โดย.นพคุณ ศิลาเณร
แรงต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "เหมาเข่งสุดซอย" ตามแบบฉบับของแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. จัดเป็นการยกระดับทางการเมืองอย่างมีนัยยะลุ่มลึก
เพราะมีท่วงทำนอง "จุดยืนผสมอุดมการณ์มวลชน" ซึ่งหาได้ยากยิ่งจากนักการเมืองในระบบเลือกตั้งที่เน้นเฉพาะ "เสียงข้างมาก" เป็นเกณฑ์เข้าถือครองอำนาจ
นั่นสะท้อนว่า แนวคิดและจิตวิญญาณ ประชาธิปไตยประชาชนเกิดปะทะกับแนวทางเลือกตั้งในพรรคเพื่อไทย
นี่คือ ความแตกต่างของนักการเมือง ในฐานะ "ผู้แสดง" อำนาจ จะเลือกเล่นบทตัวแทนประชาชนหรือของพรรค การเมืองที่มีเงา "บุคคล" ผู้ทรงอำนาจคอยคัดท้ายอย่างคนหูเบา โลเล
หากไม่มีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่ง สุดซอยเกิดขึ้น ความแตกต่างในเชิงอุดมการณ์ย่อมไม่ปรากฏได้แจ่มแจ้งในพรรคเพื่อไทย
รวมทั้งอุดมการณ์มวลชนของ นปช. ย่อมไม่ทอแสงวาววาบขึ้นท่ามกลางวงล้อมแนวทางเลือกตั้งด้วยเช่นกัน
กลุ่ม นปช.กำเนิดขึ้นด้วยชุดอุดม- การณ์ประชาธิปไตยประชาชน มีแกนนำคนสำคัญอย่าง "จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" เป็นผู้แสดงบทบาทจุด ยืนมวลชนอย่างโดดเด่นในการต่อสู้กับอำนาจแฝงนอกรัฐธรรมนูญและพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำตัวเป็นลิ่วล้อฝ่ายอำมาตย์
ในฐานะนักการเมือง "จตุพร-ณัฐวุฒิ" สังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยบทผู้แสดงจุดยืนมวลชนจึงถูกแนวทางนักเลือกตั้งของพรรคกลบแทบมิด
หนำซ้ำยังถูกครหาว่า นำจุดยืนมวลชนไปรับใช้ "ทักษิณ" เพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่ง "รัฐมนตรี"
เมื่อพรรคเพื่อไทยเล่นทีเผลอ แล้วแปรรูปร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเป็นเหมาเข่งและมุ่งผลักดันให้สุดซอย ทั้งๆที่ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ได้ประโยชน์ แต่เขาทั้งคู่ประกาศต่อต้านการนิรโทษกรรมฉบับปล่อยฆาตกรฆ่าประชาชน 100 ศพ กลางกรุงเทพฯ เมื่อ เมษา-พฤษภา 2553
หากฆาตกรยังไม่ถูกลงโทษ จตุพร บอกว่า จะละทิ้งความรับผิดชอบต่อความ ตายของประชาชนจากการต่อสู้กับเผด็จ การไม่ได้ "แม้จุดยืนนี้ทำให้ไม่ได้เป็นอะไรเลยในชีวิต แต่ตำแหน่งคนเสื้อแดง ไม่มีใครมาถอดถอนได้"
ณัฐวุฒิ สอดประสานว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้สั่งการไม่ว่าฝ่ายรัฐ หรือแกนนำผู้ชุมนุมฝ่ายต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้เกิดการเสียชีวิตและทรัพย์สิน "จึงควรไปพิสูจน์กันในกระบวนการยุติธรรม"
ทั้ง "จตุพร-ณัฐวุฒิ" แจ่มชัดในจุด ยืนมวลชน เขาทั้งสองคนต้องการแบกรับภารกิจ "ล่าฆาตกรอำมหิต" มาลงโทษตามกฎหมายให้สาสมกับจิตใจ "อมนุษย์" สั่งฆ่าประชาชนมือเปล่า
ด้วยภารกิจเช่นนี้ จึงทำให้ทั้งคู่เป็นเสียงส่วนน้อยในพรรคเพื่อไทย ราวกับเป็นนักการเมืองชายขอบของพรรค ประหนึ่งเป็นพวกบ้าจุดยืนมวลชนแทรกผสมอยู่กับพวกยึดมั่นแนวทางเลือกตั้งที่ไม่ใส่ใจจิตใจประชาชนผู้หย่อนคะแนนให้พรรค
ด้วยจุดยืนมวลชนในฐานะนักการเมืองสังกัดพรรค มีหลักพื้นฐานง่ายๆ เพื่อ บ่งบอกถึงชนทุกชั้นในสังคมมีความเสมอภาคและเท่ากันในสิทธิทางการเมือง ไม่ใช่ ยอมรับแบบผิวเผินเพียงรูปแบบ "หนึ่งคนหนึ่งสียง" แต่ต้องยึดมั่น พร้อมเคารพฉันทามติจากเสียงที่แสดงออกด้วย นั่นทำให้สังคมราบรื่น เกิดสันติ แล้วพัฒนาไปอย่างสร้างสรรค์
แต่สังคมไทย ไม่ใส่ใจความเท่าเทียม สิทธิทางการเมืองทั้งในรูปแบบและเนื้อหา ด้วยเหตุนี้ นปช.จึงต่อสู้ทางการเมือง ในเบื้องต้น "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ประกาศจุดยืนต่อต้านเผด็จการในรหัส "โค่นอำมาตย์"
เนื่องจากอำมาตย์เผด็จการซ่อนตัว ในรูปแบบสังคมประชาธิปไตย คอยกัดเซาะ ฐานอำนาจพรรคเพื่อไทยที่ได้รับฉันทามติจากเสียงประชาชนข้างมากให้เป็นรัฐบาล
ดังนั้น การต่อสู้กับอำมาตย์จึงเท่า กับรักษาอำนาจประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งในรูปแบบเสียงข้างมาก แต่พรรคเสียงข้างมาก ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้หากขาด "ความชอบธรรมทางการเมือง" ในเชิงเนื้อหา
ความจริงคือ ความชอบธรรมนั้นอัดแน่นในจุดยืนแนวทางมวลชน ไม่ใช่แนวทางนักเลือกตั้งที่คอยเอาใจแต่เฉพาะ นายทุนพรรคการเมือง
การเกิดขึ้นของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่งและการส่งเสียงเชียร์จากนักการเมืองเลือกตั้ง จึงทำให้แรงต่อต้านน้อยนิดของ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" มีความแตกต่างในเชิงคุณภาพของนักการเมืองอย่างเด่นชัด
เสียงต่อต้านเพียงน้อยนิด แต่เต็มไปด้วยความชอบธรรมทางการเมืองที่ยึดมั่นจุดยืนมวลชน ย่อมทำให้ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ก้าวล้ำหน้าหนีจากนักเลือกตั้งในพรรคเพื่อไทย และพร้อมกับมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุดมการณ์มวลชนของนักการเมืองมากขึ้นทุกขณะ
ที่สำคัญย่อมทำให้กลุ่ม นปช.มีแนว ทางชัดเจนต่อการยกระดับให้เสื้อแดงแนว ประชาธิปไตยมวลชนมีคุณค่ามากกว่าพวก เสื้อแดงนักเลือกตั้งที่หลับหูหลับตาทำตัวเป็นเกราะป้องกันภัยในพรรคเพื่อไทย
ชัดเจนว่า สถานการณ์นิรโทษเหมา เข่งได้จำแนกให้นักการเมืองและกลุ่มเสื้อแดงเกิดขั้วพลังระหว่างแนวทางมวลชนกับแนวทางนักเลือกตั้ง
"ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย" แพ้ราบคาบแล้วในสถานการณ์ผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่ง แม้กระบวนการสภาเดินมาเพียงกลางซอย แต่ด้วยผิดพลาดในด้านความชอบธรรมทางการเมือง จึงถูกรุมสกรัมรอบทิศทางจากชนชั้นกลาง
กระแสกระหน่ำตีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ เหมาเข่งที่ไหลเทมาเชี่ยวกราก ย่อมสะท้อนว่า อารมณ์ชิงชัง ไม่ต้อนรับ "ทักษิณ" กลับบ้านมีอยู่สูง แต่ซ่อนตัวเงียบๆ รอคอย "ความชอบธรรมทางการเมือง" มาจุดให้ระเบิดขึ้น
ป้ายข้อความเขียนว่า "คัดค้านนิรโทษกรรม" ถูกชูอวดปรากฏเป็นภาพสื่อสาร แต่น้ำเสียงกลับเปล่งตะโกน "ล้างผิดคนโกง ไล่ทักษิณ ล้มยิ่งลักษณ์" นั้น บ่งถึงแนวทางการเมืองของความชิงชังและได้ผุดขึ้นเป็นคู่ต่อสู้ทางอำนาจอย่างแหลมคม
เมื่อ "ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย" พลาด เพราะแปรรูปร่าง พ.ร.บ.เหมาเข่งให้มีเนื้อหาเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การกลับบ้าน อย่างผู้บริสุทธิ์ จึงเท่ากับขาดความชอบธรรมทางการเมือง จึงทำให้แรงต่อต้านมีความชอบธรรมมากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น กระแสชิงชังต่อต้าน ทักษิณได้ลากมาเชื่อมต่อแรงอารมณ์ "ไล่" น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ ซึ่งถูกประทับตราว่า เป็นทายาททางอำนาจ จนเกิดเสถียรภาพสั่นคลอนครั้งใหญ่
บทเรียนจากแรงต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษเหมาเข่ง ย่อมสะเทือนถึงแนวทาง พรรคเพื่อไทยต้องถูกตรวจสอบ และกล้าปฏิรูปพรรคครั้งสำคัญ เพราะการเน้นแนว ทางนักเลือกตั้งอาศัยคะแนนเสียงไม่เพียง พอต่อการนำพาพรรคการเมืองให้เติบใหญ่ มั่นคงเสียแล้ว
ดังนั้น จุดยืนมวลชนของนักการเมืองชื่อ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ที่มาจากแนวทาง นปช.จึงมีส่วนสำคัญในการเติมเต็มและกำลังท้าทายพรรคเพื่อไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อนจะสายเกินเยียวยาได้ทัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------------
แรงต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "เหมาเข่งสุดซอย" ตามแบบฉบับของแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. จัดเป็นการยกระดับทางการเมืองอย่างมีนัยยะลุ่มลึก
เพราะมีท่วงทำนอง "จุดยืนผสมอุดมการณ์มวลชน" ซึ่งหาได้ยากยิ่งจากนักการเมืองในระบบเลือกตั้งที่เน้นเฉพาะ "เสียงข้างมาก" เป็นเกณฑ์เข้าถือครองอำนาจ
นั่นสะท้อนว่า แนวคิดและจิตวิญญาณ ประชาธิปไตยประชาชนเกิดปะทะกับแนวทางเลือกตั้งในพรรคเพื่อไทย
นี่คือ ความแตกต่างของนักการเมือง ในฐานะ "ผู้แสดง" อำนาจ จะเลือกเล่นบทตัวแทนประชาชนหรือของพรรค การเมืองที่มีเงา "บุคคล" ผู้ทรงอำนาจคอยคัดท้ายอย่างคนหูเบา โลเล
หากไม่มีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่ง สุดซอยเกิดขึ้น ความแตกต่างในเชิงอุดมการณ์ย่อมไม่ปรากฏได้แจ่มแจ้งในพรรคเพื่อไทย
รวมทั้งอุดมการณ์มวลชนของ นปช. ย่อมไม่ทอแสงวาววาบขึ้นท่ามกลางวงล้อมแนวทางเลือกตั้งด้วยเช่นกัน
กลุ่ม นปช.กำเนิดขึ้นด้วยชุดอุดม- การณ์ประชาธิปไตยประชาชน มีแกนนำคนสำคัญอย่าง "จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" เป็นผู้แสดงบทบาทจุด ยืนมวลชนอย่างโดดเด่นในการต่อสู้กับอำนาจแฝงนอกรัฐธรรมนูญและพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำตัวเป็นลิ่วล้อฝ่ายอำมาตย์
ในฐานะนักการเมือง "จตุพร-ณัฐวุฒิ" สังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยบทผู้แสดงจุดยืนมวลชนจึงถูกแนวทางนักเลือกตั้งของพรรคกลบแทบมิด
หนำซ้ำยังถูกครหาว่า นำจุดยืนมวลชนไปรับใช้ "ทักษิณ" เพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่ง "รัฐมนตรี"
เมื่อพรรคเพื่อไทยเล่นทีเผลอ แล้วแปรรูปร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเป็นเหมาเข่งและมุ่งผลักดันให้สุดซอย ทั้งๆที่ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ได้ประโยชน์ แต่เขาทั้งคู่ประกาศต่อต้านการนิรโทษกรรมฉบับปล่อยฆาตกรฆ่าประชาชน 100 ศพ กลางกรุงเทพฯ เมื่อ เมษา-พฤษภา 2553
หากฆาตกรยังไม่ถูกลงโทษ จตุพร บอกว่า จะละทิ้งความรับผิดชอบต่อความ ตายของประชาชนจากการต่อสู้กับเผด็จ การไม่ได้ "แม้จุดยืนนี้ทำให้ไม่ได้เป็นอะไรเลยในชีวิต แต่ตำแหน่งคนเสื้อแดง ไม่มีใครมาถอดถอนได้"
ณัฐวุฒิ สอดประสานว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้สั่งการไม่ว่าฝ่ายรัฐ หรือแกนนำผู้ชุมนุมฝ่ายต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้เกิดการเสียชีวิตและทรัพย์สิน "จึงควรไปพิสูจน์กันในกระบวนการยุติธรรม"
ทั้ง "จตุพร-ณัฐวุฒิ" แจ่มชัดในจุด ยืนมวลชน เขาทั้งสองคนต้องการแบกรับภารกิจ "ล่าฆาตกรอำมหิต" มาลงโทษตามกฎหมายให้สาสมกับจิตใจ "อมนุษย์" สั่งฆ่าประชาชนมือเปล่า
ด้วยภารกิจเช่นนี้ จึงทำให้ทั้งคู่เป็นเสียงส่วนน้อยในพรรคเพื่อไทย ราวกับเป็นนักการเมืองชายขอบของพรรค ประหนึ่งเป็นพวกบ้าจุดยืนมวลชนแทรกผสมอยู่กับพวกยึดมั่นแนวทางเลือกตั้งที่ไม่ใส่ใจจิตใจประชาชนผู้หย่อนคะแนนให้พรรค
ด้วยจุดยืนมวลชนในฐานะนักการเมืองสังกัดพรรค มีหลักพื้นฐานง่ายๆ เพื่อ บ่งบอกถึงชนทุกชั้นในสังคมมีความเสมอภาคและเท่ากันในสิทธิทางการเมือง ไม่ใช่ ยอมรับแบบผิวเผินเพียงรูปแบบ "หนึ่งคนหนึ่งสียง" แต่ต้องยึดมั่น พร้อมเคารพฉันทามติจากเสียงที่แสดงออกด้วย นั่นทำให้สังคมราบรื่น เกิดสันติ แล้วพัฒนาไปอย่างสร้างสรรค์
แต่สังคมไทย ไม่ใส่ใจความเท่าเทียม สิทธิทางการเมืองทั้งในรูปแบบและเนื้อหา ด้วยเหตุนี้ นปช.จึงต่อสู้ทางการเมือง ในเบื้องต้น "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ประกาศจุดยืนต่อต้านเผด็จการในรหัส "โค่นอำมาตย์"
เนื่องจากอำมาตย์เผด็จการซ่อนตัว ในรูปแบบสังคมประชาธิปไตย คอยกัดเซาะ ฐานอำนาจพรรคเพื่อไทยที่ได้รับฉันทามติจากเสียงประชาชนข้างมากให้เป็นรัฐบาล
ดังนั้น การต่อสู้กับอำมาตย์จึงเท่า กับรักษาอำนาจประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งในรูปแบบเสียงข้างมาก แต่พรรคเสียงข้างมาก ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้หากขาด "ความชอบธรรมทางการเมือง" ในเชิงเนื้อหา
ความจริงคือ ความชอบธรรมนั้นอัดแน่นในจุดยืนแนวทางมวลชน ไม่ใช่แนวทางนักเลือกตั้งที่คอยเอาใจแต่เฉพาะ นายทุนพรรคการเมือง
การเกิดขึ้นของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่งและการส่งเสียงเชียร์จากนักการเมืองเลือกตั้ง จึงทำให้แรงต่อต้านน้อยนิดของ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" มีความแตกต่างในเชิงคุณภาพของนักการเมืองอย่างเด่นชัด
เสียงต่อต้านเพียงน้อยนิด แต่เต็มไปด้วยความชอบธรรมทางการเมืองที่ยึดมั่นจุดยืนมวลชน ย่อมทำให้ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ก้าวล้ำหน้าหนีจากนักเลือกตั้งในพรรคเพื่อไทย และพร้อมกับมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุดมการณ์มวลชนของนักการเมืองมากขึ้นทุกขณะ
ที่สำคัญย่อมทำให้กลุ่ม นปช.มีแนว ทางชัดเจนต่อการยกระดับให้เสื้อแดงแนว ประชาธิปไตยมวลชนมีคุณค่ามากกว่าพวก เสื้อแดงนักเลือกตั้งที่หลับหูหลับตาทำตัวเป็นเกราะป้องกันภัยในพรรคเพื่อไทย
ชัดเจนว่า สถานการณ์นิรโทษเหมา เข่งได้จำแนกให้นักการเมืองและกลุ่มเสื้อแดงเกิดขั้วพลังระหว่างแนวทางมวลชนกับแนวทางนักเลือกตั้ง
"ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย" แพ้ราบคาบแล้วในสถานการณ์ผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่ง แม้กระบวนการสภาเดินมาเพียงกลางซอย แต่ด้วยผิดพลาดในด้านความชอบธรรมทางการเมือง จึงถูกรุมสกรัมรอบทิศทางจากชนชั้นกลาง
กระแสกระหน่ำตีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ เหมาเข่งที่ไหลเทมาเชี่ยวกราก ย่อมสะท้อนว่า อารมณ์ชิงชัง ไม่ต้อนรับ "ทักษิณ" กลับบ้านมีอยู่สูง แต่ซ่อนตัวเงียบๆ รอคอย "ความชอบธรรมทางการเมือง" มาจุดให้ระเบิดขึ้น
ป้ายข้อความเขียนว่า "คัดค้านนิรโทษกรรม" ถูกชูอวดปรากฏเป็นภาพสื่อสาร แต่น้ำเสียงกลับเปล่งตะโกน "ล้างผิดคนโกง ไล่ทักษิณ ล้มยิ่งลักษณ์" นั้น บ่งถึงแนวทางการเมืองของความชิงชังและได้ผุดขึ้นเป็นคู่ต่อสู้ทางอำนาจอย่างแหลมคม
เมื่อ "ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย" พลาด เพราะแปรรูปร่าง พ.ร.บ.เหมาเข่งให้มีเนื้อหาเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การกลับบ้าน อย่างผู้บริสุทธิ์ จึงเท่ากับขาดความชอบธรรมทางการเมือง จึงทำให้แรงต่อต้านมีความชอบธรรมมากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น กระแสชิงชังต่อต้าน ทักษิณได้ลากมาเชื่อมต่อแรงอารมณ์ "ไล่" น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ ซึ่งถูกประทับตราว่า เป็นทายาททางอำนาจ จนเกิดเสถียรภาพสั่นคลอนครั้งใหญ่
บทเรียนจากแรงต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษเหมาเข่ง ย่อมสะเทือนถึงแนวทาง พรรคเพื่อไทยต้องถูกตรวจสอบ และกล้าปฏิรูปพรรคครั้งสำคัญ เพราะการเน้นแนว ทางนักเลือกตั้งอาศัยคะแนนเสียงไม่เพียง พอต่อการนำพาพรรคการเมืองให้เติบใหญ่ มั่นคงเสียแล้ว
ดังนั้น จุดยืนมวลชนของนักการเมืองชื่อ "จตุพร-ณัฐวุฒิ" ที่มาจากแนวทาง นปช.จึงมีส่วนสำคัญในการเติมเต็มและกำลังท้าทายพรรคเพื่อไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อนจะสายเกินเยียวยาได้ทัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น