เปิดดูมาตรการสงครามกับสื่ออนาจารของแคเมอรอน: ควรเอามาใช้หรือไม่?
เกิดเรื่องร้อนแรงในบอร์ดกสทช. ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ด้วยว่ามีสมาชิกบอร์ดฝั่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงท่านหนึ่ง ให้ความเห็นเป็นการส่วนตัวว่าเป็นห่วงเนื้อหาของซีรี่ส์ชื่อดังที่ฉายทางเคเบิลอยู่ในขณะนี้ว่า มีเนื้อหาล่อแหลมไม่เหมาะสม พร้อมถึงการเปรยว่ากรณีเช่นนี้อาจใช้อำนาจของกสทช. เข้าไปควบคุมเนื้อหา
ความเห็นส่วนตัวนี้เองที่สร้างเสียงแตกในบอร์ด จนทำให้มีเสียงวิจารณ์ว่าหากบอร์ดฝั่งกิจการกระจายเสียงใช้อำนาจควบคุมเนื้อหาทางโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ท้ายที่สุดผู้บริโภคจะหันไปพึ่งช่องทางโทรคมนาคมด้วยอินเตอร์เน็ต ที่มีความเสรีกว่าเสียแทน
แต่ทันใด ความเชื่อที่ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นโลกการสื่อสารที่เสรีสุดขีดนั้นก็ต้องถูกสั่นคลอน เมื่อนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เดวิด แคเมอรอน ประกาศผลักดันมาตรการควบคุมสื่ออนาจารบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากทำสำเร็จแล้ว ก็จะถือว่าเป็นชาติตะวันตกเจ้าแรก ที่ออกมาตรการลักษณะนี้

photo from http://megawestgarth.blogspot.com/
“ในฐานะของนักการเมือง ในฐานะของการเป็นพ่อคนหนึ่ง ผมคิดว่าถึงเวลาต้องดำเนินการแล้ว นี่เป็นเรื่องของการที่ว่าเราจะปกปักษ์รักษาเยาวชน และความเยาว์วัย ของพวกเขาได้อย่างไร” คาเมรอนกล่าวปาฐกถา ก่อนนำเสนอมาตรการดังนี้
1. คำค้นหาที่เกี่ยวโยงกับภาพอนาจารเด็ก จะถูกบล็อก
2. ภาพอนาจารที่รุนแรงสุดโต่ง หรือมีลักษณะจำลองการข่มขืน จะผิดกฎหมาย
3. อินเตอร์เน็ตในบ้านทุกหลัง จะถูกตั้งค่าบล็อกเว็บไซต์อนาจารเป็นค่าเริ่มต้น หากต้องการเลิกบล็อก ผู้ใช้งานต้องทำเรื่องขอไปยังผู้ให้บริการเป็นรายกรณีไป
นี่เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่กำลังวางรากฐานระบบการสื่อสารทั้งในแง่โทรคมนาคม และการกระจายเสียงในรูปแบบใหม่ การใช้มาตรการควบคุมเนื้อหาเป็นทางเลือกที่ต้องถูกยกมาถามทางถามความเห็นอยู่ไม่วันใดก็วันหนึ่ง และมันก็ชวนแตกแยกได้ในทุกครั้งที่ถูกหยิบยกขึ้นมา เช่นนี้แล้วในแง่ปรัชญา จะให้คำตอบอะไรได้บ้าง และจะให้ความเห็นอย่างไรกับมาตรการทั้ง 3 ข้อของคาเมรอน?
บล็อกภาพอนาจารเด็ก
มันเป็นหนังเก่าที่ฉายซ้ำชั่วกัลปาวสาน ฝั่งหนึ่งอ้างว่าการแทรกแซงของรัฐเพื่อปกปักษ์รักษาคุณค่าที่เชิดชูของพลเมืองเป็นเรื่องจำเป็น การควบคุมเนื้อหาการแสดงออกของสื่อจึงสามารถทำได้ ส่วนอีกฝั่งก็ไม่เชื่อถือเรื่องคุณค่าพลเมือง เพราะเชื่อว่าคนแต่ละคนเลือกเองได้ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับชีวิตตนเอง ดังนั้นรัฐไม่ควรเข้าแทรกแซงการแสดงออกหรือทางเลือกการเสพสื่อของใคร ยกเว้นว่าใครเกิดใช้เสรีภาพนั้นไปขัดขวางทางเลือกของคนอื่น
แต่เดี๋ยวก่อน??! เรื่องภาพอนาจารเด็กนี้ อาจเป็นเพียงไม่กี่เรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจับมือร้องเพลงสามัคคีชุมนุมกันได้ เพราะหลักการใช้เสรีภาพแบบคลาสสิคนั้น มีเงื่อนไขสำคัญอยู่ที่วุฒิภาวะ นั่นคือ หากมีวุฒิภาวะแล้ว เราจึงจะเชื่อได้ว่าบุคคลคนนั้นสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตของตัวเองได้จริง
แต่หากยังไม่มีวุฒิภาวะ รัฐยังต้องคอยดูแลอยู่ และภาพอนาจารเด็กก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ เด็กอาจยังไม่รอบรู้เพียงพอถึงผลกระทบหากภาพหรือคลิปของตัวเองถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง
ดังนั้น การบล็อกคำค้นภาพอนาจารเด็กเป็นเพียงการเสริมประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายให้หนักแน่นจนถึงต้นตอ ไม่ใช่เรื่องการนำเสนอประเด็นใหม่แต่อย่างใด
ตั้งค่าบล็อกเว็บไซต์อนาจารเป็นค่าเริ่มต้น
สื่ออนาจารกับพื้นที่สาธารณะไม่ใช่ของที่ไปด้วยกันได้ เรามักไม่ให้โฆษณาคอลเลคชั่นหนัง AV ใหม่ล่าสุดปะปกหราอยู่ในบิลบอร์ดกลางใจเมืองกันได้ง่ายๆ ซึ่งนี่เป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้ที่เชื่อในหลักการเสรีภาพ เพราะถ้าการใช้สิทธิแสดงออกนั้นไม่ได้ไปขัดขวางการใช้สิทธิของผู้อื่นอย่างร้ายแรง คือไม่มีใครจะได้รับอันตรายทางกายหรือทางใจใดๆ แบบชัดแจ้ง สาเหตุใดจึงทำไม่ได้
เหตุการณ์จำลองนี้เปิดเผยให้เห็นว่ามีอีกหลักการสำคัญเกี่ยวกับการแสดงออกซ่อนอยู่ คือหลักการหลีกเลี่ยงการแสดงออกที่กระทบความรู้สึกต่อผู้อื่นอย่างร้ายแรง ด้วยการเลือกใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุด และมีผลกระทบน้อยที่สุด
เราจะพบว่าผู้คนในท้องถนนมีความหลากหลาย และเราก็ไม่มีทางรู้แน่ชัดได้ว่าใครจะโอเคหรือไม่โอเคกับการแสดงออกในเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ใครที่ไม่โอเคมากๆ ถึงขนาดยินยอมจะเสียเงินเสียทองฟ้องร้องเอาความกับผู้เผยแพร่ให้จนได้ เมื่อเรายังไม่มีเทคโนโลยีราคาถูกที่ตรวจจับสมองคนดู เลือกสื่อสารแต่กับเฉพาะคนที่โอเคแล้ว ก็ต้องจำใจเลือกมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในขณะนี้คือ ไม่ให้มีสื่ออนาจารในที่สาธารณะ แต่ให้หลบไปในสถานที่เฉพาะทางแทน
กลับมาดูมาตรการอินเตอร์เน็ตบ้าง เราจะเห็นว่าแคเมอรอน เหมือนจะสับสนกับสถานะทางอินเตอร์เน็ตพอสมควร จริงอยู่ที่ว่าสิ่งใดที่อยู่บนเว็บไซต์ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่การจะเข้าถึงได้นั้น ต้องมีขั้นตอน มีความตั้งใจจะเข้าถึงอย่างแท้จริงเท่านั้น จึงจะเข้ารับชม รับโหลดได้ อินเตอร์เน็ตจึงมีลักษณะ on-demand ต่างจากการวางภาพในที่สาธารณะ หรือบนจอโทรทัศน์ที่ผู้ไม่ได้ตั้งใจจะดู อาจเผลอดูโดยไม่ตั้งใจได้
ดังนั้น มาตรการตั้งค่าบล็อกอินเตอร์เน็ตนั้น ล้นเกินกว่าจะมีประสิทธิภาพได้ (เพราะคนที่ไม่คิดจะดู ก็ไม่ตั้งใจจะเข้าไปดูอยู่แล้ว และผู้ที่คิดจะดูไม่ว่าเขาจะมีวุฒิภาวะหรือไม่ เขาก็ย่อมหาทางขออนุมัติแก้บล็อกได้ในท้ายที่สุดอยู่แล้ว) ทั้งยังสร้างภาระกับผู้ใช้งาน และผู้ให้บริการมากเกินไป จึงเป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม

Kate Winslet by Titanic from Altfg.com
ทำให้ภาพอนาจารที่รุนแรงสุดโต่งผิดกฎหมาย
สตรีนิยมบางกลุ่ม แม้จะผูกพันกับเสรีนิยม แต่กลับเห็นว่าเราควรแบนสื่ออนาจารที่มีลักษณะกดขี่ผู้หญิง ใช้ความรุนแรง ทรมาน ใช้เป็นเครื่องมือบำเรอความสุข ฯลฯ นักสตรีนิยมเหล่านี้ไม่ได้ต่อต้านเพียงเพราะภาพเหล่านี้มันกระทบความรู้สึก แต่ต่อต้านด้วยข้อหาที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ การขัดขวางสิทธิพลเมือง ในเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ การไม่เลือกปฎิบัติ การหยุดใช้ความรุนแรงต่อสตรี
สื่ออนาจารที่มีภาพรุนแรงเหล่านี้ บิดเบือนเสียงของสตรี เช่น ทำให้คำว่า “ไม่” กลับกลายเป็นเสียงของการชี้ชวน ทำให้การบอกกล่าวเล่าเรื่องความรุนแรงในครัวเรือน กลายเป็นเรื่องตลกโปกฮาในสังคม ฯลฯ
ฟากฝั่งที่เสรีนิยมบางกลุ่มอาจมองว่านี่คือกระบวนการที่อันตรายในทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสตรีนิยมกลุ่มนี้หันไปจับมือกับกลุ่มขวาจัด แต่ท้ายที่สุดกลุ่มเหล่านี้ก็ยังหาอะไรมาคัดง้างอย่างตรงประเด็นกับข้ออ้างของสตรีนิยมกลุ่มนี้ได้ ซึ่งนี่ทำให้เราต้องตั้งเครื่องหมายคำถามไว้ท้ายมาตรการนี้ เพราะคำตอบสุดท้ายยังไม่ชัดเจน
แต่ข้อสังเกตของข้ออ้างนี้คือ สตรีนิยมกลุ่มนี้ละเลยธรรมชาติของสื่ออนาจารกลุ่มนี้ที่มักวางไว้ในจุดที่ลึกของเว็บไซต์ หรือวางไว้ในเว็บไซต์เฉพาะทาง นั่นคือ หากไม่ตั้งใจไปดูก็จะไม่เห็น ดังนั้น ความแพร่หลายย่อมมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับหนังอนาจารแบบปรกติ ไม่กดขี่
และประเด็นที่สองคือ สตรีนิยมกลุ่มนี้ละเลยการมีอยู่ของหนังอนาจารที่มีความรุนแรงในทางกลับกัน คือผู้หญิงใช้ความรุนแรงกับผู้ชายซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ในสื่ออนาจารก็มีการต่อสู้ ต่อรองพื้นที่ความหมายของเพศสภาพกันเองในแบบของวงการนี้ ไม่จำเป็นเลยที่ต้องยืมมือของรัฐเข้ามาร่วมต่อสู้ด้วย
สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่จากข้อถกเถียงเรื่องการควบคุมเนื้อหาโดยเฉพาะกับเหตุการณ์นโยบายของแคเมอรอนนี้ ไม่ว่าผลลัพธ์ท้ายที่สุดจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการได้รู้ว่าการถกเถียงในเรื่องนี้ ปัจจุบันมีมากกว่าแค่เรื่องอนุรักษ์ หรือเสรี เพราะแม้ผู้ที่เชื่อในความเสรี ก็อาจค้านเสรีภาพในบางอย่างได้ และข้ออ้างที่ดูเหมือนจะถูกต้องในสายตาเรา บางครั้งก็ยังต้องใช้ความพยายามมากกว่าปรกติในการสนับสนุนก็เป็นได้
เกิดเรื่องร้อนแรงในบอร์ดกสทช. ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ด้วยว่ามีสมาชิกบอร์ดฝั่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงท่านหนึ่ง ให้ความเห็นเป็นการส่วนตัวว่าเป็นห่วงเนื้อหาของซีรี่ส์ชื่อดังที่ฉายทางเคเบิลอยู่ในขณะนี้ว่า มีเนื้อหาล่อแหลมไม่เหมาะสม พร้อมถึงการเปรยว่ากรณีเช่นนี้อาจใช้อำนาจของกสทช. เข้าไปควบคุมเนื้อหา
ความเห็นส่วนตัวนี้เองที่สร้างเสียงแตกในบอร์ด จนทำให้มีเสียงวิจารณ์ว่าหากบอร์ดฝั่งกิจการกระจายเสียงใช้อำนาจควบคุมเนื้อหาทางโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ท้ายที่สุดผู้บริโภคจะหันไปพึ่งช่องทางโทรคมนาคมด้วยอินเตอร์เน็ต ที่มีความเสรีกว่าเสียแทน
แต่ทันใด ความเชื่อที่ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นโลกการสื่อสารที่เสรีสุดขีดนั้นก็ต้องถูกสั่นคลอน เมื่อนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เดวิด แคเมอรอน ประกาศผลักดันมาตรการควบคุมสื่ออนาจารบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากทำสำเร็จแล้ว ก็จะถือว่าเป็นชาติตะวันตกเจ้าแรก ที่ออกมาตรการลักษณะนี้
photo from http://megawestgarth.blogspot.com/
“ในฐานะของนักการเมือง ในฐานะของการเป็นพ่อคนหนึ่ง ผมคิดว่าถึงเวลาต้องดำเนินการแล้ว นี่เป็นเรื่องของการที่ว่าเราจะปกปักษ์รักษาเยาวชน และความเยาว์วัย ของพวกเขาได้อย่างไร” คาเมรอนกล่าวปาฐกถา ก่อนนำเสนอมาตรการดังนี้
1. คำค้นหาที่เกี่ยวโยงกับภาพอนาจารเด็ก จะถูกบล็อก
2. ภาพอนาจารที่รุนแรงสุดโต่ง หรือมีลักษณะจำลองการข่มขืน จะผิดกฎหมาย
3. อินเตอร์เน็ตในบ้านทุกหลัง จะถูกตั้งค่าบล็อกเว็บไซต์อนาจารเป็นค่าเริ่มต้น หากต้องการเลิกบล็อก ผู้ใช้งานต้องทำเรื่องขอไปยังผู้ให้บริการเป็นรายกรณีไป
นี่เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่กำลังวางรากฐานระบบการสื่อสารทั้งในแง่โทรคมนาคม และการกระจายเสียงในรูปแบบใหม่ การใช้มาตรการควบคุมเนื้อหาเป็นทางเลือกที่ต้องถูกยกมาถามทางถามความเห็นอยู่ไม่วันใดก็วันหนึ่ง และมันก็ชวนแตกแยกได้ในทุกครั้งที่ถูกหยิบยกขึ้นมา เช่นนี้แล้วในแง่ปรัชญา จะให้คำตอบอะไรได้บ้าง และจะให้ความเห็นอย่างไรกับมาตรการทั้ง 3 ข้อของคาเมรอน?
บล็อกภาพอนาจารเด็ก
มันเป็นหนังเก่าที่ฉายซ้ำชั่วกัลปาวสาน ฝั่งหนึ่งอ้างว่าการแทรกแซงของรัฐเพื่อปกปักษ์รักษาคุณค่าที่เชิดชูของพลเมืองเป็นเรื่องจำเป็น การควบคุมเนื้อหาการแสดงออกของสื่อจึงสามารถทำได้ ส่วนอีกฝั่งก็ไม่เชื่อถือเรื่องคุณค่าพลเมือง เพราะเชื่อว่าคนแต่ละคนเลือกเองได้ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับชีวิตตนเอง ดังนั้นรัฐไม่ควรเข้าแทรกแซงการแสดงออกหรือทางเลือกการเสพสื่อของใคร ยกเว้นว่าใครเกิดใช้เสรีภาพนั้นไปขัดขวางทางเลือกของคนอื่น
แต่เดี๋ยวก่อน??! เรื่องภาพอนาจารเด็กนี้ อาจเป็นเพียงไม่กี่เรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจับมือร้องเพลงสามัคคีชุมนุมกันได้ เพราะหลักการใช้เสรีภาพแบบคลาสสิคนั้น มีเงื่อนไขสำคัญอยู่ที่วุฒิภาวะ นั่นคือ หากมีวุฒิภาวะแล้ว เราจึงจะเชื่อได้ว่าบุคคลคนนั้นสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตของตัวเองได้จริง
แต่หากยังไม่มีวุฒิภาวะ รัฐยังต้องคอยดูแลอยู่ และภาพอนาจารเด็กก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ เด็กอาจยังไม่รอบรู้เพียงพอถึงผลกระทบหากภาพหรือคลิปของตัวเองถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง
ดังนั้น การบล็อกคำค้นภาพอนาจารเด็กเป็นเพียงการเสริมประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายให้หนักแน่นจนถึงต้นตอ ไม่ใช่เรื่องการนำเสนอประเด็นใหม่แต่อย่างใด
ตั้งค่าบล็อกเว็บไซต์อนาจารเป็นค่าเริ่มต้น
สื่ออนาจารกับพื้นที่สาธารณะไม่ใช่ของที่ไปด้วยกันได้ เรามักไม่ให้โฆษณาคอลเลคชั่นหนัง AV ใหม่ล่าสุดปะปกหราอยู่ในบิลบอร์ดกลางใจเมืองกันได้ง่ายๆ ซึ่งนี่เป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้ที่เชื่อในหลักการเสรีภาพ เพราะถ้าการใช้สิทธิแสดงออกนั้นไม่ได้ไปขัดขวางการใช้สิทธิของผู้อื่นอย่างร้ายแรง คือไม่มีใครจะได้รับอันตรายทางกายหรือทางใจใดๆ แบบชัดแจ้ง สาเหตุใดจึงทำไม่ได้
เหตุการณ์จำลองนี้เปิดเผยให้เห็นว่ามีอีกหลักการสำคัญเกี่ยวกับการแสดงออกซ่อนอยู่ คือหลักการหลีกเลี่ยงการแสดงออกที่กระทบความรู้สึกต่อผู้อื่นอย่างร้ายแรง ด้วยการเลือกใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุด และมีผลกระทบน้อยที่สุด
เราจะพบว่าผู้คนในท้องถนนมีความหลากหลาย และเราก็ไม่มีทางรู้แน่ชัดได้ว่าใครจะโอเคหรือไม่โอเคกับการแสดงออกในเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ใครที่ไม่โอเคมากๆ ถึงขนาดยินยอมจะเสียเงินเสียทองฟ้องร้องเอาความกับผู้เผยแพร่ให้จนได้ เมื่อเรายังไม่มีเทคโนโลยีราคาถูกที่ตรวจจับสมองคนดู เลือกสื่อสารแต่กับเฉพาะคนที่โอเคแล้ว ก็ต้องจำใจเลือกมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในขณะนี้คือ ไม่ให้มีสื่ออนาจารในที่สาธารณะ แต่ให้หลบไปในสถานที่เฉพาะทางแทน
กลับมาดูมาตรการอินเตอร์เน็ตบ้าง เราจะเห็นว่าแคเมอรอน เหมือนจะสับสนกับสถานะทางอินเตอร์เน็ตพอสมควร จริงอยู่ที่ว่าสิ่งใดที่อยู่บนเว็บไซต์ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่การจะเข้าถึงได้นั้น ต้องมีขั้นตอน มีความตั้งใจจะเข้าถึงอย่างแท้จริงเท่านั้น จึงจะเข้ารับชม รับโหลดได้ อินเตอร์เน็ตจึงมีลักษณะ on-demand ต่างจากการวางภาพในที่สาธารณะ หรือบนจอโทรทัศน์ที่ผู้ไม่ได้ตั้งใจจะดู อาจเผลอดูโดยไม่ตั้งใจได้
ดังนั้น มาตรการตั้งค่าบล็อกอินเตอร์เน็ตนั้น ล้นเกินกว่าจะมีประสิทธิภาพได้ (เพราะคนที่ไม่คิดจะดู ก็ไม่ตั้งใจจะเข้าไปดูอยู่แล้ว และผู้ที่คิดจะดูไม่ว่าเขาจะมีวุฒิภาวะหรือไม่ เขาก็ย่อมหาทางขออนุมัติแก้บล็อกได้ในท้ายที่สุดอยู่แล้ว) ทั้งยังสร้างภาระกับผู้ใช้งาน และผู้ให้บริการมากเกินไป จึงเป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม
Kate Winslet by Titanic from Altfg.com
ทำให้ภาพอนาจารที่รุนแรงสุดโต่งผิดกฎหมาย
สตรีนิยมบางกลุ่ม แม้จะผูกพันกับเสรีนิยม แต่กลับเห็นว่าเราควรแบนสื่ออนาจารที่มีลักษณะกดขี่ผู้หญิง ใช้ความรุนแรง ทรมาน ใช้เป็นเครื่องมือบำเรอความสุข ฯลฯ นักสตรีนิยมเหล่านี้ไม่ได้ต่อต้านเพียงเพราะภาพเหล่านี้มันกระทบความรู้สึก แต่ต่อต้านด้วยข้อหาที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ การขัดขวางสิทธิพลเมือง ในเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ การไม่เลือกปฎิบัติ การหยุดใช้ความรุนแรงต่อสตรี
สื่ออนาจารที่มีภาพรุนแรงเหล่านี้ บิดเบือนเสียงของสตรี เช่น ทำให้คำว่า “ไม่” กลับกลายเป็นเสียงของการชี้ชวน ทำให้การบอกกล่าวเล่าเรื่องความรุนแรงในครัวเรือน กลายเป็นเรื่องตลกโปกฮาในสังคม ฯลฯ
ฟากฝั่งที่เสรีนิยมบางกลุ่มอาจมองว่านี่คือกระบวนการที่อันตรายในทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสตรีนิยมกลุ่มนี้หันไปจับมือกับกลุ่มขวาจัด แต่ท้ายที่สุดกลุ่มเหล่านี้ก็ยังหาอะไรมาคัดง้างอย่างตรงประเด็นกับข้ออ้างของสตรีนิยมกลุ่มนี้ได้ ซึ่งนี่ทำให้เราต้องตั้งเครื่องหมายคำถามไว้ท้ายมาตรการนี้ เพราะคำตอบสุดท้ายยังไม่ชัดเจน
แต่ข้อสังเกตของข้ออ้างนี้คือ สตรีนิยมกลุ่มนี้ละเลยธรรมชาติของสื่ออนาจารกลุ่มนี้ที่มักวางไว้ในจุดที่ลึกของเว็บไซต์ หรือวางไว้ในเว็บไซต์เฉพาะทาง นั่นคือ หากไม่ตั้งใจไปดูก็จะไม่เห็น ดังนั้น ความแพร่หลายย่อมมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับหนังอนาจารแบบปรกติ ไม่กดขี่
และประเด็นที่สองคือ สตรีนิยมกลุ่มนี้ละเลยการมีอยู่ของหนังอนาจารที่มีความรุนแรงในทางกลับกัน คือผู้หญิงใช้ความรุนแรงกับผู้ชายซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ในสื่ออนาจารก็มีการต่อสู้ ต่อรองพื้นที่ความหมายของเพศสภาพกันเองในแบบของวงการนี้ ไม่จำเป็นเลยที่ต้องยืมมือของรัฐเข้ามาร่วมต่อสู้ด้วย
สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่จากข้อถกเถียงเรื่องการควบคุมเนื้อหาโดยเฉพาะกับเหตุการณ์นโยบายของแคเมอรอนนี้ ไม่ว่าผลลัพธ์ท้ายที่สุดจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการได้รู้ว่าการถกเถียงในเรื่องนี้ ปัจจุบันมีมากกว่าแค่เรื่องอนุรักษ์ หรือเสรี เพราะแม้ผู้ที่เชื่อในความเสรี ก็อาจค้านเสรีภาพในบางอย่างได้ และข้ออ้างที่ดูเหมือนจะถูกต้องในสายตาเรา บางครั้งก็ยังต้องใช้ความพยายามมากกว่าปรกติในการสนับสนุนก็เป็นได้
ที่มา.Siam Intelligence Unit
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น