โดย ธีรภัทร เจริญสุข
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) นั้น หากไม่นับประเทศไทยแล้ว ยังต้องพึ่งพาเงินลงทุนทั้งแบบให้เปล่าและแบบมีเงื่อนไขจากต่างประเทศอยู่มาก การที่ต้องพึ่งพาแหล่งทุนต่างชาติ เป็นเหตุให้ความต่อเนื่องและยั่งยืนของการระดมทุนมีปัญหา หากนโยบายด้านเงินทุนของชาติต่างๆ ที่เข้ามาลงทุนหยุดชะงัก หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาค จึงพยายามจะก้าวออกจากระบบการเงินแบบสังคมนิยมเข้าสู่ตลาดพันธบัตร เพื่อระดมการลงทุนเป็นงบประมาณรายจ่ายภาครัฐโดยตรงโดยไม่ต้องรอเงินช่วยเหลือ เงินกู้แบบมีเงื่อนไขซึ่งผูกมัดรัฐบาลมากกว่าระบบการเงินเสรีในตลาดพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้นได้ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเป็นประเทศแรกโดยมีกระทรวงการคลังของประเทศไทยและบริษัททวินไพนส์คอนซัลแตนทส์เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนทางเทคนิคโดยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2013 มูลค่า 12 พันล้านบาท เป็นการออกพันธบัตรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีผู้จองซื้อพันธบัตร ได้แก่ สถาบันการเงินต่างชาติและนักลงทุนรายใหญ่มากกว่ามูลค่าพันธบัตรที่รัฐบาลลาวได้ออกไปถึง 3 เท่าตัว ทางรัฐบาลลาวซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาการเก็บภาษีได้ไม่ถึงเป้า จึงจำเป็นต้องออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเพื่อปิดช่องว่างการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้มูลค่ารวม3พันล้านบาทในอัตราดอกเบี้ย 4.7% ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปี และ 5.1% ต่อปี สำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี เนื่องจากรายจ่ายส่วนใหญ่ของรัฐบาลจ่ายเป็นสกุลเงินบาท และนักลงทุนต่างๆ ก็ทำการค้าในประเทศไทย ซึ่งสะดวกและทำธุรกรรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐหรือยูโรที่มีมาตรการทางการเงินที่เข้มงวดกว่า
อย่างไรก็ตามสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระดับโลกเช่นมูดี้ส์ฟิตช์เรตติ้งหรือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสกุลเงินบาทของลาวแต่อย่างใด (อยู่ในสถานะ Unrated Papers) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนสูง เพราะแม้ว่าลาวจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 7-8% ต่อเนื่องมากว่าสิบปี แต่ผลผลิตและการจัดเก็บรายได้ของรัฐนั้นยังต่ำกว่าเกณฑ์ และมีปัญหาคอร์รัปชั่นในองค์กรของรัฐที่หนักหน่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลลาวต้องแก้ไขก่อนจะก้าวเข้าสู่ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศ
การนำร่องออกพันธบัตรสกุลเงินบาทของลาวอาจเป็นช่องทางให้ประเทศเมียนมาร์และกัมพูชาสามารถทำตามเพื่อระดมเงินทุนในต้นทุนต่ำเพื่อพัฒนาประเทศในช่วงเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินสงเคราะห์ให้เปล่าหรือเงินกู้แบบมีเงื่อนไขเพื่อหลีกเลี่ยงพันธะผูกมัดในการสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติหรือการแก้ไขกฎหมายที่เสี่ยงต่อการแทรกแซงทางการเมืองจากต่างชาติในการนี้ประเทศไทยและสถาบันการเงินของไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางและตัวกลางทางการเงินและการลงทุนรวมถึงความเชื่อมั่นในสกุลเงินบาทที่จะกลายเป็นสกุลเงินหลักของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในที่สุด
เช่นเดียวกันกับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานตามแผนพ.ร.บ.สร้างอนาคตไทย2020ของรัฐบาลไทยที่มุ่งเน้นการกู้เงินผ่านธนาคารและพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินบาทเป็นหลัก เพื่อระดมทุนจากนักลงทุนภายในประเทศที่มีเงินออมสะสมส่วนเกินจำนวนมาก ซึ่งเมื่อระดมเงินทุนเพื่อการลงทุนเป็นสกุลเงินบาทแล้ว ก็สามารถลดความเสี่ยงการผันผวนของค่าเงินเมื่อสภาพเศรษฐกิจโลกและนโยบายของชาติมหาอำนาจทางการเงินเกิดความแปรปรวนได้ในระดับหนึ่งด้วย
พันธบัตรสกุลเงินบาทจึงอาจก้าวเข้ามามีบทบาทหลักในการกำหนดอนาคตด้านการเงินของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้หากภาครัฐและสถาบันการเงินของไทยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านสร้างมาตรฐานที่โปร่งใสและมั่นคงเอื้อต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาทั้งระบบการเงินและคุณภาพชีวิตของประชาชนไปพร้อมกัน
ที่มา : นสพ.มติชน
------------------------------------------
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) นั้น หากไม่นับประเทศไทยแล้ว ยังต้องพึ่งพาเงินลงทุนทั้งแบบให้เปล่าและแบบมีเงื่อนไขจากต่างประเทศอยู่มาก การที่ต้องพึ่งพาแหล่งทุนต่างชาติ เป็นเหตุให้ความต่อเนื่องและยั่งยืนของการระดมทุนมีปัญหา หากนโยบายด้านเงินทุนของชาติต่างๆ ที่เข้ามาลงทุนหยุดชะงัก หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาค จึงพยายามจะก้าวออกจากระบบการเงินแบบสังคมนิยมเข้าสู่ตลาดพันธบัตร เพื่อระดมการลงทุนเป็นงบประมาณรายจ่ายภาครัฐโดยตรงโดยไม่ต้องรอเงินช่วยเหลือ เงินกู้แบบมีเงื่อนไขซึ่งผูกมัดรัฐบาลมากกว่าระบบการเงินเสรีในตลาดพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้นได้ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเป็นประเทศแรกโดยมีกระทรวงการคลังของประเทศไทยและบริษัททวินไพนส์คอนซัลแตนทส์เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนทางเทคนิคโดยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2013 มูลค่า 12 พันล้านบาท เป็นการออกพันธบัตรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีผู้จองซื้อพันธบัตร ได้แก่ สถาบันการเงินต่างชาติและนักลงทุนรายใหญ่มากกว่ามูลค่าพันธบัตรที่รัฐบาลลาวได้ออกไปถึง 3 เท่าตัว ทางรัฐบาลลาวซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาการเก็บภาษีได้ไม่ถึงเป้า จึงจำเป็นต้องออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเพื่อปิดช่องว่างการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้มูลค่ารวม3พันล้านบาทในอัตราดอกเบี้ย 4.7% ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปี และ 5.1% ต่อปี สำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี เนื่องจากรายจ่ายส่วนใหญ่ของรัฐบาลจ่ายเป็นสกุลเงินบาท และนักลงทุนต่างๆ ก็ทำการค้าในประเทศไทย ซึ่งสะดวกและทำธุรกรรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐหรือยูโรที่มีมาตรการทางการเงินที่เข้มงวดกว่า
อย่างไรก็ตามสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระดับโลกเช่นมูดี้ส์ฟิตช์เรตติ้งหรือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสกุลเงินบาทของลาวแต่อย่างใด (อยู่ในสถานะ Unrated Papers) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนสูง เพราะแม้ว่าลาวจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 7-8% ต่อเนื่องมากว่าสิบปี แต่ผลผลิตและการจัดเก็บรายได้ของรัฐนั้นยังต่ำกว่าเกณฑ์ และมีปัญหาคอร์รัปชั่นในองค์กรของรัฐที่หนักหน่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลลาวต้องแก้ไขก่อนจะก้าวเข้าสู่ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศ
การนำร่องออกพันธบัตรสกุลเงินบาทของลาวอาจเป็นช่องทางให้ประเทศเมียนมาร์และกัมพูชาสามารถทำตามเพื่อระดมเงินทุนในต้นทุนต่ำเพื่อพัฒนาประเทศในช่วงเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินสงเคราะห์ให้เปล่าหรือเงินกู้แบบมีเงื่อนไขเพื่อหลีกเลี่ยงพันธะผูกมัดในการสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติหรือการแก้ไขกฎหมายที่เสี่ยงต่อการแทรกแซงทางการเมืองจากต่างชาติในการนี้ประเทศไทยและสถาบันการเงินของไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางและตัวกลางทางการเงินและการลงทุนรวมถึงความเชื่อมั่นในสกุลเงินบาทที่จะกลายเป็นสกุลเงินหลักของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในที่สุด
เช่นเดียวกันกับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานตามแผนพ.ร.บ.สร้างอนาคตไทย2020ของรัฐบาลไทยที่มุ่งเน้นการกู้เงินผ่านธนาคารและพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินบาทเป็นหลัก เพื่อระดมทุนจากนักลงทุนภายในประเทศที่มีเงินออมสะสมส่วนเกินจำนวนมาก ซึ่งเมื่อระดมเงินทุนเพื่อการลงทุนเป็นสกุลเงินบาทแล้ว ก็สามารถลดความเสี่ยงการผันผวนของค่าเงินเมื่อสภาพเศรษฐกิจโลกและนโยบายของชาติมหาอำนาจทางการเงินเกิดความแปรปรวนได้ในระดับหนึ่งด้วย
พันธบัตรสกุลเงินบาทจึงอาจก้าวเข้ามามีบทบาทหลักในการกำหนดอนาคตด้านการเงินของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้หากภาครัฐและสถาบันการเงินของไทยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านสร้างมาตรฐานที่โปร่งใสและมั่นคงเอื้อต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาทั้งระบบการเงินและคุณภาพชีวิตของประชาชนไปพร้อมกัน
ที่มา : นสพ.มติชน
------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น