โดย : ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
ธเนศ. ระบุล้มรัฐบาลอียิปต์ ต่างฝายต่างอ้างประชาชน แต่เมืองไทยเสื้อแดงอยู่ในที่มั่นสนามกีฬาราชมังคลาฯไม่น่าเป็นห่วง ถ้าออกมา2กลุ่มอาจปะทะได้
นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสิ่งที่เรียกว่าม็อบ มันสามารถที่จะสร้างแรงกดดันไปจนถึงขนาดให้รัฐบาลต้องยอมได้ ประชาชนจะก็ต้องออกมาเยอะมากตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ พฤษภาทมิฬ แล้วก็กระจายไปคลุมพื้นที่ พอมวลชนเคลื่อนไปจนเกิดการกระทบกระทั่งกับฝ่ายความมั่นคงที่ดูแลสถานการณ์
หากประเมินมวลชนการเคลื่อนไหวยุทธศาสตร์ของแกนนำม็อบราชดำเนินจากสื่อที่รายงานภายใต้การแบ่งขั้วเลือกข้างของสื่อที่ค่อนข้างชัดเจน ทั้งวิทยุโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต ก็แบ่งเป็น 2-3 กลุ่ม ไม่รวมศูนย์เหมือนเหตุการณ์ทางการเมืองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเหมือนที่ผ่านๆมา เพระฉะนั้นถ้าสื่อไม่รวมศูนย์แบบนี้การระดมคนออกมาแบบเหตุการณ์ 14ตุลาหรือพฤษภาททมิฬ ไม่น่าจะได้ถึงขนาดนั้น ในอดีตทุกสื่อทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยกับฝ่ายผู้ชุมนุมหมด แต่คราวนี้เห็นด้วย 30-40เปอร์เซ็น ไม่เห็นด้วยประมาณ 40-50 เปอร์เซ็น มีกลางๆอยู่ประมาณ 10-20เปอร์เซ็น เพราะฉะนั้นไม่น่าจะเป็นเอกฉันท์ ทางแกนนำม็อบราชดำเนินต้องขนออกมาอย่างจริงจัง จึงจะได้มวลชนออกมาเป็นล้านอย่างที่ได้ประกาศไว้ โดยจะให้คนเดินทางแบบที่พันธมิตรทำก็ไม่น่าจะได้ถึงขนาดนั้น
ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีเอกภาพถึงขนาดที่ว่าจะเกิดพลังมหาศาลขนาดนั้น เมื่อไม่ได้ ก็ต้องสร้างสถานการณ์ หลายม็อบที่ต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ ถ้าหากมีการเคลื่อนไหวมวลชนก็อาจจะมีความชุลมุนพอสมควร จุดสุดท้ายก็ยังคงประเมินไม่ได้ว่าจะนำไปสู่การปะทะเพื่อสร้างเงื่อนไขหรือไม่ ขณะนี้ทุกฝ่ายอาศัยเงื่อนไขที่พอได้เปรียบก็ใช้ตรงนั้นเลย มาถึงตรงนี้มองได้ว่าทางแกนนำม็อบราชดำเนินไม่ยอมลงแล้ว เพราะคิดว่ามีมวลชนแล้วมีความได้เปรียบแล้ว ก็ต้องดูว่าใครจะอึดกว่ากัน
ขณะเดียวกันฝ่ายของกลุ่มคนเสื้อแดงเองก็ต้องปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งถูกโจมตีมากในขณะนี้ ตอนนี้ชัดเจนมากว่า ทั้งสภาก็ผูกกับศาลรัฐธรรมนูญที่ลงมติแล้วว่าการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปปช.ก็เตรียมจะเล่นงาน พรรคฝ่ายค้านก็ระดมมวลชนต่อต้าน รัฐบาลตอนนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ รัฐบาลก็มีทางเดียวคือต้องประกาศให้รู้ว่าการกระทำของฝ่ายค้านและม็อบราชดำเนินไม่ใช่มติของคนทั้งประเทศ เป็นเพียงมติของคนที่คัดค้านรัฐบาลเท่านั้น รัฐบาลเองก็ต้องอาศัยทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งก็สามารถระดมมวลชนออกมาเป็นล้านได้เช่นเดียวกัน เสื้อแดงก็ต้องออกมาเหมือนกัน ซึ่งเป็นหมากที่ถูกบีบให้ต้องเดินแบบนั้น อย่างไรก็ตามหากเสื้อแดงไม่ออกนอกสถานที่ชุมนุมไม่เดินออกจากราชมังคลากีฬาสถาน ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่าทางฝ่ายเสื้อแดงที่สนับสนุนรัฐบาลเองก็มีมวลชนเช่นเดียวกัน อย่างอยู่ในที่มั่นไม่ออกมาก็ไม่มีอะไร
ประชาธิปไตยในโลกที่สามยกตัวอย่าง อียิปต์ ต่างฝายต่างอ้างประชาชน และฝ่ายที่ล้มรัฐบาลมอซี่ มีประชาชนจำนวนมาก ที่ออกมาในระดับ10-15ล้านคน ในฝ่ายมุสลิมภารดรภาพก็มีระดับ 10 ล้านเช่นเดียวกัน ปรากฏการณ์ลักษณะแบบนี้จะเริ่มมีให้เห็นบ่อยขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาว่าแล้วใครคือประชาชนตัวจริง เพราะว่าตอนนี้ทุกฝ่ายก็มีประชาชนหมดแล้ว
ทางออกหรือวิธีการที่ง่ายที่สุดและในอดีตก็เคยใช้กันมาก็คือฝ่ายนำของแต่ละฝ่ายต้องเจรจากัน จะเจรจาเงียบๆ หรือเปิดเผยผ่านตัวกลาง ก็ต้องทำ หากจะสู้ฝ่ายประท้วงต้องยืนยันว่านายทุนของคุณจะยืนหยัดให้คุณทุกอย่าง จะให้ทุกอย่างหรือไม่ ถ้าหากว่ายังไม่เลิก ซึ่งจริงๆแล้วรัฐบาลมีความได้เปรียบถ้าต่างฝ่ายต่างสู้กัน เพียงแค่ต้องคุมกองทัพไม่ให้แตกแถวแค่นั้นเอง ถ้าหากว่าคุณสามารถสั่งฝ่ายความมั่นคง สั่งตำรวจสั่งกองทัพได้ ก็ได้เปรียบอยู่แล้ว
ตอนนี้มวลชนได้แยกออกเป็นสองฝ่ายชัดเจนซึ่งมันจะไม่เหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่มวลชนแห่ไปฝ่ายเดียว คือฝ่ายประชาชนแต่ตอนนี้มีประชาชนสองฝ่าย เพราะฉะนั้นถ้าหากปะทะกันแล้ว ประชาชน ที่จะมาร่วมก็ต้องแบ่งกันออกไป เพราะฉะนั้นจะไม่มีชนะเด็ดขาดด้วยการใช้กำลังแบบประชาชนในแบบอดีต จะกลายเป็นสงครามกลางเมืองไปในที่สุด ที่ต่างฝ่ายต่างระดมกันเข้ามา เพื่อที่จะปะทะกับอีกฝ่าย
ถ้ามองแบบนี้แล้ว ทางฝ่ายที่ประท้วงจึงไม่น่าจะเดินหน้าเพราะก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะมีมวลชนมาเพิ่มจำนวนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ใช่ว่าคนจะแห่มายอมตายด้วยทั้งหมด ม็อบครึ่งหนึ่งก็ต้องกลับบ้านถ้าหากมีสถานการณ์รุนแรงเกิดขึ้น อย่างคนที่มาม็อบต้องการถ่ายรูปก็แค่ต้องการมาถ่ายรูปเท่านั้นไม่ได้มาเพื่อโดนแก็สน้ำตา ตอนนั้นคนพวกนั้นก็คงกลับบ้านหมด เพราะไม่ใช่มวลชนพื้นฐาน เพราะฉะนั้นเขาคงต้องคิดหาทางที่จะหยุดหรือที่จะลงเพราะถ้าหากหวังปะทะแล้วชนะ คือคุณประเมินเกินความเป็นจริงไปมาก แต่ถ้าหากประเมินเช่นนั้นแสดงว่าคุณต้องมีอะไรอยู่ในมือ ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่ามีอะไรในมือหรือไม่
แต่ถ้าให้คาดการณ์ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมีมากกว่าที่เห็น สิ่งที่คิดว่าทางแกนนำม็อบราชดำเนินรอในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา คือ คำสั่งยุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจะจบไปเลย แต่สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุบพรรค ทางพรรคประชาธิปัตย์เลยต้องหาทางจะโจมตีรัฐบาลด้วยและลงด้วยจะเอาพร้อมกันเลยมันก็ยากขึ้น
"เพราะฉะนั้นตอนนี้ต้องวัดใจกันในช่วงเวลา 1-2 วันถ้าหากคนมาอย่างน้อย 5 หมื่นคน หรือ 1 แสน ทางแกนนำม็อบราชดำเนินก็อาจจะไปต่อได้แต่ถ้าหากไม่มา ก็ต้องดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะส่งสัญญาณออกมาอย่างไร ต้องประเมินสถานการณ์กันชั่วโมงต่อชั่วโมง เพราะทุกจังหวะการก้าวย่าง ทุกคำพูดล้วนจะถูกนำไปขยายความต่อ"ศ.ดร.ธเนศ กล่าว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------
ธเนศ. ระบุล้มรัฐบาลอียิปต์ ต่างฝายต่างอ้างประชาชน แต่เมืองไทยเสื้อแดงอยู่ในที่มั่นสนามกีฬาราชมังคลาฯไม่น่าเป็นห่วง ถ้าออกมา2กลุ่มอาจปะทะได้
นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสิ่งที่เรียกว่าม็อบ มันสามารถที่จะสร้างแรงกดดันไปจนถึงขนาดให้รัฐบาลต้องยอมได้ ประชาชนจะก็ต้องออกมาเยอะมากตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ พฤษภาทมิฬ แล้วก็กระจายไปคลุมพื้นที่ พอมวลชนเคลื่อนไปจนเกิดการกระทบกระทั่งกับฝ่ายความมั่นคงที่ดูแลสถานการณ์
หากประเมินมวลชนการเคลื่อนไหวยุทธศาสตร์ของแกนนำม็อบราชดำเนินจากสื่อที่รายงานภายใต้การแบ่งขั้วเลือกข้างของสื่อที่ค่อนข้างชัดเจน ทั้งวิทยุโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต ก็แบ่งเป็น 2-3 กลุ่ม ไม่รวมศูนย์เหมือนเหตุการณ์ทางการเมืองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเหมือนที่ผ่านๆมา เพระฉะนั้นถ้าสื่อไม่รวมศูนย์แบบนี้การระดมคนออกมาแบบเหตุการณ์ 14ตุลาหรือพฤษภาททมิฬ ไม่น่าจะได้ถึงขนาดนั้น ในอดีตทุกสื่อทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยกับฝ่ายผู้ชุมนุมหมด แต่คราวนี้เห็นด้วย 30-40เปอร์เซ็น ไม่เห็นด้วยประมาณ 40-50 เปอร์เซ็น มีกลางๆอยู่ประมาณ 10-20เปอร์เซ็น เพราะฉะนั้นไม่น่าจะเป็นเอกฉันท์ ทางแกนนำม็อบราชดำเนินต้องขนออกมาอย่างจริงจัง จึงจะได้มวลชนออกมาเป็นล้านอย่างที่ได้ประกาศไว้ โดยจะให้คนเดินทางแบบที่พันธมิตรทำก็ไม่น่าจะได้ถึงขนาดนั้น
ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีเอกภาพถึงขนาดที่ว่าจะเกิดพลังมหาศาลขนาดนั้น เมื่อไม่ได้ ก็ต้องสร้างสถานการณ์ หลายม็อบที่ต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ ถ้าหากมีการเคลื่อนไหวมวลชนก็อาจจะมีความชุลมุนพอสมควร จุดสุดท้ายก็ยังคงประเมินไม่ได้ว่าจะนำไปสู่การปะทะเพื่อสร้างเงื่อนไขหรือไม่ ขณะนี้ทุกฝ่ายอาศัยเงื่อนไขที่พอได้เปรียบก็ใช้ตรงนั้นเลย มาถึงตรงนี้มองได้ว่าทางแกนนำม็อบราชดำเนินไม่ยอมลงแล้ว เพราะคิดว่ามีมวลชนแล้วมีความได้เปรียบแล้ว ก็ต้องดูว่าใครจะอึดกว่ากัน
ขณะเดียวกันฝ่ายของกลุ่มคนเสื้อแดงเองก็ต้องปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งถูกโจมตีมากในขณะนี้ ตอนนี้ชัดเจนมากว่า ทั้งสภาก็ผูกกับศาลรัฐธรรมนูญที่ลงมติแล้วว่าการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปปช.ก็เตรียมจะเล่นงาน พรรคฝ่ายค้านก็ระดมมวลชนต่อต้าน รัฐบาลตอนนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ รัฐบาลก็มีทางเดียวคือต้องประกาศให้รู้ว่าการกระทำของฝ่ายค้านและม็อบราชดำเนินไม่ใช่มติของคนทั้งประเทศ เป็นเพียงมติของคนที่คัดค้านรัฐบาลเท่านั้น รัฐบาลเองก็ต้องอาศัยทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งก็สามารถระดมมวลชนออกมาเป็นล้านได้เช่นเดียวกัน เสื้อแดงก็ต้องออกมาเหมือนกัน ซึ่งเป็นหมากที่ถูกบีบให้ต้องเดินแบบนั้น อย่างไรก็ตามหากเสื้อแดงไม่ออกนอกสถานที่ชุมนุมไม่เดินออกจากราชมังคลากีฬาสถาน ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่าทางฝ่ายเสื้อแดงที่สนับสนุนรัฐบาลเองก็มีมวลชนเช่นเดียวกัน อย่างอยู่ในที่มั่นไม่ออกมาก็ไม่มีอะไร
ประชาธิปไตยในโลกที่สามยกตัวอย่าง อียิปต์ ต่างฝายต่างอ้างประชาชน และฝ่ายที่ล้มรัฐบาลมอซี่ มีประชาชนจำนวนมาก ที่ออกมาในระดับ10-15ล้านคน ในฝ่ายมุสลิมภารดรภาพก็มีระดับ 10 ล้านเช่นเดียวกัน ปรากฏการณ์ลักษณะแบบนี้จะเริ่มมีให้เห็นบ่อยขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาว่าแล้วใครคือประชาชนตัวจริง เพราะว่าตอนนี้ทุกฝ่ายก็มีประชาชนหมดแล้ว
ทางออกหรือวิธีการที่ง่ายที่สุดและในอดีตก็เคยใช้กันมาก็คือฝ่ายนำของแต่ละฝ่ายต้องเจรจากัน จะเจรจาเงียบๆ หรือเปิดเผยผ่านตัวกลาง ก็ต้องทำ หากจะสู้ฝ่ายประท้วงต้องยืนยันว่านายทุนของคุณจะยืนหยัดให้คุณทุกอย่าง จะให้ทุกอย่างหรือไม่ ถ้าหากว่ายังไม่เลิก ซึ่งจริงๆแล้วรัฐบาลมีความได้เปรียบถ้าต่างฝ่ายต่างสู้กัน เพียงแค่ต้องคุมกองทัพไม่ให้แตกแถวแค่นั้นเอง ถ้าหากว่าคุณสามารถสั่งฝ่ายความมั่นคง สั่งตำรวจสั่งกองทัพได้ ก็ได้เปรียบอยู่แล้ว
ตอนนี้มวลชนได้แยกออกเป็นสองฝ่ายชัดเจนซึ่งมันจะไม่เหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่มวลชนแห่ไปฝ่ายเดียว คือฝ่ายประชาชนแต่ตอนนี้มีประชาชนสองฝ่าย เพราะฉะนั้นถ้าหากปะทะกันแล้ว ประชาชน ที่จะมาร่วมก็ต้องแบ่งกันออกไป เพราะฉะนั้นจะไม่มีชนะเด็ดขาดด้วยการใช้กำลังแบบประชาชนในแบบอดีต จะกลายเป็นสงครามกลางเมืองไปในที่สุด ที่ต่างฝ่ายต่างระดมกันเข้ามา เพื่อที่จะปะทะกับอีกฝ่าย
ถ้ามองแบบนี้แล้ว ทางฝ่ายที่ประท้วงจึงไม่น่าจะเดินหน้าเพราะก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะมีมวลชนมาเพิ่มจำนวนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ใช่ว่าคนจะแห่มายอมตายด้วยทั้งหมด ม็อบครึ่งหนึ่งก็ต้องกลับบ้านถ้าหากมีสถานการณ์รุนแรงเกิดขึ้น อย่างคนที่มาม็อบต้องการถ่ายรูปก็แค่ต้องการมาถ่ายรูปเท่านั้นไม่ได้มาเพื่อโดนแก็สน้ำตา ตอนนั้นคนพวกนั้นก็คงกลับบ้านหมด เพราะไม่ใช่มวลชนพื้นฐาน เพราะฉะนั้นเขาคงต้องคิดหาทางที่จะหยุดหรือที่จะลงเพราะถ้าหากหวังปะทะแล้วชนะ คือคุณประเมินเกินความเป็นจริงไปมาก แต่ถ้าหากประเมินเช่นนั้นแสดงว่าคุณต้องมีอะไรอยู่ในมือ ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่ามีอะไรในมือหรือไม่
แต่ถ้าให้คาดการณ์ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมีมากกว่าที่เห็น สิ่งที่คิดว่าทางแกนนำม็อบราชดำเนินรอในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา คือ คำสั่งยุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจะจบไปเลย แต่สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุบพรรค ทางพรรคประชาธิปัตย์เลยต้องหาทางจะโจมตีรัฐบาลด้วยและลงด้วยจะเอาพร้อมกันเลยมันก็ยากขึ้น
"เพราะฉะนั้นตอนนี้ต้องวัดใจกันในช่วงเวลา 1-2 วันถ้าหากคนมาอย่างน้อย 5 หมื่นคน หรือ 1 แสน ทางแกนนำม็อบราชดำเนินก็อาจจะไปต่อได้แต่ถ้าหากไม่มา ก็ต้องดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะส่งสัญญาณออกมาอย่างไร ต้องประเมินสถานการณ์กันชั่วโมงต่อชั่วโมง เพราะทุกจังหวะการก้าวย่าง ทุกคำพูดล้วนจะถูกนำไปขยายความต่อ"ศ.ดร.ธเนศ กล่าว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น