นักวิชาการเตือนรัฐควรรับฟัง เสี่ยงกระทบเศรษฐกิจรวม
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศไทย (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาเสนอแนะให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว เพื่อลดภาระการคลัง โดยใช้วิธีการจ่ายเงินโดยตรงในการช่วยเหลือชาวนา แทนการรับซื้อข้าวในราคาสูงกว่าตลาด โดยระบุว่า ยังอ่านรายงานของไอเอ็มเอฟไม่ละเอียด แต่คิดว่ายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในหลายส่วน ควรทำความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยให้ลึกซึ้งก่อนจะให้ความเห็นที่ออกเป็นทฤษฎีให้แก่ประเทศอื่นๆ เพราะต้องดูความเหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ด้วย
ด้านนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การที่ไอเอ็มเอฟออกมาวิพากษ์วิจารณ์โครงการรับจำนำข้าว อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจว่าโดยปกติในทุกๆ รัฐบาลจะต้องใช้เงินเพื่อช่วยเหลืออุดหนุนสินค้าเกษตรไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว การใช้เงินในโครงการรับจำนำข้าวก็อาจใช้เงินมากกว่าเดิมอีกนิดหน่อย และนอกจากการรับจำนำข้าวแล้ว รัฐบาลยังมองว่าในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคู่ขนานกันไป รวมทั้งดูการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่สร้างรายได้ควบคู่กันไปด้วย
ขณะที่นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า การที่ไอเอ็มเอฟเสนอแนะรัฐบาลไทยให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว ก็เพื่อลดความเสี่ยงอันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของไทย เพราะการที่รัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับนโยบายประชานิยม จะทำให้รัฐขาดงบประมาณไปสนับสนุนด้านอื่นๆ จนกระทบต่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งมองว่าเมื่อความเสี่ยงต่อประเทศเพิ่มขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง ก็จะกระทบไปยังการลดอันดับเครดิตของประเทศ
ไอเอ็มเอฟออกมาเตือนรัฐบาลว่าควรจะยกเลิกและเปลี่ยนมาใช้วิธีการใหม่เสีย เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาได้ในที่สุด และหากไทยถูกดาวน์เกรด ผลกระทบอื่นๆ ก็จะมีอีกมากกว่า ซึ่งหากรัฐบาลยอมฟังข้อเสนอของไอเอ็มเอฟ เชื่อว่าน่าจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับประเทศไทยได้ทัน” นายสมพรกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า กรมการค้าต่างประเทศ ได้ประกาศจำหน่ายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลผ่านทางเว็บไซต์กรม ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาซื้อ โดยเป็นข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีปีการผลิต 2554/55, นาปรังปี 2555 และนาปีปี 2555/56 (รอบ1) รวมทั้งสิ้น 452,537 ตัน กำหนดยื่นซองเสนอราคาวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ เวลา 09.00-16.30 น. ที่กรมการค้าต่างประเทศ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า ธ.ก.ส.จะเริ่มจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรในโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/57 คาดว่าจะเริ่มจ่ายให้แก่เกษตกรในบางภาคก่อน ซึ่งนำข้าวมาเข้าโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคมแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากนั้นจะทยอยจ่ายในภาคอีสานคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์
ต้องยอมรับว่าโครงการมีความติดขัดเรื่องการเงินอยู่บ้าง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรับจำนำช่วงที่ผ่านมา 4 ครั้งรัฐบาลใช้งบประมาณไปสูงมากถึง 6.8 แสนล้านบาท เกินวงเงินที่กำหนดไว้ 5 แสนล้านบาท และโครงการปี 2556/57 กำหนดที่จะใช้วงเงิน 2.7 แสนล้านบาท ทาง ครม.จึงให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลังหารือร่วมกัน เพื่อหาเงินมาดำเนินโครงการต่อ ซึ่งได้เงินก้อนแรกมาแล้ว 2-3 หมื่นล้านบาท การจ่ายเงินแม้จะช้าแต่ได้รับแน่นอน
ที่มา.คมชัดลึก
---------------------
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศไทย (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาเสนอแนะให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว เพื่อลดภาระการคลัง โดยใช้วิธีการจ่ายเงินโดยตรงในการช่วยเหลือชาวนา แทนการรับซื้อข้าวในราคาสูงกว่าตลาด โดยระบุว่า ยังอ่านรายงานของไอเอ็มเอฟไม่ละเอียด แต่คิดว่ายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในหลายส่วน ควรทำความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยให้ลึกซึ้งก่อนจะให้ความเห็นที่ออกเป็นทฤษฎีให้แก่ประเทศอื่นๆ เพราะต้องดูความเหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ด้วย
ด้านนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การที่ไอเอ็มเอฟออกมาวิพากษ์วิจารณ์โครงการรับจำนำข้าว อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจว่าโดยปกติในทุกๆ รัฐบาลจะต้องใช้เงินเพื่อช่วยเหลืออุดหนุนสินค้าเกษตรไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว การใช้เงินในโครงการรับจำนำข้าวก็อาจใช้เงินมากกว่าเดิมอีกนิดหน่อย และนอกจากการรับจำนำข้าวแล้ว รัฐบาลยังมองว่าในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคู่ขนานกันไป รวมทั้งดูการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่สร้างรายได้ควบคู่กันไปด้วย
ขณะที่นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า การที่ไอเอ็มเอฟเสนอแนะรัฐบาลไทยให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว ก็เพื่อลดความเสี่ยงอันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของไทย เพราะการที่รัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับนโยบายประชานิยม จะทำให้รัฐขาดงบประมาณไปสนับสนุนด้านอื่นๆ จนกระทบต่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งมองว่าเมื่อความเสี่ยงต่อประเทศเพิ่มขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง ก็จะกระทบไปยังการลดอันดับเครดิตของประเทศ
ไอเอ็มเอฟออกมาเตือนรัฐบาลว่าควรจะยกเลิกและเปลี่ยนมาใช้วิธีการใหม่เสีย เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาได้ในที่สุด และหากไทยถูกดาวน์เกรด ผลกระทบอื่นๆ ก็จะมีอีกมากกว่า ซึ่งหากรัฐบาลยอมฟังข้อเสนอของไอเอ็มเอฟ เชื่อว่าน่าจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับประเทศไทยได้ทัน” นายสมพรกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า กรมการค้าต่างประเทศ ได้ประกาศจำหน่ายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลผ่านทางเว็บไซต์กรม ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาซื้อ โดยเป็นข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีปีการผลิต 2554/55, นาปรังปี 2555 และนาปีปี 2555/56 (รอบ1) รวมทั้งสิ้น 452,537 ตัน กำหนดยื่นซองเสนอราคาวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ เวลา 09.00-16.30 น. ที่กรมการค้าต่างประเทศ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า ธ.ก.ส.จะเริ่มจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรในโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/57 คาดว่าจะเริ่มจ่ายให้แก่เกษตกรในบางภาคก่อน ซึ่งนำข้าวมาเข้าโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคมแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากนั้นจะทยอยจ่ายในภาคอีสานคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์
ต้องยอมรับว่าโครงการมีความติดขัดเรื่องการเงินอยู่บ้าง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรับจำนำช่วงที่ผ่านมา 4 ครั้งรัฐบาลใช้งบประมาณไปสูงมากถึง 6.8 แสนล้านบาท เกินวงเงินที่กำหนดไว้ 5 แสนล้านบาท และโครงการปี 2556/57 กำหนดที่จะใช้วงเงิน 2.7 แสนล้านบาท ทาง ครม.จึงให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลังหารือร่วมกัน เพื่อหาเงินมาดำเนินโครงการต่อ ซึ่งได้เงินก้อนแรกมาแล้ว 2-3 หมื่นล้านบาท การจ่ายเงินแม้จะช้าแต่ได้รับแน่นอน
ที่มา.คมชัดลึก
---------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น