โดย : วรานนท์ ปัจจัยโค
หลายคนอาจสงสัยว่า ในเมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ "ถอยสุดซอย" แล้วในเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ แต่เหตุใดกระแสต้านจึงยังคงกระหน่ำ
ทำไปทำมาสถานการณ์จะนำไปสู่การ "เผชิญหน้า" ระหว่างมวลชนฝั่งสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลได้เหมือนกัน ในขณะที่ทางออกสวยๆ ของรัฐบาลดูจะตีบตันมากขึ้นทุกที
นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์วิกฤตการณ์ทางการเมือง ณ ปัจจุบันนี้ กับทางออกที่ยังพอมีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
"การประเมินของพรรคเพื่อไทยในการดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เข้าสู่การพิจารณาช่วงเดือน ต.ค. ทางพรรคประเมินว่าเป็นยุทธวิธีที่ถูกต้องและสามารถดำเนินการได้ แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยประเมินต่ำเกินไปคือแรงกดดันทางสังคมภายนอกที่อยู่นอกรัฐสภา ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทยประเมินว่าการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ สลายตัวหรือลดระดับความรุนแรงลงแล้ว เป็นสัญญาณที่ทำให้คนยอมรับการดำเนินงานของฝ่ายรัฐบาลไม่ว่าจะในแง่มุมใดก็ตาม"
"แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ประเมิน คือการที่พรรคเพื่อไทย รวมถึงคุณทักษิณ ชินวัตร และคุณยิ่งลักษณ์ มีภูมิต้านทานต่ำมากทางด้านความซื่อสัตย์ ตรงนี้คือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณไม่เข้าใจ เมื่อสูญเสียความซื่อสัตย์ คือการที่เคยยืนยันมาตลอดว่าจะผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับประชาชนเท่านั้น แต่กลับไปแก้ไขมาตราสำคัญเป็นเรื่องเหมารวม จึงกลายเป็นแรงสะท้อนกลับที่แรงมาก เพราะสังคมไม่อาจยอมรับได้" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ วิเคราะห์ในเบื้องต้น
เขาอธิบายต่อว่า กฎหมายที่จะออกมาใช้ในสังคม ไม่ใช่แค่ผ่านสภาแล้วจบ แต่ข้อสำคัญคือกว่าจะร่างออกมาเป็นกฎหมายได้ ต้องสร้างการยอมรับจากคนที่หลากหลายมาเจรจาร่วมกัน ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้เจรจากันแล้วว่าจะนิรโทษกรรมให้เฉพาะประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม แต่การสั่งให้แก้ไขเนื้อหาของร่างกฎหมายในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ (ขั้นแปรญัตติ) แสดงให้เห็นว่านี่เป็นการวางแผนที่อยู่ในใจแล้วว่าจะปลดล็อกตัวเองด้วยวิธีการนี้ แต่ลืมไปว่านี่เป็นการทำลายความซื่อสัตย์ของตนเองที่มีอยู่น้อยนิดให้หมดไป และเป็นจุดเริ่มของจุดจบของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายกฯยิ่งลักษณ์ในตอนนี้
"ตอนอยากทำก็ทำ ตอนอยากถอยก็ถอย เหมือนเด็กเล่นขายของ นี่คืองานทางสังคมการเมือง คุณทำทุกอย่างเพื่อให้คุณเป็นรัฐบาลเท่านั้นเอง แต่คุณได้ทำลายความชอบธรรมของสภา ได้ทำลายความเชื่อมั่นต่อความซื่อสัตย์ของรัฐบาลไปจนหมด ถือเป็นการทำลายตัวเอง"
ส่วนที่แกนนำพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลออกมาระบุว่าในเมื่อถอยแล้วควรจะจบ แต่กลับไม่จบนั้น ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ บอกว่า พลังทางสังคมไม่ได้รวดเร็วขนาดนั้น เพราะเมื่อรัฐบาลเดินเกมมาอย่างยาวนานร่วม 2 ปีเพื่อทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะไม่โกหก แล้วจากนั้นก็เดินเกมอีกครึ่งเดือนเพื่อปรับเปลี่ยน เพียงไม่กี่วันหลังจากที่ประกาศชัยชนะเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา (ผ่านวาระ 2-3) แล้วประกาศถอยหมดใน 7 วัน จะทำให้พลังทางสังคมยุติลงง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้
นอกจากนั้น กลุ่มต่างๆ ในสังคมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเคลื่อนไหวเพื่อโจมตีรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปอีกยาว เพราะความไม่เชื่อถือต่อความซื่อสัตย์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำลายความเชื่อมั่นไปหมด ต่อให้บอกว่าจะไม่เอาร่างกฎหมายฉบับนี้มาพิจารณาอีก แต่การที่รัฐธรรมนูญระบุว่าหลังจาก 180 วันสภายังสามารถเปิดหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ ทำให้ไม่มีใครเชื่อถือรัฐบาล ทำให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวมีความชอบธรรมที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลต่อไปได้
"อยู่ดีๆ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำตัวเองล้ม มันต้องมีค่าใช้จ่าย และค่าใช้จ่ายที่สังคมต้องจ่ายคือภาวะที่เราเคยคิดว่าเราจะทำให้ระบบทางการเมืองกลับมาสู่รัฐสภาและมีความสงบได้อย่างไร ค่าใช้จ่ายทางสังคมตอนนี้คือคุณกำลังเปิดทางให้การเคลื่อนไหวบนท้องถนนเป็นไปอย่างชอบธรรมอีกครั้งหนึ่ง ตรงจุดนี้สังคมต้องรับค่าใช้จ่ายร่วมกัน"
สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน นายธำรงศักดิ์ สรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ นายกฯยิ่งลักษณ์ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และสภาผู้แทนราษฎร ได้สูญเสียความชอบธรรมด้านความซื่อสัตย์ที่มีต่อประชาชนคนไทยไปหมดแล้ว ส่วนการชุมนุมในขณะนี้ที่มีความหลากหลายของกลุ่มที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลสูงมาก ถือเป็นการประกาศให้เห็นถึงแรงกดดันทางสังคม แต่จะไปไกลขนาดไหนขึ้นอยู่กับจังหวะก้าวของทุกฝ่าย จังหวะก้าวสามารถพลิกเปลี่ยนได้
เช่น หากมีใครเชื่อว่าถ้าทหารออกมายึดอำนาจแล้วจะทำให้ปัญหาทั้งหมดยุติลง การยึดอำนาจของทหารจะทำให้อำนาจทั้งหมดเวียนกลับไปอยู่ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพราะจะมีการลุกฮือจากคนเสื้อแดงทั่วประเทศ เกิดเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งมันไม่มีทางจบ
สำหรับทางออกที่ยังพอมี คือ 1.นายกฯยิ่งลักษณ์ลาออก ซึ่งเป็นไปได้ยาก 2.ยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่คำถามคือพรรคประชาธิปัตย์จะยอมลงสนามเลือกตั้งหรือไม่ เพราะไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างสภากับรัฐบาล
"ในระบบกลไกของประชาธิปไตย คุณจะเล่นเกมฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ตอนนี้ในสภาคุณเล่นอยู่ฝ่ายเดียว ทำตามอำเภอใจตัวเอง ฝ่ายอื่นไม่ได้มาเล่นกับคุณด้วย ฉะนั้นจะเรียกว่ามันคือความชอบธรรมไม่ได้" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ กล่าวในที่สุด
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------
หลายคนอาจสงสัยว่า ในเมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ "ถอยสุดซอย" แล้วในเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ แต่เหตุใดกระแสต้านจึงยังคงกระหน่ำ
ทำไปทำมาสถานการณ์จะนำไปสู่การ "เผชิญหน้า" ระหว่างมวลชนฝั่งสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลได้เหมือนกัน ในขณะที่ทางออกสวยๆ ของรัฐบาลดูจะตีบตันมากขึ้นทุกที
นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์วิกฤตการณ์ทางการเมือง ณ ปัจจุบันนี้ กับทางออกที่ยังพอมีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
"การประเมินของพรรคเพื่อไทยในการดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เข้าสู่การพิจารณาช่วงเดือน ต.ค. ทางพรรคประเมินว่าเป็นยุทธวิธีที่ถูกต้องและสามารถดำเนินการได้ แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยประเมินต่ำเกินไปคือแรงกดดันทางสังคมภายนอกที่อยู่นอกรัฐสภา ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทยประเมินว่าการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ สลายตัวหรือลดระดับความรุนแรงลงแล้ว เป็นสัญญาณที่ทำให้คนยอมรับการดำเนินงานของฝ่ายรัฐบาลไม่ว่าจะในแง่มุมใดก็ตาม"
"แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ประเมิน คือการที่พรรคเพื่อไทย รวมถึงคุณทักษิณ ชินวัตร และคุณยิ่งลักษณ์ มีภูมิต้านทานต่ำมากทางด้านความซื่อสัตย์ ตรงนี้คือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณไม่เข้าใจ เมื่อสูญเสียความซื่อสัตย์ คือการที่เคยยืนยันมาตลอดว่าจะผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับประชาชนเท่านั้น แต่กลับไปแก้ไขมาตราสำคัญเป็นเรื่องเหมารวม จึงกลายเป็นแรงสะท้อนกลับที่แรงมาก เพราะสังคมไม่อาจยอมรับได้" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ วิเคราะห์ในเบื้องต้น
เขาอธิบายต่อว่า กฎหมายที่จะออกมาใช้ในสังคม ไม่ใช่แค่ผ่านสภาแล้วจบ แต่ข้อสำคัญคือกว่าจะร่างออกมาเป็นกฎหมายได้ ต้องสร้างการยอมรับจากคนที่หลากหลายมาเจรจาร่วมกัน ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้เจรจากันแล้วว่าจะนิรโทษกรรมให้เฉพาะประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม แต่การสั่งให้แก้ไขเนื้อหาของร่างกฎหมายในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ (ขั้นแปรญัตติ) แสดงให้เห็นว่านี่เป็นการวางแผนที่อยู่ในใจแล้วว่าจะปลดล็อกตัวเองด้วยวิธีการนี้ แต่ลืมไปว่านี่เป็นการทำลายความซื่อสัตย์ของตนเองที่มีอยู่น้อยนิดให้หมดไป และเป็นจุดเริ่มของจุดจบของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายกฯยิ่งลักษณ์ในตอนนี้
"ตอนอยากทำก็ทำ ตอนอยากถอยก็ถอย เหมือนเด็กเล่นขายของ นี่คืองานทางสังคมการเมือง คุณทำทุกอย่างเพื่อให้คุณเป็นรัฐบาลเท่านั้นเอง แต่คุณได้ทำลายความชอบธรรมของสภา ได้ทำลายความเชื่อมั่นต่อความซื่อสัตย์ของรัฐบาลไปจนหมด ถือเป็นการทำลายตัวเอง"
ส่วนที่แกนนำพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลออกมาระบุว่าในเมื่อถอยแล้วควรจะจบ แต่กลับไม่จบนั้น ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ บอกว่า พลังทางสังคมไม่ได้รวดเร็วขนาดนั้น เพราะเมื่อรัฐบาลเดินเกมมาอย่างยาวนานร่วม 2 ปีเพื่อทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะไม่โกหก แล้วจากนั้นก็เดินเกมอีกครึ่งเดือนเพื่อปรับเปลี่ยน เพียงไม่กี่วันหลังจากที่ประกาศชัยชนะเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา (ผ่านวาระ 2-3) แล้วประกาศถอยหมดใน 7 วัน จะทำให้พลังทางสังคมยุติลงง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้
นอกจากนั้น กลุ่มต่างๆ ในสังคมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเคลื่อนไหวเพื่อโจมตีรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปอีกยาว เพราะความไม่เชื่อถือต่อความซื่อสัตย์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำลายความเชื่อมั่นไปหมด ต่อให้บอกว่าจะไม่เอาร่างกฎหมายฉบับนี้มาพิจารณาอีก แต่การที่รัฐธรรมนูญระบุว่าหลังจาก 180 วันสภายังสามารถเปิดหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ ทำให้ไม่มีใครเชื่อถือรัฐบาล ทำให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวมีความชอบธรรมที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลต่อไปได้
"อยู่ดีๆ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำตัวเองล้ม มันต้องมีค่าใช้จ่าย และค่าใช้จ่ายที่สังคมต้องจ่ายคือภาวะที่เราเคยคิดว่าเราจะทำให้ระบบทางการเมืองกลับมาสู่รัฐสภาและมีความสงบได้อย่างไร ค่าใช้จ่ายทางสังคมตอนนี้คือคุณกำลังเปิดทางให้การเคลื่อนไหวบนท้องถนนเป็นไปอย่างชอบธรรมอีกครั้งหนึ่ง ตรงจุดนี้สังคมต้องรับค่าใช้จ่ายร่วมกัน"
สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน นายธำรงศักดิ์ สรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ นายกฯยิ่งลักษณ์ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และสภาผู้แทนราษฎร ได้สูญเสียความชอบธรรมด้านความซื่อสัตย์ที่มีต่อประชาชนคนไทยไปหมดแล้ว ส่วนการชุมนุมในขณะนี้ที่มีความหลากหลายของกลุ่มที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลสูงมาก ถือเป็นการประกาศให้เห็นถึงแรงกดดันทางสังคม แต่จะไปไกลขนาดไหนขึ้นอยู่กับจังหวะก้าวของทุกฝ่าย จังหวะก้าวสามารถพลิกเปลี่ยนได้
เช่น หากมีใครเชื่อว่าถ้าทหารออกมายึดอำนาจแล้วจะทำให้ปัญหาทั้งหมดยุติลง การยึดอำนาจของทหารจะทำให้อำนาจทั้งหมดเวียนกลับไปอยู่ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพราะจะมีการลุกฮือจากคนเสื้อแดงทั่วประเทศ เกิดเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งมันไม่มีทางจบ
สำหรับทางออกที่ยังพอมี คือ 1.นายกฯยิ่งลักษณ์ลาออก ซึ่งเป็นไปได้ยาก 2.ยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่คำถามคือพรรคประชาธิปัตย์จะยอมลงสนามเลือกตั้งหรือไม่ เพราะไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างสภากับรัฐบาล
"ในระบบกลไกของประชาธิปไตย คุณจะเล่นเกมฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ตอนนี้ในสภาคุณเล่นอยู่ฝ่ายเดียว ทำตามอำเภอใจตัวเอง ฝ่ายอื่นไม่ได้มาเล่นกับคุณด้วย ฉะนั้นจะเรียกว่ามันคือความชอบธรรมไม่ได้" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ กล่าวในที่สุด
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น