โดย.สุดใจ ชาญชาตรีรัตน์
สถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยเวลานี้ ถือว่ามีความเปราะบางอย่างมากเพราะทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ ต่างใช้ยุทธวิธีปลุกกระแสมวลชน ทำให้ประเทศไทยเผชิญความเสี่ยงก้าวเข้าสู่โซนอันตราย
อันตราย ที่จะเผชิญหน้ากับความรุนแรง จากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่รัฐบาลบอกว่าเป็น พ.ร.บ.ปรองดองฯ เดินหน้าแบบไม่ฟังเสียงประชาชน เพราะคิดว่าเสียงข้างมากในสภาทำได้ทุกอย่าง ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้จึงกลายเป็นจุดตายทำให้รัฐบาลสะดุดขาตัวเองแบบหัว ทิ่ม
การแสดงพลังของประชาชนที่ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม จากบุคคลทุกวิชาชีพ ทุกภาคส่วน แม้กระทั่งข้าราชการ อย่างสร้างสรรค์ โดยสันติ ที่เกิดขึ้นในจุดต่าง ๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน น่าจะเป็นบทเรียนให้กับรัฐบาลได้ว่าการมีเสียงข้างมากในสภาไม่ได้หมายความ ว่าคุณจะทำทุกอย่างได้ตามใจ ถึงขั้นที่จะล้างผิดให้คนโกงแบบไม่มีขอบเขต
ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการแสดงพลังประชาชน ที่พร้อมมีส่วนร่วมในการนำพาประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะน่าจะเป็นโอกาสดีของสังคมไทยในการชูธงปลูกฝังเรื่องการต่อต้าน คอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง อย่าให้เป็นแค่กระแสต่อต้านเฉพาะคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบในสังคมไทยให้ลดน้อยลงเพราะที่ผ่านมาการสำรวจทัศนคติของประชาชนโดยเอแบคโพลล์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชั่นได้ ถ้าตนเองได้ผลประโยชน์ด้วย
และประเทศไทยก็ได้คะแนนจาก "องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ" 37 คะแนน จากเต็ม 100 ติดอันดับ 88 ของประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นจาก 176 ประเทศทั่วโลก
แต่เมื่อการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เวทีราชดำเนินถูกยกระดับและเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปสู่การขับไล่รัฐบาล
แม้ ว่ารัฐบาลจะใส่เกียร์ถอย และวุฒิสภาจะมีมติโหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ.สุดซอยไปแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่ก็ทำให้ประชาชนไม่เชื่อใจอีกแล้ว
ขณะที่คนเสื้อแดงก็ยังเดินหน้า ท้าทายเติมเชื้อไฟ โดยที่ต่างฝ่ายต่างฉกฉวยข้อมูลแบบเข้าข้างตัวเอง เพื่อตอบโต้ฟาดฟันฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ได้มองหาทางออกให้กับประเทศอย่างแท้จริง
ทำให้เวลานี้นักธุรกิจที่เป็นแนวร่วมออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็เริ่มส่งสัญญาณเตือนไม่เห็นด้วยกับการยกระดับม็อบเป็นการขับไล่รัฐบาล เพราะเกรงว่าปัญหาลุกลามบานปลายและจบลงด้วยความรุนแรง
เพราะหากแกนนำ ทั้ง 2 ฝ่ายนำพาสถานการณ์ประเทศเข้าสู่โซนอันตราย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดบาดแผลจากความรุนแรง รวมถึงผลพวงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างที่ อาจารย์สมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า จากที่มีการศึกษาประเมินว่า หากการเมืองมีความรุนแรงจะกระทบต่อการเติบโตของจีดีพีทันทีในไตรมาสนั้น 0.5% และหากไม่รุนแรงหรือเพียงยุบสภาก็จะกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.2%
ขณะที่เศรษฐกิจของไทยเวลานี้ก็อยู่ในสภาพไม่สม ประกอบ เพราะเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดับไปหลายเครื่อง โดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย.ติดลบ 7.09% ด้วยมูลค่าส่งออกเพียง 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ 9 เดือนแรกปีนี้มูลค่าส่งออกรวม 172,139 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียง 0.05% จากที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้เมื่อต้นปีสูงถึง 15% เรียกว่าห่างกันลิบโลก
ฟาก กำลังซื้อในประเทศก็อ่อนกำลังลงอย่างมาก จากการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือน (โดยเฉพาะหนี้รถคันแรก) และค่าครองชีพ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเครื่องยนต์การลงทุนภาครัฐที่ถือว่าเป็นความหวังสุดท้ายที่จะพลิก ฟื้นเศรษฐกิจไทย เวลานี้ก็เริ่มเป็นที่กังวลว่าการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจสะดุดลงจากปัญหา ความขัดแย้งทางการเมือง และทำให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยดับหมดทุกเครื่องยนต์
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------------
สถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยเวลานี้ ถือว่ามีความเปราะบางอย่างมากเพราะทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ ต่างใช้ยุทธวิธีปลุกกระแสมวลชน ทำให้ประเทศไทยเผชิญความเสี่ยงก้าวเข้าสู่โซนอันตราย
อันตราย ที่จะเผชิญหน้ากับความรุนแรง จากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่รัฐบาลบอกว่าเป็น พ.ร.บ.ปรองดองฯ เดินหน้าแบบไม่ฟังเสียงประชาชน เพราะคิดว่าเสียงข้างมากในสภาทำได้ทุกอย่าง ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้จึงกลายเป็นจุดตายทำให้รัฐบาลสะดุดขาตัวเองแบบหัว ทิ่ม
การแสดงพลังของประชาชนที่ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม จากบุคคลทุกวิชาชีพ ทุกภาคส่วน แม้กระทั่งข้าราชการ อย่างสร้างสรรค์ โดยสันติ ที่เกิดขึ้นในจุดต่าง ๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน น่าจะเป็นบทเรียนให้กับรัฐบาลได้ว่าการมีเสียงข้างมากในสภาไม่ได้หมายความ ว่าคุณจะทำทุกอย่างได้ตามใจ ถึงขั้นที่จะล้างผิดให้คนโกงแบบไม่มีขอบเขต
ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการแสดงพลังประชาชน ที่พร้อมมีส่วนร่วมในการนำพาประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะน่าจะเป็นโอกาสดีของสังคมไทยในการชูธงปลูกฝังเรื่องการต่อต้าน คอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง อย่าให้เป็นแค่กระแสต่อต้านเฉพาะคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบในสังคมไทยให้ลดน้อยลงเพราะที่ผ่านมาการสำรวจทัศนคติของประชาชนโดยเอแบคโพลล์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชั่นได้ ถ้าตนเองได้ผลประโยชน์ด้วย
และประเทศไทยก็ได้คะแนนจาก "องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ" 37 คะแนน จากเต็ม 100 ติดอันดับ 88 ของประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นจาก 176 ประเทศทั่วโลก
แต่เมื่อการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เวทีราชดำเนินถูกยกระดับและเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปสู่การขับไล่รัฐบาล
แม้ ว่ารัฐบาลจะใส่เกียร์ถอย และวุฒิสภาจะมีมติโหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ.สุดซอยไปแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่ก็ทำให้ประชาชนไม่เชื่อใจอีกแล้ว
ขณะที่คนเสื้อแดงก็ยังเดินหน้า ท้าทายเติมเชื้อไฟ โดยที่ต่างฝ่ายต่างฉกฉวยข้อมูลแบบเข้าข้างตัวเอง เพื่อตอบโต้ฟาดฟันฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ได้มองหาทางออกให้กับประเทศอย่างแท้จริง
ทำให้เวลานี้นักธุรกิจที่เป็นแนวร่วมออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็เริ่มส่งสัญญาณเตือนไม่เห็นด้วยกับการยกระดับม็อบเป็นการขับไล่รัฐบาล เพราะเกรงว่าปัญหาลุกลามบานปลายและจบลงด้วยความรุนแรง
เพราะหากแกนนำ ทั้ง 2 ฝ่ายนำพาสถานการณ์ประเทศเข้าสู่โซนอันตราย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดบาดแผลจากความรุนแรง รวมถึงผลพวงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างที่ อาจารย์สมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า จากที่มีการศึกษาประเมินว่า หากการเมืองมีความรุนแรงจะกระทบต่อการเติบโตของจีดีพีทันทีในไตรมาสนั้น 0.5% และหากไม่รุนแรงหรือเพียงยุบสภาก็จะกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.2%
ขณะที่เศรษฐกิจของไทยเวลานี้ก็อยู่ในสภาพไม่สม ประกอบ เพราะเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดับไปหลายเครื่อง โดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย.ติดลบ 7.09% ด้วยมูลค่าส่งออกเพียง 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ 9 เดือนแรกปีนี้มูลค่าส่งออกรวม 172,139 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียง 0.05% จากที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้เมื่อต้นปีสูงถึง 15% เรียกว่าห่างกันลิบโลก
ฟาก กำลังซื้อในประเทศก็อ่อนกำลังลงอย่างมาก จากการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือน (โดยเฉพาะหนี้รถคันแรก) และค่าครองชีพ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเครื่องยนต์การลงทุนภาครัฐที่ถือว่าเป็นความหวังสุดท้ายที่จะพลิก ฟื้นเศรษฐกิจไทย เวลานี้ก็เริ่มเป็นที่กังวลว่าการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจสะดุดลงจากปัญหา ความขัดแย้งทางการเมือง และทำให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยดับหมดทุกเครื่องยนต์
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น