โดย.เสรี พงศ์พิศ
การเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองไปสู่ "ประชาธิปไตย" ที่แต่ละฝ่ายต่างอ้างในการต่อสู้นั้นดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น ชัดขึ้น ตกผลึกมากขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าจะต้องผ่านความเจ็บปวด การนองเลือด การสูญเสีย เพราะเป็นกระบวนการปลดปล่อยไปสู่ความเป็นไทที่แท้จริง เป็นการวิวัฒน์ตนเองของจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์โดยรวมของสังคมไทย
ประชาธิปไตยหมายถึงว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอธิปไตย ไม่ใช่เพียงผู้มีสิทธิไปออกเสียงเลือกใครสักคนไปทำหน้าที่แทนตัวเอง ในประเทศด้อยพัฒนาที่ประชาธิปไตยยังอ่อนเยาว์ ผู้แทนเหล่านี้มักสรุปเอาเองว่า มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะมาจากการเลือกตั้ง เพราะเป็นเสียงข้างมาก
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง พวกเขาจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ของประเทศชาติ แต่สิ่งที่ปรากฏกลับกลายเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ลุแก่อำนาจ ดูถูกประชาชน จนต้องลุกขึ้นมาแสดงตนเป็นเจ้าของอธิปไตยที่แท้จริง ขับไล่รัฐบาล วงจรอุบาทว์-วิภาษวิธีของการเมืองไทย
ในการต่อสู้ที่ผ่านมา เราได้เห็นการใช้ข้อมูลข่าวสารด้วยเครื่องมือและวิธีการต่างๆ แต่ไม่ว่าด้วยวิธีใด ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นก็ถูกบิดเบือน เป็นการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวหรือเพียงบางส่วน หรือบางกรณีไม่มีความจริงเลย การให้ข้อมูลเพื่อจุดมุ่งหมายปลุกระดมทำได้ทุกอย่าง ทำให้ผู้คนที่ได้ยินได้ฟัง ได้เห็นหรือได้รับข้อมูลเชื่อในเนื้อหาสาระเหล่านั้น
คนที่มีข้อมูลน้อย มีความรู้น้อย ย่อมเป็นเหยื่อของกระบวนการบิดเบือนข้อมูลเพื่อปลุกระดมและล้างสมองผู้คน ยกตัวอย่างเรื่องประชาธิปไตยที่ถูกนำมาต่อสู้กันตั้งแต่ไหนแต่ไรมา คือ ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องหมายถึงการเลือกตั้ง เลือกตั้งแปลว่าการไปกาบัตรลงคะแนนเท่านั้น อย่างอื่นไม่ใช่การเลือกตั้ง ไม่ใช่ประชาธิปไตย
บิดเบือนความหมายของ "อธิปไตย" (sovereignty) ไปจนมิด มองเห็นแต่บางส่วนของกระบวนการ บ้างด้านของประชาธิปไตย แต่ไม่เห็นเนื้อหาและกระบวนการโดยรวม เห็นแต่ต้นไม้บางต้นไม่เห็นป่า
การเลือกตั้งโดยไปกาบัตรเป็นวิธีหนึ่ง แต่มีวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นการเลือกตั้ง เช่น การสรรหาตามอาชีพ สถานภาพ เพื่อให้ได้ "ตัวแทน" จากประชาชนให้มากที่สุด ไม่ปล่อยให้พรรคการเมืองที่มีเงินทุนมาก อำนาจมาก ไปซื้อเสียงไปครอบงำอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา
ความจริง แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ การเลือกตั้งโดยประชาชน กับการเลือกสรรจากคนกลุ่มต่างๆ วิธีต่างๆ ก็ยังใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างรัฐสภาอังกฤษ แม่แบบประชาธิปไตยไทย สภาบน หรือวุฒิสภา (House of Lords) มีสมาชิกมากกว่าสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) และส่วนหนึ่งก็มาจากการสรรหา แต่งตั้ง ไม่ได้เลือกตั้งมาทั้งหมด
ในประเทศอินเดีย สภาบนหรือวุฒิสภา หรือที่อินเดียเรียกว่า ราชยสภา (Rajya Sabha) สภาล่างที่เรียกว่า โลกสภา (Lok Sabha) ก็มีการสรรหาวุฒิสมาชิกเช่นเดียวกัน หรือในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีสองสภาเช่นเดียวกับไทย วุฒิสภาที่กัมพูชาเรียก Protsaphea (น่าจะเป็นพฤฒสภา) ส่วนหนึ่งก็ได้รับการสรรหาหรือแต่งตั้งเช่นเดียวกัน
ความหมายดั้งเดิมของประชาธิปไตยที่เราได้มาจากตะวันตก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 2,500 ปีก่อนหมายถึงประชาชนปกครองตนเอง ส่วนจะรูปแบบไหนก็ตัดสินใจเอาเอง เลือกเองเอง ขออย่างเดียวให้ประชาชนเป็นเจ้าของ "อธิปไตย" (sovereignty)
ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จึงไม่สนใจว่าจะต้องเอารูปแบบประชาธิปไตยของตะวันตก "ทั้งดุ้น" แต่เลือกที่จะจัดการการเมืองในแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับภูมิสังคมของตนเอง
ประเทศอิหร่านอาจจะดูสุดขั้ว แต่นั่นคือภาพที่อเมริกาสร้างขึ้นเพื่อไม่ให้คนอื่นเอาอย่าง ความจริง อิหร่านคือตัวอย่างของการตัดสินใจเลือกประชาธิปไตยแบบอิหร่าน ที่ใช้กฏหมายอิสลามประยุกต์ เพื่อปลดปล่อยตนเองจากประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่ทำให้สังคมอิหร่านล่มสลาย
ประชาธิปไตยไทยไม่มี "รากเหง้า" ความเป็นไทย ไม่เคยสนใจศึกษา วิจัย ค้นหาระบบคุณค่า ภูมิปัญญา จารีตประเพณี วัฒนธรรม อันเป็นรากฐานแห่งการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นกฎระเบียบที่อาจมีหลายอย่างแตกต่างจากกฎหมายสำนักออสตินหรืออะไรก็ได้ในยุโรปที่คนไทยไปเรียนมา เอามาเป็นฐานการร่างรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ที่เขียนขึ้นง่ายๆ เอามาใช้แล้วก็ฉีกทิ้งกันง่ายๆ และกฎหมายอีกมากมายที่ไม่ได้ช่วยให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่กลับเป็นปัญหาและอุปสรรค เป็นเครื่องมือการโกงกินมากขึ้น
วันนี้มีความพยายาม "คืนสู่รากเหง้า" มีความสนใจภูมิปัญญาไทย แต่ก็ในความหมายเชิงธุรกิจ เอามาต่อยอดเป็นโอทอปสามดาวห้าดาว เอามาขาย มีรายได้ ไม่ได้ไปวิจัยค้นหารากฐานของชีวิต แล้วนำมาต่อยอด ประยุกต์เพื่อสร้างรากฐานใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมไทย เป็นอัตลักษณ์ไทย
ยังดีที่วันนี้มีความสนใจ "ยุติธรรมชุมชน" สนใจว่าจะใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชนโดยไม่ต้องไปพึ่งศาลพึ่งตำรวจเสมอไป แต่ก็ยังไม่มีใครสนใจจริงจังว่า จะสร้างกฎหมายแม่บทอย่างรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูกต่างๆ ให้มีรากฐานที่รากเหง้าของสังคมไทยได้อย่างไร
การค้นหาอัตลักษณ์ ไม่ใช่การปิดตัวเองจากโลกภายนอก หากเป็นกระบวนการไปสู่ความเป็นไท ไม่ถูกครอบงำจากอำนาจใดๆ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ซึ่งล้วนแต่หวังครอบงำและเอาประโยชน์จากสังคมไทยในนามของประชาธิปไตย
ที่มา.สยามรัฐ
-----------------------------------
การเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองไปสู่ "ประชาธิปไตย" ที่แต่ละฝ่ายต่างอ้างในการต่อสู้นั้นดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น ชัดขึ้น ตกผลึกมากขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าจะต้องผ่านความเจ็บปวด การนองเลือด การสูญเสีย เพราะเป็นกระบวนการปลดปล่อยไปสู่ความเป็นไทที่แท้จริง เป็นการวิวัฒน์ตนเองของจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์โดยรวมของสังคมไทย
ประชาธิปไตยหมายถึงว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอธิปไตย ไม่ใช่เพียงผู้มีสิทธิไปออกเสียงเลือกใครสักคนไปทำหน้าที่แทนตัวเอง ในประเทศด้อยพัฒนาที่ประชาธิปไตยยังอ่อนเยาว์ ผู้แทนเหล่านี้มักสรุปเอาเองว่า มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะมาจากการเลือกตั้ง เพราะเป็นเสียงข้างมาก
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง พวกเขาจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ของประเทศชาติ แต่สิ่งที่ปรากฏกลับกลายเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ลุแก่อำนาจ ดูถูกประชาชน จนต้องลุกขึ้นมาแสดงตนเป็นเจ้าของอธิปไตยที่แท้จริง ขับไล่รัฐบาล วงจรอุบาทว์-วิภาษวิธีของการเมืองไทย
ในการต่อสู้ที่ผ่านมา เราได้เห็นการใช้ข้อมูลข่าวสารด้วยเครื่องมือและวิธีการต่างๆ แต่ไม่ว่าด้วยวิธีใด ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นก็ถูกบิดเบือน เป็นการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวหรือเพียงบางส่วน หรือบางกรณีไม่มีความจริงเลย การให้ข้อมูลเพื่อจุดมุ่งหมายปลุกระดมทำได้ทุกอย่าง ทำให้ผู้คนที่ได้ยินได้ฟัง ได้เห็นหรือได้รับข้อมูลเชื่อในเนื้อหาสาระเหล่านั้น
คนที่มีข้อมูลน้อย มีความรู้น้อย ย่อมเป็นเหยื่อของกระบวนการบิดเบือนข้อมูลเพื่อปลุกระดมและล้างสมองผู้คน ยกตัวอย่างเรื่องประชาธิปไตยที่ถูกนำมาต่อสู้กันตั้งแต่ไหนแต่ไรมา คือ ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องหมายถึงการเลือกตั้ง เลือกตั้งแปลว่าการไปกาบัตรลงคะแนนเท่านั้น อย่างอื่นไม่ใช่การเลือกตั้ง ไม่ใช่ประชาธิปไตย
บิดเบือนความหมายของ "อธิปไตย" (sovereignty) ไปจนมิด มองเห็นแต่บางส่วนของกระบวนการ บ้างด้านของประชาธิปไตย แต่ไม่เห็นเนื้อหาและกระบวนการโดยรวม เห็นแต่ต้นไม้บางต้นไม่เห็นป่า
การเลือกตั้งโดยไปกาบัตรเป็นวิธีหนึ่ง แต่มีวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นการเลือกตั้ง เช่น การสรรหาตามอาชีพ สถานภาพ เพื่อให้ได้ "ตัวแทน" จากประชาชนให้มากที่สุด ไม่ปล่อยให้พรรคการเมืองที่มีเงินทุนมาก อำนาจมาก ไปซื้อเสียงไปครอบงำอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา
ความจริง แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ การเลือกตั้งโดยประชาชน กับการเลือกสรรจากคนกลุ่มต่างๆ วิธีต่างๆ ก็ยังใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างรัฐสภาอังกฤษ แม่แบบประชาธิปไตยไทย สภาบน หรือวุฒิสภา (House of Lords) มีสมาชิกมากกว่าสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) และส่วนหนึ่งก็มาจากการสรรหา แต่งตั้ง ไม่ได้เลือกตั้งมาทั้งหมด
ในประเทศอินเดีย สภาบนหรือวุฒิสภา หรือที่อินเดียเรียกว่า ราชยสภา (Rajya Sabha) สภาล่างที่เรียกว่า โลกสภา (Lok Sabha) ก็มีการสรรหาวุฒิสมาชิกเช่นเดียวกัน หรือในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีสองสภาเช่นเดียวกับไทย วุฒิสภาที่กัมพูชาเรียก Protsaphea (น่าจะเป็นพฤฒสภา) ส่วนหนึ่งก็ได้รับการสรรหาหรือแต่งตั้งเช่นเดียวกัน
ความหมายดั้งเดิมของประชาธิปไตยที่เราได้มาจากตะวันตก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 2,500 ปีก่อนหมายถึงประชาชนปกครองตนเอง ส่วนจะรูปแบบไหนก็ตัดสินใจเอาเอง เลือกเองเอง ขออย่างเดียวให้ประชาชนเป็นเจ้าของ "อธิปไตย" (sovereignty)
ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จึงไม่สนใจว่าจะต้องเอารูปแบบประชาธิปไตยของตะวันตก "ทั้งดุ้น" แต่เลือกที่จะจัดการการเมืองในแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับภูมิสังคมของตนเอง
ประเทศอิหร่านอาจจะดูสุดขั้ว แต่นั่นคือภาพที่อเมริกาสร้างขึ้นเพื่อไม่ให้คนอื่นเอาอย่าง ความจริง อิหร่านคือตัวอย่างของการตัดสินใจเลือกประชาธิปไตยแบบอิหร่าน ที่ใช้กฏหมายอิสลามประยุกต์ เพื่อปลดปล่อยตนเองจากประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่ทำให้สังคมอิหร่านล่มสลาย
ประชาธิปไตยไทยไม่มี "รากเหง้า" ความเป็นไทย ไม่เคยสนใจศึกษา วิจัย ค้นหาระบบคุณค่า ภูมิปัญญา จารีตประเพณี วัฒนธรรม อันเป็นรากฐานแห่งการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นกฎระเบียบที่อาจมีหลายอย่างแตกต่างจากกฎหมายสำนักออสตินหรืออะไรก็ได้ในยุโรปที่คนไทยไปเรียนมา เอามาเป็นฐานการร่างรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ที่เขียนขึ้นง่ายๆ เอามาใช้แล้วก็ฉีกทิ้งกันง่ายๆ และกฎหมายอีกมากมายที่ไม่ได้ช่วยให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่กลับเป็นปัญหาและอุปสรรค เป็นเครื่องมือการโกงกินมากขึ้น
วันนี้มีความพยายาม "คืนสู่รากเหง้า" มีความสนใจภูมิปัญญาไทย แต่ก็ในความหมายเชิงธุรกิจ เอามาต่อยอดเป็นโอทอปสามดาวห้าดาว เอามาขาย มีรายได้ ไม่ได้ไปวิจัยค้นหารากฐานของชีวิต แล้วนำมาต่อยอด ประยุกต์เพื่อสร้างรากฐานใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมไทย เป็นอัตลักษณ์ไทย
ยังดีที่วันนี้มีความสนใจ "ยุติธรรมชุมชน" สนใจว่าจะใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชนโดยไม่ต้องไปพึ่งศาลพึ่งตำรวจเสมอไป แต่ก็ยังไม่มีใครสนใจจริงจังว่า จะสร้างกฎหมายแม่บทอย่างรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูกต่างๆ ให้มีรากฐานที่รากเหง้าของสังคมไทยได้อย่างไร
การค้นหาอัตลักษณ์ ไม่ใช่การปิดตัวเองจากโลกภายนอก หากเป็นกระบวนการไปสู่ความเป็นไท ไม่ถูกครอบงำจากอำนาจใดๆ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ซึ่งล้วนแต่หวังครอบงำและเอาประโยชน์จากสังคมไทยในนามของประชาธิปไตย
ที่มา.สยามรัฐ
-----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น