ระทึก!การเมืองไทย หลัง 20 พ.ย. ถอดถอนสู่เด็ดล็อค? หรือสุดท้ายจะนำไปสู่...เซ็ตซีโร่!
หน้าไพ่การเมืองวันนี้ แน่นอนว่ายังมิอาจมองข้ามวันพุธที่ 20 พ.ย.ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ได้ เพราะอาจเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองอันสำคัญ และส่งผลต่อการชุมนุม 3 เวทีบนถนนราชดำเนินในขณะนี้ได้เหมือนกัน
ข้อกล่าวหาฉกรรจ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคือ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นที่มาของ ส.ว.นี้ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ นั่นหมายถึงเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองในวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่
ทางออกมีด้วยกันหลักๆ 3 ทาง คือ
1.ศาลยกคำร้อง รัฐบาลเฮ บริหารประเทศต่อ ม็อบน่าจะฝ่อ
2.ศาลวินิจฉัยว่าขัดมาตรา 68 สั่งให้เลิกกระทำ แม้จะไม่มีบทลงโทษตามมา แต่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะถูกกดดันอย่างหนัก เนื่องจากจะถูกตั้งคำถามเรื่องการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่รอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ทั้งๆ ที่มีหลายฝ่ายเตือนแล้ว เชื่อว่าม็อบราชดำเนินจะหยิบมา "ยกระดับขับไล่" แน่นอน
3.ศาลวินิจฉัยว่าขัดมาตรา 68 นอกจากสั่งให้เลิกกระทำแล้ว ยังสั่งยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเหล่านั้นด้วย หากออกแนวทางนี้ มีโอกาสเกิดความรุนแรงสูง เพราะมวลชนคนเสื้อแดงน่าจะไม่ยอม
ประเด็นที่ม็อบราชดำเนินวาดหวังเอาไว้ คือ แนวทางที่ 2 เพราะสามารถนำไปเล่นเกมทางกฎหมายต่อได้อีก นั่นก็คือการล่ารายชื่อประชาชนให้ได้ 2 หมื่นชื่อเพื่อยื่นถอดถอน ส.ส.และ ส.ว. 312 รายที่ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. ออกจากตำแหน่ง
อย่าลืมว่าขณะนี้มีการล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นชื่อในส่วนของ "ภาคประชาชน" เพื่อยื่นถอดถอน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 310 คนที่ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมฯ ฉบับสุดซอย ส่งให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และยังจะมีรายชื่อประชาชน 2 หมื่นชื่อจากทาง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบราชดำเนิน ตามไปอีกในวันพุธที่ 20 พ.ย.ด้วย
เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบรายชื่อเรียบร้อย ก็ต้องส่งคำร้องถอดถอนทั้ง 2 ประเด็นไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไต่สวนตามขั้นตอนต่อไป
คาดว่าหลังจากวันที่ 20 พ.ย.เกมนอกสภาจะเปลี่ยน หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในแนวทางที่ 1 ม็อบน่าจะต้องเก็บฉาก แล้วกลับบ้านไปรอฟังผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. แต่ถ้าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในแนวทางที่ 2 ต้องรอดูว่านายกฯยิ่งลักษณ์จะทนแรงเสียดทานไหวหรือไม่ ถ้าไม่ไหวก็ต้องยุบสภา ถ้าไหวก็ไปรอลุ้นผลการไต่สวนของ ป.ป.ช.เช่นกัน
หาก ป.ป.ช.เห็นว่าข้อกล่าวหามีมูล ไม่ว่าประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือทั้งสองประเด็น ส.ส. และ ส.ว.ที่ถูกยื่นถอดถอนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะลงมติว่าจะถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือไม่
ปัญหาก็คือ 1.ในส่วนของ ส.ส.ที่ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ถ้าถูกยื่นถอดถอน ส.ว.จะลงมติ "ไม่ถอดถอน" ได้ไหม เพราะ ส.ว.เป็นผู้คว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ด้วยมติเอกฉันท์
2.ในส่วนของ ส.ส. และ ส.ว.ที่เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ว. หากต้องถูกถอดถอนจริง ส.ว.ที่เหลืออยู่ (กลุ่มที่ไม่ได้ร่วมเสนอญัตติ) จะมีเสียงพอที่จะถอดถอนหรือไม่ จะตีความกฎหมายเรื่ององค์ประชุมกันอย่างไร หรือใช้จำนวนสมาชิกเท่าที่มี
โอกาสที่หมากการเมืองกระดานนี้จะเดินเข้าสู่ "ตาอับ" หรือ "เดดล็อค" มีค่อนข้างสูง แม้นายกฯจะยุบสภาได้ แต่สถานะของ ส.ส.ที่ถูกยื่นถอดถอนจะเป็นอย่างไร จะลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีกหรือไม่
หรือสุดท้ายจะนำไปสู่...เซ็ตซีโร่!
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-----------------------------
หน้าไพ่การเมืองวันนี้ แน่นอนว่ายังมิอาจมองข้ามวันพุธที่ 20 พ.ย.ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ได้ เพราะอาจเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองอันสำคัญ และส่งผลต่อการชุมนุม 3 เวทีบนถนนราชดำเนินในขณะนี้ได้เหมือนกัน
ข้อกล่าวหาฉกรรจ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคือ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นที่มาของ ส.ว.นี้ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ นั่นหมายถึงเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองในวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่
ทางออกมีด้วยกันหลักๆ 3 ทาง คือ
1.ศาลยกคำร้อง รัฐบาลเฮ บริหารประเทศต่อ ม็อบน่าจะฝ่อ
2.ศาลวินิจฉัยว่าขัดมาตรา 68 สั่งให้เลิกกระทำ แม้จะไม่มีบทลงโทษตามมา แต่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะถูกกดดันอย่างหนัก เนื่องจากจะถูกตั้งคำถามเรื่องการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่รอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ทั้งๆ ที่มีหลายฝ่ายเตือนแล้ว เชื่อว่าม็อบราชดำเนินจะหยิบมา "ยกระดับขับไล่" แน่นอน
3.ศาลวินิจฉัยว่าขัดมาตรา 68 นอกจากสั่งให้เลิกกระทำแล้ว ยังสั่งยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเหล่านั้นด้วย หากออกแนวทางนี้ มีโอกาสเกิดความรุนแรงสูง เพราะมวลชนคนเสื้อแดงน่าจะไม่ยอม
ประเด็นที่ม็อบราชดำเนินวาดหวังเอาไว้ คือ แนวทางที่ 2 เพราะสามารถนำไปเล่นเกมทางกฎหมายต่อได้อีก นั่นก็คือการล่ารายชื่อประชาชนให้ได้ 2 หมื่นชื่อเพื่อยื่นถอดถอน ส.ส.และ ส.ว. 312 รายที่ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. ออกจากตำแหน่ง
อย่าลืมว่าขณะนี้มีการล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นชื่อในส่วนของ "ภาคประชาชน" เพื่อยื่นถอดถอน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 310 คนที่ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมฯ ฉบับสุดซอย ส่งให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และยังจะมีรายชื่อประชาชน 2 หมื่นชื่อจากทาง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบราชดำเนิน ตามไปอีกในวันพุธที่ 20 พ.ย.ด้วย
เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบรายชื่อเรียบร้อย ก็ต้องส่งคำร้องถอดถอนทั้ง 2 ประเด็นไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไต่สวนตามขั้นตอนต่อไป
คาดว่าหลังจากวันที่ 20 พ.ย.เกมนอกสภาจะเปลี่ยน หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในแนวทางที่ 1 ม็อบน่าจะต้องเก็บฉาก แล้วกลับบ้านไปรอฟังผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. แต่ถ้าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในแนวทางที่ 2 ต้องรอดูว่านายกฯยิ่งลักษณ์จะทนแรงเสียดทานไหวหรือไม่ ถ้าไม่ไหวก็ต้องยุบสภา ถ้าไหวก็ไปรอลุ้นผลการไต่สวนของ ป.ป.ช.เช่นกัน
หาก ป.ป.ช.เห็นว่าข้อกล่าวหามีมูล ไม่ว่าประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือทั้งสองประเด็น ส.ส. และ ส.ว.ที่ถูกยื่นถอดถอนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะลงมติว่าจะถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือไม่
ปัญหาก็คือ 1.ในส่วนของ ส.ส.ที่ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ถ้าถูกยื่นถอดถอน ส.ว.จะลงมติ "ไม่ถอดถอน" ได้ไหม เพราะ ส.ว.เป็นผู้คว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ด้วยมติเอกฉันท์
2.ในส่วนของ ส.ส. และ ส.ว.ที่เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ว. หากต้องถูกถอดถอนจริง ส.ว.ที่เหลืออยู่ (กลุ่มที่ไม่ได้ร่วมเสนอญัตติ) จะมีเสียงพอที่จะถอดถอนหรือไม่ จะตีความกฎหมายเรื่ององค์ประชุมกันอย่างไร หรือใช้จำนวนสมาชิกเท่าที่มี
โอกาสที่หมากการเมืองกระดานนี้จะเดินเข้าสู่ "ตาอับ" หรือ "เดดล็อค" มีค่อนข้างสูง แม้นายกฯจะยุบสภาได้ แต่สถานะของ ส.ส.ที่ถูกยื่นถอดถอนจะเป็นอย่างไร จะลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีกหรือไม่
หรือสุดท้ายจะนำไปสู่...เซ็ตซีโร่!
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น