นักวิชาการ-ส.ว.ชี้ช่องต่อสู้คำร้องถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คน งัดคำวินิจฉัยศาลรธน.สู้กับม.270 ย้ำฝ่ายค้านหวังดึงเกมสร้างให้เกิดวิกฤติ
กลุ่มส.ว.เลือกตั้ง นำโดยนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ได้จัดงานเสวนาชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและทางออกส.ว.เลือกตั้งลงชื่อในญัตติ โดยมีนักวิชาการ ได้แก่ นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ ร่วมเสวนาและตอบคำถามของส.ว.ที่เข้าร่วมจำนวน 31 คน
โดยนายเอกชัย กล่าวว่า ได้คุยกับนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาต่อประเด็นมีผู้ยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภา ทั้ง 312 คนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยนายนิคมต้องการไปชี้แจง แต่ตนมองว่าส.ว.ต้องหารือให้ตกผลึก เพราะประเด็นของผู้ชุมนุมที่เกิดตอนนี้ไม่ต้องการเล่นเกมให้ถึงป.ป.ช. แต่ต้องการให้จบภายใน 3 วัน โดยดึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้ แต่ต้องการสร้างความวุ่นวายให้เป็นวิกฤติ และใช้เกมขั้นสุดท้ายคือ ปฏิเสธรับอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และต้องการให้เกิดนายกพระราชทานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ซึ่งเตรียมบุคคลชื่ออักษร ย่อ"อ." หรือ"พ."ตัวดำๆซึ่งเป็นนักกฎหมายไว้แล้ว
นายเอกชัย ได้ตอบคำถามของส.ว.ต่อประเด็นการต่อสู้กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยว่า ต้องยืนยันเอกสิทธิ์เด็ดขาดของสมาชิกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 130 ที่ให้เอกสิทธิ์เด็ดขาดกับการแสดงความเห็นหรือลงคะแนนในที่ประชุม โดยบุคคลใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้
"ส่วนกรณีที่มีการยื่นเรื่องถอดถอนกับป.ป.ช. นั้นต้องพิจารณาในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชี้ชัดว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพ และหากมีการยื่นเรื่องถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ที่พบการใช้อำนาจหน้าที่กระทำการที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ สามารถนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาต่อสู้ได้ ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวไม่มีความยาก หากทำตามกฎเกณฑ์ "นายเอกชัย กล่าว
ด้าน นายวีรพัฒน์ กล่าวว่าตามที่มีผู้ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 ดำเนินการยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ต้องพิจารณากระบวนการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ที่ระบุให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องตามคำร้องให้ ป.ป.ช.พิจารณาตรวจสอบโดยเร็ว
"ผมมองว่าต้องมีการเตือนนายนิคม ว่าอย่าหลับหูหลับตาส่งไปให้ทันที เนื่องจากมาตรา 272 ระบุให้พิจารณาตามคำร้องมาตรา 271 และมาตรา 270 ประกอบ โดยมาตรา 270 นั้นระบุว่าเมื่อมีผู้ใดจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หากนายนิคม มองว่าเป็นประเด็นที่อยู่ระหว่างการถกเถียง มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม แต่ไม่ใช่กรณีจงใจขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อกระทำการทุจริต เป็นการใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ หากนายนิคมไม่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช.ผมมองว่ามีคำอธิบายได้ "นายวีรพัฒน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวงเสวนาดังกล่าวเป็นการอภิปรายสลับกับการถามคำถาม ประกอบกับหาข้อสรุปกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และการต่อสู้หลังจากที่ผู้ยื่นถอดถอน ทั้งนี้นายสุพจน์ เลียดประถม สว.ตราด เสนอว่าส.ว.ทั้ง 52 คนที่ถูกยื่นถอนถอนควรแยกการต่อสู้ เนื่องจากส.ว.ไม่ใช่ผู้ที่เสียบบัตรแทนแทน อีกทั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอให้สภาฯ ซึ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการ ไม่ใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ ส.ว.ให้การรับรอง อย่างไรก็ตามการหารือประเด็นดังกล่าวได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากมีข่าวแจ้งให้ข้าราชการ, ลูกจ้างรัฐสภาออกจากพื้นที่หลังมีเหตุการชุมนุมปิดล้อมถนนหลายเส้นทาง
ก่อนปิดการเสวนา นายดิเรก ถึงฝั่ง สว.นนทบุรี ระบุว่าหลังการเสวนา เดิมจะมีการหารือถึงการต่อสู้ในคำวินิจฉัยของศาล และจะมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ร่วมด้วยแต่ตนได้รับแจ้งจากนายนิคมว่า จะไม่เข้าที่ประชุมรัฐสภาเนื่องจากทราบมาว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกรวบตัว แต่การเสวนาดังกล่าวนายนิคมได้ติดตามตลอด อย่างไรก็ตามการหารือเรื่องดังกล่าวจะนัดประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 26 พ.ย. ส่วนจะใช้สถานที่ใดจะให้นายสุรชัย แจ้งอีกครั้ง
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-------------------------------
กลุ่มส.ว.เลือกตั้ง นำโดยนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ได้จัดงานเสวนาชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและทางออกส.ว.เลือกตั้งลงชื่อในญัตติ โดยมีนักวิชาการ ได้แก่ นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ ร่วมเสวนาและตอบคำถามของส.ว.ที่เข้าร่วมจำนวน 31 คน
โดยนายเอกชัย กล่าวว่า ได้คุยกับนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาต่อประเด็นมีผู้ยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภา ทั้ง 312 คนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยนายนิคมต้องการไปชี้แจง แต่ตนมองว่าส.ว.ต้องหารือให้ตกผลึก เพราะประเด็นของผู้ชุมนุมที่เกิดตอนนี้ไม่ต้องการเล่นเกมให้ถึงป.ป.ช. แต่ต้องการให้จบภายใน 3 วัน โดยดึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้ แต่ต้องการสร้างความวุ่นวายให้เป็นวิกฤติ และใช้เกมขั้นสุดท้ายคือ ปฏิเสธรับอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และต้องการให้เกิดนายกพระราชทานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ซึ่งเตรียมบุคคลชื่ออักษร ย่อ"อ." หรือ"พ."ตัวดำๆซึ่งเป็นนักกฎหมายไว้แล้ว
นายเอกชัย ได้ตอบคำถามของส.ว.ต่อประเด็นการต่อสู้กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยว่า ต้องยืนยันเอกสิทธิ์เด็ดขาดของสมาชิกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 130 ที่ให้เอกสิทธิ์เด็ดขาดกับการแสดงความเห็นหรือลงคะแนนในที่ประชุม โดยบุคคลใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้
"ส่วนกรณีที่มีการยื่นเรื่องถอดถอนกับป.ป.ช. นั้นต้องพิจารณาในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชี้ชัดว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพ และหากมีการยื่นเรื่องถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ที่พบการใช้อำนาจหน้าที่กระทำการที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ สามารถนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาต่อสู้ได้ ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวไม่มีความยาก หากทำตามกฎเกณฑ์ "นายเอกชัย กล่าว
ด้าน นายวีรพัฒน์ กล่าวว่าตามที่มีผู้ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 ดำเนินการยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ต้องพิจารณากระบวนการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ที่ระบุให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องตามคำร้องให้ ป.ป.ช.พิจารณาตรวจสอบโดยเร็ว
"ผมมองว่าต้องมีการเตือนนายนิคม ว่าอย่าหลับหูหลับตาส่งไปให้ทันที เนื่องจากมาตรา 272 ระบุให้พิจารณาตามคำร้องมาตรา 271 และมาตรา 270 ประกอบ โดยมาตรา 270 นั้นระบุว่าเมื่อมีผู้ใดจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หากนายนิคม มองว่าเป็นประเด็นที่อยู่ระหว่างการถกเถียง มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม แต่ไม่ใช่กรณีจงใจขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อกระทำการทุจริต เป็นการใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ หากนายนิคมไม่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช.ผมมองว่ามีคำอธิบายได้ "นายวีรพัฒน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวงเสวนาดังกล่าวเป็นการอภิปรายสลับกับการถามคำถาม ประกอบกับหาข้อสรุปกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และการต่อสู้หลังจากที่ผู้ยื่นถอดถอน ทั้งนี้นายสุพจน์ เลียดประถม สว.ตราด เสนอว่าส.ว.ทั้ง 52 คนที่ถูกยื่นถอนถอนควรแยกการต่อสู้ เนื่องจากส.ว.ไม่ใช่ผู้ที่เสียบบัตรแทนแทน อีกทั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอให้สภาฯ ซึ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการ ไม่ใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ ส.ว.ให้การรับรอง อย่างไรก็ตามการหารือประเด็นดังกล่าวได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากมีข่าวแจ้งให้ข้าราชการ, ลูกจ้างรัฐสภาออกจากพื้นที่หลังมีเหตุการชุมนุมปิดล้อมถนนหลายเส้นทาง
ก่อนปิดการเสวนา นายดิเรก ถึงฝั่ง สว.นนทบุรี ระบุว่าหลังการเสวนา เดิมจะมีการหารือถึงการต่อสู้ในคำวินิจฉัยของศาล และจะมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ร่วมด้วยแต่ตนได้รับแจ้งจากนายนิคมว่า จะไม่เข้าที่ประชุมรัฐสภาเนื่องจากทราบมาว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกรวบตัว แต่การเสวนาดังกล่าวนายนิคมได้ติดตามตลอด อย่างไรก็ตามการหารือเรื่องดังกล่าวจะนัดประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 26 พ.ย. ส่วนจะใช้สถานที่ใดจะให้นายสุรชัย แจ้งอีกครั้ง
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น