วันนี้จะสรุปจบเรื่องความขัดแย้งเรื่องการอ้างสิทธิครอบครองเหนือเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลจีนใต้เสียที ผมตั้งชื่อเรื่องนี้ไว้ว่า มันเป็นหอกข้างแคร่ของอาเซียนเพราะดูท่าว่าความขัดแย้งแย่งชิงกันเองในระหว่างสมาชิกของอาเซียน ด้วยกันเอง ซึ่งมี บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กับเวียดนาม กับจีน (มีไต้หวันรวมอยู่ด้วยแต่ไต้หวันไม่ได้อยู่ในอาเซียน) นับเป็นจุดสะดุดหนึ่งของเสาหลักเรื่องความมั่นคงของประชาคมอาเซียน
คือถ้าเป็นความขัดแย้งกันเองในอาเซียน การเจรจาทำความตกลงกันอย่างสันติ และหันมาร่วมมือสร้างโครงการพัฒนาร่วมกันขึ้นมา อย่างเช่น โครงการพัฒนาร่วมกันเรื่องแหล่งน้ำมันระหว่างไทยกับมาเลเซีย หรือที่อาจเป็นไปได้ระหว่างไทยกับกัมพูชา ในเขตพื้นที่ทับซ้อนในเขตทะเลของสองประเทศ การตกลงกันในอาเซียนก็น่าจะง่ายกว่าและตกลงกันได้มากกว่าที่จะค้างคา และตกลงอะไรกันไม่ไปถึงไหนเลย ระหว่างคู่กรณีในอาเซียนกับจีน
ที่จริงเคยคุยให้ฟังก่อนหน้านี้มาบ้างแล้ว ถึงความขัดแย้งต่างๆ ในระหว่างอาเซียนด้วยกัน ซึ่งกลายเป็นเหตุบาดหมาง ทางใจในประวัติศาสตร์ (Historical antagonism) ต่อกันตลอดมา แต่ก็จะเห็นว่าในระหว่างอาเซียนด้วยกันนั้นยังไม่เคยรบราต่อกันถึงขั้นทำสงครามต่อกันเลยตั้งแต่ก่อตั้งเป็นอาเซียนขึ้นมา
หอกข้างแคร่อาเซียนที่ผมพูดถึงสองหอกด้วยกันที่จะทิ่มแทงอาเซียน หอกหนึ่งคือหอกที่เป็นความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์จากลุ่มแม่น้ำโขง ในระหว่างประเทศอาเซียน 5 ประเทศ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของอาเซียนกับอีกหอกหนึ่ง คือความขัดแย้ง ในทะเลจีนใต้ ซึ่งทั้งสองหอก ทั้งสองความขัดแย้งล้วนมีประเทศ สมาชิกในอาเซียนเป็นคู่กรณีกับจีนทั้งสิ้น
ความขัดแย้งทั้งสองด้านนี้เองที่ผมว่า คือหอกข้างแคร่ของอาเซียนต่อความพยายามในวิวัฒนาการของอาเซียนสู่เสาหลักเรื่องประชาคมความมั่นคงของอาเซียน เป็นสิ่งท้าทายที่ว่า ประ-ชาคมความมั่นคงของอาเซียน หรือประชาคมอาเซียนโดยรวมนั้น มันจะเป็นแต่จินตนาการหรือเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น (Imagine or Virtual)
อาเซียนมีบรรทัดฐานที่สร้างขึ้นต่อแนวประพฤติปฏิบัติ ต่อกันในอาเซียน หรือกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ซึ่งได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง และบางครั้งบรรทัดฐานเหล่านั้นก็แก้ปัญหาในอาเซียนไม่ได้ ต้องนำเอากลไกนอกอาเซียนมาแก้ปัญหาให้ เช่น ศาลโลก อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กฎหมายทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ.1982 ในกรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้นี้ก็ตาม
กฎจรรยาบรรณในทะเลจีนใต้ที่ประกาศร่วมกันออกนั้น สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าจีนมองเห็นว่าจะต้องโอนอ่อนผ่อนตามคำประกาศนี้ เพราะการใช้การเผชิญหน้าทางทหาร ในกรณีความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลี่ย์นั้นไม่ก่อประโยชน์ให้กับผลประโยชน์ของจีนแต่อย่างใด
อีกประการหนึ่งที่จีนเห็นอาการอันเอนเอียงยอมรับประกาศ กฎจรรยาบรรณในทะเลจีนใต้มากขึ้นของจีนนั้น อาจเกิดจากจีนพอใจต่อคำประกาศนี้ ที่ไม่เอาไต้หวันเข้ามารวมเป็นคู่กรณีด้วย ข้อนี้น่าคิดได้ว่ามีส่วนทำให้จีนยอมรับและรับรองประกาศฉบับนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2002 และยังคิดได้ว่าคำประกาศของฝ่ายอาเซียนเช่นนี้ ประหนึ่งอาเซียนยอมรับนโยบายจีนเดียว ของฝ่ายจีนก็เป็นได้โดยปริยาย
มีข้อถกเถียงโต้แย้งเช่นกันว่า การที่จีนยอมลดจุดยืนเรื่องหมู่เกาะสแปรตลี่ย์ลงไปบ้างนี้ เป็นเรื่องของยุทธวิธีของจีนในช่วง ที่จีนมีประเด็นของไต้หวัน ที่เป็นข้อกังวลต้องจัดการอยู่ การปล่อยวางเรื่องทางอาเซียนจะทำให้จีนมีเวลาจัดการกับเรื่องไต้หวันได้มากขึ้น นักยุทธศาสตร์ของจีนบอกว่า เหอะ! เมื่อไรที่จีนจัดการเรื่องไต้หวันเรียบร้อยแล้ว จีนก็จะหันมาจัดการเรื่องของทะเลจีนใต้อีก
เคยเขียนไว้ที่ไหนสักแห่งว่า สำหรับจีนแล้วเรื่องการเมืองในประเทศ เรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ และเรื่องเขตแดนของจีน ใครอย่ามาแตะต้องเชียว จีนไม่ยอมและพูดย้ำอยู่เสมอว่าจะ "บิดพลิ้วเป็นอื่นไปไม่ได้" เช่นเดียวกับการอ้างสิทธิครอบครองทะเล จีนใต้ทั้งหมดของจีน ซึ่งในที่สุดจีนไม่ปล่อยไปง่ายๆ หรอก และจะกลับมาจัดการเขตแดนของจีนในทะเลจีนใต้อีกแน่นอน
นี่ไงที่ผมบอกว่า มันจะยังเป็นหอกข้างแคร่ของอาเซียน
นักวิชาการและนักยุทธศาสตร์ทางทหารของจีน พูดถึงกรณีของเขตทะเลจีนใต้นี้ว่า มีอยู่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการที่จีนลดหรือละความพยายามชั่วคราว ไม่ให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในเขตทะเลจีนใต้ 3 ปัจจัยที่ว่านี้ คือ
1) ความประมาทของจีน ต่อการต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศอาเซียน
2) มีความจำเป็นที่จะต้องเน้นความสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลต่อเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องไต้หวัน เป็นต้น
3) จีนต้องการหลีกเลี่ยงการแทรกแซงของฝ่ายที่สาม (ซึ่งหมายถึงสหรัฐฯ นั่นเอง) ที่จะเข้ามาแสวงประโยชน์จากความขัดแย้งเหล่านี้
แน่นอนในฝ่ายทหารของจีน ย่อมจะไม่ชอบใจนักกับการตัดสินใจของระดับการเมืองระดับสูง กับการหยุดชะลอไม่จัดการกับความขัดแย้ง และชะงักการขยายเขตแดนของจีน จุดยืนปัจจุบันของจีนนั้นดูเหมือนว่าจีนจะไม่เป็นคนแรกที่เริ่มต้นใช้กำลังในกรณีทะเลจีนใต้ และจะใช้ก็แต่เมื่อถูกยั่วยุให้ต้องตอบโต้เท่านั้น การสงครามใหญ่คงไม่มี แต่การใช้กำลัง กันปราบปรามคงหนีไม่พ้น
ในที่สุด น่าจะเห็นกันได้ว่า ภูมิหลังของเรื่องอันเกิดความ ขัดแย้งในทะเลจีนใต้ดังกล่าวเหล่านี้ กลายเป็นเรื่องกดดัน กลายเป็นเรื่องอันท้าทายต่อการจัดระเบียบของภูมิภาค (Regional Order) ของทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจีน หรือประเทศในอาเซียนที่ต่างก็กล่าวอ้างเรียกร้องสิทธิของตนเหนือ เขตแดนหมู่เกาะในทะเลจีนใต้
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้นี้จะยังคงดำรงอยู่ เป็นดั่งหนึ่ง หอกข้างแคร่ของประชาคมความมั่นคงของอาเซียน ที่อาจ มองเห็นความคุกรุ่นรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะข้อกล่าวอ้างต่างก็ยืนยันขันแข็งไม่ยอมกัน แม้กระนั้นก็หวังกันว่า กฎจรรยาบรรณทะเลจีนใต้ที่สร้างขึ้นและยอมรับร่วมกันนี้จะตกลงกันได้ สารสู่สำนึกของการสร้างความมั่นคงของภูมิภาคขึ้น ในที่สุด
เฮ้อ! หวังกันไป เหนื่อย จบเรื่องนี้เท่านี้ละครับ
ที่มา.สยามธุรกิจ
---------------------------------
คือถ้าเป็นความขัดแย้งกันเองในอาเซียน การเจรจาทำความตกลงกันอย่างสันติ และหันมาร่วมมือสร้างโครงการพัฒนาร่วมกันขึ้นมา อย่างเช่น โครงการพัฒนาร่วมกันเรื่องแหล่งน้ำมันระหว่างไทยกับมาเลเซีย หรือที่อาจเป็นไปได้ระหว่างไทยกับกัมพูชา ในเขตพื้นที่ทับซ้อนในเขตทะเลของสองประเทศ การตกลงกันในอาเซียนก็น่าจะง่ายกว่าและตกลงกันได้มากกว่าที่จะค้างคา และตกลงอะไรกันไม่ไปถึงไหนเลย ระหว่างคู่กรณีในอาเซียนกับจีน
ที่จริงเคยคุยให้ฟังก่อนหน้านี้มาบ้างแล้ว ถึงความขัดแย้งต่างๆ ในระหว่างอาเซียนด้วยกัน ซึ่งกลายเป็นเหตุบาดหมาง ทางใจในประวัติศาสตร์ (Historical antagonism) ต่อกันตลอดมา แต่ก็จะเห็นว่าในระหว่างอาเซียนด้วยกันนั้นยังไม่เคยรบราต่อกันถึงขั้นทำสงครามต่อกันเลยตั้งแต่ก่อตั้งเป็นอาเซียนขึ้นมา
หอกข้างแคร่อาเซียนที่ผมพูดถึงสองหอกด้วยกันที่จะทิ่มแทงอาเซียน หอกหนึ่งคือหอกที่เป็นความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์จากลุ่มแม่น้ำโขง ในระหว่างประเทศอาเซียน 5 ประเทศ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของอาเซียนกับอีกหอกหนึ่ง คือความขัดแย้ง ในทะเลจีนใต้ ซึ่งทั้งสองหอก ทั้งสองความขัดแย้งล้วนมีประเทศ สมาชิกในอาเซียนเป็นคู่กรณีกับจีนทั้งสิ้น
ความขัดแย้งทั้งสองด้านนี้เองที่ผมว่า คือหอกข้างแคร่ของอาเซียนต่อความพยายามในวิวัฒนาการของอาเซียนสู่เสาหลักเรื่องประชาคมความมั่นคงของอาเซียน เป็นสิ่งท้าทายที่ว่า ประ-ชาคมความมั่นคงของอาเซียน หรือประชาคมอาเซียนโดยรวมนั้น มันจะเป็นแต่จินตนาการหรือเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น (Imagine or Virtual)
อาเซียนมีบรรทัดฐานที่สร้างขึ้นต่อแนวประพฤติปฏิบัติ ต่อกันในอาเซียน หรือกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ซึ่งได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง และบางครั้งบรรทัดฐานเหล่านั้นก็แก้ปัญหาในอาเซียนไม่ได้ ต้องนำเอากลไกนอกอาเซียนมาแก้ปัญหาให้ เช่น ศาลโลก อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กฎหมายทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ.1982 ในกรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้นี้ก็ตาม
กฎจรรยาบรรณในทะเลจีนใต้ที่ประกาศร่วมกันออกนั้น สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าจีนมองเห็นว่าจะต้องโอนอ่อนผ่อนตามคำประกาศนี้ เพราะการใช้การเผชิญหน้าทางทหาร ในกรณีความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลี่ย์นั้นไม่ก่อประโยชน์ให้กับผลประโยชน์ของจีนแต่อย่างใด
อีกประการหนึ่งที่จีนเห็นอาการอันเอนเอียงยอมรับประกาศ กฎจรรยาบรรณในทะเลจีนใต้มากขึ้นของจีนนั้น อาจเกิดจากจีนพอใจต่อคำประกาศนี้ ที่ไม่เอาไต้หวันเข้ามารวมเป็นคู่กรณีด้วย ข้อนี้น่าคิดได้ว่ามีส่วนทำให้จีนยอมรับและรับรองประกาศฉบับนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2002 และยังคิดได้ว่าคำประกาศของฝ่ายอาเซียนเช่นนี้ ประหนึ่งอาเซียนยอมรับนโยบายจีนเดียว ของฝ่ายจีนก็เป็นได้โดยปริยาย
มีข้อถกเถียงโต้แย้งเช่นกันว่า การที่จีนยอมลดจุดยืนเรื่องหมู่เกาะสแปรตลี่ย์ลงไปบ้างนี้ เป็นเรื่องของยุทธวิธีของจีนในช่วง ที่จีนมีประเด็นของไต้หวัน ที่เป็นข้อกังวลต้องจัดการอยู่ การปล่อยวางเรื่องทางอาเซียนจะทำให้จีนมีเวลาจัดการกับเรื่องไต้หวันได้มากขึ้น นักยุทธศาสตร์ของจีนบอกว่า เหอะ! เมื่อไรที่จีนจัดการเรื่องไต้หวันเรียบร้อยแล้ว จีนก็จะหันมาจัดการเรื่องของทะเลจีนใต้อีก
เคยเขียนไว้ที่ไหนสักแห่งว่า สำหรับจีนแล้วเรื่องการเมืองในประเทศ เรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ และเรื่องเขตแดนของจีน ใครอย่ามาแตะต้องเชียว จีนไม่ยอมและพูดย้ำอยู่เสมอว่าจะ "บิดพลิ้วเป็นอื่นไปไม่ได้" เช่นเดียวกับการอ้างสิทธิครอบครองทะเล จีนใต้ทั้งหมดของจีน ซึ่งในที่สุดจีนไม่ปล่อยไปง่ายๆ หรอก และจะกลับมาจัดการเขตแดนของจีนในทะเลจีนใต้อีกแน่นอน
นี่ไงที่ผมบอกว่า มันจะยังเป็นหอกข้างแคร่ของอาเซียน
นักวิชาการและนักยุทธศาสตร์ทางทหารของจีน พูดถึงกรณีของเขตทะเลจีนใต้นี้ว่า มีอยู่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการที่จีนลดหรือละความพยายามชั่วคราว ไม่ให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในเขตทะเลจีนใต้ 3 ปัจจัยที่ว่านี้ คือ
1) ความประมาทของจีน ต่อการต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศอาเซียน
2) มีความจำเป็นที่จะต้องเน้นความสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลต่อเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องไต้หวัน เป็นต้น
3) จีนต้องการหลีกเลี่ยงการแทรกแซงของฝ่ายที่สาม (ซึ่งหมายถึงสหรัฐฯ นั่นเอง) ที่จะเข้ามาแสวงประโยชน์จากความขัดแย้งเหล่านี้
แน่นอนในฝ่ายทหารของจีน ย่อมจะไม่ชอบใจนักกับการตัดสินใจของระดับการเมืองระดับสูง กับการหยุดชะลอไม่จัดการกับความขัดแย้ง และชะงักการขยายเขตแดนของจีน จุดยืนปัจจุบันของจีนนั้นดูเหมือนว่าจีนจะไม่เป็นคนแรกที่เริ่มต้นใช้กำลังในกรณีทะเลจีนใต้ และจะใช้ก็แต่เมื่อถูกยั่วยุให้ต้องตอบโต้เท่านั้น การสงครามใหญ่คงไม่มี แต่การใช้กำลัง กันปราบปรามคงหนีไม่พ้น
ในที่สุด น่าจะเห็นกันได้ว่า ภูมิหลังของเรื่องอันเกิดความ ขัดแย้งในทะเลจีนใต้ดังกล่าวเหล่านี้ กลายเป็นเรื่องกดดัน กลายเป็นเรื่องอันท้าทายต่อการจัดระเบียบของภูมิภาค (Regional Order) ของทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจีน หรือประเทศในอาเซียนที่ต่างก็กล่าวอ้างเรียกร้องสิทธิของตนเหนือ เขตแดนหมู่เกาะในทะเลจีนใต้
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้นี้จะยังคงดำรงอยู่ เป็นดั่งหนึ่ง หอกข้างแคร่ของประชาคมความมั่นคงของอาเซียน ที่อาจ มองเห็นความคุกรุ่นรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะข้อกล่าวอ้างต่างก็ยืนยันขันแข็งไม่ยอมกัน แม้กระนั้นก็หวังกันว่า กฎจรรยาบรรณทะเลจีนใต้ที่สร้างขึ้นและยอมรับร่วมกันนี้จะตกลงกันได้ สารสู่สำนึกของการสร้างความมั่นคงของภูมิภาคขึ้น ในที่สุด
เฮ้อ! หวังกันไป เหนื่อย จบเรื่องนี้เท่านี้ละครับ
ที่มา.สยามธุรกิจ
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น