"ประสาร"ยันเศรษฐกิจไทยไม่เข้าข่าย "ภาวะถดถอย" เป็นแค่ทางเทคนิค มั่นใจไตรมาส 3 เป็นบวก รับศก.ไทยชะลอตัวตามภูมิภาคเอเชีย
การแถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่
สำนักข่าวบีบีซีและสำนักข่าวต่างประเทศบางแห่ง ระบุว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริง หลังจาก สศช.ปรับประมาณการจีดีพีปีนี้เหลือ 3.8-4.3% และไตรมาส 2 ขยายตัว 2.8% แต่เมื่อพิจารณาจากจีดีพีที่ปรับฤดูกาลแล้ว ในไตรมาส 2 ติดลบ 0.3%
การตีความว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจาก จีดีพี ติดลบติดต่อกันสองไตรมาส โดยก่อนหน้านี้ สศช.แถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรก ขยายตัว 5.4% แต่เมื่อปรับฤดูกาล ติดลบ 1.7%
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงสองไตรมาสติดต่อกัน แต่ถือว่ายังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
นายประสาร ชี้แจงว่าหากดูตัวเลขเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 อัตราการเติบโตถือว่าสูงมาก ซึ่งเป็นผลจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ช่วงปลายปี 2554 จึงทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เติบโตขึ้นค่อนข้างมาก มีผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ ชะลอตัวลงตามไปด้วย เมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาส อย่างไรก็ตามหากปรับเรื่องฤดูกาลออก ไตรมาส 2 ก็ไม่ได้ติดลบ
"คำว่า Technical Recession (ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค) ตามนิยาม ก็คือ เศรษฐกิจชะลอตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาส ติดต่อกันสองไตรมาส แต่อันนี้เป็นการนิยามที่หยาบๆ เพราะปกติคนจะดูว่า การเปรียบเทียบเป็นการเทียบกับฐานที่ปกติหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ฐานปกติ ก็จะมีการปรับเรื่องฤดูกาลออก พอปรับใหม่ตัวเลขก็ไม่ได้ติดลบ ซึ่งไตรมาส 4 ปี 2555 ของเรานั้น เป็นการเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่เราเจอน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ไตรมาส 4 ปี 2555 มันสูงลิ่ว พอเราเอาไตรมาส 1 ปี 2556 ไปเทียบ มันจึงติดลบและก็มีผลต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 ด้วย" นายประสาร กล่าว
นายประสาร กล่าวว่า แนวโน้มไตรมาส 3 ธปท.ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่ติดลบเมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาส ในขณะที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ก็เชื่อว่ายังเติบโตได้ แม้จะไม่สูงมากนัก
"การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้แม้จะชะลอตัวลงบ้าง แต่ก็เป็นทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจอื่นทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย"
คลังรับ'เชิงเทคนิค'เข้าสู่ภาวะถดถอย
ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า ตัวเลขของ สศช.ต่ำกว่าที่ สศค.ประมาณการไว้ที่ 3% และหากจะมองทางเทคนิคก็จะถือว่าภาวะเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะชะลอตัวต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส
นายเอกนิติ กล่าวว่า หากมองทางปัจจัยพื้นฐานแล้ว จะเห็นว่ามาจากฐานที่สูงในปีก่อนและไตรมาสที่ 2 ยังมีเรื่องก๊าซในพม่าที่ปิดโรงงานไป 10 วันในเดือนเม.ย. ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมพอสมควร แต่คาดว่าในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ส่วนหนึ่งก็มาจากฐานที่ต่ำเช่นกัน
"สศค.กำลังนำตัวเลขจริงที่สภาพัฒน์ประกาศมาใส่เข้าไปแบบจำลอง เพื่อปรับประมาณการเศรษฐกิจตัวเลขทั้งปีใหม่ในเดือนก.ย. ซึ่งกำลังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนก.ค. ด้วยเช่นกันว่า ตัวเลขเบื้องต้นจะเป็นอย่างไร รวมถึงรอตัวเลขของสัญญาณต่างๆ ที่ สศค.มองว่า เริ่มส่อแววว่าจะดีขึ้น หรือ GREEN SHOOT เช่น ยอดการส่งออกสินค้าไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV หรือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม รวมถึงการค้าขายกันเองในกลุ่ม TIP หรือ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการท่องเที่ยวว่า ตัวเลขออกมาดีตามคาดหรือไม่"นายเอกนิติ กล่าว
ศก.ไทยช่วงไตรมาส3น่าฟื้นตัว
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เห็นเช่นเดียวกับนายประสาร โดยกล่าวว่าการนิยามของคำว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ตามหลักสากลแล้ว หมายถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจเมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาสติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ดังนั้นตัวเลขที่ สำนักงาน สศช. ประกาศออกมานั้น ตามเทคนิคต้องถือว่าเป็นภาวะถดถอย
ทั้งนี้ การดูว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริงหรือไม่นั้น ต้องดูรายละเอียดหรือไส้ในของตัวเลขด้วย กรณีของไทยนั้น มีปัจจัยเสริมเข้ามา ทั้งในเรื่องของน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ซึ่งทำให้ตัวเลขไตรมาส 4 ปี 2555 เปรียบเทียบกับตัวเลขช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าออกมาค่อนข้างสูง ประกอบกับในปี 2555 ยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเข้ามาด้วย จึงทำให้เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เติบโตค่อนข้างมาก ดังนั้นหากนำมาเทียบกับไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2556 จึงทำให้การเติบโตติดลบ
"กรณีที่สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้น ถ้าดูเฉพาะตัวเลขอย่างเดียวตามเทคนิคแล้วก็ถือว่าใช่ เพียงแต่โดยปกติแล้วเวลาจะดูก็ต้องดูไส้ในด้วยว่า ที่ติดลบเกิดจากอะไร กรณีของไทยนั้น มาจาก 2 ปัจจัย คือ เศรษฐกิจช่วงปี 2555 เพิ่งฟื้นตัวจากน้ำท่วม และครึ่งหลังของปี 2555 ยังมีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐเข้ามาด้วย เลยทำให้ตัวเลขไตรมาส 4 ออกมาค่อนข้างสูง" นายเชาว์กล่าว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 3 น่าจะฟื้นตัวขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2556 เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะว่าขณะนี้เริ่มเห็นออเดอร์การส่งออกที่เข้ามามากขึ้น
คาดเศรษฐกิจเริ่มฟื้นปีหน้า
ด้าน นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวระดับ 4% ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยคาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะกลับมาขยายตัวกว่า 5%
"ยอมรับว่าครึ่งปีหลังของปีนี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ และการเมืองมีความผันผวน ซึ่งคงต้องรอการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในปีหน้า ช่วยผลักดันเศรษฐกิจ"
บาทอ่อนรวดเดียว30สต.-คาดเห็น 32 บาท
สำหรับค่าเงินบาท วานนี้ (20 ส.ค.) อ่อนค่าลงรวดเร็ว หลังจากเปิดตลาดที่ระดับ 31.42-31.44 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงเช้า มีแรงซื้อดอลลาร์จากทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะเฮดจ์ฟันด์จำนวนมาก จนทำให้ตลอดทั้งวันเงินบาทอ่อนค่าลงกว่า 30 สตางค์ ทะลุแนวต้านสำคัญตามลำดับ จนมาอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 31.73 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอ่อนค่าสุดในรอบ 1 ปีกับอีกเกือบเดือน โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อเงินบาทมาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าคาด จนเกิดแรงขายในตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเงินบาทเช่นกัน
ส่วนแนวโน้มต่อไป คาดว่าจะเห็นการพักฐานเล็กน้อยก่อนจะอ่อนค่าไปทดสอบแนวต้านเดิมได้หากเงินบาททะลุระดับ 31.75 บาทต่อดอลลาร์ และอาจเห็น 32.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ในระยะต่อไป ทั้งนี้ในระยะสั้นคาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.55-31.75 บาทต่อดอลลาร์
ด้าน นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการบริหาร บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ภาวะเงินทุนไหลออกขณะนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ที่มีหลายปัจจัยเข้ามากระทบ ทั้งความกังวลในเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะอินโดนีเซียและเอเชียที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนัก จนค่าเงินอ่อนค่าอย่างรุนแรง
ในระยะสั้นเชื่อว่าเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก โดยอาจเห็นเงินบาทอ่อนค่าถึงระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์ ได้ภายใน 1 เดือนนี้
'ประสาร'ชี้ต้นเหตุจากตัวเลขเศรษฐกิจ
นายประสาร กล่าวด้วยว่า ในส่วนของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะข่าวตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา แต่อย่างไรก็ตามการอ่อนค่าลงดังกล่าวถือว่าไม่น่ากังวล เพราะยังอยู่ในกรอบพื้นฐาน รวมทั้งเศรษฐกิจไทยเองก็ไม่ได้มีปัญหา ในขณะที่นักลงทุนยังให้ความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของไทย
"ของเราเองไม่ได้มีปัญหาอะไร จะเห็นว่าดุลบัญชีเดินสะพัดช่วงนี้ แม้ขาดดุลบ้าง ซึ่งเรามองว่าครึ่งปีแรกอาจขาดดุลประมาณ 1% ของจีดีพี แต่เชื่อว่าทั้งปีจะทรงตัว ไม่ได้ติดลบอะไร ซึ่งสำนักวิจัยฯ ต่างๆ เอง ก็มองในทิศทางเดียวกัน
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////
การแถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่
สำนักข่าวบีบีซีและสำนักข่าวต่างประเทศบางแห่ง ระบุว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริง หลังจาก สศช.ปรับประมาณการจีดีพีปีนี้เหลือ 3.8-4.3% และไตรมาส 2 ขยายตัว 2.8% แต่เมื่อพิจารณาจากจีดีพีที่ปรับฤดูกาลแล้ว ในไตรมาส 2 ติดลบ 0.3%
การตีความว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจาก จีดีพี ติดลบติดต่อกันสองไตรมาส โดยก่อนหน้านี้ สศช.แถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรก ขยายตัว 5.4% แต่เมื่อปรับฤดูกาล ติดลบ 1.7%
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงสองไตรมาสติดต่อกัน แต่ถือว่ายังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
นายประสาร ชี้แจงว่าหากดูตัวเลขเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 อัตราการเติบโตถือว่าสูงมาก ซึ่งเป็นผลจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ช่วงปลายปี 2554 จึงทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เติบโตขึ้นค่อนข้างมาก มีผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ ชะลอตัวลงตามไปด้วย เมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาส อย่างไรก็ตามหากปรับเรื่องฤดูกาลออก ไตรมาส 2 ก็ไม่ได้ติดลบ
"คำว่า Technical Recession (ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค) ตามนิยาม ก็คือ เศรษฐกิจชะลอตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาส ติดต่อกันสองไตรมาส แต่อันนี้เป็นการนิยามที่หยาบๆ เพราะปกติคนจะดูว่า การเปรียบเทียบเป็นการเทียบกับฐานที่ปกติหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ฐานปกติ ก็จะมีการปรับเรื่องฤดูกาลออก พอปรับใหม่ตัวเลขก็ไม่ได้ติดลบ ซึ่งไตรมาส 4 ปี 2555 ของเรานั้น เป็นการเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่เราเจอน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ไตรมาส 4 ปี 2555 มันสูงลิ่ว พอเราเอาไตรมาส 1 ปี 2556 ไปเทียบ มันจึงติดลบและก็มีผลต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 ด้วย" นายประสาร กล่าว
นายประสาร กล่าวว่า แนวโน้มไตรมาส 3 ธปท.ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่ติดลบเมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาส ในขณะที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ก็เชื่อว่ายังเติบโตได้ แม้จะไม่สูงมากนัก
"การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้แม้จะชะลอตัวลงบ้าง แต่ก็เป็นทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจอื่นทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย"
คลังรับ'เชิงเทคนิค'เข้าสู่ภาวะถดถอย
ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า ตัวเลขของ สศช.ต่ำกว่าที่ สศค.ประมาณการไว้ที่ 3% และหากจะมองทางเทคนิคก็จะถือว่าภาวะเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะชะลอตัวต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส
นายเอกนิติ กล่าวว่า หากมองทางปัจจัยพื้นฐานแล้ว จะเห็นว่ามาจากฐานที่สูงในปีก่อนและไตรมาสที่ 2 ยังมีเรื่องก๊าซในพม่าที่ปิดโรงงานไป 10 วันในเดือนเม.ย. ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมพอสมควร แต่คาดว่าในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ส่วนหนึ่งก็มาจากฐานที่ต่ำเช่นกัน
"สศค.กำลังนำตัวเลขจริงที่สภาพัฒน์ประกาศมาใส่เข้าไปแบบจำลอง เพื่อปรับประมาณการเศรษฐกิจตัวเลขทั้งปีใหม่ในเดือนก.ย. ซึ่งกำลังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนก.ค. ด้วยเช่นกันว่า ตัวเลขเบื้องต้นจะเป็นอย่างไร รวมถึงรอตัวเลขของสัญญาณต่างๆ ที่ สศค.มองว่า เริ่มส่อแววว่าจะดีขึ้น หรือ GREEN SHOOT เช่น ยอดการส่งออกสินค้าไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV หรือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม รวมถึงการค้าขายกันเองในกลุ่ม TIP หรือ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการท่องเที่ยวว่า ตัวเลขออกมาดีตามคาดหรือไม่"นายเอกนิติ กล่าว
ศก.ไทยช่วงไตรมาส3น่าฟื้นตัว
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เห็นเช่นเดียวกับนายประสาร โดยกล่าวว่าการนิยามของคำว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ตามหลักสากลแล้ว หมายถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจเมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาสติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ดังนั้นตัวเลขที่ สำนักงาน สศช. ประกาศออกมานั้น ตามเทคนิคต้องถือว่าเป็นภาวะถดถอย
ทั้งนี้ การดูว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริงหรือไม่นั้น ต้องดูรายละเอียดหรือไส้ในของตัวเลขด้วย กรณีของไทยนั้น มีปัจจัยเสริมเข้ามา ทั้งในเรื่องของน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ซึ่งทำให้ตัวเลขไตรมาส 4 ปี 2555 เปรียบเทียบกับตัวเลขช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าออกมาค่อนข้างสูง ประกอบกับในปี 2555 ยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเข้ามาด้วย จึงทำให้เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เติบโตค่อนข้างมาก ดังนั้นหากนำมาเทียบกับไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2556 จึงทำให้การเติบโตติดลบ
"กรณีที่สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้น ถ้าดูเฉพาะตัวเลขอย่างเดียวตามเทคนิคแล้วก็ถือว่าใช่ เพียงแต่โดยปกติแล้วเวลาจะดูก็ต้องดูไส้ในด้วยว่า ที่ติดลบเกิดจากอะไร กรณีของไทยนั้น มาจาก 2 ปัจจัย คือ เศรษฐกิจช่วงปี 2555 เพิ่งฟื้นตัวจากน้ำท่วม และครึ่งหลังของปี 2555 ยังมีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐเข้ามาด้วย เลยทำให้ตัวเลขไตรมาส 4 ออกมาค่อนข้างสูง" นายเชาว์กล่าว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 3 น่าจะฟื้นตัวขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2556 เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะว่าขณะนี้เริ่มเห็นออเดอร์การส่งออกที่เข้ามามากขึ้น
คาดเศรษฐกิจเริ่มฟื้นปีหน้า
ด้าน นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวระดับ 4% ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยคาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะกลับมาขยายตัวกว่า 5%
"ยอมรับว่าครึ่งปีหลังของปีนี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ และการเมืองมีความผันผวน ซึ่งคงต้องรอการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในปีหน้า ช่วยผลักดันเศรษฐกิจ"
บาทอ่อนรวดเดียว30สต.-คาดเห็น 32 บาท
สำหรับค่าเงินบาท วานนี้ (20 ส.ค.) อ่อนค่าลงรวดเร็ว หลังจากเปิดตลาดที่ระดับ 31.42-31.44 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงเช้า มีแรงซื้อดอลลาร์จากทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะเฮดจ์ฟันด์จำนวนมาก จนทำให้ตลอดทั้งวันเงินบาทอ่อนค่าลงกว่า 30 สตางค์ ทะลุแนวต้านสำคัญตามลำดับ จนมาอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 31.73 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอ่อนค่าสุดในรอบ 1 ปีกับอีกเกือบเดือน โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อเงินบาทมาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าคาด จนเกิดแรงขายในตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเงินบาทเช่นกัน
ส่วนแนวโน้มต่อไป คาดว่าจะเห็นการพักฐานเล็กน้อยก่อนจะอ่อนค่าไปทดสอบแนวต้านเดิมได้หากเงินบาททะลุระดับ 31.75 บาทต่อดอลลาร์ และอาจเห็น 32.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ในระยะต่อไป ทั้งนี้ในระยะสั้นคาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.55-31.75 บาทต่อดอลลาร์
ด้าน นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการบริหาร บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ภาวะเงินทุนไหลออกขณะนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ที่มีหลายปัจจัยเข้ามากระทบ ทั้งความกังวลในเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะอินโดนีเซียและเอเชียที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนัก จนค่าเงินอ่อนค่าอย่างรุนแรง
ในระยะสั้นเชื่อว่าเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก โดยอาจเห็นเงินบาทอ่อนค่าถึงระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์ ได้ภายใน 1 เดือนนี้
'ประสาร'ชี้ต้นเหตุจากตัวเลขเศรษฐกิจ
นายประสาร กล่าวด้วยว่า ในส่วนของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะข่าวตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา แต่อย่างไรก็ตามการอ่อนค่าลงดังกล่าวถือว่าไม่น่ากังวล เพราะยังอยู่ในกรอบพื้นฐาน รวมทั้งเศรษฐกิจไทยเองก็ไม่ได้มีปัญหา ในขณะที่นักลงทุนยังให้ความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของไทย
"ของเราเองไม่ได้มีปัญหาอะไร จะเห็นว่าดุลบัญชีเดินสะพัดช่วงนี้ แม้ขาดดุลบ้าง ซึ่งเรามองว่าครึ่งปีแรกอาจขาดดุลประมาณ 1% ของจีดีพี แต่เชื่อว่าทั้งปีจะทรงตัว ไม่ได้ติดลบอะไร ซึ่งสำนักวิจัยฯ ต่างๆ เอง ก็มองในทิศทางเดียวกัน
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น