ภายหลังมึนๆ กับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ที่ตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505 เกี่ยวกับอาณาบริเวณ (vicinity) ของปราสาทพระวิหารตามคำร้องของกัมพูชามาได้ 1 วัน ฝุ่นควันความสับสนเริ่มจางลง
นักวิชาการหลายสำนักเริ่มออกมาชี้ว่า แม้ไทยไม่ต้องเสียดินแดนในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร แต่น่าจะต้อง "คลายเส้น" (วลีของ ปณิธาน วัฒนายากร) ตามมติคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อปี 2505 (สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ซึ่งเคยตีกรอบอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารและล้อมรั้วลวดหนามเอาไว้ เพราะการตีความคำพิพากษาของศาลโลกเที่ยวนี้ ศาลได้กำหนดจุดอ้างอิงใหม่เกี่ยวกับ "อาณาบริเวณของปราสาท" โดยยึดโยงกับรายละเอียดในคำพิพากษาย่อหน้าที่ 98
นั่นคือหัวใจของคำพิพากษาใหม่เมื่อ 11 พ.ย.2556 โดยศาลเน้นว่าให้ยึดตามลักษณะธรรมชาติของภูมิประเทศ แต่ไม่รวมไปถึง "พนมทรัพ" กับ "ภูมะเขือ" และให้ไทยถอนกำลังทหาร ตำรวจออกจากบริเวณดังกล่าว
พื้นที่นี้ว่ากันว่ามีขนาดประมาณ 1-1.5 ตารางกิโลเมตร จึงไม่น่าจะใช่ "พื้นที่เล็กๆ" เหมือนที่บางคนพูด!
อัครพงษ์ ค่ำคูณ นักวิชาการจากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า บริเวณของปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษาของศาลโลก น่าจะใหญ่กว่าแนวทางที่ 1 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยในสมัยปี 2505 เคยเสนอคณะรัฐมนตรีเอาไว้ โดยแนวทางที่ 1 ในเอกสารบอกว่ามีขนาด 0.5 ตารางกิโลเมตร
อย่างไรก็ดี ในคำพิพากษาล่าสุดที่อ้างอิงจากคำพิพากษาปี 2505 ย่อหน้า 98 ระบุชัดว่า ศาลจะใช้ลักษณะทางธรรมชาติ (natural features) เพื่อกำหนดขอบเขต/สังเขปเขต (limits) ของ "ภู" พระวิหาร
"ตรงนี้ถือว่ามันก็มีเหตุผล เพราะปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนภูพระวิหาร ติดกับภูมะเขือ เป็นคนละภูแยกกันชัด ซึ่งพอรับได้ ฝ่ายไทยก็เคยคิดแบบนี้มาก่อนในสมัยปี 2505 แต่ที่น่าสนใจคือ แม้ศาลจะบอกว่าไม่ใช่แผนที่ดองแร็ก (ระวางดงรัก) แต่กลับอ้างถึงเส้นในแอนเน็กซ์ 1 (Annex I map line) เพื่อกำหนดขอบเขตทางด้านเหนือของตัวปราสาท ซึ่งตอนนี้ไม่มีทหารไทยหรือฐานทหารไทยอยู่ภายในขอบเขตที่ศาลกำหนด บ้านภูมิซรอลก็อยู่นอกเขตนี้แน่นอนเพราะอยู่เหนือเส้นแอนเน็กซ์ 1"
"ทางออกสุดท้ายอยู่ที่ 2 ฝ่ายต้องตกลงกัน แต่ที่แน่ๆ ถ้าใช้แผนที่ L7017 / L7018 เป็นมาตรฐาน เราน่าจะเสียดินแดนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้ล้อมรั้วลวดหนามเอาไว้ 2 เท่า โดย ขอบเขต/สังเขปเขต (limits) ของ 'ภู' พระวิหาร (promontory of Preah Vihear) ที่ศาลโลกตัดสินนั้น ค่อนข้างใกล้เคียงกับแผนที่ชุด L708 ซึ่งจัดทำโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา กับ กรมแผนที่ทหารของไทย สำรวจข้อมูลเมื่อปี พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2508 (ค.ศ.1965) หมายความว่า แผนที่ L708 แสดงเส้นเขตแดนที่ไทยยอมรับ และแสดงว่า 'ภู' พระวิหารทั้งลูก อยู่นอกเส้นเขตแดนของไทย"
ขณะที่ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ไม่อาจปฏิเสธประเด็นของฝายกัมพูชาได้ว่า เส้นเขตปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยไปสร้างรั้วล้อมกรอบเอาไว้เป็นการคิดเองเออเองของฝ่ายไทย หาได้มีหลักการใดๆ รองรับ ซึ่งก็จริง โดยศาลโลกแถลงข้อความสุดท้ายที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วในย่อหน้าที่ 98 ของคำพิพากษา ศาลโลกบอกว่าได้พิพากษาชัดเจนว่าอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร หรือ vicinity ตามบทปฏิบัติการข้อ 2 คือแค่ไหน แต่ทั้งไทยและกัมพูชา ต่างไม่พิจารณาให้ละเอียด อุตส่าห์จ้างทนายราคาแพง แต่กลับอ่านไม่แตก
"มรดกแห่งปัญหานี้ คือ อ่านคำพิพากษาไม่แตกกันทั้งสองฝ่าย รวมทั้งทนายทั้งสองฝ่ายชุดปัจจุบันด้วย เพราะมีอคติจากความต้องการพื้นฐานของแต่ละประเทศชี้นำ สรุปไม่มีใครได้หรือเสีย ศาลโลกชี้ให้เห็นว่าทั้งสองประเทศเสียค่าโง่ หลงมาทะเลาะกัน ที่จริงศาลกำหนดอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร หรือ vicinity เอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว"
"ศาลชี้ให้เห็นว่าแนวเขตที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์์ไปทำไว้เมื่อปี 2505 นั่นไม่ใช่ที่ศาลตัดสิน และศาลในครั้งนี้ (11พ.ย.) ยังได้ยกมาเล่าด้วยว่า ผู้แทนศาลได้ลงไปดูพื้นที่ในปีหลังคำพิพากษา ก็ได้บอกให้ย้ายอาคารและคนของฝ่ายไทยที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาใน vicinity ของปราสาทออกจากเขตนี้ไปอีก ฝ่ายไทยก็ยังไม่เข้าใจ vicinity ของคำพิพากษา แต่ยืนยันความเชื่อว่าตนได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว คือเขตรั้วที่ไปล้อมให้นั่นเอง สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ศาลในปี 2556 ตัดสินเรื่องอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารในอธิปไตยของกัมพูชา ส่วนเรื่องเส้นเขตแดนกัมพูชา-ไทยยังต้องพูดคุยปักปันกันต่อไป" ธำรงศักดิ์ กล่าว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------
นักวิชาการหลายสำนักเริ่มออกมาชี้ว่า แม้ไทยไม่ต้องเสียดินแดนในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร แต่น่าจะต้อง "คลายเส้น" (วลีของ ปณิธาน วัฒนายากร) ตามมติคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อปี 2505 (สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ซึ่งเคยตีกรอบอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารและล้อมรั้วลวดหนามเอาไว้ เพราะการตีความคำพิพากษาของศาลโลกเที่ยวนี้ ศาลได้กำหนดจุดอ้างอิงใหม่เกี่ยวกับ "อาณาบริเวณของปราสาท" โดยยึดโยงกับรายละเอียดในคำพิพากษาย่อหน้าที่ 98
นั่นคือหัวใจของคำพิพากษาใหม่เมื่อ 11 พ.ย.2556 โดยศาลเน้นว่าให้ยึดตามลักษณะธรรมชาติของภูมิประเทศ แต่ไม่รวมไปถึง "พนมทรัพ" กับ "ภูมะเขือ" และให้ไทยถอนกำลังทหาร ตำรวจออกจากบริเวณดังกล่าว
พื้นที่นี้ว่ากันว่ามีขนาดประมาณ 1-1.5 ตารางกิโลเมตร จึงไม่น่าจะใช่ "พื้นที่เล็กๆ" เหมือนที่บางคนพูด!
อัครพงษ์ ค่ำคูณ นักวิชาการจากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า บริเวณของปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษาของศาลโลก น่าจะใหญ่กว่าแนวทางที่ 1 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยในสมัยปี 2505 เคยเสนอคณะรัฐมนตรีเอาไว้ โดยแนวทางที่ 1 ในเอกสารบอกว่ามีขนาด 0.5 ตารางกิโลเมตร
อย่างไรก็ดี ในคำพิพากษาล่าสุดที่อ้างอิงจากคำพิพากษาปี 2505 ย่อหน้า 98 ระบุชัดว่า ศาลจะใช้ลักษณะทางธรรมชาติ (natural features) เพื่อกำหนดขอบเขต/สังเขปเขต (limits) ของ "ภู" พระวิหาร
"ตรงนี้ถือว่ามันก็มีเหตุผล เพราะปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนภูพระวิหาร ติดกับภูมะเขือ เป็นคนละภูแยกกันชัด ซึ่งพอรับได้ ฝ่ายไทยก็เคยคิดแบบนี้มาก่อนในสมัยปี 2505 แต่ที่น่าสนใจคือ แม้ศาลจะบอกว่าไม่ใช่แผนที่ดองแร็ก (ระวางดงรัก) แต่กลับอ้างถึงเส้นในแอนเน็กซ์ 1 (Annex I map line) เพื่อกำหนดขอบเขตทางด้านเหนือของตัวปราสาท ซึ่งตอนนี้ไม่มีทหารไทยหรือฐานทหารไทยอยู่ภายในขอบเขตที่ศาลกำหนด บ้านภูมิซรอลก็อยู่นอกเขตนี้แน่นอนเพราะอยู่เหนือเส้นแอนเน็กซ์ 1"
"ทางออกสุดท้ายอยู่ที่ 2 ฝ่ายต้องตกลงกัน แต่ที่แน่ๆ ถ้าใช้แผนที่ L7017 / L7018 เป็นมาตรฐาน เราน่าจะเสียดินแดนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้ล้อมรั้วลวดหนามเอาไว้ 2 เท่า โดย ขอบเขต/สังเขปเขต (limits) ของ 'ภู' พระวิหาร (promontory of Preah Vihear) ที่ศาลโลกตัดสินนั้น ค่อนข้างใกล้เคียงกับแผนที่ชุด L708 ซึ่งจัดทำโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา กับ กรมแผนที่ทหารของไทย สำรวจข้อมูลเมื่อปี พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2508 (ค.ศ.1965) หมายความว่า แผนที่ L708 แสดงเส้นเขตแดนที่ไทยยอมรับ และแสดงว่า 'ภู' พระวิหารทั้งลูก อยู่นอกเส้นเขตแดนของไทย"
ขณะที่ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ไม่อาจปฏิเสธประเด็นของฝายกัมพูชาได้ว่า เส้นเขตปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยไปสร้างรั้วล้อมกรอบเอาไว้เป็นการคิดเองเออเองของฝ่ายไทย หาได้มีหลักการใดๆ รองรับ ซึ่งก็จริง โดยศาลโลกแถลงข้อความสุดท้ายที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วในย่อหน้าที่ 98 ของคำพิพากษา ศาลโลกบอกว่าได้พิพากษาชัดเจนว่าอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร หรือ vicinity ตามบทปฏิบัติการข้อ 2 คือแค่ไหน แต่ทั้งไทยและกัมพูชา ต่างไม่พิจารณาให้ละเอียด อุตส่าห์จ้างทนายราคาแพง แต่กลับอ่านไม่แตก
"มรดกแห่งปัญหานี้ คือ อ่านคำพิพากษาไม่แตกกันทั้งสองฝ่าย รวมทั้งทนายทั้งสองฝ่ายชุดปัจจุบันด้วย เพราะมีอคติจากความต้องการพื้นฐานของแต่ละประเทศชี้นำ สรุปไม่มีใครได้หรือเสีย ศาลโลกชี้ให้เห็นว่าทั้งสองประเทศเสียค่าโง่ หลงมาทะเลาะกัน ที่จริงศาลกำหนดอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร หรือ vicinity เอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว"
"ศาลชี้ให้เห็นว่าแนวเขตที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์์ไปทำไว้เมื่อปี 2505 นั่นไม่ใช่ที่ศาลตัดสิน และศาลในครั้งนี้ (11พ.ย.) ยังได้ยกมาเล่าด้วยว่า ผู้แทนศาลได้ลงไปดูพื้นที่ในปีหลังคำพิพากษา ก็ได้บอกให้ย้ายอาคารและคนของฝ่ายไทยที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาใน vicinity ของปราสาทออกจากเขตนี้ไปอีก ฝ่ายไทยก็ยังไม่เข้าใจ vicinity ของคำพิพากษา แต่ยืนยันความเชื่อว่าตนได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว คือเขตรั้วที่ไปล้อมให้นั่นเอง สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ศาลในปี 2556 ตัดสินเรื่องอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารในอธิปไตยของกัมพูชา ส่วนเรื่องเส้นเขตแดนกัมพูชา-ไทยยังต้องพูดคุยปักปันกันต่อไป" ธำรงศักดิ์ กล่าว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น