โดย.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
มองปัญหาพระวิหารไทย-กัมพูชา"กึ่งเจ๊า-กึ่งเจ๊ง" ขณะที่ "วีรพัฒน์"แนะอย่าด่วนสรุปเสียดินแดนต้องรอผลเจรจา ย้ำรัฐต้องเปิดเผยโปร่งใส
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา "เขาพระวิหาร-ชาตินิยม-ประชาคมอาเซียน"ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวานนี้(17 พ.ย.) ว่า คดีปราสาทพระวิหารเป็นคดีแย่งมรดก เพราะคู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ ดังนั้น จึงนำเรื่องดังกล่าวไปให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก พิพากษาลงมา
แม้ผลออกมาไม่ยอมรับแต่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะอยู่รอดหรือไม่ต้องติดตาม แต่ในแง่ประวัติศาสตร์การเมือง น่าจะเป็นเรื่องของลัทธิชาตินิยมที่ทำให้บานปลาย และปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องของไทยและกัมพูชา อย่างไรก็ดี หลังคำพิพากษาศาลโลก ส่วนตัวคิดว่าคือ กึ่งเจ๊า กึ่งเจ๊ง เพราะไม่ได้เลวร้ายอย่างที่วิตก เป็นลักษณะวินวินทั้งไทยและกัมพูชา เนื่องจากไม่ได้เสียมากอย่างที่ไทยคิดและกัมพูชาไม่ได้อย่างที่คิดเอาไว้ ตรงนี้จะทำให้ไทยอยู่กับเพื่อนบ้านได้
"งานนี้แผนที่ไม่เกี่ยว แต่งานที่แล้วจบลงด้วยแผนที่ 1:200,000 ที่ผมเรียกว่าเป็นแผนที่แบร์นาร์ด-ชาติเดชอุดมแผนที่ทั้งหมดมี 11 ระวาง เป็นแผนที่อินโดจีนฝรั่งเศส-สยาม ดังนั้น สรุปได้ว่าแผนที่ดังกล่าวสยามได้ทำร่วมกับฝรั่งเศส และถ้าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็ถือว่าตาบอดหนึ่งข้าง แต่ถ้าเชื่อประวัติศาสตร์โดยไม่ทำการศึกษาก็ถือตาบอดสองข้าง” นายชาญวิทย์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่า ประเด็นนี้มี 2 เรื่องใหญ่ คือ กฎหมายและการเมือง แต่ยังมีสภาวะวิถีชีวิต ภูมิศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าขัดแย้งหรือไม่ ถ้าบอกตามกฎหมายระหว่างประเทศบอกได้ว่า ไม่ได้ขัดแย้งโดยตรง แต่อาจจะเอื้อกันด้วยซ้ำ เช่น ภูมะเขือชัดเจนมันแยกออกจากกัน เพราะเอามารวมกันไม่ได้
"คำพิพากษาผูกพันในประเด็นสู้คดี ศาลไม่ได้บอกเรื่องดินแดนไทย-กัมพูชาหรือเส้นสันปันน้ำ ศาลสนใจตัวปราสาทเป็นของใคร และไทยต้องถอนทหาร แต่ศาลใช้คำกำกวม คือ vicinity ทิศใต้ ตะวันตก ชัดเจน เป็นหน้าผา ทิศเหนือปราสาทที่ลาดไม่ชัด จึงต้องใช้ส่วนหนึ่งของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มากำหนดขอบเขต
อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่า เสียดินแดนใหญ่หรือเล็ก แต่การเอาเส้นนี้ลากลงแผนที่จริงมันทำให้งง ท่านทูตวันนี้บอกว่ายังสรุปไม่ได้ ดังนั้นต้องรอการเจรจา และทำฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะเวลาท่านทูตพูดมีน้ำหนักเพียงพอในการผูกมัด และการที่ท่านทูตพูดกับนายศิริโชค โสภา ก็เหมือนเป็นการสอนไปยังกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาล ต้องระวังในการพูด เพราะเมื่อมีผลผูกมัดทำให้ยากต่อการเจรจา"
แต่สิ่งดี คือ ขณะนี้ทุกอย่างได้คลายปม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้พูดคุย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายเคยขีดไว้” นายวีรพัฒน์ กล่าวและว่า ส่วนกรอบการเจรจาก็อยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายเดินหน้า แต่รัฐบาลต้องแสดงความโปร่งใส คือ ตรวจสอบได้แล้วนำผลเจรจามาบอกประชาชนด้วย
นายพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแบ่งเส้นพรมแดนคนไทยเข้าใจในเชิงรัฐศาสตร์มากกว่า ดังนั้น จะมีความรู้สึกแตกต่าง คือ ลักษณะรัฐทั่วไปสมัยก่อนไม่มีพรมแดน อาจจะใช้สิ่งสังเกตในธรรมชาติแบ่งขอบเขต เช่น กรณีพระวิหาร หน้าผาเป็นตัวแบ่งที่ดี ถ้ามุมมองชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ การใช้หลักสันปันน้ำจับต้องได้ยากกว่าหน้าผาแม้กระทั่งคนกัมพูชา และความเป็นกรรมสิทธิ์ทำให้เกิดความรู้สึกยากต่อการสูญเสีย
อย่างไรก็ตาม พรมแดนนำไปสู่ความนิยมเชิงอัตลักษณ์ ทำให้พื้นที่กับคนเป็นสิ่งเดียวกัน และให้เข้าใจกัมพูชาว่าเป็นชาวอพยพ อดีตปัจจุบันต้องแบ่งแยกจากกัน แต่ปัญหามรดกโลกขาดการทำความเข้าใจในอดีต เพราะพระวิหารเป็นศูนย์กลางสำหรับคนหลายๆ กลุ่ม พื้นที่ดังกล่าวก่อนประกาศเป็นมรดกโลก หลายแห่งเป็นโบราณคดี
ขณะที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงถึงคำพิพากษาของศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร ว่า คำตัดสินของศาลโลกช่วยพิสูจน์ความจริงว่าตนไม่ใช่คนขายชาติตามที่ถูกกล่าวหามาตลอด 5 ปี คำตัดสินของศาลในวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนรู้ว่าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ได้ตกเป็นของกัมพูชา และสิ่งที่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทำไว้ก็เพื่อปกป้องดินแดนไม่ได้ขายชาติ ดังนั้นทุกฝ่าย โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ และ กลุ่ม 40 ส.ว.ควรยุติเผยแพร่ข้อความเท็จเรื่องปราสาทพระวิหาร
นายนพดล กล่าวว่า ปี 2551 รัฐบาลสมัคร ที่มีตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้คัดค้านและบังคับให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรออก และห้ามไม่ให้นำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก กัมพูชาต้องยื่นแผนผังตัวปราสาทใหม่แทนแผนที่รุกล้ำพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ได้ยื่นไว้ในปี 2549 จนสามารถขึ้นทะเบียนได้เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่าเส้นรั้วลวดหนามตามเส้นมติ ครม.เสียอีก โดยไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน ตามที่ระบุในข้อ 9 ของมติกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32
นายนพดล กล่าวว่า คำตัดสินของศาลโลกพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าคำแถลงการณ์ร่วมที่ตนได้ลงนามไว้ ไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดน และยังเป็นการปกป้องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทีมกฎหมายของไทย ก็ยังใช้คำแถลงการณ์ร่วมของตนในการสู้คดีด้วย และเมื่อความจริงปรากฏว่าตนไม่ใช่คนขายชาติ ก็ขออโหสิกรรมให้นักการเมืองกลุ่มที่ใส่ร้ายตนมาตลอด 5 ปี และฝ่ายต่างๆ ควรหยุดวิจารณ์คำตัดสินของศาลโลกเพื่อหวังผลทางการเมืองได้แล้ว แต่ควรให้ข้าราชการมืออาชีพทำงาน เลิกสร้างปัญหาแต่ควรร่วมมือกันแก้ปัญหา
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////
มองปัญหาพระวิหารไทย-กัมพูชา"กึ่งเจ๊า-กึ่งเจ๊ง" ขณะที่ "วีรพัฒน์"แนะอย่าด่วนสรุปเสียดินแดนต้องรอผลเจรจา ย้ำรัฐต้องเปิดเผยโปร่งใส
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา "เขาพระวิหาร-ชาตินิยม-ประชาคมอาเซียน"ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวานนี้(17 พ.ย.) ว่า คดีปราสาทพระวิหารเป็นคดีแย่งมรดก เพราะคู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ ดังนั้น จึงนำเรื่องดังกล่าวไปให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก พิพากษาลงมา
แม้ผลออกมาไม่ยอมรับแต่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะอยู่รอดหรือไม่ต้องติดตาม แต่ในแง่ประวัติศาสตร์การเมือง น่าจะเป็นเรื่องของลัทธิชาตินิยมที่ทำให้บานปลาย และปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องของไทยและกัมพูชา อย่างไรก็ดี หลังคำพิพากษาศาลโลก ส่วนตัวคิดว่าคือ กึ่งเจ๊า กึ่งเจ๊ง เพราะไม่ได้เลวร้ายอย่างที่วิตก เป็นลักษณะวินวินทั้งไทยและกัมพูชา เนื่องจากไม่ได้เสียมากอย่างที่ไทยคิดและกัมพูชาไม่ได้อย่างที่คิดเอาไว้ ตรงนี้จะทำให้ไทยอยู่กับเพื่อนบ้านได้
"งานนี้แผนที่ไม่เกี่ยว แต่งานที่แล้วจบลงด้วยแผนที่ 1:200,000 ที่ผมเรียกว่าเป็นแผนที่แบร์นาร์ด-ชาติเดชอุดมแผนที่ทั้งหมดมี 11 ระวาง เป็นแผนที่อินโดจีนฝรั่งเศส-สยาม ดังนั้น สรุปได้ว่าแผนที่ดังกล่าวสยามได้ทำร่วมกับฝรั่งเศส และถ้าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็ถือว่าตาบอดหนึ่งข้าง แต่ถ้าเชื่อประวัติศาสตร์โดยไม่ทำการศึกษาก็ถือตาบอดสองข้าง” นายชาญวิทย์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่า ประเด็นนี้มี 2 เรื่องใหญ่ คือ กฎหมายและการเมือง แต่ยังมีสภาวะวิถีชีวิต ภูมิศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าขัดแย้งหรือไม่ ถ้าบอกตามกฎหมายระหว่างประเทศบอกได้ว่า ไม่ได้ขัดแย้งโดยตรง แต่อาจจะเอื้อกันด้วยซ้ำ เช่น ภูมะเขือชัดเจนมันแยกออกจากกัน เพราะเอามารวมกันไม่ได้
"คำพิพากษาผูกพันในประเด็นสู้คดี ศาลไม่ได้บอกเรื่องดินแดนไทย-กัมพูชาหรือเส้นสันปันน้ำ ศาลสนใจตัวปราสาทเป็นของใคร และไทยต้องถอนทหาร แต่ศาลใช้คำกำกวม คือ vicinity ทิศใต้ ตะวันตก ชัดเจน เป็นหน้าผา ทิศเหนือปราสาทที่ลาดไม่ชัด จึงต้องใช้ส่วนหนึ่งของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มากำหนดขอบเขต
อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่า เสียดินแดนใหญ่หรือเล็ก แต่การเอาเส้นนี้ลากลงแผนที่จริงมันทำให้งง ท่านทูตวันนี้บอกว่ายังสรุปไม่ได้ ดังนั้นต้องรอการเจรจา และทำฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะเวลาท่านทูตพูดมีน้ำหนักเพียงพอในการผูกมัด และการที่ท่านทูตพูดกับนายศิริโชค โสภา ก็เหมือนเป็นการสอนไปยังกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาล ต้องระวังในการพูด เพราะเมื่อมีผลผูกมัดทำให้ยากต่อการเจรจา"
แต่สิ่งดี คือ ขณะนี้ทุกอย่างได้คลายปม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้พูดคุย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายเคยขีดไว้” นายวีรพัฒน์ กล่าวและว่า ส่วนกรอบการเจรจาก็อยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายเดินหน้า แต่รัฐบาลต้องแสดงความโปร่งใส คือ ตรวจสอบได้แล้วนำผลเจรจามาบอกประชาชนด้วย
นายพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแบ่งเส้นพรมแดนคนไทยเข้าใจในเชิงรัฐศาสตร์มากกว่า ดังนั้น จะมีความรู้สึกแตกต่าง คือ ลักษณะรัฐทั่วไปสมัยก่อนไม่มีพรมแดน อาจจะใช้สิ่งสังเกตในธรรมชาติแบ่งขอบเขต เช่น กรณีพระวิหาร หน้าผาเป็นตัวแบ่งที่ดี ถ้ามุมมองชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ การใช้หลักสันปันน้ำจับต้องได้ยากกว่าหน้าผาแม้กระทั่งคนกัมพูชา และความเป็นกรรมสิทธิ์ทำให้เกิดความรู้สึกยากต่อการสูญเสีย
อย่างไรก็ตาม พรมแดนนำไปสู่ความนิยมเชิงอัตลักษณ์ ทำให้พื้นที่กับคนเป็นสิ่งเดียวกัน และให้เข้าใจกัมพูชาว่าเป็นชาวอพยพ อดีตปัจจุบันต้องแบ่งแยกจากกัน แต่ปัญหามรดกโลกขาดการทำความเข้าใจในอดีต เพราะพระวิหารเป็นศูนย์กลางสำหรับคนหลายๆ กลุ่ม พื้นที่ดังกล่าวก่อนประกาศเป็นมรดกโลก หลายแห่งเป็นโบราณคดี
ขณะที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงถึงคำพิพากษาของศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร ว่า คำตัดสินของศาลโลกช่วยพิสูจน์ความจริงว่าตนไม่ใช่คนขายชาติตามที่ถูกกล่าวหามาตลอด 5 ปี คำตัดสินของศาลในวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนรู้ว่าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ได้ตกเป็นของกัมพูชา และสิ่งที่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทำไว้ก็เพื่อปกป้องดินแดนไม่ได้ขายชาติ ดังนั้นทุกฝ่าย โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ และ กลุ่ม 40 ส.ว.ควรยุติเผยแพร่ข้อความเท็จเรื่องปราสาทพระวิหาร
นายนพดล กล่าวว่า ปี 2551 รัฐบาลสมัคร ที่มีตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้คัดค้านและบังคับให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรออก และห้ามไม่ให้นำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก กัมพูชาต้องยื่นแผนผังตัวปราสาทใหม่แทนแผนที่รุกล้ำพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ได้ยื่นไว้ในปี 2549 จนสามารถขึ้นทะเบียนได้เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่าเส้นรั้วลวดหนามตามเส้นมติ ครม.เสียอีก โดยไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน ตามที่ระบุในข้อ 9 ของมติกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32
นายนพดล กล่าวว่า คำตัดสินของศาลโลกพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าคำแถลงการณ์ร่วมที่ตนได้ลงนามไว้ ไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดน และยังเป็นการปกป้องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทีมกฎหมายของไทย ก็ยังใช้คำแถลงการณ์ร่วมของตนในการสู้คดีด้วย และเมื่อความจริงปรากฏว่าตนไม่ใช่คนขายชาติ ก็ขออโหสิกรรมให้นักการเมืองกลุ่มที่ใส่ร้ายตนมาตลอด 5 ปี และฝ่ายต่างๆ ควรหยุดวิจารณ์คำตัดสินของศาลโลกเพื่อหวังผลทางการเมืองได้แล้ว แต่ควรให้ข้าราชการมืออาชีพทำงาน เลิกสร้างปัญหาแต่ควรร่วมมือกันแก้ปัญหา
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น