นับเป็นช่วงเวลาที่คนจำนวนมากเฝ้ารอคอย หลังจากหนึ่งปีครึ่งของความซบเซา เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) เติบโตอีกครั้ง ปัจจัยบ่งชี้อื่นๆ ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางที่พัฒนาขึ้นเช่นเดียวกัน หรือนี่จะเป็นการยุติช่วงเวลาแห่งความเหน็บหนาวอันยาวนาน?
การประกาศอย่างชัดเจนของมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ว่า "ช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุดจบลงแล้ว" นั่นเป็นการพูดถึงวิกฤตยูโรเมื่อเดือนมีนาคมปี 2555 แต่ทว่า เขาคาดผิดไป อย่างน้อยถ้าพิจารณาจากเศรษฐกิจที่แท้จริง
เมื่อตอนที่ดรากีคาดคะเน ไว้นั้น ผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมของกลุ่มประเทศยูโรโซนร่วงลงเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากนั้นก็ร่วงลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 1 ปี
ทว่าตอนนี้ หลังจากภาวะถดถอยยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มต้นใช้เงินสกุลร่วมเป็นต้นมา เศรษฐกิจของยูโรโซนได้ส่งสัญญาณถึงการฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่
จากการประเมินของสำนักงานสถิติยุโรปหรือยูโรสแตท สมาชิกยูโรโซน 17 ชาติแสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คิดอัตราปรับตามฤดูกาลที่ 0.3 เปอร์เซ็นต์
ในโปรตุเกสเศรษฐกิจขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ด้วยอัตราที่มากถึง 1.1 เปอร์เซ็นต์
ข้อมูลตัวเลขใหม่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันกล้าเสี่ยงที่จะประกาศอย่างชัดเจน คล้ายกับที่ดรากีได้เคยกล่าวไว้เมื่อ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา
"เรากำลังประสบแนวโน้มที่พลิกกลับด้าน ช่วงที่ยากลำบากที่สุดได้ผ่านไปแล้ว" มิชาเอล ฮูเธอร์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจโคโลญจ์บอก ขณะที่ ไค คาร์สเทนเซน หัวหน้าฝ่ายพยากรณ์เศรษฐกิจ ของสถาบันเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจไอเอฟโอในนครมิวนิก ให้ความคิดเห็นในการวิเคราะห์ที่คล้ายๆ กัน "ทุกอย่างกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง นั่นคือดีขึ้น"
ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้เดียวที่มีความหวัง
บริษัทต่างๆ ในยูโรโซนมองภาพสถานการณ์ขณะนี้ในทางบวกมากขึ้นกว่าเมื่อ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา
ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ของมาร์กิต บริษัทในอังกฤษที่จัดทำผลสำรวจ เพิ่มจาก 48.7 จุดมาอยู่ที่ 50.5 จุด ขึ้นมาอยู่เหนือระดับเส้นแบ่งที่หมายถึงมีอัตราการเติบโต
นอกเหนือไปจากบรรดาเจ้าของธุรกิจ ผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลร่วมยังมองไปในทางบวกมากขึ้นเช่นกัน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ในเยอรมนี การบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขึ้นค่าแรงและการจ้างงานเพิ่ม
สัญญาณที่ให้ กำลังใจบางอย่างยังมาจากประเทศยุโรปทางตอนใต้ที่เผชิญกับวิกฤต โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศการเติบโตทางเศรษฐกิจ โปรตุเกสเพิ่งจะรายงานว่าอัตราการว่างงานลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี เช่นเดียวกับสเปน ทั้ง 2 ประเทศสามารถลดต้นทุนด้านแรงงานและเพิ่มการส่งออกของตนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
แม้แต่เด็กมีปัญหาอย่างกรีซก็สามารถเพิ่มอัตราการส่งออกและประสบ ความสำเร็จในการลดการกู้ยืมเงินก้อนใหม่ของรัฐบาลลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของกรีซระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศหดตัวลง 4.6 เปอร์เซ็นต์ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากไม่มีการคาดหมายถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจากกรีซและไอร์แลนด์ อยู่แล้ว
สถานการณ์ที่เคยผันผวนในตลาดพันธบัตรก็สงบลงด้วย ระยะห่างของอัตราดอกเบี้ยสำหรับประเทศที่ประสบวิกฤตและสำหรับเยอรมนีลดลง อย่างมากจากเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม อิตาลีและสเปนมีเหตุผลที่จะยินดีปรีดาได้ นั่นคือช่วงห่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีของทั้ง 2 ประเทศเมื่อเทียบกับเยอรมนี ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ยังคงเร็วเกินไปที่จะแสดงอาการดีใจออกมาอย่างเต็มที่ เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏออกมานั้นแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจ ของประเทศใหญ่แห่งอื่นๆ ในยูโรโซนอย่างเช่นอิตาลีและสเปนยังคงหดตัวต่อไป แม้ว่าจะน้อยลงกว่าเดือนก่อนหน้านี้มาก โดยอิตาลีร่วงลง 0.2 เปอร์เซ็นต์ และสเปนร่วงลง 0.1 เปอร์เซ็นต์
เยนส์ บอยเซน-โฮเกรเฟ แห่งสถาบันเศรษฐกิจโลกคีล กล่าวว่า มันจะเป็นเรื่องที่ "น่าประหลาดใจมาก" หากอัตราการเติบโตของยูโรโซนยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า "ภาพรวมของปี 2557 พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ"
ปัจจัยอื่นๆ บ่งชี้เช่นกันว่า การฟื้นตัวจะไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่คาดหวังกัน
ในช่วงสิ้นสุดปี 2555 เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ หดตัวลงอย่างมาก และยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2556 การขยายตัวในหลายประเทศในปัจจุบันจำเป็นจะต้องดูบริบทของพัฒนาการนั้นประกอบ กันด้วย
ในเยอรมนีอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้ทำงานเพื่อชดเชยการชะลอตัวในช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างยาวนาน คาร์สเทนเซนแห่งไอเอฟโอบอกว่า "อัตราส่วนที่โดดเด่นของการเติบโตมาจากงานที่คั่งค้าง"
การว่างงานยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดของยุโรป ด้วยอัตราว่างงานที่สูงถึง 12.1 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกรกฎาคม การไม่มีงานทำภายในยูโรโซนไต่ขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการจดบันทึก สถิติเมื่อปี 2538 เป็นต้นมา
ข้อเท็จจริงคือ ในประเทศอย่างกรีซและสเปน ผู้คนมากกว่า 1 ใน 4 ไม่มีงานทำ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ปัจจัยบ่งชี้ตัวอื่นๆ ดูเหมือนจะออกมาในทางบวก นั่นคือต้นทุนด้านแรงงานลดลงเพราะว่าคนงานที่มีผลิตภาพน้อยกว่าถูกปลดออกไป และดุลการค้ากับประเทศอื่นๆ ดีขึ้นเพราะว่าชาวยุโรปใต้มีความสามารถในการบริโภคได้น้อยลง
สถานการณ์ที่ดีขึ้นส่วนใหญ่มาจากอีซีบี นโยบายดอกเบี้ยต่ำของพวกเขาส่งเสริมความร้อนแรงให้ตลาดหุ้น และการประกาศว่าจะซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดเป็นการควบคุมการเก็งกำไร แต่ในเวลาเดียวกัน ทั้ง 2 มาตรการไม่ได้แก้ปัญหาของประเทศที่เกิดวิกฤตเลย ข้อเท็จจริงคือ นั่นอาจนำไปสู่การชะลอการปฏิรูปออกไปและกระตุ้นให้เกิดฟองสบู่รอบใหม่
สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกก็ยังคงไม่แน่นอน จากผลสำรวจสถานการณ์เศรษฐกิจโลกของไอเอฟโอ บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทั้งในยุโรปและในสหรัฐอเมริกา ทว่าในเอเชียกลับลดลงอีกครั้งหลังจากที่ดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 2 ความไม่แน่นอนสามารถชี้ชัดได้ที่จีน
รัฐบาลจีนส่งสัญญาณว่า พวกเขาอาจจะออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อปกป้องอัตราการเติบโต 7 เปอร์เซ็นต์ตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่ในเวลาเดียวกันพวกเขาเพิ่งจะเริ่มต้นออกกฎระเบียบเข้มงวดเพื่อควบคุมตลาด การเงินที่เริ่มจะร้อนแรงเกินไปในหลายพื้นที่
เมื่อพิจารณาทั้งหมดแล้ว แม้ว่าหลายๆ อย่างดูเหมือนจะพัฒนาขึ้นในยูโรโซนและมีความหวังจากหลายประเทศที่ประสบปัญหา ว่า เยอรมนีอาจจะผ่อนคลายความต้องการให้รัดเข็มขัดลงหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 กันยายนผ่านพ้นไป
แต่ฮูเธอร์แห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจโคโลญจ์เชื่อ ว่า เยอรมนีจะไม่ผ่อนปรน และพวกเขาอาจโต้แย้งได้ว่าพัฒนาการนี้แสดงให้เห็นว่า การรัดเข็มขัดนั้นได้ผล
ที่มา : นสพ.มติชน
------------------------------------------
การประกาศอย่างชัดเจนของมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ว่า "ช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุดจบลงแล้ว" นั่นเป็นการพูดถึงวิกฤตยูโรเมื่อเดือนมีนาคมปี 2555 แต่ทว่า เขาคาดผิดไป อย่างน้อยถ้าพิจารณาจากเศรษฐกิจที่แท้จริง
เมื่อตอนที่ดรากีคาดคะเน ไว้นั้น ผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมของกลุ่มประเทศยูโรโซนร่วงลงเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากนั้นก็ร่วงลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 1 ปี
ทว่าตอนนี้ หลังจากภาวะถดถอยยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มต้นใช้เงินสกุลร่วมเป็นต้นมา เศรษฐกิจของยูโรโซนได้ส่งสัญญาณถึงการฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่
จากการประเมินของสำนักงานสถิติยุโรปหรือยูโรสแตท สมาชิกยูโรโซน 17 ชาติแสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คิดอัตราปรับตามฤดูกาลที่ 0.3 เปอร์เซ็นต์
ในโปรตุเกสเศรษฐกิจขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ด้วยอัตราที่มากถึง 1.1 เปอร์เซ็นต์
ข้อมูลตัวเลขใหม่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันกล้าเสี่ยงที่จะประกาศอย่างชัดเจน คล้ายกับที่ดรากีได้เคยกล่าวไว้เมื่อ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา
"เรากำลังประสบแนวโน้มที่พลิกกลับด้าน ช่วงที่ยากลำบากที่สุดได้ผ่านไปแล้ว" มิชาเอล ฮูเธอร์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจโคโลญจ์บอก ขณะที่ ไค คาร์สเทนเซน หัวหน้าฝ่ายพยากรณ์เศรษฐกิจ ของสถาบันเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจไอเอฟโอในนครมิวนิก ให้ความคิดเห็นในการวิเคราะห์ที่คล้ายๆ กัน "ทุกอย่างกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง นั่นคือดีขึ้น"
ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้เดียวที่มีความหวัง
บริษัทต่างๆ ในยูโรโซนมองภาพสถานการณ์ขณะนี้ในทางบวกมากขึ้นกว่าเมื่อ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา
ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ของมาร์กิต บริษัทในอังกฤษที่จัดทำผลสำรวจ เพิ่มจาก 48.7 จุดมาอยู่ที่ 50.5 จุด ขึ้นมาอยู่เหนือระดับเส้นแบ่งที่หมายถึงมีอัตราการเติบโต
นอกเหนือไปจากบรรดาเจ้าของธุรกิจ ผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลร่วมยังมองไปในทางบวกมากขึ้นเช่นกัน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ในเยอรมนี การบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขึ้นค่าแรงและการจ้างงานเพิ่ม
สัญญาณที่ให้ กำลังใจบางอย่างยังมาจากประเทศยุโรปทางตอนใต้ที่เผชิญกับวิกฤต โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศการเติบโตทางเศรษฐกิจ โปรตุเกสเพิ่งจะรายงานว่าอัตราการว่างงานลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี เช่นเดียวกับสเปน ทั้ง 2 ประเทศสามารถลดต้นทุนด้านแรงงานและเพิ่มการส่งออกของตนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
แม้แต่เด็กมีปัญหาอย่างกรีซก็สามารถเพิ่มอัตราการส่งออกและประสบ ความสำเร็จในการลดการกู้ยืมเงินก้อนใหม่ของรัฐบาลลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของกรีซระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศหดตัวลง 4.6 เปอร์เซ็นต์ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากไม่มีการคาดหมายถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจากกรีซและไอร์แลนด์ อยู่แล้ว
สถานการณ์ที่เคยผันผวนในตลาดพันธบัตรก็สงบลงด้วย ระยะห่างของอัตราดอกเบี้ยสำหรับประเทศที่ประสบวิกฤตและสำหรับเยอรมนีลดลง อย่างมากจากเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม อิตาลีและสเปนมีเหตุผลที่จะยินดีปรีดาได้ นั่นคือช่วงห่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีของทั้ง 2 ประเทศเมื่อเทียบกับเยอรมนี ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ยังคงเร็วเกินไปที่จะแสดงอาการดีใจออกมาอย่างเต็มที่ เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏออกมานั้นแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจ ของประเทศใหญ่แห่งอื่นๆ ในยูโรโซนอย่างเช่นอิตาลีและสเปนยังคงหดตัวต่อไป แม้ว่าจะน้อยลงกว่าเดือนก่อนหน้านี้มาก โดยอิตาลีร่วงลง 0.2 เปอร์เซ็นต์ และสเปนร่วงลง 0.1 เปอร์เซ็นต์
เยนส์ บอยเซน-โฮเกรเฟ แห่งสถาบันเศรษฐกิจโลกคีล กล่าวว่า มันจะเป็นเรื่องที่ "น่าประหลาดใจมาก" หากอัตราการเติบโตของยูโรโซนยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า "ภาพรวมของปี 2557 พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ"
ปัจจัยอื่นๆ บ่งชี้เช่นกันว่า การฟื้นตัวจะไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่คาดหวังกัน
ในช่วงสิ้นสุดปี 2555 เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ หดตัวลงอย่างมาก และยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2556 การขยายตัวในหลายประเทศในปัจจุบันจำเป็นจะต้องดูบริบทของพัฒนาการนั้นประกอบ กันด้วย
ในเยอรมนีอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้ทำงานเพื่อชดเชยการชะลอตัวในช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างยาวนาน คาร์สเทนเซนแห่งไอเอฟโอบอกว่า "อัตราส่วนที่โดดเด่นของการเติบโตมาจากงานที่คั่งค้าง"
การว่างงานยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดของยุโรป ด้วยอัตราว่างงานที่สูงถึง 12.1 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกรกฎาคม การไม่มีงานทำภายในยูโรโซนไต่ขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการจดบันทึก สถิติเมื่อปี 2538 เป็นต้นมา
ข้อเท็จจริงคือ ในประเทศอย่างกรีซและสเปน ผู้คนมากกว่า 1 ใน 4 ไม่มีงานทำ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ปัจจัยบ่งชี้ตัวอื่นๆ ดูเหมือนจะออกมาในทางบวก นั่นคือต้นทุนด้านแรงงานลดลงเพราะว่าคนงานที่มีผลิตภาพน้อยกว่าถูกปลดออกไป และดุลการค้ากับประเทศอื่นๆ ดีขึ้นเพราะว่าชาวยุโรปใต้มีความสามารถในการบริโภคได้น้อยลง
สถานการณ์ที่ดีขึ้นส่วนใหญ่มาจากอีซีบี นโยบายดอกเบี้ยต่ำของพวกเขาส่งเสริมความร้อนแรงให้ตลาดหุ้น และการประกาศว่าจะซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดเป็นการควบคุมการเก็งกำไร แต่ในเวลาเดียวกัน ทั้ง 2 มาตรการไม่ได้แก้ปัญหาของประเทศที่เกิดวิกฤตเลย ข้อเท็จจริงคือ นั่นอาจนำไปสู่การชะลอการปฏิรูปออกไปและกระตุ้นให้เกิดฟองสบู่รอบใหม่
สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกก็ยังคงไม่แน่นอน จากผลสำรวจสถานการณ์เศรษฐกิจโลกของไอเอฟโอ บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทั้งในยุโรปและในสหรัฐอเมริกา ทว่าในเอเชียกลับลดลงอีกครั้งหลังจากที่ดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 2 ความไม่แน่นอนสามารถชี้ชัดได้ที่จีน
รัฐบาลจีนส่งสัญญาณว่า พวกเขาอาจจะออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อปกป้องอัตราการเติบโต 7 เปอร์เซ็นต์ตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่ในเวลาเดียวกันพวกเขาเพิ่งจะเริ่มต้นออกกฎระเบียบเข้มงวดเพื่อควบคุมตลาด การเงินที่เริ่มจะร้อนแรงเกินไปในหลายพื้นที่
เมื่อพิจารณาทั้งหมดแล้ว แม้ว่าหลายๆ อย่างดูเหมือนจะพัฒนาขึ้นในยูโรโซนและมีความหวังจากหลายประเทศที่ประสบปัญหา ว่า เยอรมนีอาจจะผ่อนคลายความต้องการให้รัดเข็มขัดลงหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 กันยายนผ่านพ้นไป
แต่ฮูเธอร์แห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจโคโลญจ์เชื่อ ว่า เยอรมนีจะไม่ผ่อนปรน และพวกเขาอาจโต้แย้งได้ว่าพัฒนาการนี้แสดงให้เห็นว่า การรัดเข็มขัดนั้นได้ผล
ที่มา : นสพ.มติชน
------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น