ความเป็นกังวลร่วมกันของอาเซียนในประเด็นความขัดแย้งในเขตทะเลจีนใต้นี้ จะเห็นเริ่มแรกมาจากมีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นต่อการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี แถลงการณ์ดังกล่าวนี้ มีออกมาจากการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1992 คือ "แถลงการณ์อาเซียนเรื่องทะเลจีนใต้"
แถลงการณ์ดังกล่าวนี้ กล่าวย้ำถึง "ความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาบรรดาประเด็นเรื่องอันเกี่ยวกับอธิปไตยและเขตแดนอำนาจที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ โดยวิธีการอันสันติหลีกเลี่ยงการใช้กำลังต่อกัน และกระตุ้นเร้าให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามนี้"
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าวไปแล้ว ทางฝ่ายอาเซียนเองก็ยังไม่มั่นใจนักว่าทางปักกิ่งจะเห็นเป็นเรื่อง จริงจังแค่ไหน เพราะจะเห็นว่าปักกิ่งแสดงจุดยืนอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่เป็นไปด้วยกันเลย ระหว่างนโยบายของจีนที่ประกาศออกมากับการปฏิบัติจริงๆ ของฝ่ายจีน ต่อกรณีที่เป็น ปัญหาอยู่ในทะเลจีนใต้นี้
ตัวอย่างในกรณีนี้ จะเห็นได้จากการประชุม ARF ที่บรูไน ในปีค.ศ.1995 รมต.ต่างประเทศสร้างความประหลาดใจต่อที่ประชุม โดยประกาศยอมรับตราสารขององค์การสหประชาชาติ (รวมถึงกฎหมายทะเล) ให้เป็นพื้นฐานหลักในการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ ซึ่งนับว่าแหกธรรมเนียมจีนที่มีนโยบายกร้าวในการอ้างสิทธิเหนือเกาะต่างๆ บนพื้นฐานของ "สิทธิอันมีมาแต่ประวัติศาสตร์" (Histrionic right)
ในขณะเดียวกันนั่นเอง โฆษกของกระทรวงต่างประเทศของจีน ก็ประกาศว่าการอ้างสิทธิของจีนมีอธิปไตยเหนือเกาะแก่ง ต่างๆ และน่านน้ำที่ต่อเชื่อมกันนั้นเป็นสิ่งซึ่งบิดพลิ้วเป็นอื่นไปไม่ได้และยังปฏิเสธบทบาทของ ARF ในการพูดถึงประเด็นเหล่านี้
ถ้าติดตามดูให้ดีตลอดมาก็จะเห็นว่า บางครั้งนั้นจีนทำเมินเฉยต่อการเอ่ยอ้างสิทธิของฟิลิปปินส์และมาเลเซียในเขตแดน ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ มีช่วงหนึ่งที่ประธานาธิบดี คอราซอน อาคิโน ของฟิลิปปินส์ เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง เมื่อปีค.ศ. 1988 มีรายงานของฝ่ายจีนว่าจีนจะไม่โจมตีกองกำลังของฟิลิปปินส์ที่ตั้งอยู่บนเกาะสแปรตลีย์
อดีตนายกรัฐมนตรีของจีนท่านหนึ่ง คือ นาย หลี่ เผิง ซึ่งเคยเดินทางไปเยือนสิงคโปร์ ในปีค.ศ.1990 ก็กล่าวกับทางสิงคโปร์ว่า ฝ่ายจีนเต็มใจที่จะไม่นำเอาประเด็นเรื่องอธิปไตยมาพูด และยินดีร่วมมือกับบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอันที่จะให้มีโครงการพัฒนาร่วมกันขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายปักกิ่งก็ยังคงกล่าวอ้างสิทธิทางดินแดน โดยจะเห็นว่า ฝ่ายจีนได้ออกกฎหมายทะเลของตนขึ้นมาใหม่ฉบับหนึ่งในปีค.ศ.1992 ซึ่งตามกฎหมายนี้อ้างสิทธิทั้ง หมดเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ และตามกฎหมายนี้ยังเปิดให้ใช้กำลังได้ด้วย หากการอ้างสิทธิของจีนเหนือหมู่เกาะดังกล่าว ถูกละเมิดสิทธิขึ้นมา
จากการนำกฎหมายนี้มาใช้ ต่อมาก็จะเห็นว่าทางฝ่ายจีนได้ให้สัมปทานแก่บริษัทอเมริกันแห่งหนึ่ง เป็นสัญญาสามปีให้ทำการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตทะเลจีนใต้ในอาณาบริเวณ 60 กิโลเมตร จากฝั่งของเวียดนามเท่านั้นเอง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า จีนได้เข้าไปยึดหมู่เกาะที่เรียกว่า Mischief Reef (ที่เพิ่งมา รู้กันในปีค.ศ. 1995 นี้เอง)
เขตที่จีนยึดไปนี้เป็นเขตที่ฝ่ายฟิลิปปินส์อ้างสิทธิครอบครอง อยู่ การอ้างสิทธิของจีนจึงเท่ากับจีนปิดล้อมเขตแดนต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนกล่าวอ้างสิทธิไว้แต่แรกนั่นเอง
จากกรณีนี้เองที่นำไปสู่เหตุรุนแรงครั้งแรกที่เกิดขึ้นระหว่าง จีนกับประเทศอาเซียนในเดือนมีนาคม ค.ศ.1995 เมื่อกองเรือประมงของจีนยิงปืนเข้าใส่กองเรือนาวีของมาเลเซีย ในเขตน่านน้ำ ซึ่งมาเลเซียอ้างสิทธิครอบครองไว้ การสู้รบขนาดย่อยดังกล่าวยังมีต่อเนื่องในบริเวณ Mischief ที่ทางฟิลิปปินส์อ้างสิทธิครอบครองระหว่างกองเรือของจีนกับกองกำลังนาวีของฟิลิปปินส์
ทั้งมาเลเซียและฟิลิปปินส์นั้น มีกองกำลังทหารตั้งอยู่ที่หมู่เกาะสแปรตลีย์แล้ว ประธานาธิบดีรามอส ของฟิลิปปินส์ กล่าว เตือนว่า ความขัดแย้งนี้ กระตุ้นเร้าให้เกิดการแข่งขันกันด้านอาวุธ ขนาดเล็กในเขตแดนเอเชียแปซิฟิก ดังในกรณีของมาเลเซีย ซึ่งถือว่า สแปรตลีย์อยู่ในแผนป้องกันความมั่นคงของชาติ คือ ยกจากระดับสองขึ้นมาเป็นระดับ ซึ่งได้รับความสำคัญสูงสุดมาก อันเป็นผลตามมาจากการสู้รบทางทะเลระหว่างจีนกับเวียดนามในเดือนมีนาคม 1988 นั่นเอง
แม้กระนั้นก็ตาม อาเซียนก็ยังสามารถกล่าวอ้างได้ถึงผลสำเร็จบางอย่างในการข้องเกี่ยวกับจีน ในประเด็นปัญหาเกาะ สแปรตลีย์นี้ กล่าวคือเรื่องนี้นั้นทางฝ่ายจีนคัดค้านการนำประเด็นดังกล่าวจัดเป็นวาระเข้าสู่ที่ประชุม ARF แต่ทางฝ่ายอาเซียน ก็ยังสามารถทำความตกลงกับฝ่ายปักกิ่งในอันที่จะให้มีการปรึกษาหารือในกรอบพหุภาคีในประเด็นความมั่นคงต่อกัน รวมถึงเรื่องความขัดแย้งในเขตทะเลจีนใต้ด้วย
นอกเหนือจากนี้แล้ว ฝ่ายอาเซียนก็ยังสามารถนำเอาข้อ ตกลงกับจีนมาแสวงหาข้อยุติซึ่งทำให้ลุกยืนของจีนผ่อนคลาย ลง ด้วยการตกลงที่จะจัดการความขัดแย้งภายในกรอบของกฎหมายทะเลขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ.1982 และให้หลักประกันในเสรีภาพของราชนาวีในเขตน่านน้ำที่อ้างสิทธิต่อ กัน ความพยายามของอาเซียนจึงเท่ากับนำเอาประเด็นความ ขัดแย้งเข้าสู่ระบบการแก้ไขของนานาชาติ โดยวิถีทางการทูต และที่ทางปักกิ่งจะใช้อาวุธในการตัดสินความขัดแย้งต่อกัน
ความพยายามในการเจรจาเรื่อง "กฎจรรยาบรรณ" หรือ Code of Conduct นี้ เป็นไปอย่างเชื่องช้าอืดอาดมาก ข้อตกลงในกรอบทวิภาคีนั้นมีการสรุปร่วมกันระหว่างจีนกับเวียดนาม ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1993 ซึ่งผูกพันทั้งสองฝ่ายไม่ให้ใช้กำลัง และหลีกเลี่ยงต่อปฏิบัติการใดอันจะทำให้สถานการณ์เสื่อมทรามลง
คงต้องมาคุยต่อในสัปดาห์ต่อไปละครับ เนื้อที่หมดพอดี เสาร์หน้าผมจะสรุปเสียทีว่า ในบรรดาข้อตกลงทั้งหลายในทะเลจีนใต้ ระหว่างบรรดาประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งกับจีน ซึ่งมีรัฐในอาเซียน 4 ประเทศ อันได้แก่ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม (กับไต้หวันนอกอาเซียน) ว่ามันไม่ได้ผลอย่างไร
จีนไม่ได้ยอมรับ Code of Conduct ของอาเซียนเลยแต่อย่างใดและนี่เองที่เป็นปัญหาคาใจและค้างคาอยู่ในอาเซียนจนได้เกรงกันไปว่า ปัญหาทะเลจีนใต้ และมันจะกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่น่ากังวลยิ่งต่อไป
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------
แถลงการณ์ดังกล่าวนี้ กล่าวย้ำถึง "ความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาบรรดาประเด็นเรื่องอันเกี่ยวกับอธิปไตยและเขตแดนอำนาจที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ โดยวิธีการอันสันติหลีกเลี่ยงการใช้กำลังต่อกัน และกระตุ้นเร้าให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามนี้"
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าวไปแล้ว ทางฝ่ายอาเซียนเองก็ยังไม่มั่นใจนักว่าทางปักกิ่งจะเห็นเป็นเรื่อง จริงจังแค่ไหน เพราะจะเห็นว่าปักกิ่งแสดงจุดยืนอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่เป็นไปด้วยกันเลย ระหว่างนโยบายของจีนที่ประกาศออกมากับการปฏิบัติจริงๆ ของฝ่ายจีน ต่อกรณีที่เป็น ปัญหาอยู่ในทะเลจีนใต้นี้
ตัวอย่างในกรณีนี้ จะเห็นได้จากการประชุม ARF ที่บรูไน ในปีค.ศ.1995 รมต.ต่างประเทศสร้างความประหลาดใจต่อที่ประชุม โดยประกาศยอมรับตราสารขององค์การสหประชาชาติ (รวมถึงกฎหมายทะเล) ให้เป็นพื้นฐานหลักในการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ ซึ่งนับว่าแหกธรรมเนียมจีนที่มีนโยบายกร้าวในการอ้างสิทธิเหนือเกาะต่างๆ บนพื้นฐานของ "สิทธิอันมีมาแต่ประวัติศาสตร์" (Histrionic right)
ในขณะเดียวกันนั่นเอง โฆษกของกระทรวงต่างประเทศของจีน ก็ประกาศว่าการอ้างสิทธิของจีนมีอธิปไตยเหนือเกาะแก่ง ต่างๆ และน่านน้ำที่ต่อเชื่อมกันนั้นเป็นสิ่งซึ่งบิดพลิ้วเป็นอื่นไปไม่ได้และยังปฏิเสธบทบาทของ ARF ในการพูดถึงประเด็นเหล่านี้
ถ้าติดตามดูให้ดีตลอดมาก็จะเห็นว่า บางครั้งนั้นจีนทำเมินเฉยต่อการเอ่ยอ้างสิทธิของฟิลิปปินส์และมาเลเซียในเขตแดน ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ มีช่วงหนึ่งที่ประธานาธิบดี คอราซอน อาคิโน ของฟิลิปปินส์ เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง เมื่อปีค.ศ. 1988 มีรายงานของฝ่ายจีนว่าจีนจะไม่โจมตีกองกำลังของฟิลิปปินส์ที่ตั้งอยู่บนเกาะสแปรตลีย์
อดีตนายกรัฐมนตรีของจีนท่านหนึ่ง คือ นาย หลี่ เผิง ซึ่งเคยเดินทางไปเยือนสิงคโปร์ ในปีค.ศ.1990 ก็กล่าวกับทางสิงคโปร์ว่า ฝ่ายจีนเต็มใจที่จะไม่นำเอาประเด็นเรื่องอธิปไตยมาพูด และยินดีร่วมมือกับบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอันที่จะให้มีโครงการพัฒนาร่วมกันขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายปักกิ่งก็ยังคงกล่าวอ้างสิทธิทางดินแดน โดยจะเห็นว่า ฝ่ายจีนได้ออกกฎหมายทะเลของตนขึ้นมาใหม่ฉบับหนึ่งในปีค.ศ.1992 ซึ่งตามกฎหมายนี้อ้างสิทธิทั้ง หมดเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ และตามกฎหมายนี้ยังเปิดให้ใช้กำลังได้ด้วย หากการอ้างสิทธิของจีนเหนือหมู่เกาะดังกล่าว ถูกละเมิดสิทธิขึ้นมา
จากการนำกฎหมายนี้มาใช้ ต่อมาก็จะเห็นว่าทางฝ่ายจีนได้ให้สัมปทานแก่บริษัทอเมริกันแห่งหนึ่ง เป็นสัญญาสามปีให้ทำการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตทะเลจีนใต้ในอาณาบริเวณ 60 กิโลเมตร จากฝั่งของเวียดนามเท่านั้นเอง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า จีนได้เข้าไปยึดหมู่เกาะที่เรียกว่า Mischief Reef (ที่เพิ่งมา รู้กันในปีค.ศ. 1995 นี้เอง)
เขตที่จีนยึดไปนี้เป็นเขตที่ฝ่ายฟิลิปปินส์อ้างสิทธิครอบครอง อยู่ การอ้างสิทธิของจีนจึงเท่ากับจีนปิดล้อมเขตแดนต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนกล่าวอ้างสิทธิไว้แต่แรกนั่นเอง
จากกรณีนี้เองที่นำไปสู่เหตุรุนแรงครั้งแรกที่เกิดขึ้นระหว่าง จีนกับประเทศอาเซียนในเดือนมีนาคม ค.ศ.1995 เมื่อกองเรือประมงของจีนยิงปืนเข้าใส่กองเรือนาวีของมาเลเซีย ในเขตน่านน้ำ ซึ่งมาเลเซียอ้างสิทธิครอบครองไว้ การสู้รบขนาดย่อยดังกล่าวยังมีต่อเนื่องในบริเวณ Mischief ที่ทางฟิลิปปินส์อ้างสิทธิครอบครองระหว่างกองเรือของจีนกับกองกำลังนาวีของฟิลิปปินส์
ทั้งมาเลเซียและฟิลิปปินส์นั้น มีกองกำลังทหารตั้งอยู่ที่หมู่เกาะสแปรตลีย์แล้ว ประธานาธิบดีรามอส ของฟิลิปปินส์ กล่าว เตือนว่า ความขัดแย้งนี้ กระตุ้นเร้าให้เกิดการแข่งขันกันด้านอาวุธ ขนาดเล็กในเขตแดนเอเชียแปซิฟิก ดังในกรณีของมาเลเซีย ซึ่งถือว่า สแปรตลีย์อยู่ในแผนป้องกันความมั่นคงของชาติ คือ ยกจากระดับสองขึ้นมาเป็นระดับ ซึ่งได้รับความสำคัญสูงสุดมาก อันเป็นผลตามมาจากการสู้รบทางทะเลระหว่างจีนกับเวียดนามในเดือนมีนาคม 1988 นั่นเอง
แม้กระนั้นก็ตาม อาเซียนก็ยังสามารถกล่าวอ้างได้ถึงผลสำเร็จบางอย่างในการข้องเกี่ยวกับจีน ในประเด็นปัญหาเกาะ สแปรตลีย์นี้ กล่าวคือเรื่องนี้นั้นทางฝ่ายจีนคัดค้านการนำประเด็นดังกล่าวจัดเป็นวาระเข้าสู่ที่ประชุม ARF แต่ทางฝ่ายอาเซียน ก็ยังสามารถทำความตกลงกับฝ่ายปักกิ่งในอันที่จะให้มีการปรึกษาหารือในกรอบพหุภาคีในประเด็นความมั่นคงต่อกัน รวมถึงเรื่องความขัดแย้งในเขตทะเลจีนใต้ด้วย
นอกเหนือจากนี้แล้ว ฝ่ายอาเซียนก็ยังสามารถนำเอาข้อ ตกลงกับจีนมาแสวงหาข้อยุติซึ่งทำให้ลุกยืนของจีนผ่อนคลาย ลง ด้วยการตกลงที่จะจัดการความขัดแย้งภายในกรอบของกฎหมายทะเลขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ.1982 และให้หลักประกันในเสรีภาพของราชนาวีในเขตน่านน้ำที่อ้างสิทธิต่อ กัน ความพยายามของอาเซียนจึงเท่ากับนำเอาประเด็นความ ขัดแย้งเข้าสู่ระบบการแก้ไขของนานาชาติ โดยวิถีทางการทูต และที่ทางปักกิ่งจะใช้อาวุธในการตัดสินความขัดแย้งต่อกัน
ความพยายามในการเจรจาเรื่อง "กฎจรรยาบรรณ" หรือ Code of Conduct นี้ เป็นไปอย่างเชื่องช้าอืดอาดมาก ข้อตกลงในกรอบทวิภาคีนั้นมีการสรุปร่วมกันระหว่างจีนกับเวียดนาม ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1993 ซึ่งผูกพันทั้งสองฝ่ายไม่ให้ใช้กำลัง และหลีกเลี่ยงต่อปฏิบัติการใดอันจะทำให้สถานการณ์เสื่อมทรามลง
คงต้องมาคุยต่อในสัปดาห์ต่อไปละครับ เนื้อที่หมดพอดี เสาร์หน้าผมจะสรุปเสียทีว่า ในบรรดาข้อตกลงทั้งหลายในทะเลจีนใต้ ระหว่างบรรดาประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งกับจีน ซึ่งมีรัฐในอาเซียน 4 ประเทศ อันได้แก่ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม (กับไต้หวันนอกอาเซียน) ว่ามันไม่ได้ผลอย่างไร
จีนไม่ได้ยอมรับ Code of Conduct ของอาเซียนเลยแต่อย่างใดและนี่เองที่เป็นปัญหาคาใจและค้างคาอยู่ในอาเซียนจนได้เกรงกันไปว่า ปัญหาทะเลจีนใต้ และมันจะกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่น่ากังวลยิ่งต่อไป
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น