หากเป็นโลกบันเทิงไทย ผลงานภาพยนตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวของการเมืองที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือ เรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน” (The Moon Hunter) ออกฉายในปี 2544 กำกับการแสดงโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 กับ จิระนันท์ พิตรปรีชา ภรรยา ที่ต้องหนีภัยจากการกวาดล้างของรัฐบาล เข้าป่าไปร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งออกจากป่าในปี 2524
อีกเรื่องคือ “คู่กรรม 2” (Sunset at Chaophraya 2) ของ ทมยันตี ภาคต่อคู่กรรม สร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 2539 กำกับการแสดงโดย บรรจง โกศัลวัฒน์ และละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เมื่อปี 2547 กำกับ นพดล มงคลพันธ์ ซึ่งมีเรื่องของเหตุการณ์ 14 ตุลา เข้าไปเกี่ยวข้องเช่นกัน
เป็นเรื่องการเมืองที่เข้ามาในแวดวงบันเทิง ที่สังคมรับได้เพราะเป็นเรื่องของเหตุการณ์จริง ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์
หรือแม้แต่เรื่องของชีวิตของคนบันเทิง ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งสมัยก่อนอาจดูเป็นเส้นขนาน แต่มาในยุคหลังๆนี้ ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่มีศิลปินดารารวมทั้งคนทีวี เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสนามการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
อาทิ กรุง ศรีวิไล, รณ ฤทธิชัย, ยุรนันท์ ภมรมนตรี, ลีลาวดี วัชโรบล, นาตยา แดงบุหงา, เจ๋ง ดอกจิก, ดนุพร ปุณณกันต์, อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง, เอกพจน์ วงศ์นาค, ศันสนีย์ นาคพงศ์, บุญยอด สุขถิ่นไทย, แทนคุณ จิตต์อิสระ
ยังไม่รวมศิลปินดาราที่ไปเป็นหลังบ้านนักเมืองอีก อาทิ กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง, นุสบา วานิชกูร และ กบ-ปภัสรา ชุตานุพงษ์
ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สังคมรับได้ ส่วนว่าใครจะสอบได้สอบตก ใครจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด หือจะต้องดราม่าจากที่เคยเชิด ให้ประชาชนวิ่งตามขอลายเซ็น กลายเป็นวิ่งตามง้อประชาชน ไหว้ดะ เพื่อขอคะแนน ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา
แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ เรื่องของดารา เรื่องของคนบันเทิง ที่อินกับกระแสการแบ่งแยกแตกขั้วในสังคมไทย แล้วนอกจากจะกระโดดเข้าสู่การเลือกข้าง ซึ่งนั่นก็ว่ากันไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย ใครจะรักจะชอบขั้วไหนถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นสังคมก็ยังพอรับได้
ที่รับไม่ได้คือประเภทที่ไม่ใช่แค่เลือกข้าง แต่ยังเลือกที่สร้างกระแสด้วยถ้อยคำแรงๆที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นบุคคลสาธารณะ ไม่เหมาะสมกับการที่เป็นคนซึ่งควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม
ดาราในสายตาของประชาชนนอกจากจะไม่ควรยุ่งกับยาเสพติด ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ยังไม่ควรที่จะใช้ถ้อยคำ กริยาที่ไม่เหมาะสม ที่เป็นผลร้ายต่อเด็ก เยาวชน และสังคม หากนำไปกระทำตาม
การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองนั้นสามารถทำได้ สามารถพูดให้แรงในเกมได้ด้วยเหตุผล แต่ไม่ใช่การดุเด็ดเผ็ดร้อนแบบปากตลาด หรือไร้สติ ที่อาจจะทำให้ต้องมานั่งเสียใจอยู่ลึกๆในภายหลัง
ยกตัวอย่าง ตั้ว-ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ที่เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์หลายครั้ง อาทิ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 แล้วก็การขึ้นเวทีร่วมขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เมื่อปี 2551 แล้วก็ไปเป็นแกนนำพันธมิตร จากนั้นก็ไปเป็น 1 ใน 100 คนที่ร่วมก่อตั้ง “พรรคการเมืองใหม่” จนได้เป็นรองเลขาธิการพรรค ของกลุ่มพันธมิตร และต้องทิ้งห่างวงการบันเทิง
ว่ากันว่าผลจากการเล่นการเมืองแบบรุนแรงนี่เอง ที่ทำให้เมื่อวกกลับเข้ามาในแวดวงบันเทิง ด้วยการ กำกับภาพยนตร์เรื่อง “คนโขน” ทั้ง ๆ ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมไทย แต่กลับไม่ได้รับการต้อนรับจากผู้คนเท่าที่ควร ว่ากันว่าเพราะการเข้าร่วมทางการเมืองแบ่งขั้วนั่นเอง
คนโขน จึงกลายเป็นหนังที่ทำรายได้น้อย แตกต่างจากภาพยนตร์สะท้อนศิลปวัฒนธรรมเช่นกันคือ เรื่อง “โหมโรง” ที่สร้างรายได้ในขณะนั้น ปี 2547 มากเป็นประวัติการณ์ถึงกว่า 52 ล้านบาท
สุดท้าย ตั้ว ศรัณยู ได้ออกพ็อกเกตบุ๊ก เล่าเรื่องความในใจกับเหตุการณ์ทางการเมืองถึง 3 เล่มด้วยกันคือ บันทึกบทสุดท้าย ปลายทางพันธมิตร อีกเล่มคือ ตั้วเฮีย ไม่เสียชาติเกิดที่เป็นคนไทย และเล่มที่ 3 คือ ก้าวที่พลาด ซึ่งกล่าวถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง
ตั้วเคยเปิดใจกับรายการทีวีช่องหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วว่า ช่วงแรกที่เข้าร่วมการชุมนุมนั้นในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดคล้ายกับผู้ที่ชุมนุม แล้วเมื่อมีคนเห็นว่ามาเข้าร่วมด้วย จึงชวนขึ้นเวที ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจว่าจะหลบให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง
“วันที่เข้าร่วมชุนนุมนั้น ผมเข้าใจว่าทุกคนเป็นประชาชน ผมไม่ได้แยกว่าเป็นดารา จึงไม่ได้มีการประเมินว่าทำอย่างนี้แล้วจะสุ่มเสี่ยงต่ออาชีพ”
และวันนี้ตั้ว ศรัณยู คงรู้แล้วว่า วันนี้เส้นทางในแวดวงบันเทิงเป็นเช่นไร
เช่นเดียวกับอีกหนึ่งนักแสดงที่เปิดเผยตัวตนอย่างชัดเจน คือ จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ดารามากฝีมือที่คนเคยเชื่อว่าเธอจะอยู่ในวงการได้นาน
ปี 2549 จอยได้ร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตร แต่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนมากนัก
กระทั่งในปี 2551 จอยได้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองอีกครั้ง และปรากฏตัวบนเวทีการเมืองอย่างชัดเจนหลายครั้ง
เชื่อกันว่าผลจากการไปร่วมชุมนุมทางการเมืองในลักษณะของการเลือกขั้วแบ่งข้าง ส่งผลกระทบต่องานละคร เพราะทั้งผู้สร้าง ผู้กำกับ หรือแม้แต่ช่อง ไม่รู้ว่าเมื่อสร้างเสร็จออกมาแล้ว จะได้รับผลกระทบจากคนดูที่เป็นการเมืองขั้วตรงข้ามสักเพียงใด
ขณะเดียวกันนอกจากประเด็นการเมืองที่ช่องไม่กล้าเสี่ยงแล้ว จอยยังมีกรณีความขัดแย้งกับผู้จัดละครช่อง 3 กลายเป็น “พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก” จนต้องเงียบหายไปพักใหญ่ ก่อนจะมีงานละครในปี 2554 เรื่อง “ตลาดอารมณ์” ค่ายเอ็กแซ็กท์ ซึ่งเธอต้องสลัดคราบนางเอกมารับบทนางร้ายครั้งแรก จนได้รับรางวัลเมขลามหานิยมแห่งปี แต่ก็ไม่สามารถกู้ความนิยมในอดีตกลับคืนมาได้
ที่สำคัญคือ เธอได้ถูกข้อหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย กระทั่งได้ระบายความรู้สึกผ่านเฟสบุ๊กว่า รู้สึกอึดอัดมากที่ไม่สามารถจะแสดงออกทางการเมืองได้เป็นอิสระเหมือนก่อน แต่ข้อจำกัดของคดี ไม่สามารถจะมัดความคิดทางสติปัญญาได้ จะหาหนทางออกไปแสดงความเห็นทางการเมืองต่อไป
ในเหตุการณ์ล่าสุด การคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรม เธอก็ยังมีการได้โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊ก ด้วย แต่เห็นชัดเจนว่าเป็นการโพสต์ที่มีพัฒนาการของวุฒิภาวะมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่ขึ้นโพสต์ของเธอจึงมีคนสนใจ แต่ไม่กระฉ่อนฉาว กระแสไม่แรง ซึ่งจริงๆแล้วถือเป็นเรื่องที่เหมาะสมด้วยซ้ำ
เพราะการเมืองเป็นเรื่องของเหตุผล ความคิด ไม่ใช่เรื่องของความดิบ หรือการแสดงความหยาบคาย
แต่ดูเหมือนว่าในการต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ซึ่งมีผู้คนมากมายหลากหลายกลุ่มที่ร่วมกันคัดค้านต่อต้าน ซึ่งแน่นอนว่าก็มีกลุ่มศิลปินดาราและคนในวงการบันเทิงทั้งเข้าร่วมชุมนุมและขึ้นเวทีปราศรัยกันมาก และก็มีดาราที่เลือกใช้ความก้าวร้าวรุนแรงในคำพูด สร้างกระแสรวมอยู่ด้วย
อย่าง แตงโม-ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ นางเอกสาวช่อง 7 ที่ขึ้นเวทีราชดำเนิน ซึ่งจริงๆก็มีดาราไปขึ้นเยอะไม่ว่าจะเป็น นก สินจัย, นก ฉัตรชัย, อ๊อฟ พงษ์พัฒน์, แดง ธัญญา, หมอก้อง สรวิชญ์, เต๊ ศตวรรษ, “อะตอม สัมพันธภาพ” นักแสดงช่อง 7, ครูโจ้ เดอะสตาร์, กบ ปภัสรา, ไก่ วรายุฑ, ท็อป ดารณีนุช, หน่อย บุษกร, เคน ธีรเดช, ตลกหยอง ลูกหยี
แต่ที่แตงโมเป็นประเด็นมากที่สุดก็เพราะการระบุที่รุนแรง พาดพิงถึง“ทักษิณ” ว่าโกงกิน ฆ่าคน สันดานทำร้ายประชาชน ไม่ต้องกลับมากราบแผ่นดินอีก สาบานขอแลกด้วยชีวิตเพื่อรักษาความสุขประเทศไทย ถ้าไม่ใช่ให้มาเหยียบหน้าได้เลย
แน่นอนว่าเมื่อเป็นสไตล์คำพูดแรงๆแบบนี้ ก็ย่อมต้องเกิดเสียงสะท้อนกลับสารพัดด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากที่มีข่าวออกมาว่า อาจจะถูกฟ้องร้องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ
แต่ส่วนหนึ่งที่สะท้อนสวนกลับในโลกสังคมออนไลน์ก็คือ มุมมองที่รุนแรงนั้น สืบเนื่องมาจากบิดาของแตงโม คือ นายโสภณ พัชรวีระพงษ์ นั้นเคยทำงานอยู่กับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ใช่หรือไม่???
ขณะเดียวกันหลายส่วนก็ยังมองว่า หากดูถึงบุคลิกที่ผ่านมาของแตงโม ที่เป็นดาราคนหนึ่งที่นักข่าวบันเทิงมองว่าเป็นขาวีน จนเคยมีการบอยคอตกันมาแล้ว ก็น่าจะเป็นสไตล์ส่วนตัวของแตงโมเองเสียมากกว่า คงไม่ใช่เพราะนายโสภณปลูกฝังให้ใช้ความดุเด็ดเผ็ดมันแน่
อีกคนที่ใช้ความเผ็ดร้อนในวาจาก็คือ นก สินจัย เปล่งพานิช ที่เขียนข้อความผ่านอินสตาแกรมว่า “ผิดคือผิด เลวคือเลว ไม่ต้องมาวิเคราะห์ ไม่ต้องมาทำเป็นกลาง ๆ ไม่นิรโทษโว้ยยยๆๆๆๆๆ”
จนหลายคนงงๆว่า นางเอกยอดนิยมใช้วาจาดุเดือดถึงเพียงนี้เชียวหรือ
ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ บอย โกสิยพงษ์ นักร้อง นักแต่งเพลงชื่อดัง ซึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมด้วยเช่นกัน และเช่นเดียวกับคนจำนวนมาก แต่บอยก็โพสต์ลงในเฟซบุ๊ก Boyd Kosiyabong แบบสุภาพว่า “ในฐานะประชาชนคนไทยที่ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ครับ”
รูปแบบของบอย มิใช่หรือที่ควรเป็นแนวทางของดารา ของบุคคลสาธารณะที่จะเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชน
และเพราะนิยมใช้ถ้อยคำรุนแรงในโลกออนไลน์เพื่อความสะใจกันหรือไม่ จึงได้เกิดถ้อยคำรุนแรงด้วยความรำคาญของ เสก โลโซ ออกมาให้ช็อกสังคมด้วยเช่นกัน
โดยเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน นักร้องมาดเซอร์ เสก-เสกสรรค์ ศุขพิมาย หรือ เสก โลโซ ทนไม่ไหวกับความขัดแย้งในครั้งนี้ จึงฉะบรรดาแฟนๆ ที่มาโพสต์เรื่องการเมืองในเฟซบุ๊คตนเอง ว่า
"FUCK OFF! *ไอ้พวกส้นตีนเรื่องการเมืองห่าไรเนี่ย มึงไปทะเลาะกันไกลๆเฟสกูและส้นตีนกูด้วย กูร้องเพลงให้ความสุขพวกมึงก็พอแล้ว มึงจะให้กูไปเดินประท้วงหาพ่อมึงหรือไง? มึงอย่ามาคอมเม้นท์กวนตีนกูไอ้สัตว์ กูจะร้องเพลง จบ!"S. Loso ...
ทั้งหมดคือปรากฎการณ์ที่น่าเป็นห่วงของสังคมไทย ในเรื่องของการแสดงอารมณ์ที่ก้าวร้าวรุนแรง เรื่องของการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมใช่หรือไม่ โดยเฉพาะจากคนที่เป็นบุคคลสาธารณะ
การแสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองนั้นไม่เสียหายอะไร แต่การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมนี่สิ เป็นเรื่องที่ทำร้ายสังคมเช่นกันมิใช่หรือ???
ที่มา.บางกอกทูเดย์
------------------------------------
เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 กับ จิระนันท์ พิตรปรีชา ภรรยา ที่ต้องหนีภัยจากการกวาดล้างของรัฐบาล เข้าป่าไปร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งออกจากป่าในปี 2524
อีกเรื่องคือ “คู่กรรม 2” (Sunset at Chaophraya 2) ของ ทมยันตี ภาคต่อคู่กรรม สร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 2539 กำกับการแสดงโดย บรรจง โกศัลวัฒน์ และละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เมื่อปี 2547 กำกับ นพดล มงคลพันธ์ ซึ่งมีเรื่องของเหตุการณ์ 14 ตุลา เข้าไปเกี่ยวข้องเช่นกัน
เป็นเรื่องการเมืองที่เข้ามาในแวดวงบันเทิง ที่สังคมรับได้เพราะเป็นเรื่องของเหตุการณ์จริง ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์
หรือแม้แต่เรื่องของชีวิตของคนบันเทิง ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งสมัยก่อนอาจดูเป็นเส้นขนาน แต่มาในยุคหลังๆนี้ ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่มีศิลปินดารารวมทั้งคนทีวี เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสนามการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
อาทิ กรุง ศรีวิไล, รณ ฤทธิชัย, ยุรนันท์ ภมรมนตรี, ลีลาวดี วัชโรบล, นาตยา แดงบุหงา, เจ๋ง ดอกจิก, ดนุพร ปุณณกันต์, อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง, เอกพจน์ วงศ์นาค, ศันสนีย์ นาคพงศ์, บุญยอด สุขถิ่นไทย, แทนคุณ จิตต์อิสระ
ยังไม่รวมศิลปินดาราที่ไปเป็นหลังบ้านนักเมืองอีก อาทิ กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง, นุสบา วานิชกูร และ กบ-ปภัสรา ชุตานุพงษ์
ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สังคมรับได้ ส่วนว่าใครจะสอบได้สอบตก ใครจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด หือจะต้องดราม่าจากที่เคยเชิด ให้ประชาชนวิ่งตามขอลายเซ็น กลายเป็นวิ่งตามง้อประชาชน ไหว้ดะ เพื่อขอคะแนน ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา
แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ เรื่องของดารา เรื่องของคนบันเทิง ที่อินกับกระแสการแบ่งแยกแตกขั้วในสังคมไทย แล้วนอกจากจะกระโดดเข้าสู่การเลือกข้าง ซึ่งนั่นก็ว่ากันไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย ใครจะรักจะชอบขั้วไหนถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นสังคมก็ยังพอรับได้
ที่รับไม่ได้คือประเภทที่ไม่ใช่แค่เลือกข้าง แต่ยังเลือกที่สร้างกระแสด้วยถ้อยคำแรงๆที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นบุคคลสาธารณะ ไม่เหมาะสมกับการที่เป็นคนซึ่งควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม
ดาราในสายตาของประชาชนนอกจากจะไม่ควรยุ่งกับยาเสพติด ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ยังไม่ควรที่จะใช้ถ้อยคำ กริยาที่ไม่เหมาะสม ที่เป็นผลร้ายต่อเด็ก เยาวชน และสังคม หากนำไปกระทำตาม
การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองนั้นสามารถทำได้ สามารถพูดให้แรงในเกมได้ด้วยเหตุผล แต่ไม่ใช่การดุเด็ดเผ็ดร้อนแบบปากตลาด หรือไร้สติ ที่อาจจะทำให้ต้องมานั่งเสียใจอยู่ลึกๆในภายหลัง
ยกตัวอย่าง ตั้ว-ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ที่เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์หลายครั้ง อาทิ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 แล้วก็การขึ้นเวทีร่วมขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เมื่อปี 2551 แล้วก็ไปเป็นแกนนำพันธมิตร จากนั้นก็ไปเป็น 1 ใน 100 คนที่ร่วมก่อตั้ง “พรรคการเมืองใหม่” จนได้เป็นรองเลขาธิการพรรค ของกลุ่มพันธมิตร และต้องทิ้งห่างวงการบันเทิง
ว่ากันว่าผลจากการเล่นการเมืองแบบรุนแรงนี่เอง ที่ทำให้เมื่อวกกลับเข้ามาในแวดวงบันเทิง ด้วยการ กำกับภาพยนตร์เรื่อง “คนโขน” ทั้ง ๆ ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมไทย แต่กลับไม่ได้รับการต้อนรับจากผู้คนเท่าที่ควร ว่ากันว่าเพราะการเข้าร่วมทางการเมืองแบ่งขั้วนั่นเอง
คนโขน จึงกลายเป็นหนังที่ทำรายได้น้อย แตกต่างจากภาพยนตร์สะท้อนศิลปวัฒนธรรมเช่นกันคือ เรื่อง “โหมโรง” ที่สร้างรายได้ในขณะนั้น ปี 2547 มากเป็นประวัติการณ์ถึงกว่า 52 ล้านบาท
สุดท้าย ตั้ว ศรัณยู ได้ออกพ็อกเกตบุ๊ก เล่าเรื่องความในใจกับเหตุการณ์ทางการเมืองถึง 3 เล่มด้วยกันคือ บันทึกบทสุดท้าย ปลายทางพันธมิตร อีกเล่มคือ ตั้วเฮีย ไม่เสียชาติเกิดที่เป็นคนไทย และเล่มที่ 3 คือ ก้าวที่พลาด ซึ่งกล่าวถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง
ตั้วเคยเปิดใจกับรายการทีวีช่องหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วว่า ช่วงแรกที่เข้าร่วมการชุมนุมนั้นในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดคล้ายกับผู้ที่ชุมนุม แล้วเมื่อมีคนเห็นว่ามาเข้าร่วมด้วย จึงชวนขึ้นเวที ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจว่าจะหลบให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง
“วันที่เข้าร่วมชุนนุมนั้น ผมเข้าใจว่าทุกคนเป็นประชาชน ผมไม่ได้แยกว่าเป็นดารา จึงไม่ได้มีการประเมินว่าทำอย่างนี้แล้วจะสุ่มเสี่ยงต่ออาชีพ”
และวันนี้ตั้ว ศรัณยู คงรู้แล้วว่า วันนี้เส้นทางในแวดวงบันเทิงเป็นเช่นไร
เช่นเดียวกับอีกหนึ่งนักแสดงที่เปิดเผยตัวตนอย่างชัดเจน คือ จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ดารามากฝีมือที่คนเคยเชื่อว่าเธอจะอยู่ในวงการได้นาน
ปี 2549 จอยได้ร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตร แต่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนมากนัก
กระทั่งในปี 2551 จอยได้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองอีกครั้ง และปรากฏตัวบนเวทีการเมืองอย่างชัดเจนหลายครั้ง
เชื่อกันว่าผลจากการไปร่วมชุมนุมทางการเมืองในลักษณะของการเลือกขั้วแบ่งข้าง ส่งผลกระทบต่องานละคร เพราะทั้งผู้สร้าง ผู้กำกับ หรือแม้แต่ช่อง ไม่รู้ว่าเมื่อสร้างเสร็จออกมาแล้ว จะได้รับผลกระทบจากคนดูที่เป็นการเมืองขั้วตรงข้ามสักเพียงใด
ขณะเดียวกันนอกจากประเด็นการเมืองที่ช่องไม่กล้าเสี่ยงแล้ว จอยยังมีกรณีความขัดแย้งกับผู้จัดละครช่อง 3 กลายเป็น “พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก” จนต้องเงียบหายไปพักใหญ่ ก่อนจะมีงานละครในปี 2554 เรื่อง “ตลาดอารมณ์” ค่ายเอ็กแซ็กท์ ซึ่งเธอต้องสลัดคราบนางเอกมารับบทนางร้ายครั้งแรก จนได้รับรางวัลเมขลามหานิยมแห่งปี แต่ก็ไม่สามารถกู้ความนิยมในอดีตกลับคืนมาได้
ที่สำคัญคือ เธอได้ถูกข้อหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย กระทั่งได้ระบายความรู้สึกผ่านเฟสบุ๊กว่า รู้สึกอึดอัดมากที่ไม่สามารถจะแสดงออกทางการเมืองได้เป็นอิสระเหมือนก่อน แต่ข้อจำกัดของคดี ไม่สามารถจะมัดความคิดทางสติปัญญาได้ จะหาหนทางออกไปแสดงความเห็นทางการเมืองต่อไป
ในเหตุการณ์ล่าสุด การคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรม เธอก็ยังมีการได้โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊ก ด้วย แต่เห็นชัดเจนว่าเป็นการโพสต์ที่มีพัฒนาการของวุฒิภาวะมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่ขึ้นโพสต์ของเธอจึงมีคนสนใจ แต่ไม่กระฉ่อนฉาว กระแสไม่แรง ซึ่งจริงๆแล้วถือเป็นเรื่องที่เหมาะสมด้วยซ้ำ
เพราะการเมืองเป็นเรื่องของเหตุผล ความคิด ไม่ใช่เรื่องของความดิบ หรือการแสดงความหยาบคาย
แต่ดูเหมือนว่าในการต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ซึ่งมีผู้คนมากมายหลากหลายกลุ่มที่ร่วมกันคัดค้านต่อต้าน ซึ่งแน่นอนว่าก็มีกลุ่มศิลปินดาราและคนในวงการบันเทิงทั้งเข้าร่วมชุมนุมและขึ้นเวทีปราศรัยกันมาก และก็มีดาราที่เลือกใช้ความก้าวร้าวรุนแรงในคำพูด สร้างกระแสรวมอยู่ด้วย
อย่าง แตงโม-ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ นางเอกสาวช่อง 7 ที่ขึ้นเวทีราชดำเนิน ซึ่งจริงๆก็มีดาราไปขึ้นเยอะไม่ว่าจะเป็น นก สินจัย, นก ฉัตรชัย, อ๊อฟ พงษ์พัฒน์, แดง ธัญญา, หมอก้อง สรวิชญ์, เต๊ ศตวรรษ, “อะตอม สัมพันธภาพ” นักแสดงช่อง 7, ครูโจ้ เดอะสตาร์, กบ ปภัสรา, ไก่ วรายุฑ, ท็อป ดารณีนุช, หน่อย บุษกร, เคน ธีรเดช, ตลกหยอง ลูกหยี
แต่ที่แตงโมเป็นประเด็นมากที่สุดก็เพราะการระบุที่รุนแรง พาดพิงถึง“ทักษิณ” ว่าโกงกิน ฆ่าคน สันดานทำร้ายประชาชน ไม่ต้องกลับมากราบแผ่นดินอีก สาบานขอแลกด้วยชีวิตเพื่อรักษาความสุขประเทศไทย ถ้าไม่ใช่ให้มาเหยียบหน้าได้เลย
แน่นอนว่าเมื่อเป็นสไตล์คำพูดแรงๆแบบนี้ ก็ย่อมต้องเกิดเสียงสะท้อนกลับสารพัดด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากที่มีข่าวออกมาว่า อาจจะถูกฟ้องร้องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ
แต่ส่วนหนึ่งที่สะท้อนสวนกลับในโลกสังคมออนไลน์ก็คือ มุมมองที่รุนแรงนั้น สืบเนื่องมาจากบิดาของแตงโม คือ นายโสภณ พัชรวีระพงษ์ นั้นเคยทำงานอยู่กับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ใช่หรือไม่???
ขณะเดียวกันหลายส่วนก็ยังมองว่า หากดูถึงบุคลิกที่ผ่านมาของแตงโม ที่เป็นดาราคนหนึ่งที่นักข่าวบันเทิงมองว่าเป็นขาวีน จนเคยมีการบอยคอตกันมาแล้ว ก็น่าจะเป็นสไตล์ส่วนตัวของแตงโมเองเสียมากกว่า คงไม่ใช่เพราะนายโสภณปลูกฝังให้ใช้ความดุเด็ดเผ็ดมันแน่
อีกคนที่ใช้ความเผ็ดร้อนในวาจาก็คือ นก สินจัย เปล่งพานิช ที่เขียนข้อความผ่านอินสตาแกรมว่า “ผิดคือผิด เลวคือเลว ไม่ต้องมาวิเคราะห์ ไม่ต้องมาทำเป็นกลาง ๆ ไม่นิรโทษโว้ยยยๆๆๆๆๆ”
จนหลายคนงงๆว่า นางเอกยอดนิยมใช้วาจาดุเดือดถึงเพียงนี้เชียวหรือ
ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ บอย โกสิยพงษ์ นักร้อง นักแต่งเพลงชื่อดัง ซึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมด้วยเช่นกัน และเช่นเดียวกับคนจำนวนมาก แต่บอยก็โพสต์ลงในเฟซบุ๊ก Boyd Kosiyabong แบบสุภาพว่า “ในฐานะประชาชนคนไทยที่ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ครับ”
รูปแบบของบอย มิใช่หรือที่ควรเป็นแนวทางของดารา ของบุคคลสาธารณะที่จะเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชน
และเพราะนิยมใช้ถ้อยคำรุนแรงในโลกออนไลน์เพื่อความสะใจกันหรือไม่ จึงได้เกิดถ้อยคำรุนแรงด้วยความรำคาญของ เสก โลโซ ออกมาให้ช็อกสังคมด้วยเช่นกัน
โดยเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน นักร้องมาดเซอร์ เสก-เสกสรรค์ ศุขพิมาย หรือ เสก โลโซ ทนไม่ไหวกับความขัดแย้งในครั้งนี้ จึงฉะบรรดาแฟนๆ ที่มาโพสต์เรื่องการเมืองในเฟซบุ๊คตนเอง ว่า
"FUCK OFF! *ไอ้พวกส้นตีนเรื่องการเมืองห่าไรเนี่ย มึงไปทะเลาะกันไกลๆเฟสกูและส้นตีนกูด้วย กูร้องเพลงให้ความสุขพวกมึงก็พอแล้ว มึงจะให้กูไปเดินประท้วงหาพ่อมึงหรือไง? มึงอย่ามาคอมเม้นท์กวนตีนกูไอ้สัตว์ กูจะร้องเพลง จบ!"S. Loso ...
ทั้งหมดคือปรากฎการณ์ที่น่าเป็นห่วงของสังคมไทย ในเรื่องของการแสดงอารมณ์ที่ก้าวร้าวรุนแรง เรื่องของการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมใช่หรือไม่ โดยเฉพาะจากคนที่เป็นบุคคลสาธารณะ
การแสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองนั้นไม่เสียหายอะไร แต่การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมนี่สิ เป็นเรื่องที่ทำร้ายสังคมเช่นกันมิใช่หรือ???
ที่มา.บางกอกทูเดย์
------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น