นักวิชาการระบุป.ป.ช.ชี้มูลความผิด312ส.ส.-ส.ว.มีผลต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะไต่สวนเสร็จไม่ครบองค์ประชุมสภาบริหารไม่ได้ เป็นเกมที่ถูกวางไว้
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นในกรณีการยื่นถอดถอนส.ส.และส.ว.ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่า กระบวนการยื่นถอดถอนในชั้นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)จะมีการชี้มูลได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาป.ป.ช.ได้มีการทำงานคู่ขนานกับคดีของศาลรัฐธรรมนูญในหลายคดี ที่ผ่านมาเมื่อคำร้องไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วป.ป.ช.ก็ได้ตั้งคณะทำงานคู่ขนานเพราะฉะนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวเสร็จ ทางป.ป.ช.ก็สามารถที่จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ หมายความว่ามีการตั้งเรื่องอยู่เเล้ว ทำให้เห็นว่าการทำงานของป.ป.ช.ในช่วงหลังๆจะมีการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น เพราะว่าเมื่อศาลตัดสินแล้วไม่ได้มีการชี้มูลดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อกังขา ว่าเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นเรื่องที่ป.ป.ช.ได้ปรับปรุง
แต่ในขณะเดียวกันต้องระมัดระวังประเด็นทางการเมืองต้องอธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจด้วยว่าการชี้มูลโดยเร็วนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องการกลั่นแกล้งทางการเมือง การชี้มูลจะต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหลักฐานองค์ประกอบต่างๆ ส่วนคำวินิจฉัยของศาล ก็เป็นในแง่ของคำวินิจฉัย ซึ่งจะผิดหรือไม่ผิดมีมูลหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆที่ทางป.ป.ช. จะไปรวบรวมมาเพราะฉะนั้น ตัวหลักฐานต่างๆจะเป็นตัวกำหนดเเละอธิบายให้กับประชาชนว่าอะไรคือข้อเท็จจริง สุดท้ายแล้วถ้าหากป.ช.ช.ชี้มูลและมีการนำเสนอข้อเท็จจริงเหล่านี้ให้เป็นที่ปรากฏคลายข้อสงสัย ปัญหาก็อาจจะน้อยลงในทางการเมือง
อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่าเป็นการทำการขัดรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของป.ป.ช.ที่จะไปรวบรวมหลักฐานมา และท่ามกลางสถานการณ์ความขัดเเย้งทางการเมืองที่กำลังร้อนระอุ การชี้มูลของป.ป.ช.จะต้องจะต้องระมัดระวัง ต้องครบถ้วนในหลักฐาน
หากป.ป.ช.ชี้มูลความผิดของส.ส.และส.ว.จำนวน 312 คน ต่อไปก็เป็นเรื่องทางกฏหมาย ที่ผู้ที่ถูกคดีต้องไปต่อสู่กันในชั้นศาล ระหว่างการต่อสู้ในั้นศาลในกฏหมายก็ระบุชัดเจนว่าให้ยุติการปฏิลบัติหน้าที่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคนอื่น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือส.ส.จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่และรัฐสภาจะต้อหาทางออกใหม่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้การทำงานของสภาต้องหยุดชะงัก ซึ่งเคยมีเกิดขึ้นแล้วในกรณีที่ป.ป.ช.ชี้มูลก็ต้องกลับไปดูแนวปฎิบัติเดิม เพียงแต่ว่าคราวนี้จำนวนอาจจะมาก แต่แนวทางปฏิบัติก็ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่
ทางออกมี3ทาง
1. รัฐบาลต้องเตรียมตัวในการเลือกตั้งใหม่ก่อนวาระอยู่แล้ว คือยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ สามารถยุบสภาได้เร็วเพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตั้งผู้เเทน ที่ไม่มีปัญหาทางด้านคดีหรือกฏหมายเข้ามา
2.ดูเป็นรายบุคคลว่าจะมีการเลือกตั้งซ่อมได้หรือไม่ ยังต้องไปดูข้อกฏหมาย ก็ไม่ได้มีการยุบสภาแต่เป็นการหาคนมาทดแทน
3.ทำหน้าที่ต่อไปเนื่องจากจะเห็นได้ว่ามีการปฏิเสธอำนาจศาล หากดูจากแนวโน้มจะมีการปฏิเสธต่ออำนาจอื่นๆหรือไม่ แต่เเนวโน้มข้อนี้ไม่น่าจะทำได้ถ้าถึงทำได้ก็จะมีปัญหาทางการเมืองตามมาเยอะ แต่อาจจะมีการยืดเวลาออกไป ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ภายหลังจากการชี้มูลของป.ป.ช.คาดว่าสถานการณ์ทางการเมืองคงจะยังไม่ดีขึ้นมาก ถ้าหากว่าทางฝั่งพรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งสัญญาณให้ชัดเจนในการปฏิบัติตามกฏหมาย ซึ่งก็รู้สึกว่าเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับการทำตามกฏหมายซึ่งพรรคเพื่อไทยต้องส่งสญญาณให้ชัดว่าจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายไม่งั้นระบบก็จะมีปัญหามาก แต่ว่า ก็เป็นการจัดสินใจทางการเมืองด้วย
ในกรณีที่ว่ายังไม่ชี้มูลหรือว่าตัดสินใจลงเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่มีการยุบสภาแล้วมีการชี้มูลทีหลัง แต่ว่าก็ยังเดินหน้าเลือกตั้งทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นปัญหาให้กับระบบค่อนข้างมาก ถ้าจุดยืนของพรรคเพื่อไทย ชัดเจนว่าจะปฏิบัติตามกฏหมาย ปัญหาก็จะน้อยลง เพราะว่าในทางกฏหมายมันมีทางออกในตัวของมันเองอยู่เเล้ว แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฏหมายก็จะมีความซับซ้อน อาจจะมีอะไรที่เหนือความคาดหมายหรือว่าไม่เคยปฏิบัติมาก่อนจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น
ตอนนี้มีวิกฤติการณ์การเมืองซ้อนกันอยู่ 2 วิกฤติ วิกฤติการณ์อย่างแรกคือเรื่องกฏหมาย ซึ่งเราสามารถบรรเทาวิกฤตินี้ไปได้ เพียงแค่ปฏิบัติตามกฏหมาย ตามเจตนารมย์ของกฏหมายซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหามาโดยตลอดหลายปี องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ต้องมีการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดจริงจัง วิกฤตินี้ก็จะสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวมันเอง
วิกฤติต่อมาคือการแข่งขัน การเผชิญหน้า ความขัดแย้งที่ค่อนข้างรุนแรง ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ 2พรรค ของไทย โดยเฉพาะในบางความขัดเเย้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนตัว เรื่องตัวบุคคล บางเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพรรค เป็นเรื่องของความอยู่รอด เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ทั้งหมดเหล่านี้ มันมีพัฒนาการยาวนานมาถึง 12 ปีหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาสู่วงการเมือง ตรงนี้คงไม่ง่ายที่จะแก้ไข โดยเฉพาะ 2 พรรคการเมืองที่ไม่สามารถจะพูดคุยกันได้โดยตรง ซึ่งก็จะเป็นปัญหา
อย่างไรก็ตามในการหาทางออกจากวิกฤติที่เกิดขึ้นยังจำเป็นต้องมีทั้ง 2 พรรคเป็นหลัก การเเข่งขันกันของสองพรรคใหญ่ที่มีความขัดแย้งในแง่ของตัวบุคคลตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหา ที่ยืดยาวมาถึง 12 ปี ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเปลี่ยนไป จะเห็นได้จาก 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ความขัดแย้งใหญ่ว่านั้นก็คือเป็นความขัดแย้งที่คนไทยเกือบทั้งหมด ต้องการให้เห็นว่าพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ตอบสนองต่อประเด็นสำคัญที่ใหญ่กว่าความขัดแย้งระหว่างพรรค การทะเลาะของคนที่มาชุมนุมคือต้องการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูประบบราชการ จริงๆแล้วผู้ที่สนับสนุนทั้ง2พรรคการเมืองให็ก็เห็นตรงกันว่าประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปในเรื่องเหล่านี้
ในแง่การพูดคุยในอนาคตจะง่ายขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีคนรุ่นใหม่เข้ามา เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยตรงหรือความขัดแย้งส่วนตัวแต่เป็นประเด็นว่าจะทำอย่างไรให้ระบบราชการดีกว่านี้ ทำอย่างไรให้ระบบเศรษฐกิจเปิดกว้างกว่านี้ ทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมกับคนยากจน คนชั้นกลาง ทำอย่างไรให้ให้ตำรวจโกงกินคอรัปชั่นน้อยลงกว่านี้ และทำอย่างไรให้ระบบราชการโดยเฉพาะในระดับสูงไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้อย่างจริงจังเพราะว่ามีคนออกมาเป็นจำนวนมาก ทุกสี ที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดความเป็นธรรม
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฏหมายมหาชน เปิดเผยว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประเด็นอยู่ที่กระบวนการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.ผลทางกฏหมายก็คือหากผู้ใดดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นส.ส.-ส.ว.ถูกชี้มูลความผิด จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ช่วงคราวจนกว่า ทางวุฒิสภาจะจัดประชุมเพื่อลงมติเพื่อถอดถอนหรือไม่ เพราะฉะนั้นกระบวนการปกติคือหากชี้มูลว่าผิด ก็แค่รอพัก1-2วัน แล้วให้ส.ว.เรียกประชุม ซึ่งส.ว.จะประชุม2-3วันหรือ 1 อาทิตย์ก็แล้วแต่ ถ้าหากผลการลงมติส.ว.ออกมาว่า ผิดจริง ก็ถอดถอนไป ถ้าหากส.ว.ลงมติว่าไม่ผิดก็กลับมาทำหน้าที่ต่อ
แต่ประเด็นที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมาหากป.ป.ช.ชี้มูลความผิดขึ้นมา จะมีส.ว.ประมาณ 50 คน ที่อยู่ในรายชื่อ 312 คน ซึ่ง 50 คน เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนส.ว.ทั้งหมด 150 คน ถ้าหากส.ว.เหล่านี้ถูกชี้มูลไปด้วย หรือบางส่วนถูกชี้มูล ปัญหาคือส.ว.ที่เหลือจะประชุมกันอย่างไร ซึ่งองค์ประชุมไม่ครบอย่างแน่นอน หรือถึงแม้ครบองค์ประชุม และคำถามที่เกิดขึ้นคือ ตามรัฐธรรมนูญการใช้มติถอดถอนต้องใช้เสียง 3ใน5 ซึ่งถ้าหากที่ประชุมมีส.ว.ไม่ถึง 3ใน 5 ของจำนวนทั้งหมดได้ แล้วจะประชุมได้หรือไม่
ถ้าหากป.ป.ช.ชี้มูลรายบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีหรือประธานสภาฯ จะไม่ยุ่งยากเท่ากับชี้มูลทั้งหมด ถ้าเกิดชี้มูลทั้งหมด สิ่งที่น่ากังวลคือ จะมีคนบอกว่าส.ว.ไม่สามารถชี้มูลตัวเองได้ ดังนั้นจึงประชุมไม่ได้ เมื่อประชุมไม่ได้องค์ประชุมจึงไม่ครบ ผลที่ตามมาคือการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.จึงมีผลต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าป.ป.ช.จะไต่สวนเสร็จซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ และถ้าหากการไต่สวนเกิดล่าช้า ส.ส.และส.ว.ที่จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ จะทำให้ระบบรัฐสภาหยุดชะงัก ไม่สามารถบริหารบ้านเมืองได้
และในกรณีที่นายกรัฐมนตรีถูกชี้มูลความผิดในฐานะที่เป็นส.ส.ที่ไปประชุมในสภาแล้วต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ส.ส. คำถามที่ตามมาในทางกฏหมาย คือ นายกรัฐมนตรีจะต้องพ้นสภาพความเป็นนายกฯหรือไม่ ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ด้วยหรือไม่ ซึ่งมี 2 ทฤษฎี 1.คุณสมบัตินายกฯไม่ได้มีผลกระทบอะไรเพราะว่าผลของมาตรา 273 ตามรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเป็นผลเฉพาะว่าผู้ที่ถูกชี้มูล ไม่ควรจะทำหน้าที่ในระหว่างนั้น ซึ่ง ในเมื่อถูกชี้มูลในนามส.ส. นายกฯก็แค่ไม่ต้องไปประชุมสภาไม่ต้องไปลงมติใดๆทั้งสิ้น แต่หน้าที่ของนายกรัฐมนตรียังมีอยู่ 2.เป็นนายกฯและเป็นส.ส.เมื่อทำหน้าที่ส.ส.ไม่ได้ก็หมายความว่าทำหน้าที่นายกฯไม่ได้ด้วย เพราะฉะนั้นนายกฯต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ไปด้วย คำถามที่ตามมาคือถ้าหากนายกฯยุติการปฏิบัติหน้าที่แล้วครม.ทั้งชุดจะเกิดอะไรขึ้น จะยุติตามด้วยหรือไม่ หรือบุคคลอื่นทำหน้าที่นายกฯแทน
ตรงนี้จะนำไปสู่ข้อถกเถียงมากมายจนอาจนำไปสู่การฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่าการที่ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อเป็นการได้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
สุดท้ายก็จะนำไปสู่ความโกลาหลทางการเมือง และเมื่อถึงช่วงเวลานั้นหากบอกว่านายกรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ สิ่งที่ตามมาคือหากนายกปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ก็ยุบสภาไม่ได้ ถ้านายกฯยุบสภาไม่ได้แล้วทางออกจะเป็นอย่างไร
"ทั้งหมดนี้คือหมากที่ถูกวางไว้"
ป.ป.ช.จะสามารถอ้างได้หรือไม่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันธ์ทุกองค์กร ดังนั้นป.ป.ช.จึงจำเป็นต้องชี้มูล ส่วนตัวมองว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.มีผลผูกพันธ์ต่อองค์กรก็จริง แต่ผูกพันธ์เฉพาะส่วนที่เป็นการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
การตีความของศาลรัฐธรรมนูญย่อมผูกพันธ์ทุกองค์กรแต่มีข้อเเม้ว่าจะต้องเป็นการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีการไปชี้มูลความผิดมันไม่ใช่เรื่องของการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญ นี่คือการไปตีความพฤติกรรมและข้อเท็จจริง ซึ่งในกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีมาตรา 68 กรณีแก้ที่มาส.ว. ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ตีความทั้งตัวบทกฏหมาย ตัวบทรัฐธรรมนูญ ส่วนหนึ่ง แต่อีกเรื่องคือการตีความ พฤติกรรม ข้อเท็จจริง การกระทำ ของ ส.ส.-ส.ว. 312 คน ส่วนแรกที่ศาลรธน.ไปตีความรัฐธรรมนูญตามตัวบทอาจะบอกได้ว่าผูกพันธ์ทุกองค์กรถ้าถูกต้อง แต่ถ้าหากเป็นการตีความข้อเท็จจริง แม้การตีความข้อเท็จจริงนั้นศาลจะเห็นถูกต้องหรือไม่ ก็ไม่ผูกพันธ์องค์กรอื่น ต้องชัดเจนว่าการตีความรัฐธรรมนูญผูกพันธ์เพราะว่า ป.ป.ช.เองถูกผูกพันธ์โดยตรงกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อตัวบทรัฐธรรมนูญถูกตีความให้กระจ่างชัดขึ้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยย่อมก็ต้องผูกพันธ์ป.ป.ช.ไปด้วย
ส่วนข้อเท็จจริงที่สมากชิกรัฐสภา ส.ส.-ส.ว. 312 คน ทำผิดหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลตีความเป็นข้อเท็จจริงเฉพาะคดีไม่อาจนำไปอ้างในคดีอื่นได้ การที่ป.ป.ช.จะชี้มูล 1.ต้องบอกให้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยไม่ได้ผูกมัดป.ป.ช. ผูกมัดเฉพาะส่วนการตีความกฏหมาย 2.มาตรฐานในการชี้มูลความผิดป.ป.ช.ไม่เหมือนมาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญ คือมาตรฐานของการกระทำทั่วไปตามมาตรา 68 กับ มาตราฐานที่ต้องจงใจกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยมีลักษณะทุจริตรวยผิดปกติมาตรา270ต้องเเยกเป็นกรณีต่างหาก
สรุปได้ว่า 1.คำวินิจฉัยผูกพันธ์เฉพาะข้อกฏหมายไม่ผูกพันธ์ข้อเท็จจริง 2.ถ้าดูข้อกฏหมายมาตรา270 ต่างกันกับมาตรา68 ดังนั้นจึงเอามาเทียบกันไม่ได้ 3.แม้ดูข้อกฏหมายก็ไม่เหมือนกัน ข้อเท็จจริงก็ไม่เหมือนกันเข้าไปใหญ่ เพราะว่าการกระทำที่ถูกชี้มูลโดยป.ป.ช.เป็นการกระทำที่จะต้องดูเป็นรายบุคคลอย่างชัดเเจ้งว่าใครทำผิดบ้าง แต่การกระทำที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ ชี้แบบรวมๆ ไม่ได้เจาะจงว่าใครทำผิดหรือไม่ แต่บอกว่ามีการส่งเอกสารผิดพลาด มีการเสียบบัตรแทนกัน มีเวลาอภิปรายน้อยเกินไป แยกเป็นแต่ละกรณี
กรณีส่งเอกสารดูว่าใครเป็นคนส่ง คนส่งคือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขาของรัฐสภา เพราะฉะนั้นส.ส.-ส.ว.ทั้ง 312 คน ไม่เกี่ยวข้องหรือรับรู้ว่ามีการส่งเอกสารอย่างไร รู้แต่เพียงว่าเอกสารมาถึงแล้วอ่าน เพื่อลงมติ ไม่ได้มีการทำผิดพลาดแต่อย่างใด
กรณีที่เวลาในการอภิปรายแปรญัตติน้อยเกินไป คำถามคือใครเป็นคนกำหนดเรื่องการแปรญัตติซึ่ง 312 ไม่ได้เป็นคนกำหนด มันอยู่ในข้อบังคับแล้วผู้ที่ตีความข้อบังคับคือประธานสภาฯ แล้วตีความว่า312คน ทำผิดเรื่องนี้ จึงไม่ใช่
กรณีการเสียบบัตรแทนกัน ที่มีการเสียบบัตรแทนกันจำนวน 8 ใบ เพราะฉะนั้นจะเหมารวมทั้ง 312 คน มาอยู่ใน 8 ใบนี้ได้อย่างไรอย่างมากที่สุดป.ป.ช.ไม่สามารถชี้มูลทั้งก้อนได้ต้องชี้มูลเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องจริงๆ คนที่กระทำเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นในทางกฏหมายไม่สามารถเอาคำวินิจฉัยมาอ้างได้ แม้มาดูข้อกฏหมายของสองมาตราคือ มาตรา68และมาตรา270 ก็ใช้มาตรฐานต่างกัน เอามาเทียบกันไม่ได้ ฉะนั้นข้อเท็จจริงที่ศาลอ้างในคดีนั้นนำมาใช้ไม่ได้เลยเนื่องจากเป็นการพิจารณาแบบตีขลุม ไม่ใช่การพิจารณาที่ละเอียดแต่อย่างใด
ส่วนตัวมองว่าป.ป.ช.ไม่ควรจะชี้มูลทั้ง 312 คน ถ้าจะชี้เฉพาะบางคนก็ต้องไปดูในข้อกฏหมายหลักฐานเป็นอย่างไร ถ้าหากชี้มูลทั้งหมด312 คน จะทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นแน่นอน
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นในกรณีการยื่นถอดถอนส.ส.และส.ว.ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่า กระบวนการยื่นถอดถอนในชั้นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)จะมีการชี้มูลได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาป.ป.ช.ได้มีการทำงานคู่ขนานกับคดีของศาลรัฐธรรมนูญในหลายคดี ที่ผ่านมาเมื่อคำร้องไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วป.ป.ช.ก็ได้ตั้งคณะทำงานคู่ขนานเพราะฉะนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวเสร็จ ทางป.ป.ช.ก็สามารถที่จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ หมายความว่ามีการตั้งเรื่องอยู่เเล้ว ทำให้เห็นว่าการทำงานของป.ป.ช.ในช่วงหลังๆจะมีการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น เพราะว่าเมื่อศาลตัดสินแล้วไม่ได้มีการชี้มูลดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อกังขา ว่าเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นเรื่องที่ป.ป.ช.ได้ปรับปรุง
แต่ในขณะเดียวกันต้องระมัดระวังประเด็นทางการเมืองต้องอธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจด้วยว่าการชี้มูลโดยเร็วนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องการกลั่นแกล้งทางการเมือง การชี้มูลจะต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหลักฐานองค์ประกอบต่างๆ ส่วนคำวินิจฉัยของศาล ก็เป็นในแง่ของคำวินิจฉัย ซึ่งจะผิดหรือไม่ผิดมีมูลหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆที่ทางป.ป.ช. จะไปรวบรวมมาเพราะฉะนั้น ตัวหลักฐานต่างๆจะเป็นตัวกำหนดเเละอธิบายให้กับประชาชนว่าอะไรคือข้อเท็จจริง สุดท้ายแล้วถ้าหากป.ช.ช.ชี้มูลและมีการนำเสนอข้อเท็จจริงเหล่านี้ให้เป็นที่ปรากฏคลายข้อสงสัย ปัญหาก็อาจจะน้อยลงในทางการเมือง
อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่าเป็นการทำการขัดรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของป.ป.ช.ที่จะไปรวบรวมหลักฐานมา และท่ามกลางสถานการณ์ความขัดเเย้งทางการเมืองที่กำลังร้อนระอุ การชี้มูลของป.ป.ช.จะต้องจะต้องระมัดระวัง ต้องครบถ้วนในหลักฐาน
หากป.ป.ช.ชี้มูลความผิดของส.ส.และส.ว.จำนวน 312 คน ต่อไปก็เป็นเรื่องทางกฏหมาย ที่ผู้ที่ถูกคดีต้องไปต่อสู่กันในชั้นศาล ระหว่างการต่อสู้ในั้นศาลในกฏหมายก็ระบุชัดเจนว่าให้ยุติการปฏิลบัติหน้าที่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคนอื่น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือส.ส.จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่และรัฐสภาจะต้อหาทางออกใหม่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้การทำงานของสภาต้องหยุดชะงัก ซึ่งเคยมีเกิดขึ้นแล้วในกรณีที่ป.ป.ช.ชี้มูลก็ต้องกลับไปดูแนวปฎิบัติเดิม เพียงแต่ว่าคราวนี้จำนวนอาจจะมาก แต่แนวทางปฏิบัติก็ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่
ทางออกมี3ทาง
1. รัฐบาลต้องเตรียมตัวในการเลือกตั้งใหม่ก่อนวาระอยู่แล้ว คือยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ สามารถยุบสภาได้เร็วเพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตั้งผู้เเทน ที่ไม่มีปัญหาทางด้านคดีหรือกฏหมายเข้ามา
2.ดูเป็นรายบุคคลว่าจะมีการเลือกตั้งซ่อมได้หรือไม่ ยังต้องไปดูข้อกฏหมาย ก็ไม่ได้มีการยุบสภาแต่เป็นการหาคนมาทดแทน
3.ทำหน้าที่ต่อไปเนื่องจากจะเห็นได้ว่ามีการปฏิเสธอำนาจศาล หากดูจากแนวโน้มจะมีการปฏิเสธต่ออำนาจอื่นๆหรือไม่ แต่เเนวโน้มข้อนี้ไม่น่าจะทำได้ถ้าถึงทำได้ก็จะมีปัญหาทางการเมืองตามมาเยอะ แต่อาจจะมีการยืดเวลาออกไป ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ภายหลังจากการชี้มูลของป.ป.ช.คาดว่าสถานการณ์ทางการเมืองคงจะยังไม่ดีขึ้นมาก ถ้าหากว่าทางฝั่งพรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งสัญญาณให้ชัดเจนในการปฏิบัติตามกฏหมาย ซึ่งก็รู้สึกว่าเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับการทำตามกฏหมายซึ่งพรรคเพื่อไทยต้องส่งสญญาณให้ชัดว่าจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายไม่งั้นระบบก็จะมีปัญหามาก แต่ว่า ก็เป็นการจัดสินใจทางการเมืองด้วย
ในกรณีที่ว่ายังไม่ชี้มูลหรือว่าตัดสินใจลงเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่มีการยุบสภาแล้วมีการชี้มูลทีหลัง แต่ว่าก็ยังเดินหน้าเลือกตั้งทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นปัญหาให้กับระบบค่อนข้างมาก ถ้าจุดยืนของพรรคเพื่อไทย ชัดเจนว่าจะปฏิบัติตามกฏหมาย ปัญหาก็จะน้อยลง เพราะว่าในทางกฏหมายมันมีทางออกในตัวของมันเองอยู่เเล้ว แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฏหมายก็จะมีความซับซ้อน อาจจะมีอะไรที่เหนือความคาดหมายหรือว่าไม่เคยปฏิบัติมาก่อนจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น
ตอนนี้มีวิกฤติการณ์การเมืองซ้อนกันอยู่ 2 วิกฤติ วิกฤติการณ์อย่างแรกคือเรื่องกฏหมาย ซึ่งเราสามารถบรรเทาวิกฤตินี้ไปได้ เพียงแค่ปฏิบัติตามกฏหมาย ตามเจตนารมย์ของกฏหมายซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหามาโดยตลอดหลายปี องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ต้องมีการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดจริงจัง วิกฤตินี้ก็จะสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวมันเอง
วิกฤติต่อมาคือการแข่งขัน การเผชิญหน้า ความขัดแย้งที่ค่อนข้างรุนแรง ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ 2พรรค ของไทย โดยเฉพาะในบางความขัดเเย้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนตัว เรื่องตัวบุคคล บางเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพรรค เป็นเรื่องของความอยู่รอด เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ทั้งหมดเหล่านี้ มันมีพัฒนาการยาวนานมาถึง 12 ปีหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาสู่วงการเมือง ตรงนี้คงไม่ง่ายที่จะแก้ไข โดยเฉพาะ 2 พรรคการเมืองที่ไม่สามารถจะพูดคุยกันได้โดยตรง ซึ่งก็จะเป็นปัญหา
อย่างไรก็ตามในการหาทางออกจากวิกฤติที่เกิดขึ้นยังจำเป็นต้องมีทั้ง 2 พรรคเป็นหลัก การเเข่งขันกันของสองพรรคใหญ่ที่มีความขัดแย้งในแง่ของตัวบุคคลตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหา ที่ยืดยาวมาถึง 12 ปี ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเปลี่ยนไป จะเห็นได้จาก 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ความขัดแย้งใหญ่ว่านั้นก็คือเป็นความขัดแย้งที่คนไทยเกือบทั้งหมด ต้องการให้เห็นว่าพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ตอบสนองต่อประเด็นสำคัญที่ใหญ่กว่าความขัดแย้งระหว่างพรรค การทะเลาะของคนที่มาชุมนุมคือต้องการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูประบบราชการ จริงๆแล้วผู้ที่สนับสนุนทั้ง2พรรคการเมืองให็ก็เห็นตรงกันว่าประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปในเรื่องเหล่านี้
ในแง่การพูดคุยในอนาคตจะง่ายขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีคนรุ่นใหม่เข้ามา เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยตรงหรือความขัดแย้งส่วนตัวแต่เป็นประเด็นว่าจะทำอย่างไรให้ระบบราชการดีกว่านี้ ทำอย่างไรให้ระบบเศรษฐกิจเปิดกว้างกว่านี้ ทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมกับคนยากจน คนชั้นกลาง ทำอย่างไรให้ให้ตำรวจโกงกินคอรัปชั่นน้อยลงกว่านี้ และทำอย่างไรให้ระบบราชการโดยเฉพาะในระดับสูงไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้อย่างจริงจังเพราะว่ามีคนออกมาเป็นจำนวนมาก ทุกสี ที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดความเป็นธรรม
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฏหมายมหาชน เปิดเผยว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประเด็นอยู่ที่กระบวนการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.ผลทางกฏหมายก็คือหากผู้ใดดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นส.ส.-ส.ว.ถูกชี้มูลความผิด จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ช่วงคราวจนกว่า ทางวุฒิสภาจะจัดประชุมเพื่อลงมติเพื่อถอดถอนหรือไม่ เพราะฉะนั้นกระบวนการปกติคือหากชี้มูลว่าผิด ก็แค่รอพัก1-2วัน แล้วให้ส.ว.เรียกประชุม ซึ่งส.ว.จะประชุม2-3วันหรือ 1 อาทิตย์ก็แล้วแต่ ถ้าหากผลการลงมติส.ว.ออกมาว่า ผิดจริง ก็ถอดถอนไป ถ้าหากส.ว.ลงมติว่าไม่ผิดก็กลับมาทำหน้าที่ต่อ
แต่ประเด็นที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมาหากป.ป.ช.ชี้มูลความผิดขึ้นมา จะมีส.ว.ประมาณ 50 คน ที่อยู่ในรายชื่อ 312 คน ซึ่ง 50 คน เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนส.ว.ทั้งหมด 150 คน ถ้าหากส.ว.เหล่านี้ถูกชี้มูลไปด้วย หรือบางส่วนถูกชี้มูล ปัญหาคือส.ว.ที่เหลือจะประชุมกันอย่างไร ซึ่งองค์ประชุมไม่ครบอย่างแน่นอน หรือถึงแม้ครบองค์ประชุม และคำถามที่เกิดขึ้นคือ ตามรัฐธรรมนูญการใช้มติถอดถอนต้องใช้เสียง 3ใน5 ซึ่งถ้าหากที่ประชุมมีส.ว.ไม่ถึง 3ใน 5 ของจำนวนทั้งหมดได้ แล้วจะประชุมได้หรือไม่
ถ้าหากป.ป.ช.ชี้มูลรายบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีหรือประธานสภาฯ จะไม่ยุ่งยากเท่ากับชี้มูลทั้งหมด ถ้าเกิดชี้มูลทั้งหมด สิ่งที่น่ากังวลคือ จะมีคนบอกว่าส.ว.ไม่สามารถชี้มูลตัวเองได้ ดังนั้นจึงประชุมไม่ได้ เมื่อประชุมไม่ได้องค์ประชุมจึงไม่ครบ ผลที่ตามมาคือการชี้มูลความผิดของป.ป.ช.จึงมีผลต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าป.ป.ช.จะไต่สวนเสร็จซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ และถ้าหากการไต่สวนเกิดล่าช้า ส.ส.และส.ว.ที่จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ จะทำให้ระบบรัฐสภาหยุดชะงัก ไม่สามารถบริหารบ้านเมืองได้
และในกรณีที่นายกรัฐมนตรีถูกชี้มูลความผิดในฐานะที่เป็นส.ส.ที่ไปประชุมในสภาแล้วต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ส.ส. คำถามที่ตามมาในทางกฏหมาย คือ นายกรัฐมนตรีจะต้องพ้นสภาพความเป็นนายกฯหรือไม่ ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ด้วยหรือไม่ ซึ่งมี 2 ทฤษฎี 1.คุณสมบัตินายกฯไม่ได้มีผลกระทบอะไรเพราะว่าผลของมาตรา 273 ตามรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเป็นผลเฉพาะว่าผู้ที่ถูกชี้มูล ไม่ควรจะทำหน้าที่ในระหว่างนั้น ซึ่ง ในเมื่อถูกชี้มูลในนามส.ส. นายกฯก็แค่ไม่ต้องไปประชุมสภาไม่ต้องไปลงมติใดๆทั้งสิ้น แต่หน้าที่ของนายกรัฐมนตรียังมีอยู่ 2.เป็นนายกฯและเป็นส.ส.เมื่อทำหน้าที่ส.ส.ไม่ได้ก็หมายความว่าทำหน้าที่นายกฯไม่ได้ด้วย เพราะฉะนั้นนายกฯต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ไปด้วย คำถามที่ตามมาคือถ้าหากนายกฯยุติการปฏิบัติหน้าที่แล้วครม.ทั้งชุดจะเกิดอะไรขึ้น จะยุติตามด้วยหรือไม่ หรือบุคคลอื่นทำหน้าที่นายกฯแทน
ตรงนี้จะนำไปสู่ข้อถกเถียงมากมายจนอาจนำไปสู่การฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่าการที่ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อเป็นการได้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
สุดท้ายก็จะนำไปสู่ความโกลาหลทางการเมือง และเมื่อถึงช่วงเวลานั้นหากบอกว่านายกรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ สิ่งที่ตามมาคือหากนายกปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ก็ยุบสภาไม่ได้ ถ้านายกฯยุบสภาไม่ได้แล้วทางออกจะเป็นอย่างไร
"ทั้งหมดนี้คือหมากที่ถูกวางไว้"
ป.ป.ช.จะสามารถอ้างได้หรือไม่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันธ์ทุกองค์กร ดังนั้นป.ป.ช.จึงจำเป็นต้องชี้มูล ส่วนตัวมองว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.มีผลผูกพันธ์ต่อองค์กรก็จริง แต่ผูกพันธ์เฉพาะส่วนที่เป็นการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
การตีความของศาลรัฐธรรมนูญย่อมผูกพันธ์ทุกองค์กรแต่มีข้อเเม้ว่าจะต้องเป็นการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีการไปชี้มูลความผิดมันไม่ใช่เรื่องของการตีความตัวบทรัฐธรรมนูญ นี่คือการไปตีความพฤติกรรมและข้อเท็จจริง ซึ่งในกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีมาตรา 68 กรณีแก้ที่มาส.ว. ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ตีความทั้งตัวบทกฏหมาย ตัวบทรัฐธรรมนูญ ส่วนหนึ่ง แต่อีกเรื่องคือการตีความ พฤติกรรม ข้อเท็จจริง การกระทำ ของ ส.ส.-ส.ว. 312 คน ส่วนแรกที่ศาลรธน.ไปตีความรัฐธรรมนูญตามตัวบทอาจะบอกได้ว่าผูกพันธ์ทุกองค์กรถ้าถูกต้อง แต่ถ้าหากเป็นการตีความข้อเท็จจริง แม้การตีความข้อเท็จจริงนั้นศาลจะเห็นถูกต้องหรือไม่ ก็ไม่ผูกพันธ์องค์กรอื่น ต้องชัดเจนว่าการตีความรัฐธรรมนูญผูกพันธ์เพราะว่า ป.ป.ช.เองถูกผูกพันธ์โดยตรงกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อตัวบทรัฐธรรมนูญถูกตีความให้กระจ่างชัดขึ้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยย่อมก็ต้องผูกพันธ์ป.ป.ช.ไปด้วย
ส่วนข้อเท็จจริงที่สมากชิกรัฐสภา ส.ส.-ส.ว. 312 คน ทำผิดหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลตีความเป็นข้อเท็จจริงเฉพาะคดีไม่อาจนำไปอ้างในคดีอื่นได้ การที่ป.ป.ช.จะชี้มูล 1.ต้องบอกให้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยไม่ได้ผูกมัดป.ป.ช. ผูกมัดเฉพาะส่วนการตีความกฏหมาย 2.มาตรฐานในการชี้มูลความผิดป.ป.ช.ไม่เหมือนมาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญ คือมาตรฐานของการกระทำทั่วไปตามมาตรา 68 กับ มาตราฐานที่ต้องจงใจกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยมีลักษณะทุจริตรวยผิดปกติมาตรา270ต้องเเยกเป็นกรณีต่างหาก
สรุปได้ว่า 1.คำวินิจฉัยผูกพันธ์เฉพาะข้อกฏหมายไม่ผูกพันธ์ข้อเท็จจริง 2.ถ้าดูข้อกฏหมายมาตรา270 ต่างกันกับมาตรา68 ดังนั้นจึงเอามาเทียบกันไม่ได้ 3.แม้ดูข้อกฏหมายก็ไม่เหมือนกัน ข้อเท็จจริงก็ไม่เหมือนกันเข้าไปใหญ่ เพราะว่าการกระทำที่ถูกชี้มูลโดยป.ป.ช.เป็นการกระทำที่จะต้องดูเป็นรายบุคคลอย่างชัดเเจ้งว่าใครทำผิดบ้าง แต่การกระทำที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ ชี้แบบรวมๆ ไม่ได้เจาะจงว่าใครทำผิดหรือไม่ แต่บอกว่ามีการส่งเอกสารผิดพลาด มีการเสียบบัตรแทนกัน มีเวลาอภิปรายน้อยเกินไป แยกเป็นแต่ละกรณี
กรณีส่งเอกสารดูว่าใครเป็นคนส่ง คนส่งคือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขาของรัฐสภา เพราะฉะนั้นส.ส.-ส.ว.ทั้ง 312 คน ไม่เกี่ยวข้องหรือรับรู้ว่ามีการส่งเอกสารอย่างไร รู้แต่เพียงว่าเอกสารมาถึงแล้วอ่าน เพื่อลงมติ ไม่ได้มีการทำผิดพลาดแต่อย่างใด
กรณีที่เวลาในการอภิปรายแปรญัตติน้อยเกินไป คำถามคือใครเป็นคนกำหนดเรื่องการแปรญัตติซึ่ง 312 ไม่ได้เป็นคนกำหนด มันอยู่ในข้อบังคับแล้วผู้ที่ตีความข้อบังคับคือประธานสภาฯ แล้วตีความว่า312คน ทำผิดเรื่องนี้ จึงไม่ใช่
กรณีการเสียบบัตรแทนกัน ที่มีการเสียบบัตรแทนกันจำนวน 8 ใบ เพราะฉะนั้นจะเหมารวมทั้ง 312 คน มาอยู่ใน 8 ใบนี้ได้อย่างไรอย่างมากที่สุดป.ป.ช.ไม่สามารถชี้มูลทั้งก้อนได้ต้องชี้มูลเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องจริงๆ คนที่กระทำเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นในทางกฏหมายไม่สามารถเอาคำวินิจฉัยมาอ้างได้ แม้มาดูข้อกฏหมายของสองมาตราคือ มาตรา68และมาตรา270 ก็ใช้มาตรฐานต่างกัน เอามาเทียบกันไม่ได้ ฉะนั้นข้อเท็จจริงที่ศาลอ้างในคดีนั้นนำมาใช้ไม่ได้เลยเนื่องจากเป็นการพิจารณาแบบตีขลุม ไม่ใช่การพิจารณาที่ละเอียดแต่อย่างใด
ส่วนตัวมองว่าป.ป.ช.ไม่ควรจะชี้มูลทั้ง 312 คน ถ้าจะชี้เฉพาะบางคนก็ต้องไปดูในข้อกฏหมายหลักฐานเป็นอย่างไร ถ้าหากชี้มูลทั้งหมด312 คน จะทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นแน่นอน
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น