"อภิสิทธิ์"จี้นายกฯอย่ารับคำพิพากษา-ถอนร่างแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 "ยิ่งลักษณ์" ยันไม่เคยประกาศจะรับคำพิพากษาศาลโลก
ทีมสู้คดีปราสาทพระวิหาร เข้าแจงในสภา พร้อมยืนยันพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ใช่บริเวณตัวปราสาท โดยวานนี้ (13 พ.ย.) ที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้เข้าสู่เนื้อหาของการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลโลกต่อคดีปราสาทพระวิหาร
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ศาลโลกมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ว่า ศาลโลกมีอำนาจตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาลโลก ในการตีความคำพิพากษาศาลโลก ปี 2505 ต่อกรณีที่กัมพูชาได้ยื่นร้องขอตีความอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร
และจะขอรับฟังคำอภิปรายของ ส.ส.และส.ว. เพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการหารือกับกัมพูชา ภายใต้กรอบกลไกคณะกรรมาธิการร่วม (เจซี) ไทย-กัมพูชา และผลจากการเจรจาจะดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายของไทยต่อไป
"ขอยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน เมื่อประชุมเสร็จก็จะนำผลหารือเจซีนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาอีกครั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนด้วย นอกจากนี้ ในวันที่ 15 พ.ย. จะเปิดให้นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาแสดงความคิดเห็น เพื่อนำมาเป็นแนวทางการดำเนินการ" นายสุรพงษ์ กล่าว
"ทูตวีรชัย"ย้ำพื้นที่4.6ตร.กม.ไม่ใช่บริเวณพระวิหาร
ด้าน นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะการดำเนินการทางกฎหมายฝ่ายไทยคดีปราสาทพระวิหาร ได้ขึ้นชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภาว่า ในคำพิพากษาของศาลโลก ได้ระบุว่า ศาลมีอำนาจในการรับตีความตามคำร้องของกัมพูชา แต่ไม่มีอำนาจชี้ชัดเส้นเขตแดน
ศาลตีความสิ่งที่เคยได้พิพากษาไปแล้ว และศาลได้ตีความในขอบข่ายของบทปฏิบัติการในคดีเดิมคืออำนาจอธิปไตยเหนือยอดเขา (promontory) พระวิหารเท่านั้น เนื่องจากศาลโลกเห็นว่า ไทย - กัมพูชามีความเห็นที่แตกต่างต่อคำตัดสินศาลโลก ปี 2505 ซึ่งคำว่า "Promontory" เป็นภาษาฝรั่งเศส ทางฝ่ายไทยได้นิยามความหมายว่า ยอดเขา ภายหลังที่ศาลโลกมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยใช้คำว่า "ชะง่อนผา" โดยตนจะรับไปพิจารณา
ทั้งนี้ "Promontory" ได้กลายเป็นข้อถกเถียงกันว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีขนาดเท่าไร แม้ว่าศาลโลกจะเห็นว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทหรือพื้นที่ในคดีเดิม มีขนาดเล็กที่เห็นได้โดยชัดเจนตามลักษณะภูมิศาสตร์อย่างที่กัมพูชาได้กล่าวเป็นข้อสนับสนุนในการยื่นขอตีความ แต่ในคำตัดสินของศาลโลกครั้งนี้ เห็นว่า ภูมะเขือที่เป็นพื้นที่ใน 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร และศาลก็ไม่ได้รับตีความพื้นที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่พิพาทในคดีเดิม
"อภิสิทธิ์"ชี้ศาลไม่ตัดสินตามเหตุผลปี 2505
จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ตนสงสัยมาโดยตลอดว่าปัญหาเรื่องการตีความเรื่องเขตแดนทำไมต้องส่งให้ศาลโลกเป็นผู้ตีความ ทั้งที่ศาลฯได้ระบุไว้ในคำตัดสิน เมื่อปี 2505 ระบุให้ทั้ง 2 ประเทศไปเจรจาตกลงร่วมกัน
ทั้งนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ความสูญเสียของพื้นที่ จากคำพิพากษาศาลโลก มีอย่างแน่นอน โดยจะเป็นอย่างที่มีคนตีความว่ากินพื้นที่ 0.3-2 ตารางกิโลเมตรหรือไม่ แต่จะจริงหรือไม่ต้องยอมรับว่าเป็นพื้นที่นอกเขตรั้วลวดหนามเดิมที่เป็นดินแดนของประเทศไทย ทั้งนี้เราปฏิเสธข้อเท็จจริงว่าคำพิพากษาของศาลได้ระบุไว้เช่นนั้นไม่ได้ ตนเสียใจและผิดหวังว่าศาลไม่ได้ตัดสินไปตามเหตุผลของปี 2505 อย่างเคร่งครัด เพราะ ปี 2505 ศาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับสัณฐานทางภูมิศาสตร์ หรือ แนวสันปันน้ำ ดูแค่ประเด็นกฎหมายปิดปากประเทศไทย ยอมรับพื้นที่
ย้ำคำพิพากษาศาลโลกไทยเสียดินแดน
นายอภิสิทธิ์ อภิปรายต่อว่า คำว่า “promontory” หรือ ยอดเขา หรือ ชะง่อนผาที่มีการระบุถึง ตามคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ปรากฏอยู่ 3 ครั้ง ตนไม่เชื่อว่าจะมีบุคคลใดตีความได้ว่าหมายถึงอาณาบริเวณของปราสาท ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อได้อ่านแล้วจะทำให้เข้าใจว่าหมายถึง พื้นที่ที่ใหญ่กว่ายอดเขา แต่เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ศาลโลกตีความว่า พื้นที่พิพาท คือทั้งหมดของยอดเขา
ทั้งนี้ ศาลฯ ได้กำหนดพื้นที่ของยอดเขา ตามคำพิพากษาของศาล ตามวรรคที่ 98 กล่าวคือ ครอบคลุมถึงเชิงเขา หรือตีนเขาของภูมะเขือ ซึ่งข้องใจทำไมไม่ครอบคลุมแค่เชิงเขาพระวิหาร ขณะที่ด้านทิศเหนือ ระบุว่าให้ยึดเส้นตามแผนที่ 1:200000 และพิจารณาว่าทางตะวันออกไปตัดกับหน้าผาตรงไหน และทางตะวันตกไปตัดกับพื้นที่บริเวณเชิงเขาภูมะเขือตรงไหน
มองว่าอาจจะเรียกว่าพื้นที่เล็ก หรือ แคบ แต่มีความหมาย เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าเป็นจุดใด คือ แผนที่ 1:200000 ฝ่ายไทยได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าไม่สามารถแปลงในพื้นที่จริงได้ ศาลจึงเขียนในวรรคที่ 99 ว่า ในเส้นดังกล่าวขอให้ 2 ประเทศไปตกลงด้วยความสุจริตและเคารพต่อคำตัดสินของศาล
แนะนายกฯอย่ารับคำตัดสินศาลโลก
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายอีกว่าขอให้รัฐบาลเร่งไปแก้ไข และหาแนวทางปฏิบัติต่อการเรียกร้องจากฝ่ายผู้นำประเทศกัมพูชาว่าให้มีการถอนทหารไทยออกจากพื้นที่เขาพระวิหารทั้งหมด นอกจากนั้นตนขอคำยืนยันจากนายกฯว่า จะรับคำพิพากษาของศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหารหรือไม่ หากนายกฯ ยืนยันว่ารับต้องชี้แจงกับประชาชนคนไทยด้วยว่าประเทศไทยจะเสียพื้นที่ที่เรียกว่า promontory ทันที
สำหรับแนวทางปฏิบัติต่อไปรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นหรือไม่ ตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ และต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าการเจรจาจะไม่มีผลประโยชน์อื่นๆ เช่น พลังงาน , มรดกโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง
จี้ถอนร่างแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 190
นอกจากนั้นแล้วสำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ว่าด้วยหนังสือสัญญาที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบ ที่คาดว่านายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประมาณ วันที่ 24 พ.ย. หรือ 25 พ.ย. นี้ หากนายกฯ จริงใจ ต้องนำความกราบบังคับทูลถวายคำแนะนำและถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกพระราชทานคืน รัฐสภาจะต้องไม่ยืนยัน เพื่อให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ตกไป และใช้มาตรา 190 ในบทบัญญัติเดิม
"การเจรจาตามกรอบของเจซี จะรวมถึงการพัฒนาและปัญหาชายแดน รัฐบาลต้องยืนยันว่าจะไม่มีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้อง ตามคำพิพากษาศาลโลก ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนชัดเจน ดังนั้น ทางเลือกของรัฐบาลต้องมีคำอธิบาย ว่าได้รักษาอธิปไตยอย่างสุดความสามารถอย่างไร และขณะนี้ประชาชนเป็นห่วง เพราะหากพลาด จนเกิดความสูญเสีย เชื่อว่าจะนำประเด็นไปขยายผลต่อในอนาคตอย่างแน่นอน"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายกฯ ยันไม่เคยพูดว่ารับคำพิพากษา
จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงต่อที่ประชุม ว่าตามเจตนารมณ์ที่ขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อขอรับฟังคำแนะนำจากรัฐสภา ซึ่งตนดีใจที่มีโอกาสรับฟังความเห็นต่างๆ ทั้งนี้ตามที่มีการระบุว่าตนจะยอมรับคำพิพากษาของศาลโลกหรือไม่ ขอยืนยันว่าไม่เคยพูดว่าจะยอมรับคำพิพากษา มีแต่พูดว่าไม่ว่าผลตัดสินเป็นอย่างไร จะดูแลความเรียบร้อยและความสัมพันธ์ที่ดีให้คงอยู่ และตนได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว ยืนยันว่าจะรักษาความสัมพันธ์ รักษาอธิปไตยของประเทศ รวมถึงคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ และประชาชนเป็นหลัก
"ไม่ว่ารัฐบาลไปดำเนินการอย่างไร เราจะนำเข้ามารับฟังความเห็นรัฐสภา จะขอมติรัฐสภา ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ทำการใด ๆ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และยืนยันว่าการดำเนินการใดๆ จะเป็นภายใต้คณะกรรมการ โดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว หรือประโยชน์ทับซ้อน ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ชาติ ประชาชน และ อธิปไตยเป็นหลัก"นางสาวยิ่งลักษณ์ ชี้แจง
สภาทนายความจี้รัฐทบทวน มาตรา 190
วันเดียวกัน ที่ สภาทนายความ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์กรณีศาลโลกมีคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร โดยเรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่รายละเอียดคำพิพากษาศาลโลกต่อประชาชนทั้งฉบับภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย พร้อมชี้แจงให้ชัดเจนว่า ภาษาใดที่ใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องจากประชาชนยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยระหว่างข่าวของภาครัฐและเอกชนว่า ประเทศไทยเสียดินแดนและพ่ายแพ้คดีหรือไม่
นอกจากนี้ สภาทนายความยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เกี่ยวกับการทำบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ ให้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อนจะมีผลผูกพันใดๆ ซึ่งจะทำให้การตกลงเรื่องพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ตามที่ศาลโลกมีคำพิพากษาระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ไม่มีข้อเสียเปรียบเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------
ทีมสู้คดีปราสาทพระวิหาร เข้าแจงในสภา พร้อมยืนยันพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ใช่บริเวณตัวปราสาท โดยวานนี้ (13 พ.ย.) ที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้เข้าสู่เนื้อหาของการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลโลกต่อคดีปราสาทพระวิหาร
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ศาลโลกมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ว่า ศาลโลกมีอำนาจตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาลโลก ในการตีความคำพิพากษาศาลโลก ปี 2505 ต่อกรณีที่กัมพูชาได้ยื่นร้องขอตีความอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร
และจะขอรับฟังคำอภิปรายของ ส.ส.และส.ว. เพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการหารือกับกัมพูชา ภายใต้กรอบกลไกคณะกรรมาธิการร่วม (เจซี) ไทย-กัมพูชา และผลจากการเจรจาจะดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายของไทยต่อไป
"ขอยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน เมื่อประชุมเสร็จก็จะนำผลหารือเจซีนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาอีกครั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนด้วย นอกจากนี้ ในวันที่ 15 พ.ย. จะเปิดให้นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาแสดงความคิดเห็น เพื่อนำมาเป็นแนวทางการดำเนินการ" นายสุรพงษ์ กล่าว
"ทูตวีรชัย"ย้ำพื้นที่4.6ตร.กม.ไม่ใช่บริเวณพระวิหาร
ด้าน นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะการดำเนินการทางกฎหมายฝ่ายไทยคดีปราสาทพระวิหาร ได้ขึ้นชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภาว่า ในคำพิพากษาของศาลโลก ได้ระบุว่า ศาลมีอำนาจในการรับตีความตามคำร้องของกัมพูชา แต่ไม่มีอำนาจชี้ชัดเส้นเขตแดน
ศาลตีความสิ่งที่เคยได้พิพากษาไปแล้ว และศาลได้ตีความในขอบข่ายของบทปฏิบัติการในคดีเดิมคืออำนาจอธิปไตยเหนือยอดเขา (promontory) พระวิหารเท่านั้น เนื่องจากศาลโลกเห็นว่า ไทย - กัมพูชามีความเห็นที่แตกต่างต่อคำตัดสินศาลโลก ปี 2505 ซึ่งคำว่า "Promontory" เป็นภาษาฝรั่งเศส ทางฝ่ายไทยได้นิยามความหมายว่า ยอดเขา ภายหลังที่ศาลโลกมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยใช้คำว่า "ชะง่อนผา" โดยตนจะรับไปพิจารณา
ทั้งนี้ "Promontory" ได้กลายเป็นข้อถกเถียงกันว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีขนาดเท่าไร แม้ว่าศาลโลกจะเห็นว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทหรือพื้นที่ในคดีเดิม มีขนาดเล็กที่เห็นได้โดยชัดเจนตามลักษณะภูมิศาสตร์อย่างที่กัมพูชาได้กล่าวเป็นข้อสนับสนุนในการยื่นขอตีความ แต่ในคำตัดสินของศาลโลกครั้งนี้ เห็นว่า ภูมะเขือที่เป็นพื้นที่ใน 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร และศาลก็ไม่ได้รับตีความพื้นที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่พิพาทในคดีเดิม
"อภิสิทธิ์"ชี้ศาลไม่ตัดสินตามเหตุผลปี 2505
จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ตนสงสัยมาโดยตลอดว่าปัญหาเรื่องการตีความเรื่องเขตแดนทำไมต้องส่งให้ศาลโลกเป็นผู้ตีความ ทั้งที่ศาลฯได้ระบุไว้ในคำตัดสิน เมื่อปี 2505 ระบุให้ทั้ง 2 ประเทศไปเจรจาตกลงร่วมกัน
ทั้งนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ความสูญเสียของพื้นที่ จากคำพิพากษาศาลโลก มีอย่างแน่นอน โดยจะเป็นอย่างที่มีคนตีความว่ากินพื้นที่ 0.3-2 ตารางกิโลเมตรหรือไม่ แต่จะจริงหรือไม่ต้องยอมรับว่าเป็นพื้นที่นอกเขตรั้วลวดหนามเดิมที่เป็นดินแดนของประเทศไทย ทั้งนี้เราปฏิเสธข้อเท็จจริงว่าคำพิพากษาของศาลได้ระบุไว้เช่นนั้นไม่ได้ ตนเสียใจและผิดหวังว่าศาลไม่ได้ตัดสินไปตามเหตุผลของปี 2505 อย่างเคร่งครัด เพราะ ปี 2505 ศาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับสัณฐานทางภูมิศาสตร์ หรือ แนวสันปันน้ำ ดูแค่ประเด็นกฎหมายปิดปากประเทศไทย ยอมรับพื้นที่
ย้ำคำพิพากษาศาลโลกไทยเสียดินแดน
นายอภิสิทธิ์ อภิปรายต่อว่า คำว่า “promontory” หรือ ยอดเขา หรือ ชะง่อนผาที่มีการระบุถึง ตามคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ปรากฏอยู่ 3 ครั้ง ตนไม่เชื่อว่าจะมีบุคคลใดตีความได้ว่าหมายถึงอาณาบริเวณของปราสาท ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อได้อ่านแล้วจะทำให้เข้าใจว่าหมายถึง พื้นที่ที่ใหญ่กว่ายอดเขา แต่เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ศาลโลกตีความว่า พื้นที่พิพาท คือทั้งหมดของยอดเขา
ทั้งนี้ ศาลฯ ได้กำหนดพื้นที่ของยอดเขา ตามคำพิพากษาของศาล ตามวรรคที่ 98 กล่าวคือ ครอบคลุมถึงเชิงเขา หรือตีนเขาของภูมะเขือ ซึ่งข้องใจทำไมไม่ครอบคลุมแค่เชิงเขาพระวิหาร ขณะที่ด้านทิศเหนือ ระบุว่าให้ยึดเส้นตามแผนที่ 1:200000 และพิจารณาว่าทางตะวันออกไปตัดกับหน้าผาตรงไหน และทางตะวันตกไปตัดกับพื้นที่บริเวณเชิงเขาภูมะเขือตรงไหน
มองว่าอาจจะเรียกว่าพื้นที่เล็ก หรือ แคบ แต่มีความหมาย เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าเป็นจุดใด คือ แผนที่ 1:200000 ฝ่ายไทยได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าไม่สามารถแปลงในพื้นที่จริงได้ ศาลจึงเขียนในวรรคที่ 99 ว่า ในเส้นดังกล่าวขอให้ 2 ประเทศไปตกลงด้วยความสุจริตและเคารพต่อคำตัดสินของศาล
แนะนายกฯอย่ารับคำตัดสินศาลโลก
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายอีกว่าขอให้รัฐบาลเร่งไปแก้ไข และหาแนวทางปฏิบัติต่อการเรียกร้องจากฝ่ายผู้นำประเทศกัมพูชาว่าให้มีการถอนทหารไทยออกจากพื้นที่เขาพระวิหารทั้งหมด นอกจากนั้นตนขอคำยืนยันจากนายกฯว่า จะรับคำพิพากษาของศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหารหรือไม่ หากนายกฯ ยืนยันว่ารับต้องชี้แจงกับประชาชนคนไทยด้วยว่าประเทศไทยจะเสียพื้นที่ที่เรียกว่า promontory ทันที
สำหรับแนวทางปฏิบัติต่อไปรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นหรือไม่ ตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ และต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าการเจรจาจะไม่มีผลประโยชน์อื่นๆ เช่น พลังงาน , มรดกโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง
จี้ถอนร่างแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 190
นอกจากนั้นแล้วสำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ว่าด้วยหนังสือสัญญาที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบ ที่คาดว่านายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประมาณ วันที่ 24 พ.ย. หรือ 25 พ.ย. นี้ หากนายกฯ จริงใจ ต้องนำความกราบบังคับทูลถวายคำแนะนำและถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกพระราชทานคืน รัฐสภาจะต้องไม่ยืนยัน เพื่อให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ตกไป และใช้มาตรา 190 ในบทบัญญัติเดิม
"การเจรจาตามกรอบของเจซี จะรวมถึงการพัฒนาและปัญหาชายแดน รัฐบาลต้องยืนยันว่าจะไม่มีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้อง ตามคำพิพากษาศาลโลก ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนชัดเจน ดังนั้น ทางเลือกของรัฐบาลต้องมีคำอธิบาย ว่าได้รักษาอธิปไตยอย่างสุดความสามารถอย่างไร และขณะนี้ประชาชนเป็นห่วง เพราะหากพลาด จนเกิดความสูญเสีย เชื่อว่าจะนำประเด็นไปขยายผลต่อในอนาคตอย่างแน่นอน"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายกฯ ยันไม่เคยพูดว่ารับคำพิพากษา
จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงต่อที่ประชุม ว่าตามเจตนารมณ์ที่ขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อขอรับฟังคำแนะนำจากรัฐสภา ซึ่งตนดีใจที่มีโอกาสรับฟังความเห็นต่างๆ ทั้งนี้ตามที่มีการระบุว่าตนจะยอมรับคำพิพากษาของศาลโลกหรือไม่ ขอยืนยันว่าไม่เคยพูดว่าจะยอมรับคำพิพากษา มีแต่พูดว่าไม่ว่าผลตัดสินเป็นอย่างไร จะดูแลความเรียบร้อยและความสัมพันธ์ที่ดีให้คงอยู่ และตนได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว ยืนยันว่าจะรักษาความสัมพันธ์ รักษาอธิปไตยของประเทศ รวมถึงคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ และประชาชนเป็นหลัก
"ไม่ว่ารัฐบาลไปดำเนินการอย่างไร เราจะนำเข้ามารับฟังความเห็นรัฐสภา จะขอมติรัฐสภา ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ทำการใด ๆ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และยืนยันว่าการดำเนินการใดๆ จะเป็นภายใต้คณะกรรมการ โดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว หรือประโยชน์ทับซ้อน ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ชาติ ประชาชน และ อธิปไตยเป็นหลัก"นางสาวยิ่งลักษณ์ ชี้แจง
สภาทนายความจี้รัฐทบทวน มาตรา 190
วันเดียวกัน ที่ สภาทนายความ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์กรณีศาลโลกมีคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร โดยเรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่รายละเอียดคำพิพากษาศาลโลกต่อประชาชนทั้งฉบับภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย พร้อมชี้แจงให้ชัดเจนว่า ภาษาใดที่ใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องจากประชาชนยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยระหว่างข่าวของภาครัฐและเอกชนว่า ประเทศไทยเสียดินแดนและพ่ายแพ้คดีหรือไม่
นอกจากนี้ สภาทนายความยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เกี่ยวกับการทำบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ ให้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อนจะมีผลผูกพันใดๆ ซึ่งจะทำให้การตกลงเรื่องพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ตามที่ศาลโลกมีคำพิพากษาระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ไม่มีข้อเสียเปรียบเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น