คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
แรงผลักดันการเข้ามาของธนาคารญี่ปุ่นในประเทศไทยครั้งใหม่มีพลังอย่างมาก มิใช่เพียงโอกาสและการสร้างสายสัมพันธ์ทางธุรกิจเหมือนกับช่วง 3-4 ทศวรรษที่แล้วสถาบันการเงินญี่ปุ่นฝั่งตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมานานแล้ว และในบางช่วงบางโอกาสสถาบันการเงินญี่ปุ่นได้เข้ามาอย่างคึกคักพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงกระแสกระบวนธุรกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ประเทศไทย ในช่วงปลายและหลังสงครามเวียดนาม แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดตามกฎหมายสถาบันการเงินไทย จึงมักอยู่ในโมเดลการร่วมทุนกับธนาคารไทย
กับธนาคารกสิกรไทย
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
แรงผลักดันการเข้ามาของธนาคารญี่ปุ่นในประเทศไทยครั้งใหม่มีพลังอย่างมาก มิใช่เพียงโอกาสและการสร้างสายสัมพันธ์ทางธุรกิจเหมือนกับช่วง 3-4 ทศวรรษที่แล้วสถาบันการเงินญี่ปุ่นฝั่งตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมานานแล้ว และในบางช่วงบางโอกาสสถาบันการเงินญี่ปุ่นได้เข้ามาอย่างคึกคักพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงกระแสกระบวนธุรกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ประเทศไทย ในช่วงปลายและหลังสงครามเวียดนาม แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดตามกฎหมายสถาบันการเงินไทย จึงมักอยู่ในโมเดลการร่วมทุนกับธนาคารไทย
กับธนาคารกสิกรไทย
แผนการสร้างเครือข่าย ธนาคารแบงเกอร์สทรัสต์ ในขอบเขตทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อปี 2507 ตามแนวคิดอินเวสต์เมนต์แบงก์มีการเจรจาร่วมทุนกับนักธุรกิจไทยโดยเฉพาะธนาคารกสิกรไทย พอปี 2512 ก็ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนครั้งแรก 20 ล้านบาท หน่วยงานลงทุนของแบงเกอร์สทรัสต์, (BANKERSINTERNATIONAL CORPORATION) แบนคอม ดีเวลล็อปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น แห่งมะนิลา (ก่อตั้งโดยแบงเกอร์สทรัสต์) กับธนาคารกสิกรไทยปี 2515 แบนคอม ดีเวลล็อปเม้นท์ฯแห่งมะนิลา ฟิลิปปินส์ ถูกเทกโอเวอร์โดยพรรคพวกของมาร์กอส เพื่อจำกัดวงความเป็นเจ้าของกิจการให้อยู่แค่นั้น
เมื่อแบงเกอร์สทรัสต์ถอนตัวจากแบนคอมฯในฟิลิปปินส์พร้อม ๆ กับการซื้อหุ้นแบนคอมฯในทิสโก้คืนด้วย เวลาเดียวกัน ธนาคารไดอิชิกังโย (Dai-ichi Kangyo Bank) สนใจขยายกิจการด้านนี้เข้าเมืองไทย จึงซื้อหุ้นส่วนเดิมของแบนคอมฯไปอันเป็นช่วงเวลาเดียวกับ โนมูระซีเคียวริตี้(Nomura Securities) เข้ามาร่วมทุนกับธนาคารกรุงเทพในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกโนมูระ" ผมเคยเขียนถึงจุดกำเนิดของบริษัทเงินทุนทิสโก้ที่เชื่อมโยงกับสถาบันการเงินญี่ปุ่น (จากเรื่อง ศิวะพร ทรรทรานนท์ ในหนังสือ อำนาจธุรกิจใหม่ 2541)

ต่อมาไม่นาน Dai-ichi Kangyo Bank (ปัจจุบันได้หลอมรวมอยู่ใน Mizuho Financial Group) ได้ถอนตัวออกไป เช่นเดียวกับ Nomura Securities อย่างไรก็ตาม ไม่ช้าไม่นานจากนั้น ความพยายามฟื้นความสัมพันธ์ก็มีขึ้น แต่ไม่หวือหวา
Mizuho Bank มีฐานะเป็นสาขาธนาคารในประเทศไทย หนึ่งในสามของธนาคารญี่ปุ่น ส่วน Nomura Securities นายหน้าค้าหุ้นเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ก็หวนกลับมาอีกครั้ง
กับธนาคารกรุงเทพ
ความจริงแล้ว Nomura Securities เข้ามาเมืองไทยก่อน Dai-ichi Kangyo Bank ตั้งแต่ปี 2513 ในนามบริษัทบางกอกโนมูระ อินเตอร์เนชั่นแนล ซีเคียวริตี้เป็นการร่วมทุนกับธนาคารกรุงเทพและเปลี่ยนเป็นเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกโนมูระในอีก 5 ปีต่อมา ถือเป็นหนึ่งในฐานะผู้ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่อีกกว่าทศวรรษต่อมาได้ถอนตัวออกไป
"บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนสินเพิ่งจะเปลี่ยนชื่อมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โนมูระ เมื่อต้นปี 2528 เพราะผู้ถือหุ้นต่างประเทศถอนออกไป อันได้แก่ Nomura Securities ธุรกิจหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพราะยุทธศาสตร์ทั่วโลกของฝ่ายนั้น ที่ต้องการจะขยายตัวการลงทุนในกิจการหลักทรัพย์ในเมืองไทยอย่างเต็มที่ ถึงขั้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เนื่องจากติดกันในแง่กฎหมาย จึงขอถอนตัวเหลือเพียงสำนักงานตัวแทน ที่มีเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวดำเนินในด้าน Underwriterต่อไป ธนาคารกรุงเทพในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ฝ่ายไทยได้เข้าซื้อหุ้นจาก Nomura Securities โชติ โสภณพนิช กรรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ได้รับหน้าที่รับผิดชอบพัฒนสินต่อไป" ผมเคยอรรถาธิบายประเด็นนี้ไว้นานแล้ว (พัฒนสินกับโฉมหน้าใหม่ของ "ข้อมูล" การลงทุน นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2530)
การปฏิรูปสถาบันการเงินครั้งใหญ่ในประเทศไทย เกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 เปิดทางให้กับขบวนพาเหรดของสถาบันการเงินระดับโลกเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์และตลาดทุนไทย Nomura Securities ได้กลับมาอีกครั้ง ร่วมมือกับพันธมิตรเก่าอีกครั้ง
ขณะนั้นพัฒนสินคงธุรกิจหลักทรัพย์ไว้เพียงอย่างเดียว "เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน" เป็น "บริษัทหลักทรัพย์โนมูระพัฒนสิน" (ข้อมูลทางการของโนมูระพัฒนสิน www.nomuradirect.com/) และให้ข้อมูลด้วยว่า Nomura Holdings,Inc. และ Nomura Asia Holding N.V. ถือหุ้นใหญ่รวมกันประมาณ 38%
โดยมีชาวญี่ปุ่นเป็นผู้บริหารคนสำคัญว่าไปแล้ว ธนาคารกรุงเทพกับธนาคารญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์มากกว่านั้นมานานแล้ว และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน-กรณีบริษัทบางกอกเฟิร์สท์โตไก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2516 เป็นกิจการร่วมทุนกับ Tokai Bank ปัจจุบันก็คือบริษัทบางกอก บีทีเอ็มยู การเปลี่ยนชื่อเกิดขึ้นมาจากกระบวนการหลอมรวมของธนาคารญี่ปุ่นหลายครั้งอย่างซับซ้อน ในฐานะส่วนหนึ่งของ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ หรือ BTMU (ผมอธิบายไว้บ้างในตอนที่แล้ว)
ในรายงานประจำปี 2555 ของธนาคารกรุงเทพ ให้ข้อมูลด้วยว่าได้ถือหุ้น 10% ในบริษัทบางกอกมิตซูบิชิยูเอฟเจลิส (ธุรกิจเช่าซื้อ) และบริษัทบางกอกบีทีเอ็มยู (ธุรกิจให้กู้ยืมและการลงทุน)
กับธนาคารไทยพาณิชย์
เป็นความสัมพันธ์ที่มีบุคลิกพิเศษ เครือข่ายความสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั้งธุรกิจการเงินและอื่น ๆ ของญี่ปุ่น กับธนาคารไทยพาณิชย์ เชื่อมโยงถึงเครือซิเมนต์ไทย และสำนักงานทรัพย์สินฯ
กล่าวเฉพาะธุรกิจการเงิน เริ่มขึ้นประมาณ ปี 2525 บริษัทหลักทรัพย์บุคคลัภย์ ร่วมทุนกับ Long-Term Credit Bank of Japan โดยเข้ามาถือหุ้นประมาณ 20%
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน Sanwa Bank เข้ามาถือหุ้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรม ซึ่งก่อตั้งโดยบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
ความสัมพันธ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 เครือข่ายธนาคารไทยพาณิชย์ไม่สามารถรักษาสถาบันการเงินชั้นรองของตัวเองไว้ได้ ขณะที่ทั้ง Long-Term Credit Bank of Japan และ Sanwa Bank ก็อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญLong-Term Credit Bank of Japan มีปัญหาหนี้เสียจำนวนมาก ต้องเปลี่ยนสภาพจากธนาคารรัฐบาล (ลักษณะคล้าย ๆ ไอเอฟซีทีของไทย ซึ่งก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ต้องรวมกิจการกับธนาคารทหารไทย) เป็นธนาคารเอกชน
ในปี 2541 แล้วขายกิจการให้กลุ่มลงทุนจากสหรัฐ (ปี 2543) ปัจจุบันคือ Shinsei Bank ธนาคารญี่ปุ่นแห่งแรกที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างชาติ ส่วน Sanwa Bank
ผ่านกระบวนการควบรวมกิจการหลายครั้งตั้งแต่ปี 2545 ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ BTMU อีกด้านหนึ่ง ความสัมพันธ์สถาบันการเงินญี่ปุ่นกับเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะในประเทศ โดยเฉพาะการกู้เงินสกุลเยนจากญี่ปุ่นโดยตรง เป็นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างเครือข่ายอุตสาหกรรมญี่ปุ่นกับกลุ่มอุตสาหกรรมเก่าแก่ของไทย
"ชุมพล ณ ลำเลียง ผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เคยยอมรับว่า หนี้สินต่างประเทศของบริษัทของเขาที่มีมากกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กว่าครึ่งเป็นของญี่ปุ่นนั้น มีความหมายที่สำคัญอย่างมากอย่างน้อย 2 ประการ หนึ่ง-ระบบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะฐานภาคการผลิตนั้น ญี่ปุ่นมีบทบาทอย่างมาก สอง-องค์กรธุรกิจที่มั่นคง เป็นสัญลักษณ์ของภาคเศรษฐกิจ และสถาบันหลักของชาติเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ก็มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับญี่ปูน" ผมเคยสรุปความสัมพันธ์ไว้ในช่วงหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 (จากบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น)
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงมิติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ยังอยู่ใน 3 ยุคแรก ซึ่งผมอรรถาธิบายไว้ในตอนที่ 1 ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันความสัมพันธ์ใหม่ เกิดขึ้นจากกระแสคลื่นธุรกิจญี่ปุ่นอันคึกคัก มีทั้งเครือข่ายร้านค้าปลีก ทั้ง Maxvalu, 7-Eleven, Family Mart, Lawson และ Tsuruha เครือข่ายยักษ์ใหญ่แฟชั่นเสื้อผ้า Uniqlo ไปจนถึงเครือข่ายร้านอาหารญี่ปุ่นอย่างแท้จริง อาทิ Ootoya, Saboten และ Chabuton เป็นต้น
ผมขออรรถาธิบายปรากฏการณ์ให้ชัดขึ้นในตอนต่อไป
เมื่อแบงเกอร์สทรัสต์ถอนตัวจากแบนคอมฯในฟิลิปปินส์พร้อม ๆ กับการซื้อหุ้นแบนคอมฯในทิสโก้คืนด้วย เวลาเดียวกัน ธนาคารไดอิชิกังโย (Dai-ichi Kangyo Bank) สนใจขยายกิจการด้านนี้เข้าเมืองไทย จึงซื้อหุ้นส่วนเดิมของแบนคอมฯไปอันเป็นช่วงเวลาเดียวกับ โนมูระซีเคียวริตี้(Nomura Securities) เข้ามาร่วมทุนกับธนาคารกรุงเทพในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกโนมูระ" ผมเคยเขียนถึงจุดกำเนิดของบริษัทเงินทุนทิสโก้ที่เชื่อมโยงกับสถาบันการเงินญี่ปุ่น (จากเรื่อง ศิวะพร ทรรทรานนท์ ในหนังสือ อำนาจธุรกิจใหม่ 2541)
ต่อมาไม่นาน Dai-ichi Kangyo Bank (ปัจจุบันได้หลอมรวมอยู่ใน Mizuho Financial Group) ได้ถอนตัวออกไป เช่นเดียวกับ Nomura Securities อย่างไรก็ตาม ไม่ช้าไม่นานจากนั้น ความพยายามฟื้นความสัมพันธ์ก็มีขึ้น แต่ไม่หวือหวา
Mizuho Bank มีฐานะเป็นสาขาธนาคารในประเทศไทย หนึ่งในสามของธนาคารญี่ปุ่น ส่วน Nomura Securities นายหน้าค้าหุ้นเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ก็หวนกลับมาอีกครั้ง
กับธนาคารกรุงเทพ
ความจริงแล้ว Nomura Securities เข้ามาเมืองไทยก่อน Dai-ichi Kangyo Bank ตั้งแต่ปี 2513 ในนามบริษัทบางกอกโนมูระ อินเตอร์เนชั่นแนล ซีเคียวริตี้เป็นการร่วมทุนกับธนาคารกรุงเทพและเปลี่ยนเป็นเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกโนมูระในอีก 5 ปีต่อมา ถือเป็นหนึ่งในฐานะผู้ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่อีกกว่าทศวรรษต่อมาได้ถอนตัวออกไป
"บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนสินเพิ่งจะเปลี่ยนชื่อมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โนมูระ เมื่อต้นปี 2528 เพราะผู้ถือหุ้นต่างประเทศถอนออกไป อันได้แก่ Nomura Securities ธุรกิจหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพราะยุทธศาสตร์ทั่วโลกของฝ่ายนั้น ที่ต้องการจะขยายตัวการลงทุนในกิจการหลักทรัพย์ในเมืองไทยอย่างเต็มที่ ถึงขั้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เนื่องจากติดกันในแง่กฎหมาย จึงขอถอนตัวเหลือเพียงสำนักงานตัวแทน ที่มีเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวดำเนินในด้าน Underwriterต่อไป ธนาคารกรุงเทพในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ฝ่ายไทยได้เข้าซื้อหุ้นจาก Nomura Securities โชติ โสภณพนิช กรรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ได้รับหน้าที่รับผิดชอบพัฒนสินต่อไป" ผมเคยอรรถาธิบายประเด็นนี้ไว้นานแล้ว (พัฒนสินกับโฉมหน้าใหม่ของ "ข้อมูล" การลงทุน นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2530)
การปฏิรูปสถาบันการเงินครั้งใหญ่ในประเทศไทย เกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 เปิดทางให้กับขบวนพาเหรดของสถาบันการเงินระดับโลกเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์และตลาดทุนไทย Nomura Securities ได้กลับมาอีกครั้ง ร่วมมือกับพันธมิตรเก่าอีกครั้ง
ขณะนั้นพัฒนสินคงธุรกิจหลักทรัพย์ไว้เพียงอย่างเดียว "เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน" เป็น "บริษัทหลักทรัพย์โนมูระพัฒนสิน" (ข้อมูลทางการของโนมูระพัฒนสิน www.nomuradirect.com/) และให้ข้อมูลด้วยว่า Nomura Holdings,Inc. และ Nomura Asia Holding N.V. ถือหุ้นใหญ่รวมกันประมาณ 38%
โดยมีชาวญี่ปุ่นเป็นผู้บริหารคนสำคัญว่าไปแล้ว ธนาคารกรุงเทพกับธนาคารญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์มากกว่านั้นมานานแล้ว และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน-กรณีบริษัทบางกอกเฟิร์สท์โตไก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2516 เป็นกิจการร่วมทุนกับ Tokai Bank ปัจจุบันก็คือบริษัทบางกอก บีทีเอ็มยู การเปลี่ยนชื่อเกิดขึ้นมาจากกระบวนการหลอมรวมของธนาคารญี่ปุ่นหลายครั้งอย่างซับซ้อน ในฐานะส่วนหนึ่งของ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ หรือ BTMU (ผมอธิบายไว้บ้างในตอนที่แล้ว)
ในรายงานประจำปี 2555 ของธนาคารกรุงเทพ ให้ข้อมูลด้วยว่าได้ถือหุ้น 10% ในบริษัทบางกอกมิตซูบิชิยูเอฟเจลิส (ธุรกิจเช่าซื้อ) และบริษัทบางกอกบีทีเอ็มยู (ธุรกิจให้กู้ยืมและการลงทุน)
กับธนาคารไทยพาณิชย์
เป็นความสัมพันธ์ที่มีบุคลิกพิเศษ เครือข่ายความสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั้งธุรกิจการเงินและอื่น ๆ ของญี่ปุ่น กับธนาคารไทยพาณิชย์ เชื่อมโยงถึงเครือซิเมนต์ไทย และสำนักงานทรัพย์สินฯ
กล่าวเฉพาะธุรกิจการเงิน เริ่มขึ้นประมาณ ปี 2525 บริษัทหลักทรัพย์บุคคลัภย์ ร่วมทุนกับ Long-Term Credit Bank of Japan โดยเข้ามาถือหุ้นประมาณ 20%
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน Sanwa Bank เข้ามาถือหุ้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรม ซึ่งก่อตั้งโดยบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
ความสัมพันธ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 เครือข่ายธนาคารไทยพาณิชย์ไม่สามารถรักษาสถาบันการเงินชั้นรองของตัวเองไว้ได้ ขณะที่ทั้ง Long-Term Credit Bank of Japan และ Sanwa Bank ก็อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญLong-Term Credit Bank of Japan มีปัญหาหนี้เสียจำนวนมาก ต้องเปลี่ยนสภาพจากธนาคารรัฐบาล (ลักษณะคล้าย ๆ ไอเอฟซีทีของไทย ซึ่งก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ต้องรวมกิจการกับธนาคารทหารไทย) เป็นธนาคารเอกชน
ในปี 2541 แล้วขายกิจการให้กลุ่มลงทุนจากสหรัฐ (ปี 2543) ปัจจุบันคือ Shinsei Bank ธนาคารญี่ปุ่นแห่งแรกที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างชาติ ส่วน Sanwa Bank
ผ่านกระบวนการควบรวมกิจการหลายครั้งตั้งแต่ปี 2545 ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ BTMU อีกด้านหนึ่ง ความสัมพันธ์สถาบันการเงินญี่ปุ่นกับเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะในประเทศ โดยเฉพาะการกู้เงินสกุลเยนจากญี่ปุ่นโดยตรง เป็นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างเครือข่ายอุตสาหกรรมญี่ปุ่นกับกลุ่มอุตสาหกรรมเก่าแก่ของไทย
"ชุมพล ณ ลำเลียง ผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เคยยอมรับว่า หนี้สินต่างประเทศของบริษัทของเขาที่มีมากกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กว่าครึ่งเป็นของญี่ปุ่นนั้น มีความหมายที่สำคัญอย่างมากอย่างน้อย 2 ประการ หนึ่ง-ระบบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะฐานภาคการผลิตนั้น ญี่ปุ่นมีบทบาทอย่างมาก สอง-องค์กรธุรกิจที่มั่นคง เป็นสัญลักษณ์ของภาคเศรษฐกิจ และสถาบันหลักของชาติเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ก็มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับญี่ปูน" ผมเคยสรุปความสัมพันธ์ไว้ในช่วงหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 (จากบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น)
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงมิติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ยังอยู่ใน 3 ยุคแรก ซึ่งผมอรรถาธิบายไว้ในตอนที่ 1 ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันความสัมพันธ์ใหม่ เกิดขึ้นจากกระแสคลื่นธุรกิจญี่ปุ่นอันคึกคัก มีทั้งเครือข่ายร้านค้าปลีก ทั้ง Maxvalu, 7-Eleven, Family Mart, Lawson และ Tsuruha เครือข่ายยักษ์ใหญ่แฟชั่นเสื้อผ้า Uniqlo ไปจนถึงเครือข่ายร้านอาหารญี่ปุ่นอย่างแท้จริง อาทิ Ootoya, Saboten และ Chabuton เป็นต้น
ผมขออรรถาธิบายปรากฏการณ์ให้ชัดขึ้นในตอนต่อไป
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น