บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ การส่งออกของไทยไปจีนนับจากนี้ ... ท้าทายจุดยืนไทยคงอันดับ 1 ใน 3 ของสินค้าอาเซียนในจีน
ประเด็นสำคัญ
- ในการประชุม ASEAN-China Summit ครั้งที่ 16 เมื่อเดือนตุลาคม 2556 นายหลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่า นับจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนจะก้าวข้ามจาก “ทศวรรษแห่งทอง” ไปสู่ “ทศวรรษแห่งเพชร” ด้วยเป้าหมายยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และการลงทุนสะสมระหว่างกันเป็น 1.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563 นับจากช่วงที่กรอบการค้าเสรี ASEAN-China FTA ที่ริเริ่มในปี 2546 ผ่านมาเป็นเวลานานถึง 10 ปี ได้สร้างมูลค่าทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้นถึงราว 4 เท่าตัว
- ด้วยบทบาทของอาเซียนในฐานะแหล่งนำเข้าที่สำคัญของจีนเด่นชัดมากขึ้น โดยกลายเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของจีนในขณะนี้ ครองสัดส่วนร้อยละ 10.1 ของการนำเข้าทั้งหมดของจีน (เป็นรองสหภาพยุโรป) ซึ่งในระยะข้างหน้าสินค้าไทยยังมีโอกาสคงบทบาทเป็นผู้เล่นที่สำคัญติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียนในจีน (ปัจจุบันไทยอยู่ที่อันดับ 2)
ประเด็นสำคัญ
- ในการประชุม ASEAN-China Summit ครั้งที่ 16 เมื่อเดือนตุลาคม 2556 นายหลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่า นับจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนจะก้าวข้ามจาก “ทศวรรษแห่งทอง” ไปสู่ “ทศวรรษแห่งเพชร” ด้วยเป้าหมายยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และการลงทุนสะสมระหว่างกันเป็น 1.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563 นับจากช่วงที่กรอบการค้าเสรี ASEAN-China FTA ที่ริเริ่มในปี 2546 ผ่านมาเป็นเวลานานถึง 10 ปี ได้สร้างมูลค่าทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้นถึงราว 4 เท่าตัว
- ด้วยบทบาทของอาเซียนในฐานะแหล่งนำเข้าที่สำคัญของจีนเด่นชัดมากขึ้น โดยกลายเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของจีนในขณะนี้ ครองสัดส่วนร้อยละ 10.1 ของการนำเข้าทั้งหมดของจีน (เป็นรองสหภาพยุโรป) ซึ่งในระยะข้างหน้าสินค้าไทยยังมีโอกาสคงบทบาทเป็นผู้เล่นที่สำคัญติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียนในจีน (ปัจจุบันไทยอยู่ที่อันดับ 2)
- เมื่อมองจากฝั่งจีน จีนนำเข้าสินค้าจากอาเซียนหลายประเทศเติบโตสูงโดยเฉพาะอินโดนีเซียและเวียดนาม ขณะที่การนำเข้าจากไทยยังคงหดตัว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า สัญญาณดังกล่าวสะท้อนปฐมบทแห่งการแข่งขันของสินค้าอาเซียนในตลาดจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจกดดันให้ส่วนแบ่งสินค้าไทยในตลาดจีนลดลงในทศวรรษข้างหน้า
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3/2556 ปรับตัวดีที่สุดในรอบปีขยายตัวร้อยละ 7.8 (YoY) ด้วยสัญญาณบวกจากภาคการผลิต การบริโภคในประเทศและการส่งออกของจีนช่วยเสริมเศรษฐกิจในภาพรวม ดึงการส่งออกของไทยไปจีนไตรมาส 3/2556 หดตัวน้อยลงเหลือเพียงร้อยละ 0.3 (YoY) จากที่หดตัวถึงร้อยละ 13.7 (YoY) ในไตรมาส 2/2556 แม้ว่าการส่งออกของไทยไปจีนในเดือนกันยายน 2556 เติบโตแผ่วลงเหลือร้อยละ 1.2 (YoY) โดยมีมูลค่า 2,161 ล้านดอลลาร์ฯ แต่ยังสามารถรักษาการเติบโตได้เป็นเดือนที่ 2 ซึ่งกลุ่มสินค้าที่จะเป็นความหวังของการส่งออกไทยไปจีนยังคงเป็นกลุ่มสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้และผลิตภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า/ส่วนประกอบ เป็นต้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้การส่งออกของไทยไปจีนอาจปรับตัวดีขึ้นตอบรับเทศกาลปลายปี แต่ด้วยฐานเปรียบเทียบในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์สูงทำให้การส่งออกของไทยไปจีนตลอดปี 2556 อาจมีโอกาสเข้าใกล้กรอบล่างของประมาณการที่ประเมินไว้อยู่ระหว่างหดตัวร้อยละ 2.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.5
ประเด็นที่ต้องจับตานับจากนี้ไปไม่เพียงภาวะเศรษฐกิจจีนเท่านั้นที่จะส่งผลต่อการส่งออกของไทย แต่ยังต้องมองให้ครอบคลุมถึงสินค้าคู่แข่งจากประเทศอาเซียนที่ในขณะนี้สามารถเข้าไปทำตลาดในจีนได้อย่างคึกคักมากขึ้น ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 การนำเข้าของจีนจากประเทศในอาเซียนหลายประเทศเติบโตดีโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV หรือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม เติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 9.9 (YoY) ขณะที่ประเทศอื่นๆ เติบโตในเกณฑ์ต่ำถึงติดลบ รวมทั้งไทยที่ยังคงหดตัวร้อยละ 2.3 (YoY) ด้วยภาพการแข่งขันของสินค้าจากอาเซียนค่อยๆ เด่นชัดมากขึ้นตั้งแต่ริเริ่มกรอบความตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในปี 2546 จนกระทั่งลดภาษีสินค้าเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 เพิ่มความท้าทายสำหรับสินค้าไทยที่จะเข้าสู่ตลาดจีนในระยะข้างหน้า ซึ่งสินค้าไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างจุดยืนในตลาดจีนและเกาะติดการเปลี่ยนแปลงที่กำลังตามมา
ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ “Diamond Decade”

เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3/2556 ปรับตัวดีที่สุดในรอบปีขยายตัวร้อยละ 7.8 (YoY) ด้วยสัญญาณบวกจากภาคการผลิต การบริโภคในประเทศและการส่งออกของจีนช่วยเสริมเศรษฐกิจในภาพรวม ดึงการส่งออกของไทยไปจีนไตรมาส 3/2556 หดตัวน้อยลงเหลือเพียงร้อยละ 0.3 (YoY) จากที่หดตัวถึงร้อยละ 13.7 (YoY) ในไตรมาส 2/2556 แม้ว่าการส่งออกของไทยไปจีนในเดือนกันยายน 2556 เติบโตแผ่วลงเหลือร้อยละ 1.2 (YoY) โดยมีมูลค่า 2,161 ล้านดอลลาร์ฯ แต่ยังสามารถรักษาการเติบโตได้เป็นเดือนที่ 2 ซึ่งกลุ่มสินค้าที่จะเป็นความหวังของการส่งออกไทยไปจีนยังคงเป็นกลุ่มสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้และผลิตภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า/ส่วนประกอบ เป็นต้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้การส่งออกของไทยไปจีนอาจปรับตัวดีขึ้นตอบรับเทศกาลปลายปี แต่ด้วยฐานเปรียบเทียบในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์สูงทำให้การส่งออกของไทยไปจีนตลอดปี 2556 อาจมีโอกาสเข้าใกล้กรอบล่างของประมาณการที่ประเมินไว้อยู่ระหว่างหดตัวร้อยละ 2.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.5
ประเด็นที่ต้องจับตานับจากนี้ไปไม่เพียงภาวะเศรษฐกิจจีนเท่านั้นที่จะส่งผลต่อการส่งออกของไทย แต่ยังต้องมองให้ครอบคลุมถึงสินค้าคู่แข่งจากประเทศอาเซียนที่ในขณะนี้สามารถเข้าไปทำตลาดในจีนได้อย่างคึกคักมากขึ้น ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 การนำเข้าของจีนจากประเทศในอาเซียนหลายประเทศเติบโตดีโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV หรือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม เติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 9.9 (YoY) ขณะที่ประเทศอื่นๆ เติบโตในเกณฑ์ต่ำถึงติดลบ รวมทั้งไทยที่ยังคงหดตัวร้อยละ 2.3 (YoY) ด้วยภาพการแข่งขันของสินค้าจากอาเซียนค่อยๆ เด่นชัดมากขึ้นตั้งแต่ริเริ่มกรอบความตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในปี 2546 จนกระทั่งลดภาษีสินค้าเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 เพิ่มความท้าทายสำหรับสินค้าไทยที่จะเข้าสู่ตลาดจีนในระยะข้างหน้า ซึ่งสินค้าไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างจุดยืนในตลาดจีนและเกาะติดการเปลี่ยนแปลงที่กำลังตามมา
ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ “Diamond Decade”
การเดินทางเยือนอาเซียนอย่างเป็นทางการของสองผู้นำจีนได้เน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระยะข้างหน้าชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชุม ASEAN-China Summit ครั้งที่ 16 ที่ประทศบรูไน นายกรัฐมตรีของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง กล่าวถึงความสัมพันธ์ตลอด 10 ปี ของกรอบการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China FTA) ที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็น “ทศวรรษแห่งทอง (Golden Decade)” ทำให้การค้าและการลงทุนเติบโตอย่างเด่นชัดเพิ่มขึ้นถึงราว 4 เท่าตัว โดยการค้ารวมในปี 2555 มีมูลค่า 400.3 พันล้านดอลลาร์ฯ (จากมูลค่า 78.3 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2546) เช่นเดียวกับด้านการลงทุนขยับขึ้นมาแตะ 13.17 พันล้านดอลลาร์ฯ (จากมูลค่า 3.04 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2546)
ในระยะถัดไป นายหลี่ เค่อเฉียง ได้สะท้อนมุมมองว่าความสัมพันธ์ของอาเซียนกับจีนกำลังก้าวสู่ “ทศวรรษแห่งเพชร (Diamond Decade)” อันเป็นอีกขั้นของการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจากทศวรรษแห่งทองที่ผ่านมา ด้วยเป้าหมายการค้ารวมเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และการลงทุนสะสมระหว่างกันไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563 (การลงทุนสะสมถึงปี 2555 มีมูลค่า 96.6 พันล้านดอลลาร์ฯ)
การยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าวยิ่งเน้นบทบาทอาเซียนในจีนเด่นขึ้นในระยะข้างหน้า
จากปัจจุบันที่อาเซียนได้ก้าวแซงหน้าญี่ปุ่นมาเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีน ได้สำเร็จในปี 2554 และมีสัดส่วนการค้าราวร้อยละ 10.4 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของจีนกับตลาดโลก (เป็นรองเพียงสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ตามลำดับ) ซึ่งหากมองให้ลึกลงมาสู่ด้านการนำเข้าของจีนจากแต่ละประเทศในอาเซียน พบว่า สินค้าไทยยังคงโดดเด่นจากอานิสงส์ของพัฒนาการของความสัมพันธ์ดังกล่าว ขณะเดียวกันคู่แข่งอื่นๆ ก็เร่งตัวขึ้นเพิ่มความท้าทายที่ต้องติดตามในระยะข้างหน้าด้วยเช่นกัน
10 ปีนับจากนี้ ... สินค้าไทยยังมีโอกาสคงอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียนในจีน

จากปัจจุบันที่อาเซียนได้ก้าวแซงหน้าญี่ปุ่นมาเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีน ได้สำเร็จในปี 2554 และมีสัดส่วนการค้าราวร้อยละ 10.4 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของจีนกับตลาดโลก (เป็นรองเพียงสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ตามลำดับ) ซึ่งหากมองให้ลึกลงมาสู่ด้านการนำเข้าของจีนจากแต่ละประเทศในอาเซียน พบว่า สินค้าไทยยังคงโดดเด่นจากอานิสงส์ของพัฒนาการของความสัมพันธ์ดังกล่าว ขณะเดียวกันคู่แข่งอื่นๆ ก็เร่งตัวขึ้นเพิ่มความท้าทายที่ต้องติดตามในระยะข้างหน้าด้วยเช่นกัน
10 ปีนับจากนี้ ... สินค้าไทยยังมีโอกาสคงอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียนในจีน
อานิสงส์จากการลดภาษีภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน – จีนลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของจีน (รองจากสหภาพยุโรป) แซงหน้าไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนว่าสินค้าจากอาเซียนมีศักยภาพเข้าสู่ตลาดจีน ตอบรับการบริโภคและภาคการผลิตได้ในหลายระดับขั้น จากความพร้อมทางทรัพยากรและเทคโนโลยีในการผลิต โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้าราว 145.7 พันล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 1.1 (YoY)
หากเทียบในกลุ่มอาเซียนแล้วนับว่าสินค้าไทยมีความสำคัญอย่างมาก โดยในปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นเบอร์ 2 ครองส่วนแบ่งร้อยละ 19.2 ของสินค้าอาเซียน (รองจากมาเลเซียที่มีสัดส่วนร้อยละ 30.3) ด้วยอัตราเร่งถึง 3.4 เท่าตัว จากเมื่อ 10 ปีก่อน แม้ว่าอินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ และสปป.ลาว จะเร่งตัวได้สูงขึ้นเช่นกัน แต่สินค้าไทยมีศักยภาพยังสามารถครองตลาดจีนได้อย่างน่าสนใจ อาทิ ยางและผลิตภัณฑ์ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผักและผลไม้ ไม้และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หนังดิบและหนังฟอก สารแอลบูมินอยด์/กาว/เอนไซม์ และแก้วและเครื่องแก้ว เป็นต้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ด้วยขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดจีนได้เป็นที่ประจักษ์จนกระทั่งก้าวมาเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญของจีน และสินค้าที่เข้าสู่ตลาดจีนหลากหลายรายการมากขึ้นจากในอดีตที่กระจุกตัวเพียงไม่กี่รายการสินค้า ประกอบกับข้อได้เปรียบจากทำเลที่ตั้งของไทยที่อยู่ใกล้กับจีนโดยอาศัยประโยชน์จากการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค (Regional Connectivity) ตามแรงสนับสนุนของนโยบายทางการจีนน่าจะช่วยผลักดันสินค้าไทยเข้าสู่จีนได้หลายช่องทางการขนส่งที่เชื่อมต่อกันสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางทะเลเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจหลักของจีน (กวางตุ้ง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง) ทางอากาศเข้าตรงสู่ใจกลางประเทศจีนได้หลายเส้นทาง (เสฉวน ส่านซี) รวม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ด้วยขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดจีนได้เป็นที่ประจักษ์จนกระทั่งก้าวมาเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญของจีน และสินค้าที่เข้าสู่ตลาดจีนหลากหลายรายการมากขึ้นจากในอดีตที่กระจุกตัวเพียงไม่กี่รายการสินค้า ประกอบกับข้อได้เปรียบจากทำเลที่ตั้งของไทยที่อยู่ใกล้กับจีนโดยอาศัยประโยชน์จากการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค (Regional Connectivity) ตามแรงสนับสนุนของนโยบายทางการจีนน่าจะช่วยผลักดันสินค้าไทยเข้าสู่จีนได้หลายช่องทางการขนส่งที่เชื่อมต่อกันสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางทะเลเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจหลักของจีน (กวางตุ้ง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง) ทางอากาศเข้าตรงสู่ใจกลางประเทศจีนได้หลายเส้นทาง (เสฉวน ส่านซี) รวม
ถึงทางบกผ่านภาคอีสานหรือภาคเหนือเพื่อเข้าสู่จีนตอนใต้ (กวางสี และยูนนาน) ด้วยองค์ประกอบดังกล่าว ทำให้น่าจะมีส่วนเสริมให้สินค้าไทยยังมีโอกาสคงบทบาทเป็นผู้เล่นที่สำคัญติดอันดับ 1 ใน 3 ของสินค้าอาเซียนในจีนได้นับจากนี้ อย่างไรก็ดี ต้องพึงระวังการเร่งตัวของสินค้าคู่แข่งที่แข่งขันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจากอินโดนีเซียและเวียดนามที่ต่างมีจุดแข็งเข้าสู่ตลาดจีนได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญเพื่อรักษาจุดยืนของสินค้าไทยในตลาดจีน
จับตาความท้าทาย: คู่แข่งจากอาเซียน ... ชิงส่วนแบ่งสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
จากภาพรวมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปี 2551-2555) การแข่งขันของสินค้าอาเซียนในตลาดจีนเริ่มส่อแววชัดเจนกดดันส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยจากร้อยละ 22 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 19.2 ในปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้าจากอินโดนีเซียและเวียดนามก้าวขึ้นมามีบทบาทอย่างรวดเร็วจนสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดของไทยไปได้ในหลายกลุ่มสินค้า ในขณะที่สินค้ามาเลเซียอันเป็นเจ้าตลาดเดิมยังคงรักษาตลาดไว้ได้ค่อนข้างเหนียวแน่น รวมถึงเมียนมาร์กับ สปป.ลาว แม้จะยังไม่ใช่คู่แข่งไทยในขณะนี้แต่ก็เริ่มมีศักยภาพในการผลิตสินค้าและเข้าสู่จีนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
การนำเข้าสินค้าของจีนจากอาเซียนในช่วงปี 2551 ถึงช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556

ที่มา: Global Trade Atlas รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
สินค้าเวียดนามคล้ายคลึงกับไทย จึงเป็นคู่แข่งที่ต้องเฝ้าระวังในเชิงโครงสร้างสินค้า โดยสินค้าสำคัญของเวียดนามที่มีดีกรีการแข่งขันกับไทยค่อนข้างสูง อาทิ เครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบ เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ แร่และเชื้อเพลิง ไม้และผลิตภัณฑ์ ยางและผลิตภัณฑ์ ธัญพืช ด้ายและเส้นใย ผักและผลไม้ และรองเท้า เป็นต้น หนึ่งในกุญแจสำคัญมาจากเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าขยายฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งหนุนศักยภาพการผลิตของเวียดนาม รวมถึงการเปิดช่องทางการค้ากับจีนหลายเส้นทางเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงตลาด และการที่จีนให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศเวียดนามที่มีพรมแดนติดกับจีนโดยสินค้านำเข้าจากเวียดนามไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่ไทยยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 13 สำหรับสินค้าเกษตรกรรม และร้อยละ 17 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ส่งผลให้สินค้าจากเวียดนามเข้าสู่จีนเพิ่มขึ้นมามีส่วนแบ่งร้อยละ 8.5 ของสินค้าอาเซียนในจีน (จากร้อยละ 3.7 ในปี 2551)
สินค้าอินโดนีเซียเน้นที่ทรัพยากรและวัตถุดิบ เป็นคู่แข่งลักษณะเฉพาะ ตอบโจทย์การเสาะหาความมั่นคงทางวัตถุดิบและพลังงานของจีน แม้ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงแต่เริ่มเบียดส่วนแบ่งตลาดของไทยในจีนมากขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจุดขายผนวกกับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนจีนที่เข้าไปขยายฐานการผลิตในสาขาเหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แล้วส่งสินค้าวัตถุดิบขั้นกลางกลับมารองรับการผลิตในจีนทำให้สินค้ามีลักษณะแตกต่างกับสินค้าของไทยพอสมควร ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แร่และตะกรันเถ้า น้ำมันจากพืชและสัตว์ ยางและผลิตภัณฑ์ ทองแดงและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ ดีบุก
และนิกเกิล เป็นต้น กระนั้นก็ดี แม้ว่าอินโดนีเซียอาจยังไม่ใช่คู่แข่งกับสินค้าไทยโดยตรงแต่ในด้านมูลค่าการค้าก็อาจชิงบทบาทไทยด้วยส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า จากที่อินโดนีเซียขณะนี้มีส่วนแบ่งร้อยละ 15.7 ของสินค้าอาเซียนในจีน (จากร้อยละ 12.3 ในปี 2551)
หลายสินค้าของไทยถูกชิงส่วนแบ่งตลาดไปแล้วและมีแนวโน้มสูญเสียตลาดมากขึ้น อาทิ ไข่มุก/รัตนชาติ ธัญพืช ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง โดยเฉพาะสินค้าเครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบ สินค้าดังกล่าวครอบคลุมถึงคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบอันเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 เวียดนามเป็นเพียงประเทศเดียวในอาเซียนที่ขยายตลาดในจีนได้ในเกณฑ์สูงอัตราขยายตัว 2 หลัก สวนทางกับประเทศอื่นที่หดตัว ส่วนแบ่งตลาดสินค้าดังกล่าวของเวียดนามเพิ่มเป็นร้อยละ 13.4 ของสินค้าอาเซียนในจีน (จากร้อยละ 2.5 ในปี 2551) ต่างกับไทยที่ส่วนแบ่งลดลงเหลือร้อยละ 48.7 (จากร้อยละ 57.8 ในปี 2551) โดยประเด็นดังกล่าวเป็นมูลเหตุสำคัญที่ฉุดการส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้และอาจรุนแรงมากขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า หากเวียดนามเร่งการผลิตได้เต็มกำลัง สำหรับคู่แข่งอื่นๆ ในการชิงส่วนแบ่งของไทยที่ไม่ควรมองข้าม อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
โดยสรุป สินค้าไทยที่มีศักยภาพและยังแข่งขันได้ในตลาดจีน อาทิ ยางและผลิตภัณฑ์ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผักและผลไม้ ไม้และผลิตภัณฑ์ แต่การแข่งขันของสินค้าอาเซียนโดยเฉพาะสินค้าจากเวียดนามที่ได้อานิสงส์นำเข้าสินค้าด้วยต้นทุนต่ำจากการมีพรมแดนติดกับจีน ผนวกกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตจนกระทั่งกำลังเบียดส่วนแบ่งสินค้าไทยในจีนได้มากขึ้น รวมถึงอินโดนีเซียที่แม้ไม่ได้แข่งขันในเชิงโครงสร้างสินค้ากับไทยโดยตรงแต่มูลค่านำเข้าสู่จีนเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจอาจลดทอนบทบาทไทยในตลาดจีนระยะข้างหน้าได้
ประเด็นดังกล่าวจะทวีความเข้มข้นใน “ทศวรรษแห่งเพชร” ของความสัมพันธ์อาเซียน-จีนที่กำลังดำเนินอยู่ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งหาทางเสริมความแข็งแกร่งทางการผลิต ต่อยอดการผลิตสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า หรือสร้างโอกาสขยายตลาดสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดจีน เพื่อบรรเทาภาวะการแข่งขันในกลุ่มสินค้าเดิมที่ต้องยอมรับว่าเสียส่วนแบ่งตลาดไปแล้ว โดยเฉพาะเครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบอันครอบคลุมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเป็นสินค้าที่ไทยพึ่งพิงตลาดจีนค่อนข้างมาก รวมถึงการแสวงหาช่องทางการค้าหรือพื้นที่การค้าใหม่ในจีนให้มากขึ้นเพื่อรักษาตลาดและผลักดันภาพรวมการค้าของไทยที่มีจีนเป็นตลาดหลักในขณะนี้
จับตาความท้าทาย: คู่แข่งจากอาเซียน ... ชิงส่วนแบ่งสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
จากภาพรวมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปี 2551-2555) การแข่งขันของสินค้าอาเซียนในตลาดจีนเริ่มส่อแววชัดเจนกดดันส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยจากร้อยละ 22 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 19.2 ในปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้าจากอินโดนีเซียและเวียดนามก้าวขึ้นมามีบทบาทอย่างรวดเร็วจนสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดของไทยไปได้ในหลายกลุ่มสินค้า ในขณะที่สินค้ามาเลเซียอันเป็นเจ้าตลาดเดิมยังคงรักษาตลาดไว้ได้ค่อนข้างเหนียวแน่น รวมถึงเมียนมาร์กับ สปป.ลาว แม้จะยังไม่ใช่คู่แข่งไทยในขณะนี้แต่ก็เริ่มมีศักยภาพในการผลิตสินค้าและเข้าสู่จีนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
การนำเข้าสินค้าของจีนจากอาเซียนในช่วงปี 2551 ถึงช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556
ที่มา: Global Trade Atlas รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
สินค้าเวียดนามคล้ายคลึงกับไทย จึงเป็นคู่แข่งที่ต้องเฝ้าระวังในเชิงโครงสร้างสินค้า โดยสินค้าสำคัญของเวียดนามที่มีดีกรีการแข่งขันกับไทยค่อนข้างสูง อาทิ เครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบ เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ แร่และเชื้อเพลิง ไม้และผลิตภัณฑ์ ยางและผลิตภัณฑ์ ธัญพืช ด้ายและเส้นใย ผักและผลไม้ และรองเท้า เป็นต้น หนึ่งในกุญแจสำคัญมาจากเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าขยายฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งหนุนศักยภาพการผลิตของเวียดนาม รวมถึงการเปิดช่องทางการค้ากับจีนหลายเส้นทางเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงตลาด และการที่จีนให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศเวียดนามที่มีพรมแดนติดกับจีนโดยสินค้านำเข้าจากเวียดนามไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่ไทยยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 13 สำหรับสินค้าเกษตรกรรม และร้อยละ 17 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ส่งผลให้สินค้าจากเวียดนามเข้าสู่จีนเพิ่มขึ้นมามีส่วนแบ่งร้อยละ 8.5 ของสินค้าอาเซียนในจีน (จากร้อยละ 3.7 ในปี 2551)
สินค้าอินโดนีเซียเน้นที่ทรัพยากรและวัตถุดิบ เป็นคู่แข่งลักษณะเฉพาะ ตอบโจทย์การเสาะหาความมั่นคงทางวัตถุดิบและพลังงานของจีน แม้ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงแต่เริ่มเบียดส่วนแบ่งตลาดของไทยในจีนมากขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจุดขายผนวกกับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนจีนที่เข้าไปขยายฐานการผลิตในสาขาเหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แล้วส่งสินค้าวัตถุดิบขั้นกลางกลับมารองรับการผลิตในจีนทำให้สินค้ามีลักษณะแตกต่างกับสินค้าของไทยพอสมควร ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แร่และตะกรันเถ้า น้ำมันจากพืชและสัตว์ ยางและผลิตภัณฑ์ ทองแดงและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ ดีบุก
และนิกเกิล เป็นต้น กระนั้นก็ดี แม้ว่าอินโดนีเซียอาจยังไม่ใช่คู่แข่งกับสินค้าไทยโดยตรงแต่ในด้านมูลค่าการค้าก็อาจชิงบทบาทไทยด้วยส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า จากที่อินโดนีเซียขณะนี้มีส่วนแบ่งร้อยละ 15.7 ของสินค้าอาเซียนในจีน (จากร้อยละ 12.3 ในปี 2551)
หลายสินค้าของไทยถูกชิงส่วนแบ่งตลาดไปแล้วและมีแนวโน้มสูญเสียตลาดมากขึ้น อาทิ ไข่มุก/รัตนชาติ ธัญพืช ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง โดยเฉพาะสินค้าเครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบ สินค้าดังกล่าวครอบคลุมถึงคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบอันเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 เวียดนามเป็นเพียงประเทศเดียวในอาเซียนที่ขยายตลาดในจีนได้ในเกณฑ์สูงอัตราขยายตัว 2 หลัก สวนทางกับประเทศอื่นที่หดตัว ส่วนแบ่งตลาดสินค้าดังกล่าวของเวียดนามเพิ่มเป็นร้อยละ 13.4 ของสินค้าอาเซียนในจีน (จากร้อยละ 2.5 ในปี 2551) ต่างกับไทยที่ส่วนแบ่งลดลงเหลือร้อยละ 48.7 (จากร้อยละ 57.8 ในปี 2551) โดยประเด็นดังกล่าวเป็นมูลเหตุสำคัญที่ฉุดการส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้และอาจรุนแรงมากขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า หากเวียดนามเร่งการผลิตได้เต็มกำลัง สำหรับคู่แข่งอื่นๆ ในการชิงส่วนแบ่งของไทยที่ไม่ควรมองข้าม อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
โดยสรุป สินค้าไทยที่มีศักยภาพและยังแข่งขันได้ในตลาดจีน อาทิ ยางและผลิตภัณฑ์ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผักและผลไม้ ไม้และผลิตภัณฑ์ แต่การแข่งขันของสินค้าอาเซียนโดยเฉพาะสินค้าจากเวียดนามที่ได้อานิสงส์นำเข้าสินค้าด้วยต้นทุนต่ำจากการมีพรมแดนติดกับจีน ผนวกกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตจนกระทั่งกำลังเบียดส่วนแบ่งสินค้าไทยในจีนได้มากขึ้น รวมถึงอินโดนีเซียที่แม้ไม่ได้แข่งขันในเชิงโครงสร้างสินค้ากับไทยโดยตรงแต่มูลค่านำเข้าสู่จีนเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจอาจลดทอนบทบาทไทยในตลาดจีนระยะข้างหน้าได้
ประเด็นดังกล่าวจะทวีความเข้มข้นใน “ทศวรรษแห่งเพชร” ของความสัมพันธ์อาเซียน-จีนที่กำลังดำเนินอยู่ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งหาทางเสริมความแข็งแกร่งทางการผลิต ต่อยอดการผลิตสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า หรือสร้างโอกาสขยายตลาดสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดจีน เพื่อบรรเทาภาวะการแข่งขันในกลุ่มสินค้าเดิมที่ต้องยอมรับว่าเสียส่วนแบ่งตลาดไปแล้ว โดยเฉพาะเครื่องจักรกล/ส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้า/ส่วนประกอบอันครอบคลุมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเป็นสินค้าที่ไทยพึ่งพิงตลาดจีนค่อนข้างมาก รวมถึงการแสวงหาช่องทางการค้าหรือพื้นที่การค้าใหม่ในจีนให้มากขึ้นเพื่อรักษาตลาดและผลักดันภาพรวมการค้าของไทยที่มีจีนเป็นตลาดหลักในขณะนี้
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
///////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น