--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชาชน ถูกดำเนินคดีหลังรัฐประหาร 1,888 คน !!??

4พ.ร.บ.เข้าพิจารณาในสภา ระบุพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหลังรัฐประหาร19ก.ย.49ปชช.ถูกดำเนินคดี1,888คน ยังมีจำนวนหนึ่งถูกคุมขังและคดี

1. ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมตัวเลขนักโทษจากความขัดแย้งทางการเมือง หลังเหตุการณ์รัฐประหาร ก.ย.2549 ที่ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม(ศปช.)รวบรวมเอาไว้ พบว่ามีประชาชนทั้งที่ร่วมชุมนุมและไม่ได้ร่วมชุมนุม ถูกดำเนินคดี 1,833 คน นับเป็น 1,451 คดี รวมถึงยังมีหมายจับที่ยังจับกุมตัวผู้ต้องหาไม่ได้อีกหลายร้อยคดีในหลายจังหวัดและยังมีผู้ถูกจับกุมจากเหตุการณ์อื่นอันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร 55 คน

โดยสรุป ตัวเลขประชาชนที่ถูกดำเนินคดี เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวมแล้ว 1,888 คน ขณะที่นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่ง ยังถูกคุมขังและดำเนินคดี

ปัจจุบันมีข้อเสนอ ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา 5 ฉบับ โดยเป็นข้อเสนอของ ส.ส. 2 ร่าง ซึ่งเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปแล้ว และข้อเสนอโดยภาคประชาชน 2 ร่าง อยู่ระหว่างล็อบบี้เสนอให้ ส.ส.บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาฯ ดังนี้

1. ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เสนอโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นฉบับแรกที่ถูกบรรจุเข้าวาระ วันที่ 7 ส.ค.2556 นี้ 2.ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เสนอโดยนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี และคณะ 3.ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง เสนอโดยคณะนิติราษฎร์ 4. ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เสนอโดยกลุ่มญาติวีรชน โดยนางพะเยาว์ อัคฮาดและ 5. ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายสุชาติ ลายน้ำเงิน อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำคนเสื้อแดง จ.ลพบุรี ล่าสุด 31 ก.ค.ได้ยื่นต่อสภาฯ

ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะจะมีเนื้อหานิรโทษฯดังนี้

1.นิรโทษกรรมให้ใครบ้าง
- คดีอาญาทุกคดี ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือคดีที่มีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง รวมไปถึงการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณา เพื่อให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืนเจ้าหน้าที่รัฐ

2. ไม่นิรโทษกรรมให้ใครบ้าง
- คดีของผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้สั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง (ระดับแกนนำ)
- ผู้กระทำผิดตามมาตรา 112

3. ช่วงเวลานิรโทษกรรม
การกระทำระหว่าง 19 ก.ย.2549 - 10 พ.ค.2554

2. ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557
จำนวน 2,525,000,000,000 บาท (สองล้านห้าแสนสองหมื่นห้าพันล้านบาท) เป็นการพิจารณาวาระ 2 -3 โดยฝ่ายรัฐบาลกำหนดไว้เป็นวันที่ 14-15 ส.ค.2556

3. ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท หรือ ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ

เมื่อผ่านขั้นตอนรัฐสภาแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วน แสดงเจตนาไว้ชัดเจนว่า จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะมองว่า พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหลายประเด็นรวมทั้ง คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ได้มีหนังสือที่ คปก. 01/721 เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า อาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169

โดยมาตรา 169 เกี่ยวกับเรื่องวิธีจัดทำงบประมาณ ที่กำหนดว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดินจะทำได้ที่อนุญาตไว้ต้องเป็นเงินงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับการเงิน การโอนงบที่เป็นเงินคงคลัง เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนย่อมทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ กรณีการออกพระราชกำหนดกฎหมายกู้ยืมเงิน จึงจะเป็นข้อยกเว้น โดยที่รัฐบาลต้องไปทำรายจ่ายเพื่อข้อยกเว้นเงินคงคลัง แต่กรณี 2 ล้านล้านบาทไม่ใช่การตราพระราชกำหนดเป็นการตราพระราชบัญญัติทั่วไป จึงมีประเด็นว่า เป็นเงินแผ่นดินหรือไม่

ประเด็นที่อาจขัดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 2 ประเด็นใหญ่ ในมาตรา 57 วรรคสอง ระบุว่า การวางแผนออกกฎที่มีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของประชาชนให้รัฐควรสำรวจต้องฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ 4 ประการ 1.อีไอเอ 2.อีเอชไอเอ 3.รับฟังความคิดเห็น 4.มีองค์การอิสระให้ความคิดเห็น ...เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังมีมาตรา 154 เมื่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ผ่านนายกรัฐมนตรี จะเสนอลงพระปรมาภิไธย ส.ส.หรือ ส.ว.สามารถจะเข้าชื่อ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกระบวนการตรากฎหมายฉบับนี้ได้อีกขยักว่า เนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

4. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ล่าสุดมี 4 ฉบับ อยู่ในขั้นตอนดังนี้

1. ร่างแก้ไขมาตรา 291 เสนอโดยรัฐบาล พรรคเพื่อไทยและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) พรรคชาติไทยพัฒนา
ประเด็นสำคัญ คือ ให้มี ส.ส.ร. 99 คน มายกร่างรัฐธรรมนูญ โดย ส.ส.ร. มี 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมสภาฯ 22 คน ขั้นตอนขณะนี้ รอโหวตวาระที่ 3

2. ร่างแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. ได้แก่ มาตรา 111-115 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 เสนอโดยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทยประเด็นสำคัญ ให้มี ส.ว.เลือกตั้งทั้งหมด 200 คน (จากเดิมมี 150 คน โดยมาจากแต่งตั้งและเลือกตั้งจากจังหวัดละคน) ตัด ส.ว.สรรหาทิ้ง มีวาระ 6 ปี และให้ ส.ว.สามารถลงรับสมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันได้ (จากเดิมห้ามเป็นติดต่อกันเกิน 1 วาระ) ขั้นตอนขณะนี้ ผ่านวาระแรก กรรมาธิการแปรญัตติเสร็จแล้ว รอเข้าสภาวาระ 2-3

3. ร่างแก้ไขมาตรา 237 และมาตรา 68 เสนอโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี
ประเด็นสำคัญ คือ ตัดเรื่องการยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค จากกรณีผู้สมัครของพรรคนั้นทุจริตเลือกตั้งและให้คืนสิทธิทางการเมืองให้กับผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีที่ผ่านมาด้วย อีกประเด็นคือ เรื่องการยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาสั่งยุบพรรคกรณีบุคคลหรือพรรคนั้นกระทำการที่เป็นการล้มล้างการปกครอง ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน จะยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ ขั้นตอนล่าสุด ผ่านสภาวาระแรกแล้ว อยู่ระหว่างแปรญัตติ รอเข้าสภาวาระ 2-3

4. ร่างแก้ไขมาตรา 190 เสนอโดยนายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี
ประเด็นสำคัญ คือ ตัดข้อความที่ระบุว่า "หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคม หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา "ออกไป โดยขั้นตอนล่าสุด ผ่านสภาวาระแรก อยู่ระหว่างแปรญัตติ รอเข้าพิจารณาวาระ 2-3

5. ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ มีทั้งหมด 5 ฉบับ
เนื้อหาหลัก เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะนี้อยู่ในระเบียบวาระ 4 ฉบับ ได้แก่ ร่างของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.2549 ร่างของนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ร่างของนายนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ร่างของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

ส่วนฉบับหลังสุด คือร่างของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เนื้อหาหลักคือการนิรโทษกรรมให้ทุกคดี ทุกคน ทุกระดับ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร ซึ่งรวมถึงคดีของนักการเมืองและอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร กำลังรอ(ลุ้น)บรรจุเข้าสู่วาระ

6. ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
สมัยประชุม สมัยสามัญทั่วไป เป็นโอกาสที่ฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ โดยพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมกำหนดเวลาในการยื่นญัตติเอาไว้ช่วงท้ายสมัยประชุม โดยเน้นประเด็นความล้มเหลวของนโยบายและโครงการที่ส่อทุจริตคอร์รัปชัน

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น