สัมภาษณ์พิเศษ : ประจวบ สุภินี อดีตอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
พม่าถือเป็นประเทศที่เนื้อหอมที่สุดในอาเซียนสำหรับการเข้าไปทำการค้า การลงทุน แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปพม่าก็คงยังนึกภาพไม่ออกว่าบรรยากาศแท้จริงในพม่าเป็นอย่างไร มีมุมมองของ ประจวบ สุภินี อดีตอัครราชทูต ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า มาเล่าสู่กันฟัง...
- อยากให้เล่าบรรยากาศในพม่าสักเล็กน้อย?
ผมไปเป็นทูตพาณิชย์ที่พม่าเมื่อปี 2551-2556 รวมระยะเวลา 5 ปี ซึ่งผมก็เหมือนกับหลายคนที่มองพม่าในด้านลบ ฝังใจว่าพม่าเป็นประเทศปิด เรารู้สึกสนิทกับลาวและกัมพูชามาก กว่าเพราะสองประเทศเปิดเผยข้อมูลมากกว่า ใน ขณะที่แทบไม่รู้จักพม่าเลย ตอนไปแรกๆ ผมมีความรู้สึกว่ามาประเทศที่ปิด แถมปกครองโดยทหาร จะทำอะไรก็คงลำบาก กลัวไปหมด แต่พอ เข้าไปถึงได้สัมผัสกับคนพม่า ไม่ใช่เลย ทุกอย่าง เขาเปิดให้กับเรา คนอื่นบอกว่าเขาปิดประเทศ แต่ตัวเขาไม่ได้ปิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำอะไรได้แบบอิสระเสรีทุกอย่าง ถ้าเราเข้าไปในลักษณะทำธุรกิจก็ทำธุรกิจอย่างเดียว อย่าเอาธุรกิจมายุ่งการเมือง อันนั้นไม่มีปัญหา แต่ถ้าเมื่อ ไหร่เราเข้าไปทำธุรกิจแบบอิงการเมือง อิงฝ่ายมีอำนาจ เอาคอนเซปต์แบบนี้เข้าไปไม่ได้ จะเห็น ว่าธุรกิจไทยบางธุรกิจเข้าไปตั้งแต่ 17-18 ปีแล้ว แสดงว่าเขาอยู่ได้แบบไม่มีปัญหา
อาจมีความลำบากบ้าง เช่น น้ำประปา ไฟฟ้าไม่ค่อยสมบูรณ์ ระบบอำนวยความสะดวกยังไม่ลงตัว แต่ถ้าคนไม่กลัวเรื่องนี้เข้าไปทำธุรกิจได้ เคยมีการทำวิจัย ของนักวิจัยในโลกตะวันตก ระบุว่าประเทศพม่ามีความปลอดภัยอันดับต้นๆ ของโลก หมายถึงการใช้ชีวิตประจำวันในเมือง ไม่ใช่บรรยากาศตามแนวชายแดน เราพูดถึงชีวิตประจำวันในเมือง อย่างในย่างกุ้ง ในมัณฑะเลย์ มีความปลอด-ภัยมากที่สุด ผมไปอยูที่นั่น 5 ปีไม่เคยได้ยินเรื่อง ฉกชิงวิ่งราว มีเคสเดียวคือกรณีคนท้องถิ่นข่มขืนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น บางคนอาจบอกว่าระบบการสื่อสารไม่ดี มีแล้วผมไม่รู้ ไม่ใช่เลย เนื่องจากผมอยู่ในระบบราชการ มีสายข่าวรายงาน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเราต้องรู้ จะช้าจะเร็วต้องรู้ ดูอย่างนักท่องเที่ยวไทยที่เข้า ไปท่องเที่ยวในพม่า ถ้ามีเรื่องไม่ดีเกิด ขึ้นเขาต้องนำมาบอกต่อกันอยู่แล้ว
- ฟังดูแล้วน่าเข้าไปลงทุน?
ผมอยากให้มองพม่าเป็นจังหวัด ที่ 78 ของประเทศไทย มีความคล้าย คลึงกับคนไทย แตกต่างกันเพียงเรื่องภาษา เขาสื่อสารด้วยภาษาพม่า และภาษาเผ่าอีก 100 กว่าภาษา อาหารการกินก็ไม่ต่างกัน ในน้ำมีปลา ในนา มีข้าว ปลูกผักสวนครัวเหมือนบ้านเรา แต่อาหารของเขาส่วนใหญ่จะหนักไปทางน้ำมันพืช นำเข้าน้ำมันพืชอันดับ 1 อันดับ 2 ของโลก บริโภคมากจริงๆ โดยนำเข้าจากมาเลเซีย
- สินค้าที่นำเข้าจากเมืองไทย?
มุมมองของเรามองว่าพม่าซื้อของจากเราเยอะ แต่เมื่อดูสถิติจริงๆไม่มาก เขาจะนำเข้าจากจีนค่อนข้างเยอะ นำเข้าจากเราไม่เกิน 15% เนื่อง จากการค้าขายกับจีนมีความสะดวกมากกว่า ประกอบกับโครงสร้างของรัฐบาลพม่าให้การสนับสนุนรัฐบาลจีนมากกว่าเรา
- เห็นว่าพม่าจะส่งออกข้าวแข่งกับไทย?
ที่ผ่านมาเขาปลูกเพื่อบริโภคเอง 100% ข้าว ถือเป็นสินค้ายุทธปัจจัยของพม่า เป็นสินค้าควบคุม ส่งออกบ้างแต่ไม่เสรี ส่วนคุณภาพของข้าวมีหลายเกรด แต่เฉลี่ยแล้วเป็นเกรดข้าวแข็ง ของเราเป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งคุณภาพเปรียบเทียบระหว่างเขากับเราใครดีกว่ากันขึ้นอยู่กับคนชอบ ถ้าคนชอบข้าวหอมมะลิก็บอกว่าของเราดีกว่า พม่าไม่มีข้าวหอมมะลิ อาจจะมีใกล้เคียงกันนิดหน่อย คุณสมบัติ ที่แตกต่างจากเราอย่างชัดเจนคือข้าวพม่าเม็ดเล็กสั้น แต่เวลาหุงจะยาวและขยายใหญ่ได้ 6 เท่า
- มีแหล่งบันเทิงยามค่ำคืนไหม?
มี แต่น้อยมาก บ้านเขายังไม่เปิดเสรีเหมือนบ้านเรา ตอนที่ผมไปอยู่กิจกรรมต่างๆ 4 ทุ่มจบ ทุก คนกลับบ้านนอน ใครจะมีสังสรรค์ก็อยู่ในบ้าน หาก จะมีเปิดบริการก็เฉพาะในโรงแรมใหญ่ๆที่อนุญาตให้เปิดได้ ร้านคาราโอเกะในย่างกุ้งมีบ้าง ในเมืองอื่นที่ยังไม่เจริญเป็นศูนย์
- รายได้ต่อหัวของคนพม่า?
สมัยก่อนต่ำมาก เนื่องจากโครงสร้างของเขา อยู่ด้วยพืชเกษตร ปลูกพืชในบ้าน หาปลาตามคลอง ระบบการใช้เงินในแต่ละวันจึงน้อยมาก ยิ่งในสังคม ต่างจังหวัดแทบจะไม่มีการใช้เงินเลย อัตราการคำนวณรายได้ต่อหัวจึงลำบาก การใช้จ่ายส่วนใหญ่ กระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้ง อัตราค่าจ้างสมัย ก่อนประมาณวันละ 30 บาท ทุกวันนี้เพิ่มขึ้นเพราะ อุตสาหกรรมเริ่มเข้าไปมาก วันละ 90-120 บาท
- คนรวยเยอะหรือเปล่า?
ประมาณ 5-10% ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรของเขา 60 ล้านคน อย่างไรก็ตามคนรวย บ้านเขาดูลำบากกว่าบ้านเรา บ้านเราดูคนรวยจาก ระบบไฟแนนซ์ระบบธนาคาร แต่ในพม่าเก็บข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ คนมีเงินของพม่าส่วนใหญ่จะมีเงินเก็บ อยู่ต่างประเทศหมด เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ดูไบ แม้แต่เมืองไทย
- นำเข้ารถยนต์มากไหม?
สมัยก่อนถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่าแพงอันดับ 1 ใครมีรถคนนั้นคือเศรษฐี เช่น โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ราคาประมาณ 10 ล้านบาท ที่แพงเพราะโครงสร้างจำกัดการมีรถ ใครจะมีรถต้องขอใบอนุญาต ราคาใบละ 9,000 บาท แต่หลังจากปรับ โครงสร้าง มีการเลือกตั้งใหม่ระบบเหล่านี้โดนยกเลิก หมด ทุกคนที่มีฐานะมีรถได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตอนนี้เลยนำเข้ามากขึ้น จากราคาแพงๆ ลดลงมาเผลอๆ ถูกกว่าบ้านเรา แต่เนื่องจากคนพม่ายังนิยมของถูก รถ 90% จึงเป็นรถมือสองจากประเทศญี่ปุ่น อายุประมาณ 5-10 ปี ไม่มีระบบไฟแนนซ์ ทุกอย่างซื้อด้วยเงินสด พอรถยนต์เยอะขึ้นการจราจรก็มีปัญหา ซึ่งกฎจราจรบ้านเขา ค่อนข้างแตกต่างจากบ้านเรา ประเด็นที่ 1 คนไม่กลัวรถ เวลาที่เราขับรถในเมือง อยู่ดีๆ คน ก็เดินข้ามถนน รถต้องหยุด ประเด็นที่ 2 บ้านเราขับรถชิดซ้าย พอถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด เพื่อไม่ให้กีดขวางทางจราจร พม่าขับชิดขวา แต่พอถึงทางเลี้ยวขวาไม่ผ่านตลอด ต้องรอไฟเขียว เป็นเหตุให้รถติด อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ เวลาคุณไปย่างกุ้งจะไม่เห็นมอเตอร์ไซค์ เนื่อง จากสมัยก่อนมอเตอร์ไซค์กวนเมือง รัฐบาลจึงออกกฎหมายห้ามขับมอเตอร์ไซค์ในย่างกุ้ง ทุกวันนี้ยังห้ามอยู่
- มีคอนวีเนี่ยนสโตร์หรือเปล่า?
ยังไม่มี ส่วนใหญ่เป็นโชห่วย การเปิดร้าน แบบ 7-11 หรือ แฟมิลี่มาร์ท ยังไม่ได้เพราะระบบ ลอจิสติกส์ยังไม่สมบูรณ์ และระบบกระแสไฟฟ้ายังไม่เสถียร ไฟฟ้าเข้าถึงเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ เนื่องจากคนยังไม่มีเงินจ่ายค่าไฟฟ้า รายได้ยังไม่ดี ชาวบ้านหลายพื้นที่ยังใช้เทียนและตะเกียง
- ระบบธนาคารเป็นยังไง?
มีทั้งหมด 17 แห่ง เป็นของรัฐบาล 3 แห่ง ที่เหลือเป็นของเอกชนชาวพม่า เขายังไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้าไปตั้งสาขา แต่อนาคต คงต้องเปลี่ยนเพื่อรองรับเออีซี แต่ทุกวันนี้ที่ไม่อนุญาตเพราะคนท้องถิ่นยังไม่แข็งแรงพอต่อการแข่งขัน ถ้าเขาปล่อยให้ต่างชาติเข้าไปก็จะไปเอาเปรียบคนท้องถิ่น จึงต้องทำให้คนท้องถิ่นแข็งแรงก่อน
- การลงทุนของไทยในพม่าติดท็อปเทนหรือเปล่า?
เวลาเราสำรวจข้อมูลการลงทุนในพม่าปรากฏว่ามูลค่าการลงทุนของไทยติดอันดับ 1 อันดับ 2 ผมมองว่ามีธุรกิจเดียวที่ทำให้มูลค่า สูงคือการลงทุนของ ปตท. แต่ถ้ามองภาพรวมแล้วยังสู้จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไม่ได้ อย่าง ไรก็ตาม นักธุรกิจไทยจำนวนหนึ่งก็ลงทุนในนามคนท้องถิ่น คือใช้นอมินี เนื่องจากกฎระเบียบของ เขาให้สิทธิประโยชน์กับคนท้องถิ่นมากกว่า เช่น เรื่องระบบการเสียภาษี ใช้ไฟฟ้าราคาถูกกว่า ทำ ให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งเข้าไปลงทุนโดยใช้คนท้องถิ่นเป็นนอมินี วันนี้อาจจะดีขึ้นมาบ้าง แต่ในทางปฏิบัติยังมีความแตกต่างอยู่
- จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไหม?
เขามีแพลนอยู่แล้ว เพราะญี่ปุ่นวางแนว ทางให้แล้ว โดยญี่ปุ่นจะขายรถไฟของตัวเองที่มีอายุ 5-10 ปีให้กับพม่า ได้กำไรสองต่อ คือขาย ให้พม่า และได้เข้าไปลงทุนโครงสร้างรถไฟความ เร็วสูงในพม่าด้วย
- ความประทับใจในพม่า?
พม่ามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนไทย คนพม่าจึงรู้สึกสนิทสนมกับคนไทย ผมมองว่าผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสนี้เข้าไปลงทุนในพม่า แต่ต้องจริงใจ ไม่ใช่ฉาบฉวย
- อนาคตพม่าจะไล่ตามไทยทันหรือเปล่า?
ถ้าการเมืองไทยยังเป็นแบบนี้ ไม่เกิน 15 ปี ตามทันแน่นอน
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------
พม่าถือเป็นประเทศที่เนื้อหอมที่สุดในอาเซียนสำหรับการเข้าไปทำการค้า การลงทุน แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปพม่าก็คงยังนึกภาพไม่ออกว่าบรรยากาศแท้จริงในพม่าเป็นอย่างไร มีมุมมองของ ประจวบ สุภินี อดีตอัครราชทูต ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า มาเล่าสู่กันฟัง...
- อยากให้เล่าบรรยากาศในพม่าสักเล็กน้อย?
ผมไปเป็นทูตพาณิชย์ที่พม่าเมื่อปี 2551-2556 รวมระยะเวลา 5 ปี ซึ่งผมก็เหมือนกับหลายคนที่มองพม่าในด้านลบ ฝังใจว่าพม่าเป็นประเทศปิด เรารู้สึกสนิทกับลาวและกัมพูชามาก กว่าเพราะสองประเทศเปิดเผยข้อมูลมากกว่า ใน ขณะที่แทบไม่รู้จักพม่าเลย ตอนไปแรกๆ ผมมีความรู้สึกว่ามาประเทศที่ปิด แถมปกครองโดยทหาร จะทำอะไรก็คงลำบาก กลัวไปหมด แต่พอ เข้าไปถึงได้สัมผัสกับคนพม่า ไม่ใช่เลย ทุกอย่าง เขาเปิดให้กับเรา คนอื่นบอกว่าเขาปิดประเทศ แต่ตัวเขาไม่ได้ปิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำอะไรได้แบบอิสระเสรีทุกอย่าง ถ้าเราเข้าไปในลักษณะทำธุรกิจก็ทำธุรกิจอย่างเดียว อย่าเอาธุรกิจมายุ่งการเมือง อันนั้นไม่มีปัญหา แต่ถ้าเมื่อ ไหร่เราเข้าไปทำธุรกิจแบบอิงการเมือง อิงฝ่ายมีอำนาจ เอาคอนเซปต์แบบนี้เข้าไปไม่ได้ จะเห็น ว่าธุรกิจไทยบางธุรกิจเข้าไปตั้งแต่ 17-18 ปีแล้ว แสดงว่าเขาอยู่ได้แบบไม่มีปัญหา
อาจมีความลำบากบ้าง เช่น น้ำประปา ไฟฟ้าไม่ค่อยสมบูรณ์ ระบบอำนวยความสะดวกยังไม่ลงตัว แต่ถ้าคนไม่กลัวเรื่องนี้เข้าไปทำธุรกิจได้ เคยมีการทำวิจัย ของนักวิจัยในโลกตะวันตก ระบุว่าประเทศพม่ามีความปลอดภัยอันดับต้นๆ ของโลก หมายถึงการใช้ชีวิตประจำวันในเมือง ไม่ใช่บรรยากาศตามแนวชายแดน เราพูดถึงชีวิตประจำวันในเมือง อย่างในย่างกุ้ง ในมัณฑะเลย์ มีความปลอด-ภัยมากที่สุด ผมไปอยูที่นั่น 5 ปีไม่เคยได้ยินเรื่อง ฉกชิงวิ่งราว มีเคสเดียวคือกรณีคนท้องถิ่นข่มขืนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น บางคนอาจบอกว่าระบบการสื่อสารไม่ดี มีแล้วผมไม่รู้ ไม่ใช่เลย เนื่องจากผมอยู่ในระบบราชการ มีสายข่าวรายงาน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเราต้องรู้ จะช้าจะเร็วต้องรู้ ดูอย่างนักท่องเที่ยวไทยที่เข้า ไปท่องเที่ยวในพม่า ถ้ามีเรื่องไม่ดีเกิด ขึ้นเขาต้องนำมาบอกต่อกันอยู่แล้ว
- ฟังดูแล้วน่าเข้าไปลงทุน?
ผมอยากให้มองพม่าเป็นจังหวัด ที่ 78 ของประเทศไทย มีความคล้าย คลึงกับคนไทย แตกต่างกันเพียงเรื่องภาษา เขาสื่อสารด้วยภาษาพม่า และภาษาเผ่าอีก 100 กว่าภาษา อาหารการกินก็ไม่ต่างกัน ในน้ำมีปลา ในนา มีข้าว ปลูกผักสวนครัวเหมือนบ้านเรา แต่อาหารของเขาส่วนใหญ่จะหนักไปทางน้ำมันพืช นำเข้าน้ำมันพืชอันดับ 1 อันดับ 2 ของโลก บริโภคมากจริงๆ โดยนำเข้าจากมาเลเซีย
- สินค้าที่นำเข้าจากเมืองไทย?
มุมมองของเรามองว่าพม่าซื้อของจากเราเยอะ แต่เมื่อดูสถิติจริงๆไม่มาก เขาจะนำเข้าจากจีนค่อนข้างเยอะ นำเข้าจากเราไม่เกิน 15% เนื่อง จากการค้าขายกับจีนมีความสะดวกมากกว่า ประกอบกับโครงสร้างของรัฐบาลพม่าให้การสนับสนุนรัฐบาลจีนมากกว่าเรา
- เห็นว่าพม่าจะส่งออกข้าวแข่งกับไทย?
ที่ผ่านมาเขาปลูกเพื่อบริโภคเอง 100% ข้าว ถือเป็นสินค้ายุทธปัจจัยของพม่า เป็นสินค้าควบคุม ส่งออกบ้างแต่ไม่เสรี ส่วนคุณภาพของข้าวมีหลายเกรด แต่เฉลี่ยแล้วเป็นเกรดข้าวแข็ง ของเราเป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งคุณภาพเปรียบเทียบระหว่างเขากับเราใครดีกว่ากันขึ้นอยู่กับคนชอบ ถ้าคนชอบข้าวหอมมะลิก็บอกว่าของเราดีกว่า พม่าไม่มีข้าวหอมมะลิ อาจจะมีใกล้เคียงกันนิดหน่อย คุณสมบัติ ที่แตกต่างจากเราอย่างชัดเจนคือข้าวพม่าเม็ดเล็กสั้น แต่เวลาหุงจะยาวและขยายใหญ่ได้ 6 เท่า
- มีแหล่งบันเทิงยามค่ำคืนไหม?
มี แต่น้อยมาก บ้านเขายังไม่เปิดเสรีเหมือนบ้านเรา ตอนที่ผมไปอยู่กิจกรรมต่างๆ 4 ทุ่มจบ ทุก คนกลับบ้านนอน ใครจะมีสังสรรค์ก็อยู่ในบ้าน หาก จะมีเปิดบริการก็เฉพาะในโรงแรมใหญ่ๆที่อนุญาตให้เปิดได้ ร้านคาราโอเกะในย่างกุ้งมีบ้าง ในเมืองอื่นที่ยังไม่เจริญเป็นศูนย์
- รายได้ต่อหัวของคนพม่า?
สมัยก่อนต่ำมาก เนื่องจากโครงสร้างของเขา อยู่ด้วยพืชเกษตร ปลูกพืชในบ้าน หาปลาตามคลอง ระบบการใช้เงินในแต่ละวันจึงน้อยมาก ยิ่งในสังคม ต่างจังหวัดแทบจะไม่มีการใช้เงินเลย อัตราการคำนวณรายได้ต่อหัวจึงลำบาก การใช้จ่ายส่วนใหญ่ กระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้ง อัตราค่าจ้างสมัย ก่อนประมาณวันละ 30 บาท ทุกวันนี้เพิ่มขึ้นเพราะ อุตสาหกรรมเริ่มเข้าไปมาก วันละ 90-120 บาท
- คนรวยเยอะหรือเปล่า?
ประมาณ 5-10% ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรของเขา 60 ล้านคน อย่างไรก็ตามคนรวย บ้านเขาดูลำบากกว่าบ้านเรา บ้านเราดูคนรวยจาก ระบบไฟแนนซ์ระบบธนาคาร แต่ในพม่าเก็บข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ คนมีเงินของพม่าส่วนใหญ่จะมีเงินเก็บ อยู่ต่างประเทศหมด เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ดูไบ แม้แต่เมืองไทย
- นำเข้ารถยนต์มากไหม?
สมัยก่อนถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่าแพงอันดับ 1 ใครมีรถคนนั้นคือเศรษฐี เช่น โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ราคาประมาณ 10 ล้านบาท ที่แพงเพราะโครงสร้างจำกัดการมีรถ ใครจะมีรถต้องขอใบอนุญาต ราคาใบละ 9,000 บาท แต่หลังจากปรับ โครงสร้าง มีการเลือกตั้งใหม่ระบบเหล่านี้โดนยกเลิก หมด ทุกคนที่มีฐานะมีรถได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตอนนี้เลยนำเข้ามากขึ้น จากราคาแพงๆ ลดลงมาเผลอๆ ถูกกว่าบ้านเรา แต่เนื่องจากคนพม่ายังนิยมของถูก รถ 90% จึงเป็นรถมือสองจากประเทศญี่ปุ่น อายุประมาณ 5-10 ปี ไม่มีระบบไฟแนนซ์ ทุกอย่างซื้อด้วยเงินสด พอรถยนต์เยอะขึ้นการจราจรก็มีปัญหา ซึ่งกฎจราจรบ้านเขา ค่อนข้างแตกต่างจากบ้านเรา ประเด็นที่ 1 คนไม่กลัวรถ เวลาที่เราขับรถในเมือง อยู่ดีๆ คน ก็เดินข้ามถนน รถต้องหยุด ประเด็นที่ 2 บ้านเราขับรถชิดซ้าย พอถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด เพื่อไม่ให้กีดขวางทางจราจร พม่าขับชิดขวา แต่พอถึงทางเลี้ยวขวาไม่ผ่านตลอด ต้องรอไฟเขียว เป็นเหตุให้รถติด อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ เวลาคุณไปย่างกุ้งจะไม่เห็นมอเตอร์ไซค์ เนื่อง จากสมัยก่อนมอเตอร์ไซค์กวนเมือง รัฐบาลจึงออกกฎหมายห้ามขับมอเตอร์ไซค์ในย่างกุ้ง ทุกวันนี้ยังห้ามอยู่
- มีคอนวีเนี่ยนสโตร์หรือเปล่า?
ยังไม่มี ส่วนใหญ่เป็นโชห่วย การเปิดร้าน แบบ 7-11 หรือ แฟมิลี่มาร์ท ยังไม่ได้เพราะระบบ ลอจิสติกส์ยังไม่สมบูรณ์ และระบบกระแสไฟฟ้ายังไม่เสถียร ไฟฟ้าเข้าถึงเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ เนื่องจากคนยังไม่มีเงินจ่ายค่าไฟฟ้า รายได้ยังไม่ดี ชาวบ้านหลายพื้นที่ยังใช้เทียนและตะเกียง
- ระบบธนาคารเป็นยังไง?
มีทั้งหมด 17 แห่ง เป็นของรัฐบาล 3 แห่ง ที่เหลือเป็นของเอกชนชาวพม่า เขายังไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้าไปตั้งสาขา แต่อนาคต คงต้องเปลี่ยนเพื่อรองรับเออีซี แต่ทุกวันนี้ที่ไม่อนุญาตเพราะคนท้องถิ่นยังไม่แข็งแรงพอต่อการแข่งขัน ถ้าเขาปล่อยให้ต่างชาติเข้าไปก็จะไปเอาเปรียบคนท้องถิ่น จึงต้องทำให้คนท้องถิ่นแข็งแรงก่อน
- การลงทุนของไทยในพม่าติดท็อปเทนหรือเปล่า?
เวลาเราสำรวจข้อมูลการลงทุนในพม่าปรากฏว่ามูลค่าการลงทุนของไทยติดอันดับ 1 อันดับ 2 ผมมองว่ามีธุรกิจเดียวที่ทำให้มูลค่า สูงคือการลงทุนของ ปตท. แต่ถ้ามองภาพรวมแล้วยังสู้จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไม่ได้ อย่าง ไรก็ตาม นักธุรกิจไทยจำนวนหนึ่งก็ลงทุนในนามคนท้องถิ่น คือใช้นอมินี เนื่องจากกฎระเบียบของ เขาให้สิทธิประโยชน์กับคนท้องถิ่นมากกว่า เช่น เรื่องระบบการเสียภาษี ใช้ไฟฟ้าราคาถูกกว่า ทำ ให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งเข้าไปลงทุนโดยใช้คนท้องถิ่นเป็นนอมินี วันนี้อาจจะดีขึ้นมาบ้าง แต่ในทางปฏิบัติยังมีความแตกต่างอยู่
- จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงไหม?
เขามีแพลนอยู่แล้ว เพราะญี่ปุ่นวางแนว ทางให้แล้ว โดยญี่ปุ่นจะขายรถไฟของตัวเองที่มีอายุ 5-10 ปีให้กับพม่า ได้กำไรสองต่อ คือขาย ให้พม่า และได้เข้าไปลงทุนโครงสร้างรถไฟความ เร็วสูงในพม่าด้วย
- ความประทับใจในพม่า?
พม่ามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนไทย คนพม่าจึงรู้สึกสนิทสนมกับคนไทย ผมมองว่าผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสนี้เข้าไปลงทุนในพม่า แต่ต้องจริงใจ ไม่ใช่ฉาบฉวย
- อนาคตพม่าจะไล่ตามไทยทันหรือเปล่า?
ถ้าการเมืองไทยยังเป็นแบบนี้ ไม่เกิน 15 ปี ตามทันแน่นอน
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น