เสียงสะท้อนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ แม้กระแสต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะได้รับการขานรับ เพราะมองว่ารัฐบาลพลาดที่เดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย ยกประโยชน์ให้ผู้กระทำผิดทั้งทางการเมือง คอร์รัปชั่น ปราบปรามทำร้ายประชาชน ฯลฯ โดยไม่ฟังเสียงค้านที่มีรอบด้าน แต่หวั่นเกรงว่าการขยายปมสู่การประท้วงขับไล่รัฐบาลจะบานปลายเกิดเหตุรุนแรง กระทบเศรษฐกิจให้เลวร้ายลงมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจส่งออกที่กำลังเผชิญวิกฤต ยอดส่งออกสินค้าไทยไปตลาดต่างประเทศช่วง 3 ไตรมาสแรกต่ำกว่าเป้าที่วางไว้มาก อีกทั้งมีแนวโน้มว่า ยอดส่งออกทั้งปีจะเติบโตลดน้อยลงจากปี 2555 ที่ผ่านมา
ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นความหวังเดียวที่ยังสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ก็ถูกบั่นทอนจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง อาจส่งผลกระทบทำให้ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติลดน้อยลง
เช่นเดียวกับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยระยะยั่งยืน วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่อาจจะล่าช้าออกไปไม่มีกำหนดจากปัญหาทางการเมืองเท่ากับกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 4 เครื่องยนต์ ประกอบด้วย การส่งออก การบริโภคภายในประเทศ การลงทุนภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชน อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถทำงานหรือเดินเครื่องได้เต็มที่ เนื่องจากบางส่วนได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศซึ่งไม่อาจควบคุมได้ ขณะที่บางเครื่องยนต์ซึ่งน่าจะสร้างรายได้ทดแทนก็กลับมีปัญหา
ขณะเดียวกัน หลังศาลโลกมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา แม้รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศจะเน้นย้ำว่า คำตัดสินของศาลโลกชี้ชัดว่าพื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม.ไม่ได้เป็นของกัมพูชา แต่ไทยอาจเสียพื้นที่ขนาดเล็กมากบริเวณโดยรอบปราสาท และศาลโลกแนะนำให้ไทยกับกัมพูชาร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะเป็นมรดกโลก ขณะที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศก็ยืนยันจะเจรจากันภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา หรือเจซี
ซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ประเด็นข้อพิพาทปราสาทพระวิหารคลี่คลายลงระดับหนึ่ง จะมีก็แต่ปมขัดแย้งทางการเมืองที่ฉุดรั้งประเทศไม่ให้ก้าวไปข้างหน้าได้ตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง
ต้องยอมรับว่านอกจากภัยธรรมชาติ วิกฤตมหาอุทกภัยช่วงปลายปี 2554 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ส่งผลกระทบรุนแรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้แล้ว เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ข้อพิพาทขัดแย้งทางการเมืองที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นวิกฤตชาติหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงยิ่งกว่าทั้งต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศ
เช่นเดียวกับสถานการณ์ทางการเมืองเวลานี้ที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดวิกฤตซ้ำรอย ถ้าหากทุกที่เกี่ยวข้องไม่พยายามปลดล็อกหาทางออก ปล่อยให้ลุกลามกระทบเศรษฐกิจซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงไทยทั้งชาติ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจส่งออกที่กำลังเผชิญวิกฤต ยอดส่งออกสินค้าไทยไปตลาดต่างประเทศช่วง 3 ไตรมาสแรกต่ำกว่าเป้าที่วางไว้มาก อีกทั้งมีแนวโน้มว่า ยอดส่งออกทั้งปีจะเติบโตลดน้อยลงจากปี 2555 ที่ผ่านมา
ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นความหวังเดียวที่ยังสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ก็ถูกบั่นทอนจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง อาจส่งผลกระทบทำให้ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติลดน้อยลง
เช่นเดียวกับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยระยะยั่งยืน วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่อาจจะล่าช้าออกไปไม่มีกำหนดจากปัญหาทางการเมืองเท่ากับกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 4 เครื่องยนต์ ประกอบด้วย การส่งออก การบริโภคภายในประเทศ การลงทุนภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชน อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถทำงานหรือเดินเครื่องได้เต็มที่ เนื่องจากบางส่วนได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศซึ่งไม่อาจควบคุมได้ ขณะที่บางเครื่องยนต์ซึ่งน่าจะสร้างรายได้ทดแทนก็กลับมีปัญหา
ขณะเดียวกัน หลังศาลโลกมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา แม้รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศจะเน้นย้ำว่า คำตัดสินของศาลโลกชี้ชัดว่าพื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม.ไม่ได้เป็นของกัมพูชา แต่ไทยอาจเสียพื้นที่ขนาดเล็กมากบริเวณโดยรอบปราสาท และศาลโลกแนะนำให้ไทยกับกัมพูชาร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะเป็นมรดกโลก ขณะที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศก็ยืนยันจะเจรจากันภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา หรือเจซี
ซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ประเด็นข้อพิพาทปราสาทพระวิหารคลี่คลายลงระดับหนึ่ง จะมีก็แต่ปมขัดแย้งทางการเมืองที่ฉุดรั้งประเทศไม่ให้ก้าวไปข้างหน้าได้ตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง
ต้องยอมรับว่านอกจากภัยธรรมชาติ วิกฤตมหาอุทกภัยช่วงปลายปี 2554 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ส่งผลกระทบรุนแรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้แล้ว เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ข้อพิพาทขัดแย้งทางการเมืองที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นวิกฤตชาติหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงยิ่งกว่าทั้งต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศ
เช่นเดียวกับสถานการณ์ทางการเมืองเวลานี้ที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดวิกฤตซ้ำรอย ถ้าหากทุกที่เกี่ยวข้องไม่พยายามปลดล็อกหาทางออก ปล่อยให้ลุกลามกระทบเศรษฐกิจซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงไทยทั้งชาติ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น