โดย. คณิน บุญสุวรรณ
กรณีที่กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 ของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ โดยขยายการนิรโทษกรรมให้ "รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องต่อมาที่เกิดระหว่างปี 2547 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2556 โดยไม่รวมถึงการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112" นั้น ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมที่ขัดต่อหลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับที่ระบุว่า "ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554"
เพราะหลักการที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการในวาระที่หนึ่งไปแล้วก่อนหน้านั้น คือ ให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลที่เคลื่อนไหวและชุมนุมทางการเมืองที่ต่อต้านการรัฐประหารและต่อต้านรัฐบาลที่จัดตั้งในค่ายทหาร รวมทั้งประชาชนที่เคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แล้วถูกตั้งข้อหา ดำเนินคดี และพิจารณาคดี ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงวันที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา คือ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554
ปมนี้อาจกลายเป็นจุดอ่อนและถูกโจมตีหนักกว่าเดิม เมื่อต้องผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา หรือถึงแม้จะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว จะถูก ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.สรรหายื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 154 (1) อย่างแน่นอน เมื่อถึงตอนนั้น มีหรือที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตกไปทั้งฉบับ? เรียกว่าตกม้าตายเมื่อถึงปลายทาง นักโทษการเมืองที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำถึงสามปีเศษ และกำลังรอว่าเมื่อไรจะได้รับอิสรภาพตามร่างเดิมของฉบับนายวรชัย เหมะ ก็จะพลอยซวยไปด้วย
นอกจากนั้น การนิรโทษกรรมที่ไม่รวมถึงการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็ถือเป็นการออกกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับแต่เฉพาะกับคนบางคนบางกลุ่ม และให้ยกเว้นคนบางกลุ่มซึ่งกระทำความผิดทางอาญาเช่นเดียวกันอีกด้วย
เข้าข่ายเป็นการออกกฎหมายที่เลือกปฏิบัติและขัดต่อหลักนิติธรรม เพราะถ้าจะนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาแกนนำและคนที่สั่งฆ่าประชาชนก็ต้องเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย เพราะเป็นความผิดทางอาญาเหมือนกัน และเป็นการกระทำความผิดที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองเดียวกัน คือ การต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
การนิรโทษกรรมที่รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินเรื่องดังกล่าว หมายรวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกดำเนินคดีและพิจารณาคดี และถูกกล่าวหาโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ คตส.หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เหล่านี้ถือว่าไม่เป็นความผิดและให้พ้นจากการกระทำความผิดโดยสิ้นเชิง
ปัญหาว่า เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการนิรโทษกรรมจากการกระทำความผิดซึ่งดำเนินการโดย คตส.อันเป็นองค์กรที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารแล้ว จะถือว่าต้องละเว้นโทษร่ำรวยผิดปกติซึ่งดำเนินคดีโดย คตส.และพิจารณาพิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนวนกว่า 46,000 ล้านบาท โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับข้อความในมาตราที่ต้องเพิ่มขึ้นใหม่ ว่าจะให้ครอบคลุมถึงหรือไม่ ถ้าไม่ให้ครอบคลุมถึง โดยให้เหตุผลว่าเป็นทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว จะคืนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเดิมได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็เป็นอันจบไป
แต่ถ้าระบุว่าต้องคืนให้ เพราะในเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดเสียแล้วทรัพย์สินที่ถูกยึดไปย่อมต้องคืนมาเป็นของเจ้าของเดิม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะกลายสภาพเป็นกฎหมายเงินทันที และประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง แล้วนายกรัฐมนตรีจะกล้ารับรองหรือ? ถ้ากล้ารับรองก็จะเข้าทางฝ่ายต่อต้านที่โจมตีมาตลอดว่า ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนเดียว แต่ถ้าไม่รับรอง สภาผู้แทนราษฎรก็พิจารณาต่อไปไม่ได้
แล้วคนที่รัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะว่าอย่างไร? พี่น้องในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ จะว่าอย่างไร? รัฐบาลและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจะว่าอย่างไร? และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง จะว่าอย่างไร? ซึ่งก็จะกลายเป็นเผือกร้อนในมือนายกรัฐมนตรีไปโดยอัตโนมัติ และจะถูกโจมตีทั้งขึ้นทั้งล่อง ไม่ว่าจะตัดสินอย่างไร นอกเหนือจากการที่จะถูกโจมตีว่าทอดทิ้งผู้ถูกกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกต่างหาก
สรุปแล้ว ร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติเห็นชอบ ให้นำเข้าสู่การพิจารณาในวาระสองอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวนี้ ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อนายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งคนเสื้อแดง และที่สำคัญอาจนำไปสู่การชุมนุมต่อต้านโดยฝ่ายที่กำลังจ้องจะล้มรัฐบาลอยู่แล้ว การชุมนุมต่อต้านจะรุนแรงและน่ากลัวแค่ไหน และจะกระทบกระเทือนเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ ยากที่จะคาดเดา เรียกว่า เจอศึกสองหน้าที่ถาโถม เข้ามาพร้อมๆ กัน
งานนี้ แม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันซึ่งรณรงค์ให้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองในคดีอาญามาตรา 112 มาตลอด ก็จะไม่พอใจและอาจก่อปฏิกิริยาอะไรบางอย่าง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ยิ่งถ้าผลของการนิรโทษกรรมเผื่อแผ่ไปถึงการกระทำความผิดในคดีก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ด้วยแล้วละก้อ รัฐบาลอาจมีปัญหาถึงกับ "พัง" ก่อนถึงเวลาอันควรได้เหมือนกัน อย่าทำเป็นเล่นไป เว้นเสียแต่ว่า ต้องการอย่างนั้นอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
ลำพังการไม่นิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็ทำให้คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งไม่พอใจมากพออยู่แล้ว ยิ่งถ้าไปนิรโทษกรรมให้แก่ผู้สั่งฆ่าประชาชน ในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ด้วยแล้ว คิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อย กับรัฐบาลคงมีปัญหาแน่
หรือจะคิดสะระตะดีแล้วว่า ไหนๆ ก็ไหนๆ ลุยให้มันสุดซอยไปเลย เจออะไรก็ค่อยไปแก้เอาข้างหน้า?
ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ดูให้ดีๆ ก็แล้วกัน ว่าเป็น "ซอยไหน?" เพราะถ้าเป็นซอย 31 ถนนสุขุมวิทแล้วละก้อ สุดซอย คือ คลองแสนแสบครับ
น้ำเน่าทั้งนั้นเลย
แต่ถ้า "สุดซอย" แปลว่า "ยุบสภา เลือกตั้งใหม่" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่มา.มติชน
///////////////////////////////////////////
กรณีที่กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 ของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ โดยขยายการนิรโทษกรรมให้ "รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องต่อมาที่เกิดระหว่างปี 2547 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2556 โดยไม่รวมถึงการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112" นั้น ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมที่ขัดต่อหลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับที่ระบุว่า "ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554"
เพราะหลักการที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการในวาระที่หนึ่งไปแล้วก่อนหน้านั้น คือ ให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลที่เคลื่อนไหวและชุมนุมทางการเมืองที่ต่อต้านการรัฐประหารและต่อต้านรัฐบาลที่จัดตั้งในค่ายทหาร รวมทั้งประชาชนที่เคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แล้วถูกตั้งข้อหา ดำเนินคดี และพิจารณาคดี ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงวันที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา คือ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554
ปมนี้อาจกลายเป็นจุดอ่อนและถูกโจมตีหนักกว่าเดิม เมื่อต้องผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา หรือถึงแม้จะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว จะถูก ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.สรรหายื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 154 (1) อย่างแน่นอน เมื่อถึงตอนนั้น มีหรือที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตกไปทั้งฉบับ? เรียกว่าตกม้าตายเมื่อถึงปลายทาง นักโทษการเมืองที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำถึงสามปีเศษ และกำลังรอว่าเมื่อไรจะได้รับอิสรภาพตามร่างเดิมของฉบับนายวรชัย เหมะ ก็จะพลอยซวยไปด้วย
นอกจากนั้น การนิรโทษกรรมที่ไม่รวมถึงการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็ถือเป็นการออกกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับแต่เฉพาะกับคนบางคนบางกลุ่ม และให้ยกเว้นคนบางกลุ่มซึ่งกระทำความผิดทางอาญาเช่นเดียวกันอีกด้วย
เข้าข่ายเป็นการออกกฎหมายที่เลือกปฏิบัติและขัดต่อหลักนิติธรรม เพราะถ้าจะนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาแกนนำและคนที่สั่งฆ่าประชาชนก็ต้องเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย เพราะเป็นความผิดทางอาญาเหมือนกัน และเป็นการกระทำความผิดที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองเดียวกัน คือ การต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
การนิรโทษกรรมที่รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินเรื่องดังกล่าว หมายรวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกดำเนินคดีและพิจารณาคดี และถูกกล่าวหาโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ คตส.หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เหล่านี้ถือว่าไม่เป็นความผิดและให้พ้นจากการกระทำความผิดโดยสิ้นเชิง
ปัญหาว่า เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการนิรโทษกรรมจากการกระทำความผิดซึ่งดำเนินการโดย คตส.อันเป็นองค์กรที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารแล้ว จะถือว่าต้องละเว้นโทษร่ำรวยผิดปกติซึ่งดำเนินคดีโดย คตส.และพิจารณาพิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนวนกว่า 46,000 ล้านบาท โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับข้อความในมาตราที่ต้องเพิ่มขึ้นใหม่ ว่าจะให้ครอบคลุมถึงหรือไม่ ถ้าไม่ให้ครอบคลุมถึง โดยให้เหตุผลว่าเป็นทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว จะคืนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเดิมได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็เป็นอันจบไป
แต่ถ้าระบุว่าต้องคืนให้ เพราะในเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดเสียแล้วทรัพย์สินที่ถูกยึดไปย่อมต้องคืนมาเป็นของเจ้าของเดิม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะกลายสภาพเป็นกฎหมายเงินทันที และประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง แล้วนายกรัฐมนตรีจะกล้ารับรองหรือ? ถ้ากล้ารับรองก็จะเข้าทางฝ่ายต่อต้านที่โจมตีมาตลอดว่า ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนเดียว แต่ถ้าไม่รับรอง สภาผู้แทนราษฎรก็พิจารณาต่อไปไม่ได้
แล้วคนที่รัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะว่าอย่างไร? พี่น้องในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ จะว่าอย่างไร? รัฐบาลและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจะว่าอย่างไร? และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง จะว่าอย่างไร? ซึ่งก็จะกลายเป็นเผือกร้อนในมือนายกรัฐมนตรีไปโดยอัตโนมัติ และจะถูกโจมตีทั้งขึ้นทั้งล่อง ไม่ว่าจะตัดสินอย่างไร นอกเหนือจากการที่จะถูกโจมตีว่าทอดทิ้งผู้ถูกกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกต่างหาก
สรุปแล้ว ร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติเห็นชอบ ให้นำเข้าสู่การพิจารณาในวาระสองอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวนี้ ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อนายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งคนเสื้อแดง และที่สำคัญอาจนำไปสู่การชุมนุมต่อต้านโดยฝ่ายที่กำลังจ้องจะล้มรัฐบาลอยู่แล้ว การชุมนุมต่อต้านจะรุนแรงและน่ากลัวแค่ไหน และจะกระทบกระเทือนเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ ยากที่จะคาดเดา เรียกว่า เจอศึกสองหน้าที่ถาโถม เข้ามาพร้อมๆ กัน
งานนี้ แม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันซึ่งรณรงค์ให้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองในคดีอาญามาตรา 112 มาตลอด ก็จะไม่พอใจและอาจก่อปฏิกิริยาอะไรบางอย่าง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ยิ่งถ้าผลของการนิรโทษกรรมเผื่อแผ่ไปถึงการกระทำความผิดในคดีก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ด้วยแล้วละก้อ รัฐบาลอาจมีปัญหาถึงกับ "พัง" ก่อนถึงเวลาอันควรได้เหมือนกัน อย่าทำเป็นเล่นไป เว้นเสียแต่ว่า ต้องการอย่างนั้นอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
ลำพังการไม่นิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็ทำให้คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งไม่พอใจมากพออยู่แล้ว ยิ่งถ้าไปนิรโทษกรรมให้แก่ผู้สั่งฆ่าประชาชน ในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ด้วยแล้ว คิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อย กับรัฐบาลคงมีปัญหาแน่
หรือจะคิดสะระตะดีแล้วว่า ไหนๆ ก็ไหนๆ ลุยให้มันสุดซอยไปเลย เจออะไรก็ค่อยไปแก้เอาข้างหน้า?
ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ดูให้ดีๆ ก็แล้วกัน ว่าเป็น "ซอยไหน?" เพราะถ้าเป็นซอย 31 ถนนสุขุมวิทแล้วละก้อ สุดซอย คือ คลองแสนแสบครับ
น้ำเน่าทั้งนั้นเลย
แต่ถ้า "สุดซอย" แปลว่า "ยุบสภา เลือกตั้งใหม่" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่มา.มติชน
///////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น