ยังตามกันต่อกับเป้าหมายของการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองที่แท้จริง ซึ่งก็ถูกตั้งคำถามต่อจากคำตอบที่หลุดออกมาจากเฟซบุ๊คของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช่หรือไม่ ที่ได้ระบุ ในทำนองว่าการเชิญชวนให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็เพื่อการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั่นเอง
โดยก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว ซึ่งใจความตอนหนึ่งระบุว่า ผมได้เดินทางไปทั่วทุกประเทศในเขตอาเซียน บอกตรงๆว่า ศักยภาพไทยสูงที่สุด แต่วันนี้เรามีปัญหาตรง 2 อย่างคือ
1. ความขัดแย้ง ความอิจฉาเกลียดชังกันเอง ทำให้ขาดพลังในการสร้างความเจริญและแข่งขันกับโลกได้
และ 2. การมีองค์กรอิสระที่สร้างขึ้นจากจุดเริ่มต้นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เกิดขึ้นเพราะจำเป็นต้องให้เกิด เลยเกิดบนพื้นฐานของความไม่ไว้เนื้อ
เชื่อใจกัน หาเรื่องกัน แกล้งกัน ทำให้การพัฒนาประเทศช้าและทำแทบจะไม่ได้ สิ่งที่ตามมาคือ เกิดวัฒนธรรมใหม่ในหมู่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ นั่นคือวัฒนธรรมที่ไม่ทำก็ไม่ผิด เพราะฉะนั้นจึงอยู่ไปวันๆ หนึ่ง ทำให้ประเทศขาดความก้าวหน้า ขาดแรงกระตุ้นในการพัฒนาที่รองรับเศรษฐกิจและการแข่งขัน ไม่ทันโลก
เพราะฉะนั้น การที่ท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้เชิญชวนทุกฝ่ายมาหันหน้าเข้าหากัน ออกแบบกติกาการอยู่ร่วมกันใหม่ หรือสร้าง Modern Social Contract Theory ใหม่ เพื่อเกิดรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่ใช่ Winner take all และเป็นการ inclusive มากกว่าการแบ่งฝ่าย ประเทศน่าจะพัฒนาได้เร็ว คนจนจะได้หมดจากแผ่นดินไทย ยกเว้นพวกสบายแล้ว ไม่อยากเห็นคนจนหายจนเท่านั้น พวกเขาคนจน กำลังนั่งรอเมตตาธรรมจากท่านที่เรียกว่า ท่านผู้เจริญแล้ว
ก็เอาเป็นว่าต้องช่วยกันรับผิดชอบชื่อเสียงประเทศให้มากๆ จะเล่นการเมืองอะไรกัน จะอิจฉากัน จะหมั่นไส้กันก็ให้อยู่ในขอบเขตที่ไม่ทำให้ชื่อเสียงประเทศเสียหายเป็นดีที่สุด
และจากข้อความดังกล่าวนี้เอง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ระบุเอาไว้ค่อนข้างที่จะชัดเจนเลยทีเดียวว่ากระบวนการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองก็เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และว่าด้วยเรื่องของการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ปรากฎความพยายามของรัฐบาลมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
เริ่มจากความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านแผนการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือส.ส.ร.จำนวน 99 คน
แต่ทว่าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้และให้ไปแก้ไขเป็นรายมาตราหรือไม่ก็ทำประชามติสอบถามความเห็นของประชาชนเสียก่อน
และจาก 2 ทางเลือกดังกล่าวในขณะนั้นเอง ก็ปรากฏความขัดแย้งกันเองระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณกับแกนนำนปช.โดยเฉพาะนายจตุพร ที่ต้องการให้โหวตวาระ3 ร่างแก้ไขมาตรา 291ไปเลย แต่ก็เป็นพ.ต.ท.ทักษิณที่หักหน้านายจตุพรบนเวทีคนเสื้อแดงว่าต้องทำเป็นประชามติ
แต่ทว่าจนแล้วจนรอดพ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่ได้ตัดสินใจเลือกทำประชามติตามที่พูดเอาไว้ เพราะทราบดีว่าคะแนนเสียงจะไม่ถึง จึงหันมาแก้ไขเป็นรายมาตรา เฉพาะที่สำคัญและกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 เร็วๆนี้
1.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องที่มาของวุฒิสภา แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ และมาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และ มาตรา ๑๑๔
โดยในการประชุมคณะกรรมาธิการได้พิจารณาจนได้ข้อสรุปแล้วก็คือให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน ดำรงตำแหน่งเป็นวาระ 6 ปี แต่เมื่อหมดวาระสามารถลงเลือกตั้งต่อได้ ไม่ต้องเว้นวรรค พร้อมทั้งงดเว้นเงื่อนไขต่างๆ ที่อยู่ในรัฐธรรมนูญทั้งหมด ส่วน ส.ว.สรรหานั้น สามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าจะครบวาระที่เหลืออยู่
2.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๐ เรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
และ3.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ และมาตรา ๒๓๗
เพราะฉะนั้นสัปดาห์ต่อจากนี้ไปจึงต้องจับตามองไปที่การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 2 ในร่างที่มาของส.ว. เนื่องจากสัปดาห์นี้คาดว่าจะเป็นการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ในวาระที่ 2
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนรษฎร กล่าวภายหลังเชิญตัวแทนคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) และวิปฝ่ายค้าน หารือถึงกรอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ปี 2557 โดยเบื้องต้นกำหนดให้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว 2 วัน คือ วันที่ 14 - 15 สิงหาคม ตั้งแต่เวลา 09.30 – 24.00 น. ซึ่งหากไม่เพียงพออาจขยายเวลาเพิ่มเติมได้อีก 1 วัน โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ได้ขอร้องให้วิปทั้ง 2 ฝ่าย ได้กำชับสมาชิกว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ถือว่ามีความสำคัญ ประชาชนให้ความสนใจ เพราะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ขอร้องให้อภิปรายอยู่ในเนื้อหาของงบประมาณ ไม่เช่นนั้นจะไปซ้ำซ้อนกับคนอื่นและไม่จำเป็นอย่าพาดพิงหรือเสียดสี ใส่ร้าย บุคคลอื่น การใช้สิทธิต้องเป็นการพาดพิงจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การทำหน้าที่ทุกครั้งประธานก็เป็นกลาง แต่จะทำให้ถูกใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เพราะในการอภิปรายแต่ละครั้งประธานในที่ประชุมจะถูกตำหนิมากที่สุด
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ที่ประชุมพรรคได้กำชับให้ ส.ส. เข้าร่วมประชุม เพื่อรักษาองค์ประชุมให้ครบ และอดทนต่อการอภิปรายของฝ่ายค้านที่มีการแปรญัตติ เป็นจำนวนมากแต่ถ้ามีการพาดพิง ก็ขอประท้วงให้สั้น กระชับ เพื่อให้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยมี ส.ส. แสดงความจำนง ขออภิปรายสนับสนุนประมาณ 30 คน
อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการตั้งองครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี หากเรื่องใดพาดพิง ถึงรัฐมนตรีคนใดก็ให้คนนั้นชี้แจง
ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์จะมี ส.ส.ใช้สิทธิ์อภิปรายในฐานะผู้เสนอแก้ไขถ้อยคำจำนวน 163 คน ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้มีการจัดสรรเวลาการอภิปรายตามข้อเท็จจริงโดยต้องยึดว่าทุกคนต้องได้สิทธิอภิปรายทุกกคน เว้นแต่ไม่ประสงค์จะอภิปราย
ส่วนเนื้อหาการอภิปรายนั้นจะพุ่งเป้าหลายประเด็น เช่น การไม่สนใจวินัยการคลัง มีตัวเลขก่อหนี้สูงมาก และใช้งบประมาณมหาศาลบานปลายหลายโครงการ มีการใช้เงินคงคลังแล้ว แต่เก็บภาษีไม่เป็นตามเป้า รวมทั้งจัดสรรงบประมาณกระจุกตัวบางจังหวัด และความไม่ชอบมาพากลในการจัดทำงบประมาณ โดยเฉพาะการจัดซื้อรถตู้ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กลายพันธ์เป็นโครงการรถตู้โรงเรียนดีศรีตำบล รวมไปถึงงบประมาณการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ซ่อนอยู่ในทุกกรมเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาท
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลจะนำพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในปลายเดือนส.ค.นี้แน่นอน โดยเป็นการพิจารณาต่อจากเรื่องงบประมาณประจำปี และการแก้รัฐธรรมนูญที่มาของส.ว.
ส่วนสาเหตุที่ต้องพิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน หลังการแก้รัฐธรรมนูญนั้น เพราะมีรายละเอียดในการพิจารณามากกว่า และต้องการเปิดโอกาสให้รัฐสภาพิจารณาอย่างเต็มที่ โดยหวังให้ทุกฝ่ายพิจารณาโหวตคะแนนให้กับพ.ร.บ.กู้เงิน ด้วยการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี ข้อเสีย ของโครงการที่จะดำเนินการตามพ.ร.บ.กู้เงิน ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และยืนยันว่าโครงการเหล่านี้มีข้อดีมากกว่าข้อเสียแน่นอน
ที่มา.ทีนิวส์
////////////////////////////////////////////////////////////////////
โดยก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว ซึ่งใจความตอนหนึ่งระบุว่า ผมได้เดินทางไปทั่วทุกประเทศในเขตอาเซียน บอกตรงๆว่า ศักยภาพไทยสูงที่สุด แต่วันนี้เรามีปัญหาตรง 2 อย่างคือ
1. ความขัดแย้ง ความอิจฉาเกลียดชังกันเอง ทำให้ขาดพลังในการสร้างความเจริญและแข่งขันกับโลกได้
และ 2. การมีองค์กรอิสระที่สร้างขึ้นจากจุดเริ่มต้นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เกิดขึ้นเพราะจำเป็นต้องให้เกิด เลยเกิดบนพื้นฐานของความไม่ไว้เนื้อ
เชื่อใจกัน หาเรื่องกัน แกล้งกัน ทำให้การพัฒนาประเทศช้าและทำแทบจะไม่ได้ สิ่งที่ตามมาคือ เกิดวัฒนธรรมใหม่ในหมู่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ นั่นคือวัฒนธรรมที่ไม่ทำก็ไม่ผิด เพราะฉะนั้นจึงอยู่ไปวันๆ หนึ่ง ทำให้ประเทศขาดความก้าวหน้า ขาดแรงกระตุ้นในการพัฒนาที่รองรับเศรษฐกิจและการแข่งขัน ไม่ทันโลก
เพราะฉะนั้น การที่ท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้เชิญชวนทุกฝ่ายมาหันหน้าเข้าหากัน ออกแบบกติกาการอยู่ร่วมกันใหม่ หรือสร้าง Modern Social Contract Theory ใหม่ เพื่อเกิดรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่ใช่ Winner take all และเป็นการ inclusive มากกว่าการแบ่งฝ่าย ประเทศน่าจะพัฒนาได้เร็ว คนจนจะได้หมดจากแผ่นดินไทย ยกเว้นพวกสบายแล้ว ไม่อยากเห็นคนจนหายจนเท่านั้น พวกเขาคนจน กำลังนั่งรอเมตตาธรรมจากท่านที่เรียกว่า ท่านผู้เจริญแล้ว
ก็เอาเป็นว่าต้องช่วยกันรับผิดชอบชื่อเสียงประเทศให้มากๆ จะเล่นการเมืองอะไรกัน จะอิจฉากัน จะหมั่นไส้กันก็ให้อยู่ในขอบเขตที่ไม่ทำให้ชื่อเสียงประเทศเสียหายเป็นดีที่สุด
และจากข้อความดังกล่าวนี้เอง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ระบุเอาไว้ค่อนข้างที่จะชัดเจนเลยทีเดียวว่ากระบวนการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองก็เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และว่าด้วยเรื่องของการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ปรากฎความพยายามของรัฐบาลมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
เริ่มจากความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านแผนการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือส.ส.ร.จำนวน 99 คน
แต่ทว่าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้และให้ไปแก้ไขเป็นรายมาตราหรือไม่ก็ทำประชามติสอบถามความเห็นของประชาชนเสียก่อน
และจาก 2 ทางเลือกดังกล่าวในขณะนั้นเอง ก็ปรากฏความขัดแย้งกันเองระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณกับแกนนำนปช.โดยเฉพาะนายจตุพร ที่ต้องการให้โหวตวาระ3 ร่างแก้ไขมาตรา 291ไปเลย แต่ก็เป็นพ.ต.ท.ทักษิณที่หักหน้านายจตุพรบนเวทีคนเสื้อแดงว่าต้องทำเป็นประชามติ
แต่ทว่าจนแล้วจนรอดพ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่ได้ตัดสินใจเลือกทำประชามติตามที่พูดเอาไว้ เพราะทราบดีว่าคะแนนเสียงจะไม่ถึง จึงหันมาแก้ไขเป็นรายมาตรา เฉพาะที่สำคัญและกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 เร็วๆนี้
1.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องที่มาของวุฒิสภา แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ และมาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และ มาตรา ๑๑๔
โดยในการประชุมคณะกรรมาธิการได้พิจารณาจนได้ข้อสรุปแล้วก็คือให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน ดำรงตำแหน่งเป็นวาระ 6 ปี แต่เมื่อหมดวาระสามารถลงเลือกตั้งต่อได้ ไม่ต้องเว้นวรรค พร้อมทั้งงดเว้นเงื่อนไขต่างๆ ที่อยู่ในรัฐธรรมนูญทั้งหมด ส่วน ส.ว.สรรหานั้น สามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าจะครบวาระที่เหลืออยู่
2.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๐ เรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
และ3.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ และมาตรา ๒๓๗
เพราะฉะนั้นสัปดาห์ต่อจากนี้ไปจึงต้องจับตามองไปที่การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 2 ในร่างที่มาของส.ว. เนื่องจากสัปดาห์นี้คาดว่าจะเป็นการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ในวาระที่ 2
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนรษฎร กล่าวภายหลังเชิญตัวแทนคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) และวิปฝ่ายค้าน หารือถึงกรอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ปี 2557 โดยเบื้องต้นกำหนดให้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว 2 วัน คือ วันที่ 14 - 15 สิงหาคม ตั้งแต่เวลา 09.30 – 24.00 น. ซึ่งหากไม่เพียงพออาจขยายเวลาเพิ่มเติมได้อีก 1 วัน โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ได้ขอร้องให้วิปทั้ง 2 ฝ่าย ได้กำชับสมาชิกว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ถือว่ามีความสำคัญ ประชาชนให้ความสนใจ เพราะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ขอร้องให้อภิปรายอยู่ในเนื้อหาของงบประมาณ ไม่เช่นนั้นจะไปซ้ำซ้อนกับคนอื่นและไม่จำเป็นอย่าพาดพิงหรือเสียดสี ใส่ร้าย บุคคลอื่น การใช้สิทธิต้องเป็นการพาดพิงจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การทำหน้าที่ทุกครั้งประธานก็เป็นกลาง แต่จะทำให้ถูกใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เพราะในการอภิปรายแต่ละครั้งประธานในที่ประชุมจะถูกตำหนิมากที่สุด
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ที่ประชุมพรรคได้กำชับให้ ส.ส. เข้าร่วมประชุม เพื่อรักษาองค์ประชุมให้ครบ และอดทนต่อการอภิปรายของฝ่ายค้านที่มีการแปรญัตติ เป็นจำนวนมากแต่ถ้ามีการพาดพิง ก็ขอประท้วงให้สั้น กระชับ เพื่อให้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยมี ส.ส. แสดงความจำนง ขออภิปรายสนับสนุนประมาณ 30 คน
อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการตั้งองครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี หากเรื่องใดพาดพิง ถึงรัฐมนตรีคนใดก็ให้คนนั้นชี้แจง
ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์จะมี ส.ส.ใช้สิทธิ์อภิปรายในฐานะผู้เสนอแก้ไขถ้อยคำจำนวน 163 คน ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้มีการจัดสรรเวลาการอภิปรายตามข้อเท็จจริงโดยต้องยึดว่าทุกคนต้องได้สิทธิอภิปรายทุกกคน เว้นแต่ไม่ประสงค์จะอภิปราย
ส่วนเนื้อหาการอภิปรายนั้นจะพุ่งเป้าหลายประเด็น เช่น การไม่สนใจวินัยการคลัง มีตัวเลขก่อหนี้สูงมาก และใช้งบประมาณมหาศาลบานปลายหลายโครงการ มีการใช้เงินคงคลังแล้ว แต่เก็บภาษีไม่เป็นตามเป้า รวมทั้งจัดสรรงบประมาณกระจุกตัวบางจังหวัด และความไม่ชอบมาพากลในการจัดทำงบประมาณ โดยเฉพาะการจัดซื้อรถตู้ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กลายพันธ์เป็นโครงการรถตู้โรงเรียนดีศรีตำบล รวมไปถึงงบประมาณการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ซ่อนอยู่ในทุกกรมเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาท
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลจะนำพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในปลายเดือนส.ค.นี้แน่นอน โดยเป็นการพิจารณาต่อจากเรื่องงบประมาณประจำปี และการแก้รัฐธรรมนูญที่มาของส.ว.
ส่วนสาเหตุที่ต้องพิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน หลังการแก้รัฐธรรมนูญนั้น เพราะมีรายละเอียดในการพิจารณามากกว่า และต้องการเปิดโอกาสให้รัฐสภาพิจารณาอย่างเต็มที่ โดยหวังให้ทุกฝ่ายพิจารณาโหวตคะแนนให้กับพ.ร.บ.กู้เงิน ด้วยการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี ข้อเสีย ของโครงการที่จะดำเนินการตามพ.ร.บ.กู้เงิน ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และยืนยันว่าโครงการเหล่านี้มีข้อดีมากกว่าข้อเสียแน่นอน
ที่มา.ทีนิวส์
////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น