ชาญชัย คุ้มปัญญา
นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ
ก๊าซธรรมชาติกับน้ำมัน (ปิโตรเลียม) ที่ใช้กันทั่วไปในโลกมีที่มาจากหลายแหล่ง สามารถแบ่งอย่างง่ายๆ ว่า เป็นแหล่งบนบกกับแหล่งในทะเล ในความเป็นจริงแล้ว ปิโตรเลียมแต่ละแหล่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน มีความยากง่ายในการขุดเจาะไม่เท่ากัน ต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมต่างกันออกไป กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การเลือกใช้เทคโนโลยีการขุดเจาะขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งนั้น มีผลต่อต้นทุนการผลิต และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ การที่ประเทศไทยเพิ่งจะขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาได้เมื่อปี ค.ศ.1981 ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลดังกล่าว
shale gas คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินดินดาน ส่วน shale oil คือ น้ำมันดิบที่พบในชั้นหินดินดาน คนทั่วไปมักใช้คำว่า shale oil กับ tight oil ในความหมายเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน shale oil คือ tight oil ประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติซึมซาบไหลผ่านช้า ในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมันสหรัฐฯ ใช้คำว่า tight oil เป็นหลัก เพราะเป็นคำที่กินความครอบคลุมและถูกต้องมากกว่าเนื่องจาก tight oil พบได้ในหลายแหล่ง ไม่เฉพาะในชั้นหินดินดานเท่านั้น (เป็นที่มาของชื่อ shale oil)
มนุษย์รู้จัก shale gas กับ shale oil/tight oil มานานแล้ว แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับต้นทุนการผลิต ที่ผ่านมา มนุษย์จึงใช้ปิโตรเลียมจากแหล่งทั่วไป การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ค้นพบเทคโนโลยีการผลิตซึ่งเรียกว่า "fracking”
"fracking” คือระบบวิธีการผลิตด้วยการผสมผสานสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing กับ Horizontal Drilling โดยจะฉีดน้ำผสมสารเคมีและทรายจำนวนมหาศาลลงใต้ดิน เพื่อทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน เป็นเหตุให้ shale gas กับ shale oil/tight oil ที่ถูกเก็บกักอยู่ระหว่างชั้นหลุดออกมา กระบวนการดังกล่าวมิได้กระทำเฉพาะในแนวดิ่งเท่านั้น แต่ยังกระทำในแนวราบด้วย จึงสามารถขุดเจาะได้บริเวณกว้าง และได้ปิโตรเลียมเป็นจำนวนมาก
ปริมาณ shale gas กับ shale oil/tight oil เป็นเรื่องที่วงการอุตสาหกรรมน้ำมันให้ความสำคัญ เพราะโลกแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงมีความจำเป็นต้องผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ทันกับความต้องการ รายงานล่าสุดของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (2013) ชี้ว่า ทั้งโลกมี shale oil/tight oil จำนวน 345 ล้านบาร์เรล จากทั้งหมด 42 ประเทศที่ทำการสำรวจ เพียงพอให้ทั้งโลกใช้เป็นเวลากว่า 10 ปี (คิดจากปริมาณการบริโภคราว 90 ล้านบาร์เรลต่อวัน) รัสเซียมีปริมาณ shale oil/tight oil มากที่สุด ราว 75 พันล้านบาร์เรล รองลงมาคือสหรัฐฯ มีประมาณ 58 พันล้านบาร์เรล จีนมี 32 อาร์เจนตินา 27 และลิเบียมี 26 พันล้านบาร์เรล ปริมาณดังกล่าวเป็นปริมาณที่สำรวจพบในทางเทคนิค
ปริมาณที่สำรวจพบในทางเทคนิค หมายถึง ปริมาณที่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถผลิตได้ โดยไม่คำนึงเรื่องราคาหรือต้นทุนการผลิต ต้นทุนการผลิตของแต่ละที่ แต่ละแหล่งไม่เท่ากัน หากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โอกาสที่แหล่งต่างๆ จะมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็จะมีมากขึ้น ดังนั้น ปริมาณที่มีอยู่จริงไม่ได้หมายความว่าจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด
ส่วน shale gas พบว่า มีปริมาณมหาศาลเช่นกัน หากรวมก๊าซธรรมชาติจาก shale gas จะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 หรือเท่ากับ 22,882 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต อย่างไรก็ตาม เรื่องหนึ่งที่ต้องพึงระลึกไว้เสมอก็คือ การสำรวจระดับโลกยังอยู่ในขั้นเบื้องต้น ไม่ได้กระทำอย่างทั่วถึง ปริมาณที่มีอยู่จริงน่าจะมากกว่านี้
เมื่อพิจารณาเฉพาะส่วนของสหรัฐอเมริกา ข้อมูลล่าสุดพบว่ามีปริมาณ shale gas ทั้งหมด 7,299 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เพิ่มขึ้นจากรายงานปี 2011 ที่ 6,622 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วน shale oil/ tight oil พบว่ามี 345 พันล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปี 2011 ที่คาดว่ามีเพียง 32 พันล้านบาร์เรล (สังเกตว่าปริมาณที่สำรวจพบล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว)
แหล่งสหรัฐฯ เป็นแหล่งที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากมีปริมาณมากแล้ว ยังเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศในปัจจุบัน ที่ดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์แล้ว ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจาก shale gas คิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณก๊าซธรรมชาติทั้งหมดที่สหรัฐฯ ผลิตในปี 2012 ส่วนน้ำมันดิบที่ผลิตจาก shale oil/tight oil คิดเป็นร้อยละ 29 ของปริมาณน้ำมันดิบที่ประเทศผลิตได้ เหตุที่สหรัฐฯ สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวก่อนประเทศอื่นเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ประการแรกคือ บริษัทเอกชนประสบความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยี "fracking” ได้ก่อนประเทศอื่นๆ ประการที่สองคือ กฎหมายอเมริกาให้ shale gas กับ tight oil ที่อยู่ใต้พื้นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน จึงเอื้อต่อการลงทุนของบริษัทเอกชน และดึงขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สามคือ มีโครงสร้างระบบท่อรองรับอยู่แล้ว (จึงสามารถขนส่งได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย) และมีแหล่งน้ำมากเพียงพอ ซึ่งจำต้องใช้ในขั้นตอน hydraulic fracturing
นักวิเคราะห์คาดว่า ในอนาคตสหรัฐฯ จะผลิตน้ำมันได้มากขึ้น องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) ประเมินว่า ก่อนปี 2020 สหรัฐฯ จะเปลี่ยนจากผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก มาเป็นผู้ผลิตผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก แซงหน้าประเทศซาอุดิอาระเบีย
เมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องกับตลาดโลกพบว่า ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง shale gas ของสหรัฐฯ ไม่ค่อยมีผลต่อราคาก๊าซทั่วโลก เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับราคาตลาดโลกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมัน ดังนั้นประเด็นที่นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญคือ ผลของ shale oil/tight oil ต่อตลาดโลก
ในระยะสั้นหรือสองสามปีที่ผ่านมา ไม่มีผลต่อราคาน้ำมันตลาดโลก เนื่องจากเป็นช่วงที่อุปทานน้ำมันโลกมีความตึงตัว การที่สหรัฐฯ เริ่มผลิตน้ำมันดิบจาก shale oil/tight oil ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันดิบโลกได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในระยะปานกลางคือราว 5 ปี องค์กรพลังงานระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า แม้จะค้นพบแหล่งปิโตรเลียมเหล่านี้จากหลายประเทศ แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้ายังคงมีผู้ผลิต shale gas กับ shale oil/tight oil รายใหญ่เพียงไม่กี่ประเทศ เนื่องจากแต่ละแหล่งมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องการก่อตัวของชั้นดิน และเงื่อนไขอื่นๆ เช่น กฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ แหล่งน้ำที่มากเพียงพอ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อต้นทุนการผลิต มีผลต่อแรงจูงใจว่าควรลงทุนหรือไม่ เมื่อไม่สามารถคาดการณ์กำลังการผลิต จึงไม่อาจคาดคะเนผลต่อราคาน้ำมันโลกได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า เทคโนโลยียังสามารถพัฒนาได้อีกมาก อีกทั้งการสำรวจอาจค้นพบแหล่งปิโตรเลียมจาก shale oil/tight oil เพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สำคัญกว่าก็คือ ผลกระทบในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) ต่อราคาน้ำมันโลก ในด้านอุปสงค์เป็นที่ชัดเจนว่า โลกในศตวรรษที่ 21 จะบริโภคปิโตรเลียมมากขึ้น เศรษฐกิจหลายประเทศกำลังเติบโต ปริมาณคนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนเหล่านี้มีรถยนต์ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก งานวิจัยในอดีตจึงมีข้อสรุปว่า ไม่เกินปี 2030 โลกจะต้องหันมาพึ่งพาปิโตรเลียมจากองค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries หรือโอเปก) มากขึ้น เนื่องจากเมื่อโลกบริโภคพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ จะเกินกำลังแหล่งผลิตปิโตรเลียมของนอกกลุ่มโอเปก (non-OPEC) ทำให้ความเป็นไปของภูมิภาคตะวันออกกลางมีผลต่อราคาน้ำมันโลก แต่งานวิจัยล่าสุดคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันในระยะยาวน่าจะมีเสถียรภาพ ไม่เกิดภาวะปรับตัวขึ้นสูงผิดปกติ เพราะไม่ช้าก็เร็วโลกจะมีผู้ผลิต shale gas กับ shale oil/tight oil เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์คือผู้ผลิตน้ำมันรายเดิมจะลดความสำคัญ อิทธิพลของโอเปกที่มีผลต่อทิศทางราคาน้ำมัน ตลอดช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาจะลดน้อยลง
สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลางจะไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดังเช่นในช่วงทศวรรษ 1990 – 2000 ที่สงครามอ่าวเปอร์เซียทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นอันมาก องค์การข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Energy Information Administration) เห็นว่า ในที่สุดแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งผู้ผลิตทั่วโลกจะใช้ตัดสินใจว่าจะผลิตมากน้อยเพียงไรก็ขึ้นกับหลักอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของกระบวนการผลิตปิโตรเลียมด้วยวิธีการ "fracking” ทำให้มนุษย์สามารถดึงก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (shale gas) และ shale oil/tight oil ที่สะสมอยู่ใต้พิภพนับล้านๆ ปีมาใช้ประโยชน์ ทุกวันนี้ มีเพียงสหรัฐฯ กับแคนาดาเท่านั้นที่สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศอื่นๆ ก็จะสามารถผลิตได้เช่นกัน นอกจากนี้เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถพัฒนาได้อีกมาก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงกว่าเดิม ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อโลกบริโภคพลังงานมากขึ้นจะเป็นตัวจูงใจให้นานาประเทศสนใจ และอยากพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเหล่านี้ ความกังวลว่าน้ำมันจะหมดโลกคงจะถอยห่างออกไปอีกอย่างน้อยอีก 10 ปี
ในขณะเดียวกันหากมีประเทศผู้ผลิตมากขึ้น และสหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก (หรืออย่างน้อยไม่นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ) ย่อมส่งผลต่อตลาดน้ำมันโลก เชื่อว่าราคาน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ที่สุดแล้วราคาตลาดโลกจะช่วยควบคุมปริมาณการผลิต ให้เป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทาน
หลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งสำรวจว่า ประเทศตนมี shale gas กับ shale oil/tight oil หรือไม่ เปรียบเสมือนการค้นหาขุมทรัพย์ เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศที่กำลังเร่งศึกษาเทคโนโลยีผลิตก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันจากแหล่งเหล่านี้ ในอนาคตจะมีอีกหลายประเทศที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยในยุคหนึ่ง ที่รัฐบาลประกาศว่าเป็นยุคโชติช่วงชัชวาล
บรรณานุกรม:
1. ก๊าซธรรมชาติ, กระทรวงพลังงาน, http://www.energy.go.th/index.php?q=node/386, Accessed 18 June 2013.
2. World Has 10 Years of Shale Oil: US Department of Energy, CNBC/Financial Times, 11 June 2013, http://www.cnbc.com/id/100804970
3. Roy Nersesian, Energy for the 21st Century, second edition (N.Y.: M.E. Sharpe, 2010)
4. Technically Recoverable Shale Oil and Shale Gas Resources: An Assessment of 137 Shale Formations in 41 Countries Outside the United States, U.S. Department of Energy, http://www.eia.gov/analysis/studies/worldshalegas/pdf/fullreport.pdf
5. How the US Could be the World's Next Major Producer of Oil, CNBC, 13 January 2013, http://www.cnbc.com/id/100375838
6. Handel Jones, CHINAMERICA: The Uneasy Partnership that Will Change the World (USA: McGraw-Hill, 2010)
7. John Fanchi, Energy in the 21st Century, second edition (N.J.: World Scientific Publishing, 2011)
8. Bill Paul, Future Energy: How the New Oil Industry Will Change People, Politics and Portfolios (N.J.: John Wiley & Sons, 2007)
Keywords : shale gas, ก๊าซธรรมชาติ, tight oil, น้ำมันดิบ, fracking, ชาญชัย คุ้มปัญญา
////////////////////////////////////////////////////////////////////
นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ
ก๊าซธรรมชาติกับน้ำมัน (ปิโตรเลียม) ที่ใช้กันทั่วไปในโลกมีที่มาจากหลายแหล่ง สามารถแบ่งอย่างง่ายๆ ว่า เป็นแหล่งบนบกกับแหล่งในทะเล ในความเป็นจริงแล้ว ปิโตรเลียมแต่ละแหล่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน มีความยากง่ายในการขุดเจาะไม่เท่ากัน ต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมต่างกันออกไป กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การเลือกใช้เทคโนโลยีการขุดเจาะขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งนั้น มีผลต่อต้นทุนการผลิต และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ การที่ประเทศไทยเพิ่งจะขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาได้เมื่อปี ค.ศ.1981 ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลดังกล่าว
shale gas คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินดินดาน ส่วน shale oil คือ น้ำมันดิบที่พบในชั้นหินดินดาน คนทั่วไปมักใช้คำว่า shale oil กับ tight oil ในความหมายเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน shale oil คือ tight oil ประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติซึมซาบไหลผ่านช้า ในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมันสหรัฐฯ ใช้คำว่า tight oil เป็นหลัก เพราะเป็นคำที่กินความครอบคลุมและถูกต้องมากกว่าเนื่องจาก tight oil พบได้ในหลายแหล่ง ไม่เฉพาะในชั้นหินดินดานเท่านั้น (เป็นที่มาของชื่อ shale oil)
มนุษย์รู้จัก shale gas กับ shale oil/tight oil มานานแล้ว แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับต้นทุนการผลิต ที่ผ่านมา มนุษย์จึงใช้ปิโตรเลียมจากแหล่งทั่วไป การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ค้นพบเทคโนโลยีการผลิตซึ่งเรียกว่า "fracking”
"fracking” คือระบบวิธีการผลิตด้วยการผสมผสานสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing กับ Horizontal Drilling โดยจะฉีดน้ำผสมสารเคมีและทรายจำนวนมหาศาลลงใต้ดิน เพื่อทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน เป็นเหตุให้ shale gas กับ shale oil/tight oil ที่ถูกเก็บกักอยู่ระหว่างชั้นหลุดออกมา กระบวนการดังกล่าวมิได้กระทำเฉพาะในแนวดิ่งเท่านั้น แต่ยังกระทำในแนวราบด้วย จึงสามารถขุดเจาะได้บริเวณกว้าง และได้ปิโตรเลียมเป็นจำนวนมาก
ปริมาณ shale gas กับ shale oil/tight oil เป็นเรื่องที่วงการอุตสาหกรรมน้ำมันให้ความสำคัญ เพราะโลกแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงมีความจำเป็นต้องผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ทันกับความต้องการ รายงานล่าสุดของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (2013) ชี้ว่า ทั้งโลกมี shale oil/tight oil จำนวน 345 ล้านบาร์เรล จากทั้งหมด 42 ประเทศที่ทำการสำรวจ เพียงพอให้ทั้งโลกใช้เป็นเวลากว่า 10 ปี (คิดจากปริมาณการบริโภคราว 90 ล้านบาร์เรลต่อวัน) รัสเซียมีปริมาณ shale oil/tight oil มากที่สุด ราว 75 พันล้านบาร์เรล รองลงมาคือสหรัฐฯ มีประมาณ 58 พันล้านบาร์เรล จีนมี 32 อาร์เจนตินา 27 และลิเบียมี 26 พันล้านบาร์เรล ปริมาณดังกล่าวเป็นปริมาณที่สำรวจพบในทางเทคนิค
ปริมาณที่สำรวจพบในทางเทคนิค หมายถึง ปริมาณที่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถผลิตได้ โดยไม่คำนึงเรื่องราคาหรือต้นทุนการผลิต ต้นทุนการผลิตของแต่ละที่ แต่ละแหล่งไม่เท่ากัน หากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โอกาสที่แหล่งต่างๆ จะมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็จะมีมากขึ้น ดังนั้น ปริมาณที่มีอยู่จริงไม่ได้หมายความว่าจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด
ส่วน shale gas พบว่า มีปริมาณมหาศาลเช่นกัน หากรวมก๊าซธรรมชาติจาก shale gas จะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 หรือเท่ากับ 22,882 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต อย่างไรก็ตาม เรื่องหนึ่งที่ต้องพึงระลึกไว้เสมอก็คือ การสำรวจระดับโลกยังอยู่ในขั้นเบื้องต้น ไม่ได้กระทำอย่างทั่วถึง ปริมาณที่มีอยู่จริงน่าจะมากกว่านี้
เมื่อพิจารณาเฉพาะส่วนของสหรัฐอเมริกา ข้อมูลล่าสุดพบว่ามีปริมาณ shale gas ทั้งหมด 7,299 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เพิ่มขึ้นจากรายงานปี 2011 ที่ 6,622 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วน shale oil/ tight oil พบว่ามี 345 พันล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปี 2011 ที่คาดว่ามีเพียง 32 พันล้านบาร์เรล (สังเกตว่าปริมาณที่สำรวจพบล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว)
แหล่งสหรัฐฯ เป็นแหล่งที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากมีปริมาณมากแล้ว ยังเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศในปัจจุบัน ที่ดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์แล้ว ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจาก shale gas คิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณก๊าซธรรมชาติทั้งหมดที่สหรัฐฯ ผลิตในปี 2012 ส่วนน้ำมันดิบที่ผลิตจาก shale oil/tight oil คิดเป็นร้อยละ 29 ของปริมาณน้ำมันดิบที่ประเทศผลิตได้ เหตุที่สหรัฐฯ สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวก่อนประเทศอื่นเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ประการแรกคือ บริษัทเอกชนประสบความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยี "fracking” ได้ก่อนประเทศอื่นๆ ประการที่สองคือ กฎหมายอเมริกาให้ shale gas กับ tight oil ที่อยู่ใต้พื้นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน จึงเอื้อต่อการลงทุนของบริษัทเอกชน และดึงขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สามคือ มีโครงสร้างระบบท่อรองรับอยู่แล้ว (จึงสามารถขนส่งได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย) และมีแหล่งน้ำมากเพียงพอ ซึ่งจำต้องใช้ในขั้นตอน hydraulic fracturing
นักวิเคราะห์คาดว่า ในอนาคตสหรัฐฯ จะผลิตน้ำมันได้มากขึ้น องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) ประเมินว่า ก่อนปี 2020 สหรัฐฯ จะเปลี่ยนจากผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก มาเป็นผู้ผลิตผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก แซงหน้าประเทศซาอุดิอาระเบีย
เมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องกับตลาดโลกพบว่า ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง shale gas ของสหรัฐฯ ไม่ค่อยมีผลต่อราคาก๊าซทั่วโลก เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับราคาตลาดโลกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมัน ดังนั้นประเด็นที่นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญคือ ผลของ shale oil/tight oil ต่อตลาดโลก
ในระยะสั้นหรือสองสามปีที่ผ่านมา ไม่มีผลต่อราคาน้ำมันตลาดโลก เนื่องจากเป็นช่วงที่อุปทานน้ำมันโลกมีความตึงตัว การที่สหรัฐฯ เริ่มผลิตน้ำมันดิบจาก shale oil/tight oil ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันดิบโลกได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในระยะปานกลางคือราว 5 ปี องค์กรพลังงานระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า แม้จะค้นพบแหล่งปิโตรเลียมเหล่านี้จากหลายประเทศ แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้ายังคงมีผู้ผลิต shale gas กับ shale oil/tight oil รายใหญ่เพียงไม่กี่ประเทศ เนื่องจากแต่ละแหล่งมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องการก่อตัวของชั้นดิน และเงื่อนไขอื่นๆ เช่น กฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ แหล่งน้ำที่มากเพียงพอ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อต้นทุนการผลิต มีผลต่อแรงจูงใจว่าควรลงทุนหรือไม่ เมื่อไม่สามารถคาดการณ์กำลังการผลิต จึงไม่อาจคาดคะเนผลต่อราคาน้ำมันโลกได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า เทคโนโลยียังสามารถพัฒนาได้อีกมาก อีกทั้งการสำรวจอาจค้นพบแหล่งปิโตรเลียมจาก shale oil/tight oil เพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สำคัญกว่าก็คือ ผลกระทบในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) ต่อราคาน้ำมันโลก ในด้านอุปสงค์เป็นที่ชัดเจนว่า โลกในศตวรรษที่ 21 จะบริโภคปิโตรเลียมมากขึ้น เศรษฐกิจหลายประเทศกำลังเติบโต ปริมาณคนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนเหล่านี้มีรถยนต์ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก งานวิจัยในอดีตจึงมีข้อสรุปว่า ไม่เกินปี 2030 โลกจะต้องหันมาพึ่งพาปิโตรเลียมจากองค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries หรือโอเปก) มากขึ้น เนื่องจากเมื่อโลกบริโภคพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ จะเกินกำลังแหล่งผลิตปิโตรเลียมของนอกกลุ่มโอเปก (non-OPEC) ทำให้ความเป็นไปของภูมิภาคตะวันออกกลางมีผลต่อราคาน้ำมันโลก แต่งานวิจัยล่าสุดคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันในระยะยาวน่าจะมีเสถียรภาพ ไม่เกิดภาวะปรับตัวขึ้นสูงผิดปกติ เพราะไม่ช้าก็เร็วโลกจะมีผู้ผลิต shale gas กับ shale oil/tight oil เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์คือผู้ผลิตน้ำมันรายเดิมจะลดความสำคัญ อิทธิพลของโอเปกที่มีผลต่อทิศทางราคาน้ำมัน ตลอดช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาจะลดน้อยลง
สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลางจะไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดังเช่นในช่วงทศวรรษ 1990 – 2000 ที่สงครามอ่าวเปอร์เซียทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นอันมาก องค์การข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Energy Information Administration) เห็นว่า ในที่สุดแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งผู้ผลิตทั่วโลกจะใช้ตัดสินใจว่าจะผลิตมากน้อยเพียงไรก็ขึ้นกับหลักอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของกระบวนการผลิตปิโตรเลียมด้วยวิธีการ "fracking” ทำให้มนุษย์สามารถดึงก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (shale gas) และ shale oil/tight oil ที่สะสมอยู่ใต้พิภพนับล้านๆ ปีมาใช้ประโยชน์ ทุกวันนี้ มีเพียงสหรัฐฯ กับแคนาดาเท่านั้นที่สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศอื่นๆ ก็จะสามารถผลิตได้เช่นกัน นอกจากนี้เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถพัฒนาได้อีกมาก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงกว่าเดิม ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อโลกบริโภคพลังงานมากขึ้นจะเป็นตัวจูงใจให้นานาประเทศสนใจ และอยากพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเหล่านี้ ความกังวลว่าน้ำมันจะหมดโลกคงจะถอยห่างออกไปอีกอย่างน้อยอีก 10 ปี
ในขณะเดียวกันหากมีประเทศผู้ผลิตมากขึ้น และสหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก (หรืออย่างน้อยไม่นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ) ย่อมส่งผลต่อตลาดน้ำมันโลก เชื่อว่าราคาน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ที่สุดแล้วราคาตลาดโลกจะช่วยควบคุมปริมาณการผลิต ให้เป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทาน
หลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งสำรวจว่า ประเทศตนมี shale gas กับ shale oil/tight oil หรือไม่ เปรียบเสมือนการค้นหาขุมทรัพย์ เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศที่กำลังเร่งศึกษาเทคโนโลยีผลิตก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันจากแหล่งเหล่านี้ ในอนาคตจะมีอีกหลายประเทศที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยในยุคหนึ่ง ที่รัฐบาลประกาศว่าเป็นยุคโชติช่วงชัชวาล
บรรณานุกรม:
1. ก๊าซธรรมชาติ, กระทรวงพลังงาน, http://www.energy.go.th/index.php?q=node/386, Accessed 18 June 2013.
2. World Has 10 Years of Shale Oil: US Department of Energy, CNBC/Financial Times, 11 June 2013, http://www.cnbc.com/id/100804970
3. Roy Nersesian, Energy for the 21st Century, second edition (N.Y.: M.E. Sharpe, 2010)
4. Technically Recoverable Shale Oil and Shale Gas Resources: An Assessment of 137 Shale Formations in 41 Countries Outside the United States, U.S. Department of Energy, http://www.eia.gov/analysis/studies/worldshalegas/pdf/fullreport.pdf
5. How the US Could be the World's Next Major Producer of Oil, CNBC, 13 January 2013, http://www.cnbc.com/id/100375838
6. Handel Jones, CHINAMERICA: The Uneasy Partnership that Will Change the World (USA: McGraw-Hill, 2010)
7. John Fanchi, Energy in the 21st Century, second edition (N.J.: World Scientific Publishing, 2011)
8. Bill Paul, Future Energy: How the New Oil Industry Will Change People, Politics and Portfolios (N.J.: John Wiley & Sons, 2007)
Keywords : shale gas, ก๊าซธรรมชาติ, tight oil, น้ำมันดิบ, fracking, ชาญชัย คุ้มปัญญา
////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น