หอการค้าเผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ต่ำสุดรอบ 7 เดือน ปชช.ชะลอใช้จ่าย จี้ภาครัฐเร่งใช้จ่ายงบ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ชี้คนไทยเบื่อเที่ยว-ห่วงการเมือง ดัชนีต่ำสุดรอบ 25 ปี หวั่นเหตุการณ์รุนแรง ฉุดจีดีพี 0.5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการพยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2556 อยู่ที่ 80.3 ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนและมีแนวโน้มลดลงต่อ เนื่องจากความกังวลในด้านผลกระทบทางการเมือง การชะลอตัวของเศรษฐกิจ เกษตรกรมีรายได้ที่ลดลง ปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการใช้จ่ายสินค้า และลดการท่องเที่ยวในประเทศ ฉะนั้นรัฐบาลต้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไม่ให้เกิดเหตุการณ์บานปลายในระยะยาว
ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือการท่องเที่ยว จากสำรวจพบว่าดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวได้อยู่ในระดับ 98.1 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า 100 ครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เพราะคนไทยเบื่อท่องเที่ยวและข่าวความวุ่นวายการเมือง และหากปัญหาเรื่องความขัดแย้งจบลงภายใน 3 เดือน ก่อนช่วงไฮซีซั่น ก็ยังถือว่าโชคดีสำหรับเศรษฐกิจไทย และไม่กระทบต่อรายได้ท่องเที่ยวของไทยมากนัก และความวิตกต่อปัญหาการเมือง ทำให้เกิดชะลอการลงทุนเอสเอ็มอี ส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนอยู่ในระดับ 80.2 ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ขณะนี้ดัชนีความเชื่อมั่นรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.9 ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันและต่ำสุดในรอบ 8 เดือน สะท้อนการบริโภคชะลอตัว
"ผลสำรวจสะท้อนประชาชนกังวลมากสุดในเรื่องสถานการณ์การเมือง โดยดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง อยู่ที่ 65.3 ต่ำสุดในรอบ 25 ปี หากเหตุการณ์ยืดเยื้อไม่เกิน 3 เดือนและไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ประเมินว่าเศรษฐกิจจะชะลอในระดับ 0.1-0.2% แต่หากรุนแรงจนบานปลายจะกระทบต่อเศรษฐกิจ 0.5%"
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% เงินบาทอ่อนตัว ค่าราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศยังคงอยู่ในระดับทรงตัวที่ 29.99 บาทต่อลิตร
นางเสาวณีย์กล่าวว่า ปัจจัยลบคือความกังวลต่อสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่อาจจะยืดเยื้อ ประกอบกับการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงที่เริ่มประกาศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ จาก 5.1% เหลือ 4.2% รวมทั้งความกังวลเรื่องน้ำมันรั่วที่อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ ความกังวลเรื่องของราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำโดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่มากและกำลังซื้อของคนต่างจังหวัดไม่สูงมากนัก ตลอดจนความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ที่มา.มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการพยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2556 อยู่ที่ 80.3 ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนและมีแนวโน้มลดลงต่อ เนื่องจากความกังวลในด้านผลกระทบทางการเมือง การชะลอตัวของเศรษฐกิจ เกษตรกรมีรายได้ที่ลดลง ปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการใช้จ่ายสินค้า และลดการท่องเที่ยวในประเทศ ฉะนั้นรัฐบาลต้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไม่ให้เกิดเหตุการณ์บานปลายในระยะยาว
ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือการท่องเที่ยว จากสำรวจพบว่าดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวได้อยู่ในระดับ 98.1 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า 100 ครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เพราะคนไทยเบื่อท่องเที่ยวและข่าวความวุ่นวายการเมือง และหากปัญหาเรื่องความขัดแย้งจบลงภายใน 3 เดือน ก่อนช่วงไฮซีซั่น ก็ยังถือว่าโชคดีสำหรับเศรษฐกิจไทย และไม่กระทบต่อรายได้ท่องเที่ยวของไทยมากนัก และความวิตกต่อปัญหาการเมือง ทำให้เกิดชะลอการลงทุนเอสเอ็มอี ส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนอยู่ในระดับ 80.2 ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ขณะนี้ดัชนีความเชื่อมั่นรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.9 ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันและต่ำสุดในรอบ 8 เดือน สะท้อนการบริโภคชะลอตัว
"ผลสำรวจสะท้อนประชาชนกังวลมากสุดในเรื่องสถานการณ์การเมือง โดยดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง อยู่ที่ 65.3 ต่ำสุดในรอบ 25 ปี หากเหตุการณ์ยืดเยื้อไม่เกิน 3 เดือนและไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ประเมินว่าเศรษฐกิจจะชะลอในระดับ 0.1-0.2% แต่หากรุนแรงจนบานปลายจะกระทบต่อเศรษฐกิจ 0.5%"
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% เงินบาทอ่อนตัว ค่าราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศยังคงอยู่ในระดับทรงตัวที่ 29.99 บาทต่อลิตร
นางเสาวณีย์กล่าวว่า ปัจจัยลบคือความกังวลต่อสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่อาจจะยืดเยื้อ ประกอบกับการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงที่เริ่มประกาศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ จาก 5.1% เหลือ 4.2% รวมทั้งความกังวลเรื่องน้ำมันรั่วที่อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ ความกังวลเรื่องของราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำโดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่มากและกำลังซื้อของคนต่างจังหวัดไม่สูงมากนัก ตลอดจนความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ที่มา.มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น