนำเข้ามานานกว่า 10 ปี ในอนาคตสินค้าอีกหลายพันรายการที่มีเงื่อนไขก็จะเปิดเสรี 100%"

ขณะที่นายสุรัตน์ จันทองปาน ผู้จัดการการขนส่งสินค้าผ่านแดน บริษัท KWE- Kintetsu World Express (Thailand) มองว่า ประเทศไทยคือศูนย์ กลางที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แม้กลุ่มทุนข้าม ชาติหลายรายจะเข้าไปลงทุนตรงในพม่า และลาว แต่อีกจำนวนมากก็เลือกที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตใหญ่เชื่อมต่อกับกลุ่มอินโดจีน โดยเฉพาะกลุ่มทุนญี่ปุ่น ที่ใช้ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์เจาะเออีซี

"นักธุรกิจพวกนี้จมูกไว เขาเตรียมตัวมานานแล้ว หลายบริษัทที่ผมรู้จักเข้าไปวางฐานในพม่าไว้ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ผมเข้าไปพม่าตั้งแต่โรงแรม ราคาคืนละ 2 พันบาท วันนี้ราคาขยับ ขึ้นมา 6 พันบาทแล้วเพราะฉะนั้นการค้าชายแดนเป็นเทรนด์ใหม่ที่นักธุรกิจมองข้ามไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะค้าขายอะไร"

มุมมองของ 2 นักธุรกิจที่เห็นคล้ายๆ กันคือ เป้า 1 ล้านล้านบาทไม่น่าจะยากมาก ถ้าจะให้ดีควรทำได้ 2 ล้านล้านบาทภายใน 3 ปีนับจากนี้

ด้านปานจิตต์ พิศวง ผู้อำนวยการ สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวง พาณิชย์ให้ข้อคิดว่าโอกาสจะมากหรือน้อยอยู่ที่ตัวนักลงทุนเอง เพราะรัฐบาลได้ดำเนินการลดขั้นตอนอุปสรรคให้แล้ว แม้กระทั่งการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อย่างท่าเรือน้ำลึกทวาย

ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น